Academy : โรงเรียนในประเทศอังกฤษ (จากบทความ เลขา สพฐ.)


หลังจากปรับปรุงโรงเรียนจนมีกระแสตอบรับอย่างดีแล้ว(มีชื่อเสียงพอสมควรแล้ว) การคัดเลือกเด็กเข้าเรียน ไม่ได้เลือกคนเก่งที่สุด ได้เลือกตามระบบ Banding คือ แบ่งนักเรียนตามคะแนน เป็น 5 กลุ่ม หรือ 5 Bands คือ A,B,C,D และ E และเลือกจากทุกกลุ่มๆ ละ 20% เพื่อจะได้นักเรียนที่คละกัน

        ผมเข้าไปอ่านบทความใน พบกันทุกวันอังคาร ทรรศนะของเลขาธิการ กพฐ. คุณหญิง ดร. กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ใน  http://www.obec.go.th  ฉบับวันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ท่านเลขาได้เล่าเรื่องที่น่าสนใจประการหนึ่ง(จริง ๆ แล้ว บทความของท่านเลขา จะให้ความรู้ ข้อคิดกับโรงเรียนหรือผู้เกี่ยวข้องอย่างมากมาย ทุกสัปดาห์ ซึ่งผมเอง ก็เป็นคนหนึ่งที่เรียนลัด ด้วยการแอบเข้าไปอ่านทุกสัปดาห์) ที่เห็นว่าควรนำมาขยายความ

บทความฉบับดังกล่าว ท่านเลขาฯ ได้เล่าเรื่อง การไปดูงานด้านการศึกษาที่ประเทศอังกฤษ  โดยบอกว่า  อังกฤษกำลังเน้นการพลิกโฉมโรงเรียนโดยปรับให้เป็น “Academy” คือ โรงเรียนที่มีความเป็นอิสระ แต่ก็ต้องมีความรับผิดชอบในตนเอง ปัจจุบันมีประมาณ 40 กว่าแห่ง และมีเป้าหมายจะขยายเป็น 400 กว่าแห่ง ในอีก 3-4 ปี ข้างหน้า

         ในหลักการ โรงเรียนที่เป็น Academy จะเคยเป็นโรงเรียนที่มีปัญหา (Failing school) และได้รับการปรับปรุงใหม่ จะมี Board บริหาร และ Sponsor สนับสนุนร่วมกับรัฐบาล โดยจะมีอิสระในการกำหนดหลักสูตร การเรียนการสอน บรรจุแต่งตั้ง บริหารบุคลากรทุกระดับ บริหารอาคาร สถานที่  โรงเรียนสามารถหารายได้จากทรัพยากรได้  รัฐบาลจะสนับสนุนงบลงทุนตามที่วางแผน 3 ปีร่วมกัน โรงเรียนจะต้อง ดูแล ผลักดันให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามที่ตกลงกับรัฐบาล

                ประเด็นที่น่าสนใจในบทความ คือ  เรื่อง “กระบวนการรับเด็ก” ของ Academy  หลังจากการปรับปรุงโรงเรียนจนมีกระแสตอบรับอย่างดีแล้ว(มีชื่อเสียงพอสมควรแล้ว)  การคัดเลือกเด็กเข้าเรียน ไม่ได้เลือกคนเก่งที่สุด จะเลือกตามระบบ Banding คือ แบ่งนักเรียนตามคะแนน เป็น 5 กลุ่ม หรือ 5 Bands คือ A,B,C,D และ E และเลือกจากทุกกลุ่มๆ ละ 20%  เพื่อจะได้นักเรียนที่คละกัน ซึ่งการคัดเลือกเด็กตามแนวนี้ จะทำให้ มีเด็ก เก่งมาก เก่ง  ปานกลาง  อ่อน และ อ่อนมาก ในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน  

อ่านบทความนี้แล้ว เห็นว่า วิธีการรับเด็กของโรงเรียน ดังแนวทางข้างต้น เป็นวิธีการที่ท้าทายความสามารถของครูเป็นอย่างยิ่ง ครูจะต้องเก่งในการสอนเด็กกลุ่มคละความสามารถ ครูจะต้องเก่งในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กเรียนอ่อน(ครูจะต้องเกรด A อย่างแท้จริง) ซึ่งแตกต่างจากการคัดเลือกเด็กแบบสอบแข่งขันคัดเอาเฉพาะคนเก่งทั้งหมด เข้าไปไว้ในโรงเรียนเดียวกัน   การสอนเด็กเก่งทั้งหมด หรือเด็กเก่งเป็นส่วนใหญ่ น่าจะง่ายกว่า การสอนเด็กแบบคละความสามาร.....อ่านแล้ว อยากให้โรงเรียนที่มีชื่อเสียง ทดลองนำไปปฏิบัติบ้าง  อาจพบมุมมองในการสอนที่แตกต่างจากในปัจจุบันก็เป็นได้

 

หมายเลขบันทึก: 228907เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2008 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 00:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

การสอนเด็กเก่งทั้งหมด หรือเด็กเก่งเป็นส่วนใหญ่ น่าจะง่ายกว่า การสอนเด็กแบบคละความสามาร.....

  • ดิฉันเคยเห็นตัวอย่างของครูฝรั่งสอนค่ะ
  • ทำให้ทราบเทคนิคของการคละความสามารถเป็นอย่างดี
  • เคยนำมาใช้แล้วได้ผลดีค่ะ
  • แต่ต้องเป็นการประเมินสภาพจริง
  • ความสำคัญขึ้นอยู่กับเทคนิคการแก้ปัญหาของครูและการเข้าใจพื้นฐานจริง ๆของเด็กด้วยค่ะ
  • บางรายอาจต้องใช้เวลา
  • ทำให้เด็กที่เรามองเห็นว่าไม่เอาไหน..กลายเป็นคนเอาไหนมากขึ้นค่ะ
  • ขอขอบคุณอาจารย์ค่ะ
  • ครูคิม น่าจะลองเล่า "วิธีสอน ในชั้นเรียนคละความสามารถ" นะครับ
  • ขอบคุณ ที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
  • ระบบนี้ ถ้านำมาใช้ในไทย คงช่วยแก้ปัญหาเด็กแย่งกันเข้าโรงเรียนดัง ๆได้
  • เป็นการประกันศักยภาพของโรงเรียน ว่าทุกโรงเรียนต้องสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ตรงตามศักยภาพของเขาจริง ๆ
  • ช่วยกระจายความเจริญ และกระจายคนมีคุณภาพไปสู่บ้านเกิด ได้มากขึ้นด้วย
  • เป็นระบบที่น่าทดลองครับ
  • จริง ๆ แล้ว อาจทดลองในโรงเรียนที่ค่อนข้างได้รับความนิยม(ได้รับความนิยมระดับปานกลาง)

- เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ในเมื่อเราทดลองอะไรต่างๆสารพัดแล้วยังหาคำตอบสุดท้ายไม่ได้วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสม

- ผมจำคำสอนของอาจารย์ที่ว่า ถ้าเด็กเกรด A ครูเกรดอะไรก็สอนได้เพราะเด็กมีความพร้อมอยู่แล้ว ดังนั้นการพัฒนาเด็กเกรด A เหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องยากเกินไป แต่ถ้าเราใช้การคละเด็กมายู่ร่วมกัน การพัฒนาเด็กจะมีหลายมิติมากกว่า

- ปีใหม่รักษาสุขภาพนะครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • ครูอ้อย คิดเองนะคะว่า โรงเรียน ใหญ่ๆ ดังๆ ที่เคยเลือกเฟ้นแต่นักเรียนเกรด เอ เขาคงไม่ยอมทดลองมั้งคะ  เขาก็จะทำในสิ่งที่เคยทำน่ะค่ะ
  • ขอชมเชยโรงเรียนสาธิต ฯ บางแห่งในสมัยก่อนที่ทดลองแบบนี้น่ะค่ะ แต่ปัจจุบัน...ไม่แน่ใจ
  • ครูอ้อยชอบสอนนักเรียนแบบคละ...ท้าทาย และนักเรียนได้รับหลายอย่าง หลายมุม ทั้ง ความรู้ ทักษะ และค่านิยม
  • ครูอ้อยใช้วิธีนี้มาหลายปีแล้วค่ะ คละความสามารถ  ได้ผล ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนด้วยนะคะ

รักษาสุขภาพนะคะ อาจารย์ (พี่ชาย)

Bea3

  • สวัสดีครับ ครูอ้อย ตื่นแต่เช้าเลยนะครับ
  • เป็นสิ่งที่น่าทดลอง สำหรับโรงเรียนสาธิตในปัจจุบัน น่าจะไม่มีระบบนี้แล้วครับ  ถ้าใครทราบว่าที่ไหนมี ช่วยแจ้งด้วยนะครับ
  • ขอบคุณมากที่เข้ามาแลกเปลี่ยน ผมสบายดี  คงจะสบายดีเช่นกันนะครับ

เห็นด้วยในการคละเด็กเข้าโรงเรียน

แต่ไม่เห็นด้วยในการคละเด็กในชั้นเดียวกันที่มีความสามารถต่างกันค่ะ

เพราะเคยเจอกับตัวเอง ทนรอคนที่เรียนช้า ไม่ไหว จนอยากจะขาดเรียน

เพราะครูมัวแต่คอยดูแลคนอ่อน/ช้าอยู่นั่นแหละ

ใช้เวลาเป็นเทอม ๆ ก็ไม่ได้อะไรเท่าไหร่

"คบพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล"

เทียบกับการคละความสามารถในห้องเดียวกัน

"เด็กอ่อนอาจฉุดเด็กเก่งลง หรือเด็กเก่งอาจฉุดเด็กอ่อนขึ้น" จะเกิดผลอย่างไร?

จริง ๆ เด็กไม่ต่างกันเท่าไหร่

แต่สิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมเขามาตลอดต่างหากที่ทำให้เขาแตกต่างกัน

  • จริง ๆ แล้ว ถ้ามองแบบช่วงห่าง คนอ่อน กับ คนอ่อนมาก, คนเก่ง กับ คนเก่งมาก   คนปานกลาง กับ คนเก่ง โดยพื้นฐานความสามารถเดิม(ในชั้นเรียนที่ผ่านมา) คงไม่ได้แตกต่างกันมากนัก  การเข้ามาเรียนห้องเดียวกัน ถ้ากิจกรรมถูกออกแบบมาดีมาก  ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
  • ผมเคยขอให้โรงเรียนจัดห้องแบบคละความสามารถ ด้วยเหตุผลคือ ในสภาพชีวิตจริง "ลูกเราต้องมีเพื่อนทั้งประเภทเรียนดี เรียนปานกลาง และช้ามาก  เขาจะต้องรู้จัก ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อต่อกัน แม้จะทำให้เรียนช้าบ้าง"(ในกรณีที่ลูกเราเป็นคนเก่ง  ค่อยเสริม เติมเต็มข้างนอก)
  • ครูคอมพิวเตอร์คนหนึ่ง ถามนักเรียน ม.1 ตอนเปิดเทอมวันแรกว่า "ใครเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เป็นบ้าง  ปรากฏว่ามียกมือ 4 คน(เรียนอ่อน)"   "ใครสร้างเว็บไซด์ หรือจัดทำ โฮมเพจ เป็นบ้าง ปรากฏว่ายกมือ 5 คน(เก่งมาก)"  ครูเลยดึง 5 คนหลังมาเป็นผู้ช่วยสอน(Teacher Assisstant) พร้อมทั้งมอบหมายว่า ขณะเรียนจะต้องคอยช่วยเพื่อน 5 คนแรกเป็นพิเศษ  พยายามหาโปรแกรมการสอนง่าย ๆ มาสอน "ฝากว่า เทอมนี้ จะต้องช่วยเพื่อทั้ง 5 คน เก่งคอมพิวเตอร์ให้ได้(ต้องไปคิดหาวิธีสอนเพื่อน)"   ปรากฏว่า ในปัจจุบันนี้  3 ใน 5 คนหลัง "ได้เป็นเจ้าของสถานศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ชื่อดังของเมืองไทย"  อีก 2 คน เป็นโปรแกรมเมอร์ชั้นนำของประเทศที่เก่งด้านการออกแบบโปรแกรมการเรียนรู้อย่างง่าย สำหรับคนเรียนช้า  ในกรณีนี้ ถ้า ในสับดาห์แรก ครูสอนเรื่อง "การเปิดและปิดเครื่อง" โดยทุกคนในห้องนั่งฟังและสังเกตการสาธิตของครู  เด็กเก่งทั้ง 5 คน คงจะเบื่อการสอนมาก เพราะรู้สึกว่าน่าเบื่อ ต้องคอยเพื่อนที่เรียนช้า

 

สวัสดียามเช้าค่ะ อาจารย์

  • การเรียนคละกัน  เป็นธรรมชาติของคนเราอยู่แล้วค่ะ  เหมือนกับบัว 4 เหล่า ก็ไม่เชิงถูกต้องนัก  เพราะเด็กที่เรียนดี อาจจะมีพฤติกรรมเป็นบัวใต้น้ำ  ส่วนเด็กปัญญาไม่ดี เรียนช้า อาจจะมีคุณธรรมสูงส่ง เป็นบัวเหนือน้ำ ที่มีจิตเมตตา...ก็อาจเป็นไปได้นะคะ อาจารย์
  • ครูอ้อยเป็นครูที่ไม่เคยให้ไปสอนนักเรียนเฉพาะเรียนดี ...หรือเรียกว่า เด็กคัด  เคยเป็นประจำทุกปี ที่สอนคละกัน  และเห็นนักเรียนที่สติปัญญาดี เริ่มเบื่อหน่ายที่ครูต้องกวาดนักเรียนที่เรียนช้าไปด้วยกัน  รู้สึกทันทีว่า  .... ต้องมีกิจกรรมที่นักเรียนที่เรียนเร็ว..ชอบ  และก็ต้องไม่ทอดทิ้ง นักเรียนที่เรียนได้ช้าด้วย

ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์ที่ได้ให้คิด และนำประสบการณ์  ออกมาพูดคุยกันค่ะ

รักษาสุขภาพนะคะ

  • ครูที่เก่งด้าน Instructional Design= ครูเก่ง= A
  • ครูที่เก่ง Instructional Design + เมตตา คอยช่วยเหลือเด็กอ่อน=A+
  • ครูที่เก่ง Instructional Design + เมตตา คอยช่วยเหลือเด็กอ่อน + คอยเสริมเด็กเก่ง(ต้องทำงานหนัก) =A++
  • ครูที่สอนเด็กเก่ง  แล้วเด็กยังเก่งอยู่ สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้(เช่น รับกวดวิชาเด็กที่ได้เกรดเกิน 3.80  แล้วปรากฏว่าในปีนั้น เด็กทุกคนที่กวดวิชา สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้หมด)=ครูธรรมดา(หรือเปล่า)

ครูที่เก่ง Instructional Design + เมตตา คอยช่วยเหลือเด็กอ่อน + คอยเสริมเด็กเก่ง(ต้องทำงานหนัก) =A++

  • สวัสดีค่ะ
  • ดิฉันว่าปัจจุบันต้องการแบบนี้มากที่สุดค่ะ
  • อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ.. การช่วยเหลือดูแลเด็กมีปัญหาทางพฤติกรรมค่ะ

อาจารย์ คะ 

ครูออ้ย รบกวน...เรียนเชิญ ที่ ... งานวิจัย..ส่งเสริมนักเรียนเก่งไม่ทอดทิ้งนักเรียนช้า

รักษาสุขภาพด้วยนะคะ  อาจารย์

คละนักเรียนแบบที่ท่านว่านั้นมันเป็นไปได้ยากมาก ใครๆก็อยากได้เด็กเก่งทั้งนั้น เขาจะเอาที่มีคะแนนมาก ที่สุดเรียงคะแนลงไป ผมอาจไม่เข้าใจก็ได้ ดรงเรียนห่งหนึ่งตอ้งการนักเรียน 400 คน แต่มีมาสมัคร 800 คน ก็ต้องประกาศ 1 - 400 คน เรียงคะแนน คนที่ 401 ก็หาที่เรียนใหม่

แต่อ่านของท่านยังจับใจความไม่ได้ เหมือนกับว่า เอา 800 คนมาแบ่งเป็นส่วนๆ เพื่อคละอย่างที่ท่านว่า คงจะถ้าทำได้ แต่ถ้าท่านมาเอา ที่ 1 - 400 มันก็แค่เอาเด็กเก่งไปคละนั่นแหละ ถามว่าเด็กที่เหลือท่านจะว่าอย่างไร ทำไงให้เก่งเหมือนเด็กชุดแรก ก้สงสารครูในโรงเรียนที่ไม่โอกาสเลือกเด็ก

สวัสดีครับ

เห็นด้วยกับความคิดแต่แบบที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรในสังคมการศึกษาไทยในปัจจุบัน

บางครั้งการเริ่มต้นมีกเป็นสิ่งที่ยาก ... แต่คิดว่าถ้าเราลองแล้วทำอย่างนี้แล้วผลเกิน 50 % ก็มีความหวัง แต่ผลออกมาไม่ดีเพียงพอ คนทำงานมักจะเกิดความท้อใจ แต่ผมคิดว่า การคัดคนเก่งจริงก็คงจะดีอยู่ แต่ควรมีจุดที่ส่งเสริมนักเรียนที่ยังหลงเหลือไว้บ้างก็จะทำให้เกิดกำลังใจที่ดีขึ้นด้วย ( ยังต้องมีนโยบายส่งเสริมตรงนี้อยู่บ้าง )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท