มหัศจรรย์ ... ความรู้แบบนุ่งผ้า (2) คำนิยม จาก อ.วิจารณ์


"ปัจจัยสำคัญ ที่เอื้อให้ KM กรมอนามัย ประสบความสำเร็จ คือ อะไรบ้าง ???"

 

ส่วนหนึ่งของคำนิยม ได้รับเกียรติจาก อ.วิจารณ์ ที่ได้เกริ่นนำเรื่องไว้ ซึ่งดิฉันคิดว่า ท่านได้สะท้อนบริบทความเป็น "กรมอนามัย" ได้อย่างดียิ่ง ...

"... ความสำเร็จของกรมอนามัย ในการนำเอาเครื่องมือจัดการความรู้มาใช้ประโยชน์ เป็นความสำเร็จ ระดับ "มหัศจรรย์" ผมตีความว่า หนังสือเล่มนี้ เขียนแบบ AAR โดย สมาชิกของกรมฯ ว่า ความสำเร็จในระดับนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นประโยชน์แก่หน่วยราชการอื่นๆ และ แก่สังคมไทย เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ ต่อ กพร. ที่เคยกำหนดให้หน่วยราชการ ต้องทำ KM ผมจึงร่วมสนุกด้วย โดยลองเสนอ AAR ของผม

คำถามสำคัญ คือ "ปัจจัยสำคัญ ที่เอื้อให้ KM กรมอนามัย ประสบความสำเร็จ คือ อะไรบ้าง ???"

คำตอบของผม ได้แก่

  1. ผู้บริหารระดับสูงสุด "เอาด้วย" แม้เปลี่ยนตัวบุคคล แต่การสนับสนุนในระดับเห็นคุณค่า ยังมั่นคง หรือยิ่งชัดเจนยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ การสนับสนุนชัดเจน ในระดับ การสนับสนุนทรัพยากร และการที่ตนเองเข้าร่วมกิจกรรม การเปลี่ยนรูปแบบของการประชุม ที่นำเอาวิธีการแบบ KM เข้าไปแทน วิธีการประชุมแบบเก่า เรื่องการแสดงบทบาทของผู้บริหารระดับสูงสุดของกรมอนามัย ที่มีผลต่อความสำเร็จในการใช้ KM เพื่อการพัฒนากรมนี้ น่าจะมีการถอดบทเรียน จารึกไว้
  2. ทีมแกนนำ KM ของกรม มีความต่อเนื่อง
  3. มีการเลือกบุคคลที่ถูกต้อง เหมาะสม ทำหน้าที่แกนนำ KM ของกรม และเป็นทีมที่มีส่วนผสม พอเหมาะ คือ ประกอบด้วย คนที่แตกต่าง หลากหลาย ที่ทำงานเป็นทีมเข้าขากัน ความแตกต่าง กลายเป็นจุดแข็ง (ตามหลัก KM)
  4. มีการใช้ KM แบบ "สัมมาทิฐิ" คือ เอา KM มาเป็นเครื่องมือพัฒนาหน่วยงาน สร้างผลงาน และสร้างคน ไม่หลงไปทาง "มิจฉาทิษฐิ" คือ ทำตามกระแส เพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่า มีการ "ทำ KM" ทำให้ KM เป็นเครื่องมือรับใช้คนของกรม ไม่ใช่เข้ามา ... เป็นภาระ ... ทำให้งานเพิ่ม
  5. มีการใช้ KM แบบทำไปเรียนรู้ไป ไม่กลัวที่จะลอง และให้อิสระต่อหน่วยงานย่อย ที่จะลองในหลากหลายรูปแบบ จึงเกิดรูปแบบ การทดลองใช้ KM ในหลากหลายรูปแลล หลากหลายสไตล์ เพราะกรมอนามัยมีหน่วยงาน กระจายอยู่ทั่วประเทศ และหน่วยงานย่อย ต่างก็มีบริบทแตกต่างกัน จึงเกิดการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการใช้เครื่องมือ KM อย่างเข้มข้น น่าชื่นชม

กล่าวได้ว่า ระบบ KM ของกรมอนามัย โดยตัวของมันเอง เป็น "ระบบเรียนรู้" (Learning System) มีการปรับตัวมาตลอด เวลากว่า 3 ปี และน่าจะเชื่อได้ว่า KM ได้กลายเป็นเลือดเนื้อ และจิตวิญญาณ ของ กรมอนามัย ไปแล้ว หากดำเนินการต่อเนื่อง ไม่ช้า กรมอนามัยก็จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) มีวัฒนธรรมองค์กร ของ องค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามที่ Peter Senge เขียนไว้ใน หนังสือ The Fifth Discipline"

วิจารณ์ พานิช
ประธานมูลนิธิ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
30 พฤศจิกายน 2551

รวมเรื่อง มหัศจรรย์ ... ความรู้แบบนุ่งผ้า

 

หมายเลขบันทึก: 236544เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2009 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ตามมาเชียร์แม่หมอ
  • กลัวพี่ดาวมาเห็นก่อน
  • แม่หมอพิมพ์ผิดครับ
  • "สัมมาทิฐิ
  • P
  • จุ๊ จุ๊ อย่าบอกไปนะ พ่อลูกชาย
  • พี่ดาวไม่เห็นหรอก แบบ ลบออกไปเลย ไม่เหลือซากให้เห็น อิอิ

ยินดีด้วยค่ะกับความสำเร็จของกรมอนามัย

  • P
  • เราก็มารับความชอบด้วยกันนะ
  • เพราะว่า อยู่กรมอนามัยด้วยกัน อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท