วิจัยในชั้นเรียน


ครูสมัยก่อนใช้ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 ขาดองค์ความรู้เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน แต่ครูสมัยนี้งานวิจัยในชั้นเรียนถือเป็น Routine แล้ว

                  ได้มีโอกาสเป็นวิทยากร อบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพครู ในด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่าครูมีประสบการณ์ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ทั้งแบบเดิม OLE (Objective-Learning-Evaluation) และแบบย้อยกลับ OEL (Objective-Evaluation-Learning) ในระดับเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งนักวิชาการทางการศึกษาได้ให้ความองค์ความรู้ที่ค้นหาได้จาก Internet มากมาย แต่สิ่งที่ครูประสบปัญหามากก็คือ การได้มาซึ่งโจทย์วิจัยในชั้นเรียน และการรายงานผลการวิจัยของตน

                   ได้มีครูบาอาจารย์ ผู้รู้ มากมายที่ให้องค์ความรู้ทั้งในเอกสารตำรา หรือองค์ความรู้ที่ได้จากการท่อง Web เกี่ยวกับการค้นหาปัญหา  สาเหตุของปัญหา  และแนวทางในการแก้ปัญหา  โดยครูเท่านั้นจะเป็นผู้ผจญกับสิ่งเหล่านี้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะจากประสบการณ์สอนวิชาในกลุ่มสาระที่ตนถนัดปีแล้วปีเล่าก็จะประสบปัญหาที่เกิดกับผู้เรียนที่ Pass ชั้นผ่านไปปีแล้วปีเล่า ซึ่งครูจะเห็นปัญหาว่าอะไรที่เป็นเหตุปัจจัยทำให้ผู้เรียนไม่พัฒนาได้ตามเกณฑ์ที่ครูต้องการ  ครูจะมองเห็นเหตุปัจจัยนั้นๆ ได้  และสามารถมองเห็นทิศทางในการคิดหานวัตกรรม (Innovation) มาใช้เพื่อแก้ไขเหตุของปัญหา นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียน  ซึ่งก็ใช้หลักธรรม อริยสัจ 4 นั่นเอง มาถึงจุดนี้ครูก็สามารถ ตั้งคำถามวิจัย  และโจทย์วิจัยได้........

                  ความสำคัญประการหนึ่งก็คือ ครูจะเชื่อมโยงในการนำนวัตกรรมมาสู่แผนการจัดการเรียนรู้อย่างไร ?   ตรงจุดใด ?  เพื่อให้ได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กับนวัตกรรมนั้นๆ  จุดที่จะเชื่อมโยง ก็คือ องค์ประกอบของแผนที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เช่น จุดประสงค์ปลายทางของแผน  กิจกรรมการเรียนการสอน  สื่อและแหล่งเรียนรู้  และสุดท้ายก็คือ การวัดผลและประเมินผล  ความหมายก็คือ องค์ประกอบของแผนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับนวัตกรรมที่ครูนำมาใช้......

                    พูดถึงการสร้างนวัตกรรม มีความสำคัญมากจะต้องเป็นนวัตกรรมที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล 

                     มีคุณภาพ หมายถึง สร้างขึ้นตามแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง มีเนื้อหาสาระถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับช่วงชั้น/ผู้เรียนทุกประการ ผ่านการพิจารณาจากที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และการทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จนผ่านการปรับปรุงแก้ไขอย่างสมบูรณ์ พร้อมที่จะนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง

                    มีประสิทธิภาพ หมายถึง เมื่อนำไปใช้กับผู้เรียน (กลุ่มตัวอย่าง) พบว่าเป็นนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพทั้งประสิทธิภาพกระบวนการ (Process) และประสิทธิภาพผลลัพธ์ (Product)   และผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

                    มีประสิทธิผล หมายถึง ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้โดยนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ทั้งในเชิงบูรณาการ  เชิงต่อยอด และเชิงสร้างสรรค์ (ตามเป้าหมายของ สมศ.)

                    ส่วนรายละเอียดในการสร้างและตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรม จะกล่าวในตอนต่อไป...              

หมายเลขบันทึก: 222013เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2008 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาเรียนรูค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

...เข้ามาขอความรู้ครับ

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท