KM มรม.


         สคส. ได้รับ อี-เมล์ จากผู้แทนของ มรม. ดังนี้

         ดิฉันอาจารย์สุภัทรา  โกไศยกานนท์  ได้ทำหนังสือติดต่อกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครทั้ง  9  แห่ง  ขณะนี้ได้รับคำตอบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครอีก  6  แห่ง  ได้แก่  มทร.สุวรรณภูมิ  มทร.รัตนโกสินทร์  มทร.ล้านนา  มทร.ศรีวิชัย  มทร.ตะวันออก 
และมทร.อีสาน  รับเป็นเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร  และต้องการให้ สคส.  เป็นที่ปรึกษาพัฒนาระบบ KM  ของแต่ละ  มรม.  พร้อมกันเดือนละ 1 ครั้ง  ครั้งละ  3  แสนบาท/ปี  โดยยินดีรับเงื่อนไขของการจัดประชุมปฏิบัติการฝึกอบรม  2  ครั้ง  และให้คำปรึกษา
         มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  มีแนวคิดว่าจะทำ  KM  เพื่อให้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร  เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเครือข่ายทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยจะวัดความสำเร็จจากความสามารถในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรทั่วทั้งองค์กร

อ. สุภัทรา

         ผมขอสื่อสารตอบมาว่า   ขอแนะนำให้ อ. สุภัทราจัดประชุมเพื่อทำความชัดเจนร่วมกันในกลุ่ม ๖ มรม. ว่าการดำเนินการ KM แบบใดจะไม่เกิดผลตามที่ต้องการ    และจะต้องมีการดำเนินการอย่างไรบ้างจึงจะเกิดผลอย่างที่ต้องการ    โดยแต่ละ มรม. มีบุคคลต่อไปนี้มาประชุม   ย้ำว่าต้องเป็นตัวจริง ไม่ใช่ผู้แทน
1. อธิการบดี
2. รองอธิการบดี ที่จะได้รับมอบหมายให้เป็น “คุณเอื้อ”  (CKO)
3. “คุณอำนวย” ๑ – ๒ คน
ใช้เวลาประชุม ๓ ชม.

วัตถุประสงค์ของการประชุม
1. เพื่อให้ชัดเจนว่า วัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการทำ KM คืออะไร
2. เพื่อให้ชัดเจนว่าแต่ละ มรม. จะต้องจัดทีมแกนนำ, จัดทรัพยากร, จัดการให้ KM เนียนอยู่ในเนื้องาน, และมีการติดตามผล อย่างไรบ้าง

         วันนัดคงต้องนัดล่วงหน้า ๒ เดือน เพราะผมมักจะมีนัดเต็มล่วงหน้า ๑ – ๒ เดือน
การมาประชุมนี้ผมไม่คิดค่าบริการ   แต่มีเงื่อนไขว่า   ถ้าผู้มาประชุมเป็นตัวแทนแม้เพียงคนเดียว ถือว่าการนัดนี้ยกเลิกไปโดยปริยาย

         เมื่อมีการประชุมแล้ว    ก็จะมีการทำ Workshop ฝึก “คุณอำนวย”   “คุณลิขิต”  และ “คุณเอื้อ” ให้เข้าใจหลักการและเทคนิค KM    ให้ไปจัด Workshop ต่อใน มรม. ของตนได้  โดยมีข้อตกลงเรื่องที่จะทำ KM ในขั้นแรกสัก ๒ – ๓ เรื่อง (3 CoP)   ตอนจัด workshop ในแต่ละ มรม. ก็จะมี “คุณอำนวย” และ “คุณลิขิต” จาก มรม. อื่นไปช่วยกันด้วย   การจัด workshop นี้ ควรจัดให้เสร็จทุก มรม. ภายใน ๑ เดือน    แล้วหลังจากนั้น 1 ½ - 2 เดือน จัดประชุม ลปรร. ระหว่าง CoP   มีแผนที่ร่วมกันกำหนดเช่นนี้ ตลอดเวลา ๑ ปี

วิจารณ์ พานิช
๑๐ เมย. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23494เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2006 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท