CQI ห้องคลอด เรื่องการป้องกันสะดือติดเชื้อ


หยิบเอา CQI ห้องคลอด มาฝาก ชี้แนะได้นะค่ะ

CQI งานห้องคลอด

 

ชื่อเรื่อง  การป้องกันการติดเชื้อที่สะดือทารกแรกเกิด

หน่วยงาน  ห้องคลอด โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์

 

Plan

วัตถุประสงค์

1. เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่สะดือทารกและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

2. เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติของบุคลากรในการดูแลสะดือทารกหลังคลอด

     3. ลดระยะการอยู่โรงพยาบาลของมารดาและทารก

เป้าหมาย

                ลดอัตราการเกิดสะดือติดเชื้อในทารก

ตัวชี้วัด

                อัตราการติดเชื้อที่สะดือทารก < 0.5 %

 

สภาพปัญหา/ประเด็น

ปัญหาเรื่องการติดเชื้อที่สะดือทารกแรกเกิด  จากสถิติของทารกแรกเกิดที่ได้รับการรักษาทั้งในแผนกผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลท่าคันโท ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2550 ถึง เดือนพฤษภาคม 2551  มีจำนวนทารกเกิดมีชีพ 179 ราย มีจำนวนทารกที่มีการติดเชื้อที่สะดือ 4 ราย คิดเป็นร้อยละ  2.23  ทารกต้องอยู่รักษาในโรงพยาบาลอย่างน้อย 3 – 5  วัน  ได้รับการรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะทั้งยาฉีดและยากิน  การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยการเพาะเชื้อจากเลือดและสารคัดหลั่ง  ซึ่งเป็นรายจ่ายที่สูงสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐ และการที่ทารกต้องอยู่รักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานานจะมีผลเสียต่อสภาพจิตใจของมารดาและครอบครัวด้วยเพราะการป่วยของทารกจะทำให้บิดามารดาเกิดความวิตกกังวลส่งผลให้น้ำนมมารดามาช้าได้     นอกจากนี้ทารกยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นๆได้อีก  เนื่องจากระบบภูมิต้านทานโรคในทารกแรกเกิดยังเจริญไม่เต็มที่และกลไกการป้องกันตนเองยังไม่ดีพอ  จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อต่างๆ ได้

                ดังนั้นงานห้องคลอด  โรงพยาบาลท่าคันโท เห็นว่าอัตราการติดเชื้อที่สะดือทารก ของโรงพยาบาลท่าคันโท ยังสูงกว่าค่าเป้าหมาย ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อที่สะดือทารก ร้อยละ 2.23  หน่วยงานห้องลอดและหลังคลอด จึงได้ปรับปรุงแนวทางการดูแลสะดือทารก     เพื่อป้องกันการติดเชื้อ  และลดปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

 

วิเคราะห์สาเหตุ

1.    ในการตัดแต่งสะดือทารกแรกเกิดทุกราย ผู้ช่วยเหลือพยาบาลเป็นผู้ตัดแต่งสะดือทารกแรกเกิดโดยใส่ถุงมือ dispose เดิมที่ใช้ในการเช็ดตัวทารกแล้วมาตัดแต่งสะดือทารกโดยที่ไม่ได้เปลี่ยนถุงมือ

2.       ไม่มี set ตัดแต่งสะดือโดยเฉพาะ ใช้กรรไกรตัด cord เดิมที่ใช้ตัด cord ทารกแรกคลอด มาตัดแต่งสะดือ

3.       ทารกหลังคลอดทุกราย ได้รับการดูแลเช็ดสะดือจากพยาบาลเฉพาะเวรเช้าในช่วงบ่ายหลังอาบน้ำเด็ก

4.    มารดาหลังคลอดทุกรายได้รับการแจกสำลี ไม้พันลำสี ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว และ Alc 70%ให้มารดาหลังคลอดเป็นผู้ดูแลเช็ดสะดือทารกเองวันละครั้งในตอนเช้าโดยพยาบาลจะสอบถามมารดาว่าเช็ดสะดือทารกหรือยังโดยที่พยาบาลไม่ไดสังเกตวิธีเช็ดสะดือจากมารดาทำให้เสี่ยงต่อการดูแลสะดือทารกได้ไม่ถูกต้อง

5.    ไม่มี set cord care โดยเฉพาะในการดูแลสะดือทารกหลังคลอด ใช้สำลี แอลกอฮอล์ ที่แจกมารดแล้วมารเช็ดสะดือให้ในกรรีที่สะดือเริ่มแฉะ

6.       ไม้พันสำลีที่ใช้เช็ดสะดือมี 2 ด้าน อาจเกิดการใช้ไม้พันสำลีด้านที่ไม่สะอาดที่ปนเปื้อนเชื้อมาเช็ดสะดือทารก

7.       ไม่มีบันทึกว่ามีการสอนมารดาในการเช็ดสะดือทารก

DO

แนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและปรับปรุงระบบ

1. จัดทำ set ตัดแต่งสะดือสำหรับทารกแรกเกิด โดยประกอบด้วย กรรไกรตัดแต่งสะดือ สำลี เชือกผูกสะดือ

2. ให้พยาบาลเป็นผู้ตัดแต่งสะดือทารกแรกเกิดทุกราย โดยใส่ถุงมือ sterile และใช้ Set ตัดแต่งสะดือโดยเฉพาะในการตัดแต่งสะดือทารกแรกเกิด

3. จัดทำ Set cord care eye care ที่หน่วยงานห้องหลังคลอด สำหรับดูแลสะดือทารกหลังคลอด

4. ให้พยาบาลเป็นผู้ดูแล cord care ทารกทุกราย ทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าเวลา 09.00 . และตอนเย็นเวลา 18.00 น.โดยใช้ set cord care eye care ที่หน่วยงานจัดเตรียมไว้ให้

5. .ในการใช้ไม้พันสำลีที่มี 2 ด้าน ในการดูแลสะดือเด็กหลังคลอด ให้ใช้ไม้พันสำลีด้านเดียวเช็ดทำความสะอาดสะดือส่วนด้านที่ปนเปื้อนเชื้อแล้วไม่ควรนำมาใช้เช็ดสะดือ หรือถ้าต้องการใช้ 2 ด้านไม่ควรให้สำลีทั้ง 2 ด้าน สัมผัสหรือปนเปื้อนเชื้อ

6. จัดหาไม้พันสำลีด้านเดียวในการใช้เช็ดสะดือทารกโดยประสานห้องยาในการจัดซื้อ

7. จัดทำใบประเมินการให้สุขศึกษาการดูแลทารกในเรื่องการดูแลสะดือเด็ก

8. พยาบาลผู้ให้สุขศึกษาการดูแลสะดือทารกลงชื่อในใบบันทึกการให้สุขศึกษา

9. พยาบาลผู้ทำ cord care eye care ลงชื่อในใบบันทึกใน chart เพื่อแสดงว่าได้มีการให้การพยาบาล cord care eye card แล้ว

10. พยาบาลประเมินการดูแลสะดือทารกของมารดาและญาติทุกราย ก่อนจำหน่าย ถ้าปฏิบัติได้จึงจำหน่ายกลับบ้าน

 

Check

ปัญหาที่พบจากการดำเนินงาน

1.       ปัญหาเชือกผูกสะดือเปียกชื้นและแห้งช้า เนื่องจาก

1.1   เชือกผูกสะดือยาว/ ผูกสะดือเป็นโบว์ มีจำนวน 2 ราย

1.2   เชือกผูกสะดือหนาเกินไป จากการผูกสะดือใหม่เนื่องจากสะดือมีเลือดซึม จำนวน 4 ราย

2.       ปัญหาจากการผูกมัดผ้าอ้อมสูงกว่าสะดือ โดยเฉพาะเด็กเพศชายเมื่อปัสสาวะชายผ้าอ้อมจะเปียกชื้นถูกสะดือ มีจำนวน 1 ราย

3.       การดูแลสะดือทารกของพยาบาลแตกต่างกัน ไม่มีมาตรฐานแนวทางปฏิบัติเดียวกันในการดูแลสะดือทารก

 

Act

ผลลัพธ์

จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ยังพบปัญหาการติดเชื้อที่สะดือทารก  ในช่วงระหว่างเดือน มิถุนายน 2551 ถึงเดือน กันยายน 51 มีจำนวนทารกเกิดมีชีพทั้งหมด 87 คน  มีทารกที่มีการติดเชื้อที่สะดือจำนวน  6  ราย  คิดเป็นร้อยละ 6.89

ในเดือนมิถุนายน 51 มีจำนวนทารกที่สะดือติดเชื้อ  1 ราย (ทารกเกิดมีชีพ 22 คน) คิดเป็น 4.54 %

ในเดือนกรกฎาคม 51 มีจำนวนทารกที่สะดือติดเชื้อ  5 ราย (ทารกเกิดมีชีพ 26 คน) คิดเป็น 19.23%

 

แผนพัฒนาและการดำเนินงาน

1.       จัดหา cord ring แทนในการใช้เชือกผูกสะดือ เพื่อลดการเปียกชื้นจากการใช้เชือกผูกสะดือ

2.       จัดทำแนวทางวิธีปฏิบัติสำหรับพยาบาลในการดูแลสะดือทารกเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกัน

3.       ติดตามเก็บข้อมูลดูแนวโน้มการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการติดเชื้อที่สะดือทารก

4.       ตั้งเป้าลดอัตราการติดเชื้อที่สะดือทารกเหลือ < 0.3 %

 

หมายเลขบันทึก: 218938เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2008 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยมให้กำลังใจ ชาวท่าคันโทนะคะ มี CQI อย่างต่อเนื่องเลยค่ะ บทความนี้มองเห็นภาพรวมของการพัฒนาค่ะ ลองเล่า เป็นกรณีศึกษาดูนะคะ เช่น 1 รายที่พบว่าติดเชื้อทีมได้ทำอย่างไร พ่อแม่เด็ก รู้สึกอย่างไรบ้างค่ะ จะเร้าใจๆๆๆๆ นะคะ สู้ๆๆค่ะ รออ่านๆๆๆ นะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีจ้า

 - ขยันจังเลยจ๊ะ ห้องคลอด เวิร์คมาก ๆ ชื่นชมจ้า

           

- สวัสดีค่ะ คูณ paula ขอบคุณที่แนะนำค่ะ

- สวัสดีค่ะ พี่เพชร บ้านใหม่เสร็จหรือยัง รอไปขึ้นบ้านใหม่อยู่นะค่ะ

ขอเรื่องอื่นๆบ้างนะคะ จะได้พัฒนาไม่หยุดหย่อน เป้นกำลังใจเสมอๆ

สะดือเด็กมีเลือดออก เด็กมีอายุ 7 วันแล้วคะ

  • ที่ป่าติ้ว...ปีนี้ไม่พบการติดเชื้อที่สะดือเด็กแล้ว...
  • ลองค้นหาสาเหตุดูพบว่า...เกิดปัญหาที่ขบวนการทำปราศจากเชื้อค่ะ..ในปี 2550  เรื่องการตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องนึ่ง ขนาดห่อผ้าคลอดที่มีขนาดใหญ่  มีการติดเชื้อ 4 ราย
  • ปี 2551  ICN ของลงมาอยู่ที่ Supply  เพื่อพัฒนาระบบ
  • ปี 2552- ปัจจุบัน  ศึกษาการเช็ดสะดือ ด้วย Triple  Dry  ยังไม่พบการติดเชื้อที่สะดือเด็กจนถึงปัจจุบัน.....

เก่งจังค่ะ  เขียนได้ละเอียดมาก

 

อยากไปทำงานที่ ห้องคลอด โรงพยาบาลท่าคันโทจัง รับสมัครอีกรึเปล่าคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท