ทำไมต้อง Task-Based Learning


Task-Based Learning

ทำไมต้อง  Task-Based Learning

ผมเริ่มเรียนรู้คอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง จากการลองผิดลองถูกเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะพื้นฐานภาษาอังกฤษน้อย Help ที่มีในโปรแกรมต่างๆ สำหรับผมแล้วก็ไม่ต่างกับเหว ลึกด้วย มองไม่เห็นก้นเหว เมื่อก่อนหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีน้อย ราคาแพง การศึกษาแบบลองผิดลองถูกด้วยแรกผลักของการอยากรู้อยากเห็น และเพื่อแก้ปัญหา ใช้เวลาแต่ละโปรแกรมประมาณ ๑ ปี จึงจะพอเข้าใจโปรแกรมและสามารถสร้างผลงานได้

มาระยะหลังหนังสือ คู่มือการใช้คอมพิวเตอร์มีมาก การที่จะซื้อหนังสือมาอ่านแล้วเรียนรู้การใช้โปรแกรมหนึ่งๆ ก็ยังมีปัญหา เพราะหนังสือบางเล่มมีรายละเอียดมาก อ่านไปปฏิบัติตามไป เสร็จแล้วก็ยังมีปัญหา มากเกินความจำเป็น ลึกเกินเป้าหมายการใช้งานของตนเอง เสียเวลามากไปทำให้ท้อ ถึงอาจเลิกถ้าไม่มีความจำเป็นจริงๆ การซื้อหนังสือเพื่อเรียนการใช้คอมพิวเตอร์เริ่มเปลี่ยนจากการซื้อเล่มโตๆ ได้คุ้ม มาเป็นซื้อเล่มเล็กก่อน ศึกษาเข้าใจง่าย และแคบ จากนั้นค่อยซื้อเล่มโตๆ หนาๆ เจาะลึกทีละเรื่องตามความสนใจและจำเป็น

ศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีก่อนคนอื่น พอเป็นบ้างก็จำเป็นที่จะต้องถ่ายทอดให้เพื่อครูด้วยกัน เทคนิกการถ่ายทอดก็นึงเองกำหนดเอา โดยใช้ประสิทธิภาพของโปรแกรมเป็นหลัก ยึดเอกสารเป็นสำคัญ ว่าไปที่ละเรื่อง ครบวันจบเอกสารประกอบ ผู้เข้าอบรมมีหน้าที่ไปประยุกต์เอง ผ่านไปหลายครั้ง หลายปี พบผู้ที่เคยเข้ารับการอบรมด้วย หรือติดตามดูห่างๆ พบว่าล้มเหลว มีคนที่ต่อยอดได้น้อยมาก (แทบไม่มี)

ต่อมาครูคอมพิวเตอร์ขาดแคล ผมพอมีความรู้บ้างจึงต้องมาสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ระยะแรกของการสอนก็ใช้รูแบบอย่างที่ใช้ในการอบรม สอยอยู่ปีถึงสองปี ผลการสอนมันฟ้องออกมาว่า นักเรียนไม่สามารถนำความรู้ที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (ครูวิชาอื่นสั่งงานให้นักเรียนทำรายงานโดยใช้คอมพิวเตอร์) เอ... ในขณะเรียนนักเรียนก็เข้าใจ ทำได้ตามเรื่องที่สอนนี่นา

เกิดความคับข้องใจ ว่าโรงเรียนหรือครูคนอื่นเขาสอนกันอย่างไร จึงรวบรวมตั้งเป็นชมรมครูคอมพิวเตอร์จังหวัดลำปาง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูโรงเรียนอื่นๆ พบว่าส่วนใหญ่ก็สอนโดยใช้โปรแกรมและตำราเป็นสำคัญเช่นกัน บางคนมีแนวทางที่น่าสนใจขึ้นคือ สอนครบหมดทุกเรื่อง จากนั้นให้นักเรียนนำความรู้ที่เรียนมาสร้างชิ้นงาน

ผมลองนำแนวคิดการสอนจนครบทุกเรียนแล้วให้นักเรียนสร้างผลงาน ก็ยังพบปัญหาคือ นักเรียนไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี

กลับมาพิจารณาการศึกษาโปรแกรมหรือการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์ของตนเองในระยะหลัง จะเรียนรู้โปรแกรมอะไร จะเริ่มจากการกำหนดเลยว่าโปรแกรมใช้ทำอะไร จากนั้นจะกำหนดชิ้นงานเลยว่าจะทำอะไรสรุปขั้นตอนได้ดังนี้

ขั้นตอนการเรียนและสร้างชิ้นงาน

  1. ศึกษาเอกสาร คู่มือ ๑ รอบเพื่อให้ทราบประสิทธิภาพโดยรวม
  2. กำหนดรายละเอียดชิ้นงานง่ายๆ ใกล้เคียงกับการนำไปใช้จริงในชีวิต
  3. เรียน -> สร้างงานทีละประเด็น (เรียนไป สร้างงานไป) งานเสร็จ เรียนจบ

ได้นำขั้นตอนนี้มาใช้ในการเรียนการสอนจนปัจจุบัน ผู้เรียนเรียนเพื่อรู้ รู้เพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริงได้

ขั้นตอนการเรียนและสร้างชิ้นงานที่พัฒนาแล้ว

  1. กำหนดหลักสูตร
  2. สร้างชิ้นงานต้นแบบ
  3. ผลิตสื่อ
  4. นักเรียนรู้ภาพรวมของเรื่องที่จะเรียน, สื่อ, ผลงาน
  5. นักเรียนเริ่มเรียนและเริ่มสร้างผลงาน ครูเป็นที่ปรึกษา ช่วยแก้ปัญหา เพื่อนช่วยเพื่อน

ยังไม่จบ จะต่อเติมในภายหลังครับ

 

หมายเลขบันทึก: 233278เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2009 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2013 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาเป็นนักเรียนด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

มาเรียนรู้ด้วย และขอให้โชดดีปีใหม่ครับ

อฐิษฐาน พระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์

เบิกชีวิต ให้แจ่มใส และไพศาล

เจริญสุข สรรเสริญ เจริญงาน

ทรัพย์ศฤงคาร อนันต์ใน ปีใหม่เทอญ

สวัสดีครับ..

แวะมาขอบคุณเรื่องโหวต..นะครับ

โลกวันนี้เป็นสังคมโลกสองภาษาและเป็นสังคมโลกแห่งการสื่อสาร  การเรียนรู้ดำเนินไปในหลายมิติ แต่ทั้งปวงนั้น ก็ใช้ใจเป็นกลไกขับเคลื่อนด้วยกันทั้งนั้น

ขอบคุณครับ

 

เป็นวิธีการสอนที่ดีมากค่ะ จะคอยติดตามต่อนะคะ ขอบคุณมากสำหรับความรู้ที่มาแบ่งปันกันค่ะ

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท