สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๒ ครับ


ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๒
ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย
โปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายและครอบครัว
มีความสุขและความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นตลอดปีและตลอดไปเทอญ

Img_0841a 

  • ต้องขออภัยที่มาอวยพรช้าครับ เพราะช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ ๒๕๕๒ นี้ ไปทำบุญและไปกราบพระอริยสังฆ์ที่จังหวัดสกลนครมาครับ จึงขอส่งความสุขด้วยภาพ ชุด "บนเส้นทางพุทธธรรม" เป็นของขวัญปีใหม่ให้ทุกท่านครับ

 

Dham01 

วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒ เดินทางไปวัดป่าภูริทัตตถิราวาส (วัดป่าบ้านหนองผือ) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

 

Dham02 

เช้าวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๒ เดินทางไปกราบหลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธฺมโม
วัดป่าโชคไพศาล ต.นาซอ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

 

Dham03 

บ่ายวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๒ เดินทางไปกราบหลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
วัดป่าประทีปปุญญาราม ต.เซือม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร 

 

Dham04 

วันที่ ๓ มกราคม ๒๕๕๒ เดินทางไปกราบหลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน
วัดป่าโสตถิผล ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

 

Dham05 

Dham07 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สวัสดีปีใหม่
หมายเลขบันทึก: 233375เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2009 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีปีใหม่ค่ะ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง ทุกวันเต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะนะคะ

สวัสดีปีใหม่ 2552 ค่ะ

มีความสุขในทุกๆวันนะคะ

โชคดี ตลอดปีและตลอดไป

J สุขภาพแข็งแรงค่ะ J

สวัสดีค่ะ

  • สุขสันต์วันแรกของการทำงานราชการ..แห่งปีนะคะ
  • มีความสุขและมีกำลังใจนะคะ
  • รักและคิดถึงค่ะ
  • สวัสดีปีใหม่ครับ

    P

    • ขอบคุณครับ

    สวัสดีปีใหม่ครับ

    P

     

    • ขอบคุณครับ

     

     

    สวัสดีปีใหม่ครับ

    P

     

    • ขอบคุณครับ

     

     

    สวัสดีปีใหม่ครับ

    P

     

    • ขอบคุณครับ

     

    กราบสวัสดีปีใหม่ครับ ท่านอาจารย์

    P

    9. JJ

     

     

     

     

    • สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๒ ครับ

    กราบสวัสดีปีใหม่ครับท่านอาจารย์

    P

    11. Panda

     

    Image
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ


    ๏ ธรรมโอวาท

    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระปฏิบัติธรรมตามแนวของหลวงปู่มั่น ธรรมโอวาทมีดังนี้

    ๑. คำว่าทุกข์ แม้จะนิดเดียวก็ไม่เคยมีสัตว์โลกรายใดรัก ชอบ และปรารถนา ต่างก็กลัวและขยะแขยงกันมาแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว แต่หากจะมีก็อาจได้พบเห็นในสมัย ปัจจุบัน เพราะศีลธรรมที่เคยให้ความร่มเย็นแก่โลกตลอดมากำลังถูกตำหนิ ลบล้างด้วยความคิดของคนในปัจจุบัน โดยเห็นว่า ศีลธรรมที่ร่มเย็นเป็นของเก่าก่อน กลับคร่ำครึ ล้าสมัย ความสุขที่เคยได้รับเป็นสันดาร จนลืมทุกข์ทรมานแต่ก่อนเก่าไปสิ้น

    ๒. เราจะกลัวเสือ หรือ เราจะกลัวกิเลส กิเลสมันทำให้เราตาย นับภพนับชาติไม่ถ้วน แต่เสือตัวนี้ มันทำให้เราตายได้หนเดียว

    ๓. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.....อนิจจัง.....ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่สามารถจะอยู่ยงคงทนต่อไปได้ ย่อมดับย่อมสลายไปตามกาล พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่เที่ยงแท้แน่นอนไปได้.....ทุกขัง.....เมื่อมีสิ่งที่เกิดขึ้นมาในโลก แล้วเข้าไปยึดถือว่าเป็นตัวตนของเรา ของเขา ยามจากไป ยามดับไปสลายสิ้น สิ่งที่รักที่พอใจนั่นแหละ พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นทุกข์อย่างยิ่ง.....อนัตตา.....ความจริงในโลกนี้ มันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมันเอง ไม่มีใครไปต่อเสริมเติมแต่งได้ ถึงอย่างไรก็ยังเป็นธรรมชาติ แม้ร่างกายเรานี้จะยึดตัวตน ว่า เป็นของเราของเขาไม่ได้ เพราะเขาเป็นเพียงธาตุๆ หนึ่งที่ประชุมกันเข้าเท่านั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขาทั้งสิ้น

    ๔. การประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อความบริสุทธิ์ หรือ ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตน คนอื่นทำให้ไม่ได้ เราต้องปฏิบัติให้รู้ยิ่ง เราต้องอาศัยในสิ่งเหล่านี้ เพื่อจิตเข้าสู่สมาธิ จิตสงบอยู่ในอารมณ์ มาเป็นพยานขององค์วิปัสสนา ให้เห็นชัดแจ้ง เป็นความสว่างของ ปัญญา ผู้บริสุทธิ์ได้ ต้องอาศัยปัญญานี่เอง ทั้งนี้ วิปัสสนาปัญญา จึงต้องยึดเอาตัว สังขารเรานี้เป็นพยานในการปฏิบัติ จึงจะรู้แจ้ง อย่ามองไปนอกตัว เหตุอยู่ที่นี่

    ๕. ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ล้วนเป็นเพื่อเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน ทั้งหมดทั้งสิ้น ทุกชีวิตเกิดมามีกรรมเป็นของๆ ตน

    นอกจากนี้หลักธรรมที่หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ถือเป็นแนวทางปฏิบัติและสอนธรรมเป็นหลักธรรมที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้วางเอาไว้ หลวงปู่กงมาก็จดจำได้อย่างขึ้นใจ คือธรรมะ ๑๑ ประการ ได้แก่

    ๑. การปฏิบัติทางใจ ต้องถือการถ่ายถอนอุปาทานเป็นหลัก

    ๒. การถ่ายถอนนั้น ไม่ใช่การถ่ายถอนโดยไม่มีเหตุ ไม่ใช่ทำเฉยๆ ให้มันถ่ายถอนเอง

    ๓. เหตุแห่งการถ่ายถอนนั้น ต้องสมเหตุสมผล เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ ธรรมทั้งหลายดับไปเพราะเหตุ พระมหาสมณะมีปกติ ตรัสอย่างนี้

    ๔. เพื่อให้เข้าใจว่า การถ่ายถอนอุปาทานนั้น มิใช่มีเหตุ และไม่สมควรแก่เหตุ ต้องสมเหตุสมผล

    ๕. เหตุได้แก่สมมติบัญญาติขึ้น แล้วหลงตามอาการนั้น เริ่มต้นด้วยการสมมติ ตัวของตนก่อน พอหลงตัวของเราแล้ว ก็ไปหลงคนอื่น หลงว่าเราสวย แล้วจึงไปหลงผู้อื่นว่าสวย เมื่อหลงตัวของตัวและผู้อื่นแล้ว ก็หลงวัตถุข้างนอกจากตัว กลับกลายเป็น ราคะ โทสะ โมหะ

    ๖. แก้เหตุต้องพิจารณากรรมฐาน ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ด้วยสามารถแห่งกำลังของสมาธิ เมื่อสมาธิชั้นต่ำ การพิจารณาก็เป็นญาณชั้นต่ำ เมื่อเป็นสมาธิชั้นสูง การพิจารณาเป็นญาณชั้นสูง แต่อยู่ในกรรมฐาน ๕

    ๗. การสมเหตุสมผล คือ คันที่ไหนก็ต้องเกาที่นั้น จึงจะหายคัน คนติดกรรมฐาน ๕ หมายถึง หลงหนังเป็นที่สุด เรียกว่าหลงกันตรงนี้ ถ้าไม่มีหนัง คงจะวิ่งกันแทบตาย เมื่อหลงกันที่นี้ ก็ต้องแก้กันที่นี่ คือ เมื่อกำลังสมาธิพอแล้ว พิจารณาก็เห็นความจริง เกิดความเบื่อหน่ายเป็น วิปัสสนาญาณ

    ๘. เป็นการเดินตามอริยสัจ เพราะเป็นการพิจารณาตัวทุกข์ ดังที่ พระพุทธองค์ ตรัสว่า ชาติปิทุกข์ ชราปิทุกข์ พยาธิปิทุกข์ มรณัมปิทุกข์ ใครเกิด ใครแก่ ใครเจ็บ ใครตาย กรรมฐาน ๕ เป็นต้น ปฏิสนธิเกิดมาแล้ว แก่แล้ว ตายแล้ว จึงได้ชื่อว่าพิจารณากรรมฐาน ๕ อันเป็นทางพ้นทุกข์ เพราะพิจารณาตัวทุกข์จริงๆ

    ๙. ทุกขสมุทัย เหตุเกิดทุกข์ เพราะมาหลงกรรมฐาน ๕ ยึดมั่น จึงเป็นทุกข์ เพื่อพิจารณาก็ละได้ เพราะเห็นตามความเป็นจริง สมคำว่า รูปสสมึปิ นิพฺพินฺทติ เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ สญฺญายปิ นิพฺพินฺทติ สงฺขาเรปิ นิพฺพินฺทติ วิญญาณสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ เมื่อเบื่อหน่ายในรูป (กรรมฐาน ๕) เป็นต้น แล้วก็คลายความกำหนัด เมื่อเราพ้นเราก็ต้องมีญาณทราบชัดว่าเราพ้น

    ๑๐. ทุกขนิโรธ ดังทุกข์ เมื่อเห็นกรรมฐาน ๕ เบื่อหน่ายได้จริง ชื่อว่า ดับอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น เช่นเดียวกับท่านสามเณรสุมนะ ศิษย์ของท่านอนุราช พอปลงผมหมดศีรษะก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์

    ๑๑. ทุกขคามินีปฏิปทา ทางไปสู่ที่ดับ คือ การเป็นปัญญาสัมมาทิฐิ ปัญญาเห็นชอบเห็นอะไร เห็นอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การเห็นจริง แจ้งประจักษ์ด้วยสามารถแห่งสัมมาทิฐิ ไม่หลงคติสุข มีสมาธิเป็นกำลัง พิจารณากรรมฐาน ๕ ก็เป็นองค์มรรค


    ๏ ปัจฉิมบท

    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นนักต่อสู้ชีวิต ต่อสู้กับกิเลส เมื่อยังเป็นฆราวาส ก็เป็นฆราวาสที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์ มีคุณธรรม เมื่อพบ เคราะห์กรรม ก็รู้จักเลือกสรรสาระให้กับชีวิต ถือเพศเป็นบรรพชิตที่น่าเคารพนับถือ ทั้งในคราบของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติกนิกายได้ทุ่มเทชีวิตให้กับการประพฤติปฏิบัติจนมีความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ

    มีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทา ทำให้เกิดวัดอันเป็นสถานปฏิบัติธรรมขึ้น ในวงของพุทธศาสนามากมาย เกิดมีผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามหลักโอวาท ของท่านสืบมาจนถึงทุกวันนี้โดยไม่ขาดสาย ท่านได้ชื่อว่า เป็นพระสุปฏิบัติ อุชุปฏิบัติ ญายปฏิบัติ สามีจิปฏิบัติ.....และเป็นโลกปุญญเขต อย่างแท้จริง



    .............................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    หนังสือแก้วมณีอีสาน
    http://www.manager.co.th/Dhamma/

    อริยสงฆ์ที่ยังดำรงขันธ์อยู่..ที่หลวงตามหาบัว...กล่าวว่าเป็นเนื้อนาบุญของโลก..

    เรียบเรียงโดย แดนโลกธาตุ


    พระอริยสงฆ์ที่องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน (พระอรหันต์แห่งประวัติชาติไทยองค์ปัจจุบัน แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ) ได้กล่าวถึงว่าท่านเหล่านี้ได้ปฏิบัติธรรมจนสามารถทำจิตให้บริสุทธิ์, และหมดแห่งกิจที่ควรทำแล้ว ก็จะมีครูบาอาจารย์ต่างๆในสายพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่นมากมาย ที่ท่านหลวงตามหาบัวได้กล่าวถึงประจำ แต่ในบางครั้งท่านเหล่านั้นจะไม่พูดว่าได้ขั้นไหน ๆ แล้วเพราะท่านอาจจะมองเห็นปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น คนมารุมตอม.ไม่เว้นแต่ละวันทำให้ท่านไม่ได้พักผ่อน

    ยกตัวอย่างเหตุกาณ์ ในวันนั้นที่ข้าพเจ้าถามพระเถระพระป่า (ไม่ขอเอ่ยนามท่าน) ข้าพเจ้าถามว่า.....ดังนี้

    ..หลวงปู่เป็นพระอรหันต์หรอครับ....
    ท่านก็จะตอบว่า..........ดูเอานี่ไงหันซ้ายหันขวา..
    แล้วท่านก็.....จะทำท่าหันไปข้างซ้าย...หันไปข้างขวาให้เราดู...
    คนถามก็จะอดหัวเราะไปกับท่านไม่ได้ครับ........

    แล้วท่านก็เมตตาบอกว่า....ไม่สำคัญที่จะไปถามว่าพระรูปไหนสำเร็จอะไร เราจะไปกังวลถามทำไม....เราปฏิบัติเองเรารู้เอง..ไม่ต้องถามคนอื่น...

    ทิ้งท้ายท่านเมตตาบอกว่า
    แต่บุญที่ทำกับพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสนั้นได้กุศลมากเลยทีเดียวนะ....


    เหตุกาณ์หนึ่งที่ผู้เขียนได้รับฟังมาจากหูโดยตรง....จากพระธรรมเทศฯองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
    ท่านได้รับรองว่าท่านนั้น ท่านนี้เป็นพระอริยบุคคลหมดกิเลส หลายรูปครับ
    ผู้เขียนจึงอดที่จะเอาเอาเทศนาของหลวงตามหาบัว นั้น มาให้ผู้อ่านรู้ด้วยไม่ได้ครับ
    ดังนี้ครับ........


    "พระหมดกิเลสในสายหลวงปู่มั่น นี้ก็ไม่ใช่น้อย แต่ท่านไม่เปล่งบอกใครเพราะเกี่ยวกับอรรถกับธรรมเห็นธรรมดีเลิศกว่า แต่ที่เราบอกเราก็ไม่ได้อวดอุตริ ใดๆ ทั้งสิ้น จริงคือจริงไม่มีปิดบัง ไม่สงสัยในธรรม ใครจะเอาตำราไหนมาอ้าง ก็ให้มันเอามาได้เลย ที่วัดป่าบ้านตาด ดราไม่สะทกสะเทือน จะชี้แจงแถลงไขให้เข้าใจเอง เอ้าเชิญมา....."


    ที่ได้ฟังท่านเปรย ๆ มาก็พอจับใจความมาว่าท่านไหนได้แล้ว...เสียดายที่ไม่ได้อัดเทบไว้ครับ....



    และนี่ก็คือท่านเปรยว่าล้วนแล้วแต่เป็นพระอริยสงฆ์เนื้อนาบุญของโลกเลยทีเดียว

    ท่านบอกว่า
    1.ท่านอาจารย์เจี๊ยะ จุนโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าภูริทัตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ประทุมธานี

    2.หลวงปู่ลี กุสลธโร
    วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    3.หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร
    วัดป่าประชาชุมพลพัฒนาราม อ.เมือง จ.อุดรธานี

    4.หลวงปู่ขาล ฐานวโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย

    5.พระอาจารย์แบน ธนากโร
    วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

    6.หลวงปู่หลวง กตปุญโญ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดคีรีสุบรรพต จ.ลำปาง

    7.อาจารย์เหรียญ วรลาโภ (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง)
    วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    8.อาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง)
    วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

    9.หลวงปู่หลอด ประโมทิโต
    วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

    10.หลวงปู่มหาเนียม สุวโจ
    วัดเจริญสมณกิจ (หลังศาลภูเก็ต ) อ.เมือง จ.ภูเก็ต

    11.หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล
    วัดสระมงคล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

    12.หลวงปู่ศรี มหาวีโร
    วัดประชาคมวนาราม อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

    13.พระอาจารย์สายทอง เตชธัมโม
    วัดป่าห้วยกุ่ม (ใกล้เขื่อนจุฬาภรณ์ ) อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

    14.หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
    วัดป่าประทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

    15.พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญมากโร
    วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    16.พระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธัมโม
    วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

    17.หลวงปู่ทา จารุธัมโม
    วัดถ้ำซับมืด จ.นครราชสีมา

    18.พระอาจารย์เพียร วิริโย
    วัดป่าหนองกอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    19.อาจารย์สาย เขมธัมโม
    วัดป่าพรหมวิหาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู

    20.อาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    วัดอรัญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    21.หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร
    วัดธรรมมงคล เขตพระโขนง จ.กรุงเทพมหานคร

    22.อาจารย์พวง สุขินทริโย
    วัดศรีธรรมมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร

    23.หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต
    วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

    24.หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม
    วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

    25.หลวงปู่บุญหนา ธัมทินโน
    วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    26.หลวงปุ่บุญพิน กตปุญโญ
    วัดผาเทพนิมิตร อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร

    27.หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดเหสลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    28.หลวงปู่แปลง สุนทโร
    วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    29.หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี

    30.หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป
    วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี

    31.พระอาจารย์ท่อน ญาณธโร
    วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย

    32.พระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม
    วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    33.พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ
    วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    34.พระอาจารย์อุทัย สิรินธโร
    วัดถ้ำพระ อ.เซกา จ.หนองคาย

    35.หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    สำนักสงฆ์สวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

    36.พระอาจรย์วิไล เขมิโย
    วัดถ้ำพณาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

    37.หลวงปู่จันทา ถาวโร
    วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูล จ.พิจิตร

    38.อาจารย์อ่ำ ธัมกาโม
    วัดธุดงคสถานสันติวรญาณ อ.วังโป่ง จ.เพรชบูรณ์

    39.หลวงปู่ถวิล
    จ.อุดรธานี (ไม่ทราบที่อยู่และฉายาท่าน)

    40.อาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสโก
    วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี

    41.อาจารย์วันชัย วิจิตโต
    วัดภูสังโฆ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    42.หลวงปู่มี (เกล้า) ประมุตโต
    วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    43.อาจารย์เสน ปัญญาธโร
    วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    44.อาจารย์คำแพง อัตสันโต
    วัดป่าหนองวัวซอ (วัดบุญญานุสรณ์ ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    45.พระอาจารย์ปัญญาวัฒโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

    42.หลวงปู่มี (เกล้า) ประมุตโต
    วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    43.อาจารย์เสน ปัญญาธโร
    วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    44.อาจารย์คำแพง อัตสันโต
    วัดป่าหนองวัวซอ (วัดบุญญานุสรณ์ ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    45.พระอาจารย์ปัญญาวัฒโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

    46.ท่านฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมญาณ ) (ท่านมรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ )
    วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    (หลวงปู่สิม เคยปรารภให้อาจารย์มหาบัวฟัง)

    47.หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก
    จ.สุพรรณบุรี

    48.หลวงปู่วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    (อันนี้หนังสือไม่ชัดครับเล่มนี้เก่ามากครับ )

    49.พระอาจารย์มหาโส กัสโป
    วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

    50.หลวงปู่คำฟอง เขมจาโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดกุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

    51.หลวงปู่บุญเพ็ง กัปโป
    วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าช้าเหล่างา) อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    52.หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
    วัดเกาะแก้วะดงคสถาน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์

    53.คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    สำนักชีบ้านห้สยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

    54.พระอาจารย์ทุย (ปรีดา) ฉันทกโร
    วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย

    55.พระอาจารย์สรวง สิริปุญโญ
    วัด่าศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

    56.พระอาจารย์สาคร ธัมวุธโธ
    วัดป่ามณีกาญจ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

    57.พระอาจารย์จันทร์โสม กิตติกาโม
    วัดป่านาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    58.พระอาจารย์แยง สุขกาโม
    วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย

    59.หลวงปู่แฟ็บ สุภัทโท
    วัดป่าดงหวาย อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร

    60.พระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร
    วัดถ้ำสหายธรรมจันทร์นิมิตร อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    61.หลวงปู่ผาง โกสโล
    วัดภูหินแตก อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    62.หลวงปู่หล้า เขมปัตโต (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดบนนพตคีรี (ภูจ้อก้อ) อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร

    63.ท่านพระอาจารย์สิงทอง ธัมวโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    64.หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร
    วัดถ้ำประทุน ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

    65.หลวงปู่ต้น สุทธิกาโม
    วัดบึงพลาราม ต.บ้านว่าน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

    66.หลวงปู่สมศักดิ์ ปัณฑิโต
    วัดบูรพาราม ( วัดหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์

    67.หลวงปู่ทอง จันทสิริ
    วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

    68.หลวงปู่ทองใบ ปภสฺสโร
    สำนักวิปัสสนาธุระ (ภูย่าอู่) บ.นาหลวง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    69.หลวงปู่คูณ สุเมโธ
    วัดป่าภูทอง ต.บ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    70.พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม
    วัดพิชัยพัฒนาราม ( วัดป่าเขาน้อยสามผาน ) ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่
    จ.จันทบุรี

    71.หลวงปู่สุทัศน์ โกสโล
    วัดกระโจมทอง ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

    72.หลวงปู่อ้ม สุขกาโม
    วัดภูผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร

    73.ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม
    วัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร

    74.ท่านพระอาจารย์หลอ นาถกโร
    วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ( วัดถ้ำพวง วัดพระอาจารย์วัน อุตโม ) อ.ส่องดาว
    จ.สกลนคร

    75.หลวงพ่อทองคำ กาญวันวัณโณ
    วัดถ้ำบูชา อ.เซกา จ.หนองคาย

    76.หลวงปู่ถิร ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดป่าบ้านจิก) อ.เมือง จ.อุดรธานี

    80.พระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ
    วัดป่ากุง (วัดป่าประชาคมวนาราม ) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

    81.หลวงปู่เผย วิริโย
    วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ จ.เลย

    82.หลวงปู่คำพอง ขันติโก
    วัดป่าอัมพวัน จ.เลย

    83.หลวงปู่อว้าน เขมโก
    วัดป่านาคนิมิตร อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

    84.ท่านพระอาจารย์วิชัย เขมิโย
    วัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย

    85.พระอาจารย์บุญทัน ปุญทัตโต (ท่านเพิ่งจะมรณภาพ เดือน ธค.49 )
    วัดป่าสามัคคีสันติธรรม อ.ฝาง จ.ขอนแก่น

    86.หลวงปู่พิศดู ธรรมจารีย์
    วัดเทพธารทอง ต.พลวง กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี

    87.หลวงปู่เนย สมจิตฺโต
    วัดป่าโนนแสนคำ บ.ทุ่งคำ ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร

    88. หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ
    วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    89.ท่านพระอาจารย์อุทัย ธมฺมวโร
    วัดภูย่าอู่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    90.หลวงปู่ประสาร สุมโน
    วัดป่าหนองไคร้ ต.หนองหิน อ.เมือง จ.ยโสธร


    ท่านเหล่านี้ หลวงตามหาบัว รับรองไว้แล้วครับ ใครใกล้ที่ใดก็สามารถไปเข้าหาได้เลย


    ที่มา http://board.palungjit.com/showthread.php?t=99476

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท