ปลาส้ม.. อาชีพและรายได้ (มีรูปแล้วครับ)


แปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่ผลผลิต

                           อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เป็นอำเภอที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์  เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขื่อนบางลางอยู่ในอำเภอธารโต อาชีพประมงและการแปรรูปปลาในเขื่อนจึงมีอยู่มาก โดยเฉพาะการทำปลาส้มซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของอำเภอธารโต

           อาชีพการทำปลาส้มมีอยู่มาก แต่ที่มีการรวมกลุ่มของแม่บ้านและสำนักงานเกษตรเข้าไปส่งเสริมมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลาส้มคอกช้าง และ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวฯ ชุมชนเข้มแข็งและร่มเย็นบ้านสันติ 2

 จากการเข้าไปส่งเสริมกิจกรรมการผลิตของเจ้าหน้าที่เกษตร ก็ได้ทราบว่าขั้นตอนการทำปลาส้มของแต่ละกลุ่มจะมีสูตรที่แตกต่างกัน ไม่มีกฎตายตัว และไม่ได้มีขั้นตอนซับซ้อนอย่างที่คิด

 

 

             ูตรที่ 1 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลาส้มคอกช้าง

1. เตรียมปลา โดยล้างให้สะอาด แล่เนื้อปลาเป็นชิ้น (ปลาตัวใหญ่)

2. หมักเกลือ โดยใช้เกลือประมาณ 10 % จากน้ำหนักตัวปลา (ขึ้นอยู่กับขนาดปลา) หมักทิ้งไว้ในกะละมัง 1 คืน

3. ล้างปลาและแช่น้ำไว้นานๆ เพื่อล้างความเค็มออกให้มากที่สุด

 4. คลุกส่วนผสมที่เป็นเครื่องปรุงรสต่างๆ ได้แก่ น้ำตาลแว่นบด 5 % และข้าวคั่ว 10 % โดยประมาณ หมักไว้ในถังหมักประมาณ 5 วัน

5. นำออกมาบรรจุถุง อีก 5 วัน จะมีรสชาติพอดีสามารถรับประทานได้ หรือจะรับประทานก่อนหรือหลักจากนั้นแล้วแต่ว่าชอบเปรี้ยวมากหรือน้อย

 

             ตรที่ 2 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวฯ ชุมชนเข้มแข็งและร่มเย็นบ้านสันติ 2

1. เตรียมปลา โดยล้างให้สะอาด ใช้ปลาธรรมชาติจึงเป็นปลาตัวเล็กสามารถใช้ทั้งตัวได้เลยไม่ต้องแล่

2. หมักเกลือ 8 % และน้ำตาลแว่น 5 % จากน้ำหนักปลาโดยประมาณ หมักทิ้งไว้ 2 คืน

3. เทน้ำส่วนเกินที่ออกมาจากตัวปลาทิ้งโดยไม่ต้องล้างน้ำ

4. เติมน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วลงไปให้จมตัวปลา หมักไว้ในถังหมักประมาณ 6-7 วัน

5. เทน้ำทิ้ง ล้างปลาให้สะอาด ทิ้งให้สะเด็ดน้ำ

6. นำมาคลุกข้าวคั่วให้ทั่วตัวปลา  บรรจุถุง

          จะเห็นได้ว่าแม้ขั้นตอนในการทำทั้ง 2 สูตรจะแตกต่างกัน แต่มีเคล็ดลับอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ ไม่ใช่น้ำตาลทรายแต่จะใช้น้ำตาลแว่นแทน  จะได้รสชาติดีกว่าและกระดูกจะนิ่มทำให้รับประทานได้ทั้งตัว รสชาติของปลาส้ม 2 สูตรนี้อาจต่างกันบ้างแต่ก็อร่อยเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มก็แล้วแต่คนชอบ ดังนั้นการทำปลาส้มจึงไม่จำเป็นจะต้องมีสูตรตายตัว กลุ่มอื่นๆ ที่ต้องการผลิตปลาส้มแต่ไม่เคยทำก็สามารถทดลองได้ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับสูตรของคนอื่นๆ บางทีการทดลองทำอาจได้ปลาส้มรสชาติใหม่ที่อร่อยแตกต่างกันเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม  ...แม้ว่าในขั้นตอนการทำปลาส้มอาจจะกลิ่นไม่หอมนัก แต่ถ้านำมาทอดแล้ว...หอม...อย่าบอกใคร

(น้องเขาส่งมาเป็นเวิร์ด  ผมเอามาขึ้นเว็บ  รูปไม่มาครับ  ที่จริงมีรูปทุกขั้นตอน จนปัญญาเรื่องรูปครับ ต้องขออภัย ทั้งคนอ่านและคนเล่าเรื่อง)

 

 

                                                                              

                                                                                            อาภรณ์  รัตนพิบูลย์   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 3       เล่าเรื่อง

                                                                                                                                               

 

หมายเลขบันทึก: 224377เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2008 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

แวะมาอ่าน เรียนรู้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สุขภาพแข็งแรง  นะคะ

 

  • มาทักท่านพี่เกษตรยะลา
  •  มากระซิบบอกว่า ปลาส้มก็ทานได้ครับ
  • แต่โปรดที่สุดคือ กุ้งส้มครับ หุหุ
  • อร่อยนะครับ
  • เปรี้ยวจี๊ด
  • อุ๊ย น้ำลายไหล เหอๆๆ
  • สวัสดีค่ะ
  • มาดูวิธีทำปลาส้มอีกหนึ่งแบบ
  • หลังจากดูจากครูโย่งไปแล้วหนึ่งวิธี
  • ขอบคุณนะคะ สบายดีนะ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

สวัสดีครับ คุณสายธาร

  • ปลาสัมเป็นวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง
  • ด้วยการแปรรูป
  • เก็บไว้ได้นาน
  • เพิ่มมูลค่า
  • ขอบคุณมากครับ

คนพลัดถิ่น

  • กุ้งส้ม..หัวหอมมากๆ..เปรี้ยวๆหวานๆ
  • อยากตอนดึกอีกแล้ว

สวัสดีครับ อาจารย์

P

  • มาดูวิธีทำปลาส้มอีกหนึ่งแบบ
  • หลังจากดูจากครูโย่งไปแล้วหนึ่งวิธี
  • ครูโย่ง  เรียกส้มปลาครับ
  • ศุตรใครสูตรคนนั้นครับทำได้หลายสูคร
  • บางศุตรต้องหมักไว้เป็นเดือนครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • สบายดีไหม จอย

    น้ำตาลแว่นเป็นอย่างไรคะ

    ใช่นำตาลโตนด หรือน้ำตาลมะพร้าวหรือไม่

    เกิดความสงสัยคะ

    ผมเป็นคนสตูลอำเภอควนโดน ชอบปลาส้มมาก ทานอร่อยมากๆเพราะมีเพื่อนที่อยู่เบตงนำไปฝากปลาส้มผมรู้จักตั้งแต่เล็กๆแล้วครับ แตที่บ้านผมที่ควนโดนเรียกว่าปลาพองวิธีการทำเหมือนกันและรสชาดก็ค่อนข้างเหมือนแต่จุดประสงค์อาจแตกต่างที่ควนโดนผมได้ถามผู้อาวุโส ท่านหนึ่งอายุแปดสิบสามปีเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนในฤดูน้ำหลากจะมีปลาชุกชุมชาวบ้านยกยอดักไซและหรือหาปลาได้ครั้งละมากๆ รับประทานในมื้อหนึ่งไม่หมด จึงหาวิธีการถนอมอาหารไว้กินในโอกาสต่อไป เรียกว่าทำพอง คือข้าวสารเจ้าคั่วตำแต่ที่ควนโดนนิยมทำด้วยปลาตัวเล็กๆ เพราะสามารถรับประทานได้ทั้งหมดรวมทั้งกระดูกปัจจุบันทราบว่าในสตูลที่อำเภอละงูมีกลุ่มแม่บ้านทำเป็นอาชีพเสริมอยู่ จึงขอบอกกล่าวมาฝากผู้สนใจและผู้ที่ชอบรับประทาน เพื่อเป็นการส่งเสริมกลุ่มแม่บ้านให้มีรายได้ฝากไปยังกลุ่มแม่บ้านคอกช้างยะลาส่งปลาส้มไปขายที่สตูลบ้างผมคนหนึ่งละที่จะอุดหนุน

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท