จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

กระบวนการของชุมชน


ช่วงนี้งานของผมอยู่ในระยะตีบตันครับ ยังไม่สามารถลงมือเขียนอะไรได้เลย จึงจำเป็นต้องหยิบงานที่มีความสำคัญลำดับรองลงมามาทำไปก่อน (อย่างไม่ค่อยเต็มใจนัก เพราะงานด่วนกลับทำไม่ได้เลย) 

วันนี้หลังสอนในตอนเช้า ก็ได้รับสายจากชุมชนบาโงซีแน โทรมาถามว่า ผมจะไปที่บาโงซีแนได้หรือเปล่า (ความจริง ทีมงานไม่ให้ผมไปก่อนครับในช่วงนี้) ผมก็เลยถามว่า ทีมชุมชนพร้อมแล้วหรือ คำตอบคือ พร้อมแล้ว อยากให้ผมไปวันนี้เลยตามนัดหมายเดิม ผมก็เลยไปตามข้อเรียกร้องครับ แต่ถึงไปช้ากว่าที่นัดสิบห้านาทีครับ เจอกะเดาะห์ แกนนำชุมชนนั่งรอสมาชิกมาประชุมอยู่เรียบร้อยแล้วครับ

พอได้เริ่มพูดคุย ประเด็นก็มาอย่างพรั่งพรูครับ ที่น่าสนใจคือ กลุ่มอสม. และกลุ่มแม่บ้านพยายามจะบอกผมว่า ไม่ว่านโยบายหน่วยงานของรัฐมีมาว่าอะไร ชุมชนที่นี้นำมาปฏิบัติตามหมด แต่ปัญหาคือ ทำแล้วไม่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นทางด้านสุขภาพของคนในชุมชน คำถามของชุมชนถึงผมคือ "ทำอย่างไรให้การดูแลสุขภาพของคนในชุมชนมีความต่อเนื่องและเห็นผลได้จริง?" เขาไม่อยากทำงานตามแฟชั่น และอยากให้กิจกรรมที่เขาทำนั่นเห็นผล ได้รับผลกับคนในชุมชนอย่างแท้จริง อือ น่าคิดครับ

คำถามจากผมกลับไปคือ อะไรคือสาเหตุของความไม่ต่อเนื่องของงานเหล่านั้น ทำไมมันจึงไม่เห็นผลที่ชัดเจน? คราวนี้ ก็เลยต้องมาแยกเป็นเรื่องๆ ครับ ตั้งแต่เรื่องของผู้สูงอายุในชุมชน คนวัยทอง คนวัยทำงาน และกลุ่มเยาวชน

เอาประเด็นกลุ่มเยาวชน ปัญหาที่น่ากังวลมากคือ ยาเสพติด โดยเฉพาะใบกระท่อมครับ ระบาดหนักจริงๆ เกือบจะทุกหลังคาเรือนแล้ว (อันนี้เสียงสะท้อนมันดังมา) แล้วการแก้ไขก็ทำได้ยากมากด้วย เนื่องจากพ่อแม่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ เนื่องจากอับอาย การแก้ปัญหาแบบรวมๆ ไม่ได้ผล และข้อเสนอหนึ่งจากก๊ะเดาะห์คือ ต้องให้มีองค์กรในระดับตำบลมาแก้ ไม่ใช่ใช้การแก้ในระดับจังหวัด

ส่วนอีกสามกลุ่มที่เหลือ ผมเห็นการดำเนินงานของกลุ่มอสม.ทำงานในพื้นที่ค่อนข้างชัดเจนครับ แต่ก็ยังให้ผลสำเร็จได้ไม่มากนัก ก็เลยถามกันต่อว่า อะไรที่น่าจะทำให้งานเหล่านี้ประสบความสำเร็จ (ก็คำถามที่ชาวบ้านถามผมตอนแรกนั่นแหละครับ แต่คราวนี้เปลี่ยนกลับเป็นผมถามแทน)

จากหลายๆ ช่องทางที่กลุ่มแม่บ้านเสนอออกมา ผมอดไม่ได้ครับที่จะบอกว่า ผมชอบวิธีๆ หนึ่งมากๆ ความจริงในฐานะพี่เลี้ยงไม่ควรชี้นำขนาดนี้เลย พอนึกได้ก็นิ่งก่อนครับ แล้วก็ใช้คำถามชวนคุยต่อ ปรากฏว่า ภาพแรกที่ออกมาว่า เราจะทำวิจัยประเด็นไหน อย่างไร ก็ออกมาชัดเจนขึ้นครับ ผมก็เลยคุยกันว่า คราวหน้าชุมชนจะต้องทำอะไรต่อ เพื่อการพูดคุยในครั้งแต่ไป

เสร็จจากประเด็นสุขภาพก็ตามมาด้วยประเด็นอัลกุรอาน อันนี้ใช้ความต้องการเป็นเป้าของงานวิจัยที่อยากทำครับ โดยเอาปัญหาจากที่อื่นที่เขาได้ทำไปแล้วมาเป็นบทเรียนแรกก่อนเดินกิจกรรม

จากการคุยก็ได้ประเด็นครับ แต่อาจจะไม่ค่อยชัดเท่าไร เนื่องจากกรอบงานยังกว้างอยู่ แต่ไม่เป็นไรครับ คุยกันได้อีกหลายครั้ง

ได้คุยกับชุมชนวันนี้แล้ว รู้สึกสบายใจครับ น่าประทับใจด้วย เพราะได้เห็นคนในชุมชนที่มีความห่วงใยกัน ปราถนาดีต่อกัน และพยายามสร้างสรรค์ชุมชนให้น่าอยู่ ที่สำคัญพยายามจะไม่ตอบโจทย์ด้วยวิธีการที่รัฐกำลังทำอยู่

ออ. อีกอย่างหนึ่งที่เห็นชัดสำหรับกลุ่มนี้คือ รูปแบบการทำงานเป็นทีมครับ เป็นระบบอัตโนมัติเลยครับ นั่งประชุมมีการเซ็นต์ชื่อมาประชุม มีเลขาจดบันทึกการประชุม แถมจดบันทึกได้ดีมากด้วยครับ (แอบเหลือบไปอ่านหลายครั้ง) ต้องเรียกว่า เป็นกลุ่มอสม.ที่ทำงานเป็นระบบและมืออาชีพจริงๆ ครับ ทึ่งจริงๆ

คำสำคัญ (Tags): #วิจัยท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 233368เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2009 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แวะมาทายทักค่ะ
  เพราะชื่อเดียวกับน้องชาย  เพียงแต่เขียนแตกต่าง  จารุวัฒน์ 

  ขอสวัสดีปีใหม่ รับปีฉลู  ให้มีความสุข ปลอดโรค ปลอดภัย ไร้ความทุกข์ในทุกประการค่ะ

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วทึ่งจริงๆ และดีใจที่ได้กลุ่มอสม.เก่งๆ และเป็นงาน ที่สำคัญ เค้าทำด้วยใจคะ แล้วยังทำให้พี่สาวนึกถึงวัยเด็กที่นครศรีธรรมราช และที่อ.ร่อนพิบูลย์   พอรำลึกได้สมัยที่เป็นเด็กๆ เพื่อนบ้านมักไม่กล้าพูดอะไรให้พ่อฟัง เพราะรู้สึกอาย แต่เมื่อพ่อได้ใกล้ชิดมากๆ ชนิดที่เปิดประตูบ้านมาตอนเช้า เจอตะกร้าทรงเตี้ยๆ มาวางไว้หน้าประตูบ้าน เลย เป็นตะกร้าใส่ปูทะเล ใส่ปลาดุก แต่พ่อก็เอาไปแจกจ่ายเพื่อนบ้านหมด พ่อบอกให้แม่แจกให้หมด มารู้ทีหลังพ่อไม่ทำกินอาหารที่ยังมีชีวิต ชาวบ้านรักพ่อมาก เค้ารักแล้วมีอะไรก็จะร่วมมือ งานอนามัยของพ่อสมัยนั้นนับว่ารุ่ง  พวกเราพลอยได้ผลตรงนี้ด้วย พ่อพาลูกชายลงคลุกคลีกับชาวบ้าน ที่ร่อนพิบูลย์ แนะนำและสอนชาวบ้านให้รู้จักส้วมซึม เป็นครั้งแรก ที่มีส้วมซึมเกิดขึ้นที่ร่อนพิบูลย์ เราไม่มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องอาหาร ศาสนา แม้จะนับถือคนละศาสนา พ่อสอนให้เราให้เกียรติเพื่อน และทุกคน เช่นเวลาเพื่อนถึอศีลอด เราควรทำอะไร และไม่ควรทำอะไร เพราะเพื่อนกำลังทำความดี  พวกเรายังไม่เข้าใจอะไรมากหรอกนะ ตอนนั้น แต่เราก็ทำตามพ่อสอน พ่อให้เราร่วมกิจกรรมกับเพือนบ้าน ซึ่งเราก็รู้สึกดี เพราะเขาก็สอนให้ดีเหมือนกัน การระลึกถึงคนดี เป็นสิ่งดีไม่ว่าเขาจะเป็นใคร เพราะมันทำให้จิตใจเราเป็นสุข เราเรียนหนังสือร่วมกัน เล่นด้วยกัน สนุกด้วยกัน

เดี๋ยวนี้ข่าวที่ได้รับมันไม่เหมือนสมัยที่ยังเด็กเลย  รู้สึกใจหายนะ

 ขอบคุณค่ะ

  • ดีใจมากและขอบใจมากที่ อ.เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงได้ดี
  • จริงๆแล้ว กลุ่มนี้ไม่ใช่ใครที่ไหน เกือบทั้งหมดไม่เป็นเพื่อนก็เป็นลูกศิษย์
  • ที่นี้..ฐานะของผมมันค้ำผมอยู่ ทำให้ผมไม่ค่อยได้คลุกคลีกับพวกนี้เท่าไร อาจจะเป็นเพราะผมวางตัวมากเกินไปหรือไงไม่รู้เหมือนกัน แต่ผมคิดว่าบางครั้ง พอผมเข้าไปทีหาพวกเขาส่วนใหญ่จะเงียบ .. ไม่ค่อยพูดอะไร โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงแล้ว.. ยิ่งห่างครับ
  • ยังไงก็ตามครับ ผมสนับสนุนเต็มที่

อัลฮัมดุลิลละฮฺมากครับ...เห็นการทำงานของอาจารย์แล้ว ผมคลุกคลีกับชุมชนบาโงยซิแนมาร่วม ๖ ปี โดยเฉพาะเยาวชน คนที่นั่นเป็นคนใฝ่รู้ครับ ยิ่งได้อาจารย์มีจิตวิทยาในการพูด + ชำนาญวิจัยเข้าไปร่วมผลักดันพัฒนา ผมเชื่อว่าชุมชนที่นั่นจะเป็นชุมชนต้นแบบได้ไม่นานครับ ขอเป็นกำลังใจให้ครับ นับถือๆๆๆ จริงๆครับ

คงได้เจออาจารย์ก็คงวันจันทร์หน้าครับ เวลานี้ขอตามล่าฝันก่อนครับ...ตอนนี้ผมอยู่กรุงเทพฯครับ มาประสานงานหลายเรื่องครับ พร้อมเปิดตัวหนังสือในงานมหกรรมหนังสือมุสลิม ครับ

ขออัลลอฮฺคุ้มครองนะครับ...

ขอบคุณครับ phayorm แซ่เฮ

รับผมเป็นน้องชายอีกคนก็ได้ครับ

ขอบคุณครับพี่ krutoi
เป็นเรื่องเล่าที่น่าประทับใจครับ แล้วก็นำมาเป็นแบบในการเข้าถึงชุมชนเพื่อการพัฒนาได้เป็นอย่างดีครับ

ขอบคุณครับIbm ครูปอเนาะ

อาจารย์ต้องเป็นแบ็คให้ผมอยู่แล้วครับ

ขอบคุณครับอาจารย์เสียงเล็กๆ

รอบหน้าจะให้อาจารย์เป็นคนช่วยดึงวัยรุ่นมาทำงานร่วมกันแล้วละครับ เพราะผมเข้าไม่ถึงกลุ่มนี้ (ฮิฮิ หน้าแก่ไปนิดหนึ่ง)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท