กฎหมายวิธีพิจารณาความกับ cyberspace


jurisdiction, cyberspace law

 โลกเข้าสู่สังคมยุคข่าวสาร (Information Age) มานานหลายทศวรรษแล้ว  ปัจจุบัน ทุกคน

สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและติดต่อถึงกันได้อย่างสะดวกง่ายดายและรวดเร็วด้วยการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอินเตอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า cyberspace   อย่างไรก็ดี  มีข้อสังเกตว่าใครเป็นเจ้าของพื้นที่บนพื้นที่ไร้พรมแดนนี้ ในเมื่อทุกคนทั่วโลกอยู่คนละประเทศกันภายใต้เขตอำนาจรัฐของตนเอง และหากต้องมีข้อพิพาทกัน กฎหมายใด และกฎหมายของประเทศใด  หรือภายใต้เขตอำนาจศาลของประเทศใดจะมีผลใช้บังคับ   เมื่อพิจารณาถึงประเด็นนี้แล้ว จะเห็นว่าการกำหนดเขตอำนาจศาลบน cyberspace  เป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนอย่างยิ่ง การจะนำหลักแนวคิดเรื่องเขตอำนาจศาลแบบดั้งเดิมมาปรับใช้ ก็จะต้องคำนึงถึงว่า cyberspace  โดยสภาพ  ไม่มีลักษณะทางกายภาพ ไม่มีภูมิศาสตร์ ไม่มีอาณาเขต ไม่มีพรมแดนกำหนดไว้แน่นอน จึงต้องพิจารณาเรื่องเขตอำนาจศาลระหว่างประเทศอย่างรอบคอบและเหมาะสมสอดคล้องกับการนำไปบังคับใช้ร่วมกันระหว่างประเทศต่าง ๆ

                   เมื่อพิจารณาคำว่า  jurisdiction มาจากภาษาละติน  “ius” หรือ “iuris” หมายความว่ากฎหมาย (law) และ “dicere”  หมายความว่าพูด (to speak) เมื่อนำมารวมกัน   คำว่า “jurisdiction” จะมีความหมายว่า  “the practical authority granted to a formally constituted legal body or to a political leader to deal with and make pronouncements on legal matters and, by implication, to administer justice within a defined area of responsibility.”[1] สรุปความหมายคืออำนาจในทางปฏิบัติที่มีกฎหมายออกมารองรับอย่างเป็นทางการหรือผู้นำทางการเมืองให้อำนาจไว้เพื่อที่จะจัดการและประกาศใช้เนื้อหากฎหมายออกมา  และโดยปริยาย เพื่อที่จะจัดการให้เกิดความยุติธรรมภายในขอบเขตความรับผิดชอบที่กำหนด   ซึ่งจากการพิจารณาความหมายนี้ จะเห็นได้ว่ามีความหมายอย่างกว้าง  โดยมีสององค์ประกอบหลัก คือ (1) เขตศาล อันหมายถึงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ศาลมีอำนาจพิจารณาคดี และ (2) อำนาจศาล หมายถึงอำนาจในการพิจารณาคดีโดยพิจารณาจากเนื้อหาสาระแห่งคดี (subject matter) ว่าศาลมีอำนาจที่จะรับฟ้องหรือไม่เพียงใดตามกฎหมายที่ประกาศหรือบัญญัติออกมา

                  ในอีกความหมายหนึ่ง เขตอำนาจศาลรวมถึงอำนาจของรัฐในการตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือพฤติการณ์ใดโดยเฉพาะ และใช้อำนาจในการพิจารณาพิพากษาในกระบวนการระงับข้อพิพาทของศาลหรืออนุญาโตตุลาการ และเพื่อที่จะบังคับการให้เป็นไปตามคำพิพากษา หรือลงโทษกรณีไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย  ดังนั้น ในความพยายามร่างกฎหมายกำหนดเขตอำนาจศาลบน cyberspace  ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศได้จำกัดอำนาจรัฐในการใช้เขตอำนาจศาลต่อคดีที่เกี่ยวกับผลประโยชน์หรือกิจกรรมของบุคคลที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในรัฐนั้น 


[1] http://en.wikipedia.org/wiki/Jurisdiction

คำสำคัญ (Tags): #cyberspace law#internet law#jurisdiction
หมายเลขบันทึก: 230627เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2008 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียนมากน้อยไม่เท่าไรค่ะ แต่รู้สึกว่าใช้ประโยชน์จากที่เรียนมาน้อยมาก

จึงอยากเผยแพร่ความรู้เท่าที่มีให้มากที่สุด

ยินดีแลกเปลี่ยนทุกเรื่องค่ะ

สวัสดี ครับ คุณ sila

ถือประเด้นร้อน รื่องหนึ่งเลยทีเดียวนะครับ

กฎหมายวิธีพิจารณาความกับ cyberspace

แล้ว กรณี clip ดารา ทั้งไทย และเทศ ที่ปลิวว่อน อยู่ใน cyberspace

ละครับ...การนำกฏหมายมาพิจารณา ประเด็นนี้ได้อย่างไร

ต้องมีการใช้ คำสิทธิส่วนบุคคล แค่ไหน อย่างไร ครับ

ผมนำ ชาร้อนมาฝาก ครับ

 

กลับมาแล้วค่ะ คิดถึงและมาติดตามงานเขียนของคุณศิลาเช่นเคยนะคะ

ผมก็ไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้นะครับ แต่คิดว่าน่าสนใจดี

ผมคิดว่าการกำหนดเขตอำนาจศาลในการพิจารณาคดีของประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะอิงกับการปรากฏตัวทางกายภาพของจำเลยในสถานที่นั้น หรือมูลคดีเกิดขึ้นในสถานที่นั้น ซึ่งหากเป็นกรณีที่ไม่เกี่ยวข้องกับ cyberspace ก็ดูดี แต่พอปัญหาเกี่ยวข้องกับ cyberspace จะมีปัญหาคือ ตัวจำเลยอาจไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาเพราะทำการอยู่นอกประเทศ แต่ความเสียหายกลับมาเกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้ง ๆ ที่ตัวจำเลยเองก็ไม่ได้คาดหวังเลยว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นในประเทศไทย (เช่น ทำ web site ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาตามกฎหมายไทย) จริงอยู่ว่าศาลไทยอาจตีความได้ว่าการเกิดความเสียหายในประเทศไทยถือได้ว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ถามจริง ๆ ว่ามันเป็นธรรมแก่จำเลยหรือเปล่าที่เจ้าตัวยังไม่รู้เรื่องอะไรเลย กลับต้องอยู่ภายใต้การดำเนินคดีในศาลไทย

ปัญหานี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาแล้ว โดยเค้าจะพิจารณาในการพิจารณาว่าศาลมีอำนาจเหนือคดีหรือไม่โดยอาศัยหลักการจาก หลัก Due process of law จำเลยจะถูกดำเนินคดีในรัฐอื่นที่ตนไม่มีภูมิลำเนาได้ก็ต่อเมื่อจำเลยมีการกระทำอันเป็น systematic and continuous contact กับรัฐดังกล่าว หรืออีกกรณีคือได้กระทำการอันคาดหมายได้ว่าจะอยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลนั้น กล่าวคือ จำเลยต้องมี minimum contact กับรัฐที่พิจารณานั้น ซึ่งแนวทางของสหรัฐอเมริกา ผมคิดว่าก็เป็นธรรมแก่จำเลยพอสมควร เพราะผมคิดว่า การดำเนินคดีกับจำเลย ไม่ควรคิดแต่จะนำตัวเขามาดำเนินคดีให้ได้ แต่ต้องกระทำโดยให้ความเป็นธรรมแก่เขา ซึ่งเท่ากับต้องให้โอกาสเขาในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ได้ ซึ่งการที่จำเลยจะมีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ได้ เขาต้องมีการกระทำบางอย่างที่คาดหมายได้ว่าอยู่ภายใต้การพิจารณาของศาลประเทศเรา

แต่การจะใช้รูปแบบของสหรัฐอเมริกามาปรับใช้กับประเทศเราก็คงนำมาสู่ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ แนวทางของเขาต้องพิจารณา contact ของจำเลยเป็นรายกรณี ซึ่งเราอาจมีปัญหาในการตีความได้

ผมรู้แค่นี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท