ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ “การอ่าน”, “การคิด” และ “การเขียน”


 

ในส่วนนี้จะนำเสนอ โดยแยกเป็นทฤษฏีว่าด้วย การอ่าน,การคิดและการเขียนซึ่งจุดเน้นจะอยู่ที่การคิดเป็นหลัก ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวพันกับการคิดวิเคราะห์ที่สุด

๑. การอ่าน (reading)

ราชบัณฑิตยสถานนิยามว่า อ่านหมายถึงว่าตามตัวอักษรส่วนการอ่านหมายถึงการแปลความหมายของตัวอักษรที่อ่านออกมาเป็นความรู้ ความคิด และเกิดความเข้าใจเรื่องราวที่อ่านตรงกับเรื่องราวที่ผู้เขียนเขียน ผู้อ่านสามารถนำความรู้ ความคิด หรือสาระเรื่องราวที่อ่านไปใช้ประโยชน์ได้ซึ่งมีความหมายในลักษณะเป็นการรับแล้วถ่ายทอดโยใช้ตัวอักษร สัญลักษณ์ เป็นสื่อความคิด เจตนาหรือการทำความเข้าใจกับที่ผู้ถ่านทอดต้องการสื่อความคิด เจตนาหรือการทำความเข้าใจกับผู้ที่ผู้ถ่ายทอดต้องการสื่อความหมายนั้นจุดมุ่งหมายของการอ่าน

๒. การคิด (thinking or thought)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนิยามไว้ว่า ทําให้ปรากฏเป็นรูปหรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ;ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, เช่น เรื่องนี้ยากยังคิดไม่ออก; คาดคะเน เช่นคิดว่าเย็นนี้ฝนอาจจะตก; คํานวณ เช่น คิดเลขในใจ; มุ่ง, จงใจ, ตั้งใจ,เช่น อย่าคิดร้ายเขาเลย; นึก เช่น คิดละอายเรื่องของการคิดมีนักการศึกษา และนักจิตวิทยาจำนวนไม่น้อยได้สร้างคำอธิบายไว้จำนวนมาก โดยสรุป ระดับของการคิดสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ระดับคือ

๑. ทักษะการคิดพื้นฐาน เป็นทักษะการคิดที่เป็นพื้นฐานของการคิดในระดับที่สูงขึ้นไปเป็นการคิดที่ใช้ในการดำรงชีวิต มีการพิจารณาไตร่ตรองเหตุการณ์หรือข้อมูลต่างๆโดยอาศัยประสบการณ์เป็นหลักในการตัดสินใจ

๒.ทักษะการคิดระดับสูง เป็นทักษะการคิดที่ต้องใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายและซับซ้อนมีการกลั่นกรองข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสมเหตุสมผลโดยอาศัยประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องช่วยในการตัดสินใจ

ซึ่งการที่ผู้เรียนจะเกิดกระบวนการคิดได้นั้น ครูผู้สอนจะต้องพัฒนาทักษะการคิดก่อนเพราะการสอนให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดในเบื้องต้นจะเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้เรียนสร้างกระบวนการคิดของตนเองได้ ในที่สุด[1]

๓. การเขียน (writing)

     ราชบัณฑิตยสถานนิยามว่า การเขียน  คือ ขีดให้เป็นตัวหนังสือหรือเลข, ขีดให้เป็นเส้นหรือรูปต่าง ๆ, วาดแต่งหนังสือการเขียนเป็นการแสดงความรู้  ความคิด  ความรู้สึก และความต้องการ  ของผู้ส่งสารออกไปเป็นลาบลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสาร สามารถอ่านเข้าใจ ได้รับทราบความรู้, ความคิด, ความรู้สึก และความต้องการเหล่านั้น การถ่ายทอดโดยวิธีบอกเล่าปากต่อปาก หรือที่เรียกว่ามุขปาฐะอาจทำให้สารตกหล่นหรือคลาดเคลื่อนได้ง่าย ลายลักษณ์อักษรหรือที่ตัวหนังสือ ที่แท้จริงคือเครื่องหมายที่ใช้แทนคำพูดนั่นเองความสำคัญและประโยชน์ของการเขียนสื่อความมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นวิธีการสื่อสารและมีประโยชน์เนื่องด้วยเป็นการถ่ายทอด ความรู้ความคิด ความรู้สึกต่างๆ ของผู้เขียนเป็นหลัก และนอกจากนั้น การเขียนยังเป็นเครื่องสำคัญในการที่จะวัดความเจริญของอารยธรรมของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัยด้วย รวมทั้งถ่ายทอดภาพในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่เป็นการจินตนาการได้อีกด้วย สร้างความรัก ความเข้าใจ ข้อตกลงแนวปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม

ในการเขียนภาษาไทย มีแบบแผนที่ต้องการรักษา มีถ้อยคำสำนวนที่ต้องใช้เฉพาะ และต้องเขียนให้แจ่มแจ้ง เพราะผู้อ่านไม่สามารถไต่ถามผู้เขียน ได้เมื่ออ่านไม่เข้าใจ ผู้ที่จะเขียนให้ได้ดี ต้องใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับผู้รับสาร โดยพิจารณาว่าผู้รับสารสามารถรับสารที่ส่งมาได้มากน้อยเพียงใด

 

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา

  ฌัง เพียเจต์ (Jean Piaget) นักทฤษฏีชาวสวิสผู้สนใจในพัฒนาการของเด็ก ได้เสนอทฤษฎีว่า มนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดมาพร้อมที่จะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม มนุษย์มีความสามารถในการจัดรวบรวมข้อมูล และการซึมซับปรับตัว (assimilation) เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซับเอาประสบการณ์ใหม่ ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา(cognitive structure) โดยจะเป็นการตีความ หรือการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม เพียเจต์มองว่ามนุษย์นอกจากสามารปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถปรับโครงสร้างทางปัญญา (accommodation) ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมจากประสบการณ์เดิมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญาขั้นตอนการพัฒนาทางปัญญาเป็นไปตามขั้นตอน

  กล่าวได้โดยสรุปว่าว่าเพียเจต์มองว่า ความคิดต่างๆของมนุษย์ คือความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมระหว่างที่ปรับตัวเพื่อรักษาดุลยภาพแห่งชีวิตจะเกิดการเรียนรู้และความคิดขึ้นด้วยพัฒนาการทางความคิด (สติปัญญา) ต่างๆออกเป็น ๒ ระดับ คือ ๑. การปรับด้วยการซึมซับ (assimilation) และ ๒. การปรับโครงสร้างทางปัญญา (accommodation)

  เขากล่าวต่อไปว่า ผลการทำงานของขบวนการดังกล่าวจะเกิดเป็นโครงสร้าง (schema) ขึ้นในสมองโครงสร้างต่างๆจะพัฒนาตามระดับอายุและจะสมบูรณ์เมื่ออายุประมาณ ๑๕ ปี เพียเจท์ถือว่าเป็นไปตามลำดับขั้นจะข้ามขั้นไม่ได้ แต่อัตราของการพัฒนาการจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคนอันเนื่องมาจากความแตกต่างกัน มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ เพียเจท์ยังได้แบ่งการพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์เป็น ๔ ขั้น ตามลำดับอายุ คือ

๑. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (sensorimotor) เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงประมาณ ๒ ปี วัยนี้เป็นวัยที่มนุษย์ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆของร่างกายเป็นหลัก

๒. ขั้นความคิดก่อนการปฏิบัติการ (preoperational) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุประมาณ ๑ปีครึ่ง๖ ปี เป็นขั้นเริ่มเรียนรู้การพูดและเข้าใจเครื่องหมายท่าทางที่สื่อความหมายเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดีขึ้น  ใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว เริ่มมีความสามารถทางภาษา แต่ยังไม่สามารถใช้เหตุผลได้ดีนัก

๓. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (concrete operational) ขั้นนี้เริ่มจากอายุประมาณ ๗๑๑ ปี พัฒนาการในช่วงนี้มนุษย์สามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่แลเห็นได้ แล้วแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ และสามารถคิดย้อนกลับ (Reversibility) ได้

๔. ขั้นการคิดแบบนามธรรม (formal operational) ขั้นนี้จะเริ่มตั้งแต่อายุประมาณ ๑๑ - ๑๕ ปี เป็นช่วงที่มนุษย์รู้จักการใช้เหตุผล และเรียนรู้เกี่ยวกับนามธรรมได้ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎีและเห็นว่าความจริงที่เห็นด้วยกับการรับรู้ไม่สำคัญเท่ากับการคิดถึงสิ่งที่อาจเป็นไปได้ (possibility) เด็กวัยนี้จึงเป็นเด็กที่เริ่มมีความทะเยอทะยาน ฝันอยากจะเป็นโน่นเป็นนี่[2]

ดูต่อ เรื่อง ระดับของการคิด และ การคิดวิเคราะห์ http://gotoknow.org/blog/iammean/237841

[1] สกุลการ  สังข์ทอง. การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ตามสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โดยเทคนิคการใช้และไม่ใช้ผังกราฟฟิก. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย  ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๘.), น. 15 20

[2] Alberto Munari, “Jean Piaget” Prospects: the quarterly review of comparative education (Paris,

UNESCO: International Bureau of Education), vol. XXIV, no. 1/2, 1994,p. 311 – 327) access at http://www.ibe.unesco.org/fileadmin/user_upload/archive/publications/ThinkersPdf/piagete.PDF

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 237840เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2009 00:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ

เป็นประโยชน์มากๆกับผู้ที่จะนำไปพัฒนาตนเอง และผู้อื่น โดยเฉพาะผู้สอนสู่ผู้เรียน ขอบคุณข้อมูลดีๆแบบนี้นะคะ

ขอบคุณมากค่ะช่วยไ้ด้เยอะมากกำลังหาทฤษฎีเกี่ยวกับการเขียนค่ะ

กำลังหาอยู่พอดีเจอ ขอบคุณมาก

ขอบคุณมากค่ะ ที่เพิ่มแหล่งเรียนรู้ให้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท