วรรณศิลป์อีสาน


กลอน...ถ้อยคำที่พาดก่าย

 

 

การเขียนกลอน

       คำว่า กลอน คงหมายถึงคำพูดที่จัดเป็นระเบียบ และมีถ้อยำพาดก่าย (สัมผัส) เหมือนกลอน เฮือน (เรือน) ในภาษาอีสาน เทียบกับคำว่า ค่าว ทางภาคเหนือ ซึ่งคงมีลักษณะเหมือน คร่าวเรือน ทั้งกลอนและคร่าว ต่างก็มีลักษณะยึดโยงสอดคล้องเป็นโครงร่างของบ้านเรือนเช่นเดียวกัน

       คำว่า กลอน ทางภาคอีสานมีเนื้อเรื่องเป็นแบบพิเศษ ไปอีกก็ได้ เช่น กลอนเย้ย กลอนด่า กลอนโจทย์แก้ เป็นต้น แต่ตามปกติ โดยทั่วไปมี ๓ แบบ คือ

       ๑ .กลอนลำ
       ๒. กลอนอ่าน
       ๓. กลอนย่อย
       ซึ่งทั้ง ๓ แบบนี้ มีที่มาจากกาพย์วิชชุมาลี และกาพย์วชิรปันตี ของอินเดียโบราณ

กลอนลำ

       กลอนลำนี้  หมายถึงกลอนที่พวกหมอลำนำไปแสดง ตามปกติ  คำว่า “หมอลำ” อาจมีผู้เข้าใจสับสน ในปัจจุบันนี้ เพราะแต่เดิมนั้น คำว่า “ลำ” นั้นเป็นลักษณะนาม ซึ่งแสดงถึงลักษณะความยาว เช่น ลำไม้ไผ่ ลำต้นไม้  ลำน้ำ เป็นต้น ถ้าผู้ใดสามารถท่องจำ หรือเอ่ยทำนองได้ จนจบเรื่องของวรรณคดี ซึ่งมีความยาวได้ ก็จะเรียกคน ๆ นั้น ว่า“หมอลำ” เป็นประเภท “หมอลำพื้น” ต่อมาไม่ค่อยจะมีคนที่ท่องจำได้ทั้งหมด ทั้งลำยาว ๆ หรืออาจมีเวลาเพียงจำกัด จึงตัดตอนเอาเฉพาะกลอนไม่ยาวนักมาแสดง จึงเรียกว่า “หมอลำกลอน” ภายหลังจึงมีการดัดแปลง มาเป็น หมอลำเรื่อง หมอลำหมู่ หมอลำเต้น ฯลฯ

        ตามธรรมเนียมมาแต่โบราณ บรรดา กาพย์ กลอน โคลง หรืออื่น ๆ ก็จะนำมาขับร้องได้เหมือนกัน

       โดยเฉพาะกลอนลำ มีวิธีแต่ง ๒ แบบคือ แบบที่เหมือนกาพย์วชิรปันตี กับแบบที่เหมือนกาพย์วิชชุมาลี ดังตัวอย่างต่อไปนี้

       กลอนลำแบบวชิรปันตี ได้รับอิทธิพลจากกาพย์ดังกล่าว แต่แต่งให้เพิ่มบูรพบทเข้ามาอีก ตั้งแต่ ๒ คำ หรือ ๔ คำ ก็ได้ และคำที่ก่ายกันนั้น ถ้าขัดข้อง จะเลื่อนออกมาให้ก่าย กับคำบูรพบทก็ได้ และให้ใช้คำก่ายมากขึ้นเท่านั้น

ตัวอย่าง 

ก. กลอนลำ

       ๑. กลอนลำแบบวชิรปันตี

                    ฟังเด้อหล้า   ตั้งท่าฟังลำ

              คนเวียงจันทน์เขาทำ ไว้เป็นแบบอย่าง

              หัดให้เจ้านั้นย่าง  เป็นนักกวี 

              สร้างเจ้าเป็นคนดี  แม่พิมพ์ของชาติ...

       ๒. กลอนลำแบบวิชชุมาลี

                      บัดนี้  จักกล่าวก้ำ  กลอนใหม่ชวนฟัง

              เว้าเรื่องนาง ผู้นอนในส้วม

              สาวนาง  ผู้นอนคว่ำ งามหลายเกินกล่าว

              หากว่านางบ่ฮ้าย   อวนอ้ายชิฮ่วมเฮียง

ข. กลอนอ่าน

       ๑. กลอนอ่านวชิรปันตี

                   โลกบ่  ห่อนแต่งตั้ง  หญิงพาบสองชาย

              พี่จึ่ง  หวังปองหมาย     ม่อมนางเป็นซู่

              มีเมีย  เป็นครูนี่          แสนดีเด้อท่าน

              ฉะนั้น  ข้อยจึ่งซ้อน      เมียเพิ่มอีกหนึ่งคน

       ๒. กลอนอ่านวิชชุมาลี

                “จักจื่อไว้ในแทบ เทียมสมร

              เป็นคำลือเล่าลือ  เรื่องอ้าง

              จักนอนไว้นอนดอม  ดมกลิ่น

              จักใฝ่ไว้เทียมข้าง  กล่อมกลม” (ท้าวฮุ่งท้าวเจือง)

       ๓. กลอนอ่านสัพสอดหรือเทียมแอก

               “เล็งดอกไม้ ก้านก่ายนางกาย

บาก็  ยินดีผาย  ล่วงซอนซมซ้อน

ภูธรท้าว  เดินเดียวดั้นเดี่ยว

ข้ามขอบขั้น  เมือซั่นซองซัน”   (สังข์ศิลป์ชัย)

ค. กลอนย่อยหรือผญาย่อย

       ๑. กลอยขึ้นลง

              “หนาวในทรวง  คือซิเป็นบ้าป่วง  นำน้องแล้ว” (....เอย)

       ๒. กลอนผญา

                  “สาวนาง เอาพี่ไปเฮ็ดซู้ ย้านบ่แพร่โตงัว ซั้นบ่

เอาพี่ไปเฮ็ดผัว ย้านบ่แพร่โตซ้าง เอาพี่ไปเบียดข้าง เหนือลมย้านบ่อุ่น”

                                            www.cruroj.com

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 222014เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2008 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

กาพย์วชิรปันตี ปกติจะกำหนดวรรคละ 10 คำ และ 1 บทมี 4 วรรค สัมผัสด้วยสระ

สำหรับกาพย์ทางอีสาน มีกำหนด วรรค ละ 7 ไม่กำหนดว่าบทหนึ่งจะมีกี่วรรค ว่ากันจนจบ โดยการสัมผัส คำสุดท้ายของวรรคจะไปคล้องจองกับคำที่ 3 ของวรรคถัดไป

ส่วนกาพย์วิชชุมาลีจะแตกต่างหรือยืดหยุ่นกว่าคือเพิ่มการก่าย หรือคำคล้องเป็นอีกแบบหนึ่งคือ คำสุดท้ายในวรรค 1 จะคล้องจองกับคำที่ 1, 2, 4 หรือ 5 ในวรรคที่ 3 และคำสุดท้ายในวรรคที่ 2 จะคล้องจ้องกับวรรคที่ 4

หรือมองอีกอย่างคือ วรรคคี่ ต่อวรรคคี่ และ วรรคคู่ต่อวรรคคู่...

ผิดถูกอย่างไรวอนผู้รู้ช่วยต่อ เพราะเคยได้ยินได้รู้มาเพียงแค่นี้...

ขอบคุณผู้เขียนกระทู้ที่ให้ข้อมูล... ให้พวกเราได้มาคิดต่อ... ขอบคุณครับ

มาชม

ข้าวเหนียวปั้น สังมาเหนียวแท้น้อหมู่ บาดข้าวเหนียวถือน้ำ สังมาม้างแตกกระจาย เด้...เป็นกลอนแบบใดน้อ...

,,,จ่ายผญาจากแดนใต้...เป็นจังได๋ไอฮักอุ่น...

รบรากันครุกรุ่นปลอดภัยดีอยู่...บ่น้อ...อ้ายเอ้ย?...

 

 

 

มาอ่านเพื่อศึกษา จึงลงชื่อไว้ค่ะ

ยินดีที่พบบ้านนี้ ค่ะ

ยินดีเช่นกันค่ะ ภูสุภา...ก็แอบไปอ่านไปดูบ่อยๆไม่ให้รู้ตัวค่ะ

ท่านเอย..

เหลียวเบิ่งเมืองอุดรกว้าง สังมางาม สีครามคล่อง

เมืองหนองบัว ซะมาหมอง ให้ช่อยกันปั้นยู้ ชูให้เด่นงามแหน่เด้อ....พี่น้องเอ้ย...

จารลงใบแผ่นปื้ม สีล่องเขียนลอง ลายมือ

ว่าพอ ดีตางาม จั่งจองตาจ้อง

ให้เห็น เป็นสีม้อง หลิงลายพอหล่าย

ข่อยจั่ง สิเอาแท้ ขีดต้อนลายตอน นี่แหล่ว

อันว่ากลอนลำนี้ จัดว่าดีตามฮีตปู่ ลูกหลานจั่งได่ฮู้ พากันสืบเอากันไวจั่งว่าดี บทกระบวนท่อนี้ พอสิได่บ่หนอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท