บรรณานุกรมผ้าไทย : วิทยานิพนธ์


บันทึกเรื่องผ้าทอมือเว้นช่วงไปนาน เพราะข้อมูลที่มีอยู่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์ มีแต่เรื่อง ไม่มีภาพ หรือมีแต่ภาพ ไม่มีเรื่อง บางทีก็ไม่มีทั้งเรื่องทั้งภาพ อิๆๆ

ระหว่างนี้ค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อศึกษาภูมิปัญญาในกระบวนการผลิตผ้าไทยของเรา พบว่ามีผู้ศึกษาเรื่องผ้าไทยเอาไว้ไม่น้อยเลย ทั้งงานวิจัยจากสถาบันการศึกษา วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท รวมทั้งหนังสือ และบทความในวารสารต่างๆ

หลังจากค้นข้อมูลมาได้ระยะหนึ่ง ก็พอจะรวบรวมมาให้ได้อ่านกันนะครับ เฉพาะบรรณานุกรม (ก็เหนื่อยแล้ว) รายการแรก เป็นวิทยานิพนธ์ก่อนครับ ข้างล่างนี้เลย

-ก-

กาญจนา เพ็ชรวิเศษ. (2546) การศึกษาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าทอพื้นเมืองสุรินทร์ของประชาชนที่มีอาชีพรับราชการในจังหวัดสุรินทร์.  วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

แก่นจันทร์ มะลิซอ. (2546) การออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอไทใหญ่ บ้านใหม่หมอกจ๋าม อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาอาชีวศึกษา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

-ค-

คคนางค์ ช่อชู. (2547) กระบวนการเรียนรู้และสืบทอดการทอผ้าไหมของผู้ทรงภูมิปัญญา อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

-จ-

จงกล ผิวดำ. (2549) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของข้าราชการ กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

จรัญญา สีพาแลว. (2545) การทอผ้าของชาวละว้าบ้านมืดหลอง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาอาชีวศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จิตติมา ปาลวัฒน์. (2549) การพัฒนาหลักสูตรโครงการวิชาชีพ เรื่อง การทอผ้าพื้นเมืองระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ.  วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

-ช-

ชำนาญเวช บุญบำรุง, สมบุญ กีรติวุฒิธำรง (2531) การพัฒนาเครื่องทอผ้ากี่กระตุก. ปริญญานิพนธ์ (อส.บ.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

-ท-

ทยา ทองอยู่. (2540) การออกแบบผ้าทอสำหรับเครื่องประกอบการแต่งกาย. วิทยานิพนธ์ (ออ.บ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงพล ศิวานนท์. (2543) ลวดลายการทอผ้าซิ่นตีนจกอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์.  วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาอาชีวศึกษา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทิพย์มณฑา พุ่มแดง. (2547) ศึกษาผ้าทออำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


-ธ-

ธนพร เวทย์ศิริยานันท์. (2548) ภูมิปัญญาผ้าไหมของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร บ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ธิดารัตน์ ศิริศักดิ์พาณิชย์. (2548) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าทอมือของผู้บริโภค ตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ธีรพงษ์ วสันตดิลก. (2546) รูปแบบการพัฒนาตลาดผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ธีรพันธุ์ จันทร์เจริญ. (2536) การศึกษาบทบาทและความสำคัญของผ้ายกนครศรีธรรมราชและผ้ายกพุมเรียง ระหว่าง พ.ศ.2325-2453. วิทยานิพนธ์ ศส.บ. (โบราณคดี) มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรศักดิ์ คูศิริรัตน์. (2547) การศึกษาระบบบริหารการจัดการธุรกิจผ้าไหมเพื่อพัฒนาไปสู่ระบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษากลุ่มสตรีสหกรณ์ผ้าไหมปักธงชัย บ้านทุ่งจาน ตำบลงิ้ว อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Sk-03

-น-

นงนุช พ้นยาก. (2549) เศรษฐกิจชุมชน : กรณีศึกษาธุรกิจผ้ากาบบัว บ้านโนนสวาง ตำบลโนนสวาง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

นารี บุนนาค. (2540)  การออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่โดยใช้โปรแกรม Auto CAD วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย 2540 

นิยม ออไอศูรย์. (2539) การศึกษาการสืบทอดงานศิลปะผ้าทอของกลุ่มชนไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

-บ-

บรรจง จากน่าน. (2539) การศึกษาลวดลายผ้าซิ่นตีนจก อำเภอลอง จังหวัดแพร่. รายงานหลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศิลปะไทย) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บัณฑิตา ศรีชัยมูล. (2549) การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมส่งเสริมการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้า หมู่ที่ 4 ตำบลโคกเจริญ อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

เบ็ญจพร แสวงทรัพย์. (2545) การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ลายทอผ้า.  วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

-ป-

ปราณี สุทธศรี. (2550) ศึกษาการพัฒนาธุรกิจค้าผ้าของชุมชนบ้านเสียว ตำบลหัวงัว อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปาริชาติ ศรล้อม.  (2543) การศึกษาความต้องการหลักสูตรท้องถิ่น "การทอผ้าไหมแพรวา" ของชุมชนบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ปิติพงษ์ ศิริพันธุ์. (2549) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

-พ-

พรทิพย์ จันปุ่ม. (2548) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง การทอผ้าด้วยเส้นใยฝ้ายย้อมสีธรรมชาติของบ้านป่งเป้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนโพนทราย จังหวัดมุกดาหาร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พรรษมน คลังกลาง. (2548) พัฒนาการของกลุ่มสตรีทอผ้า : กรณีศึกษาบ้านก้างปลา ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมือง จ.เลย. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

พอใจ คล่องแคล่ว. (2548) การศึกษาห่วงโซ่อุปทานหน่วยผลิตผ้าไหมอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

พิจิตรา ทีสุกะ (2550) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเรื่องการทอผ้ามัดหมี่สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2โรงเรียนบ้านนาน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2.  วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

พิชญานันท์ อมรพิชญ์. (2545) ผลตอบแทนจากการลงทุนในการผลิตผ้าทอพื้นเมืองระดับอุตสาหกรรมในครัวเรือน ในเขตอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิสมัย บุญอยู่. (2548) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้ผ้าไทยของบุคลากร ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไพรัช ปุริโสตะโย. (2550) ปัญหาการทอผ้าไหมเพื่อการค้าของกลุ่มแม่บ้านในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ไมตรี เกตุขาว. (2540) การศึกษาลวดลายผ้าตีนจกในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. การศึกษา (ศิลปศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

-ร-

รจนา ชื่นศิริกุลชัย. (2542) การศึกษาผ้าไหมยกดอกลำพูน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาอาชีวศึกษา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

-ล-

ละออ ทรงฤกษณ์. (2548) การพัฒนาความรู้ด้านการตลาด ของกลุ่มอาชีพทอผ้า บ้านม่วงหอม หมู่ที่ 5 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

-ว-

วรวุฒิ ภูเฮืองแก้ว. (2550) การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยี เรื่องการทอผ้าไหมหมัดหมี่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 6 โรงเรียนโสกคลอง สำนักเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

วิภารัตน์ ตัณฑุละเกษม. (2547) ค่านิยมที่มีต่อผ้าขิดของบุคลากรในวิทยาลัยอาชีวศึกษา อุดรธานี. วิทยานิพนธ์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วิลาวัลย์ เมืองโคตร (2548) การศึกษาโอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้ากาบบัว : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วีระศักดิ์ จุลดาลัย. (2549) การศึกษาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามุก. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

-ศ-

ศุภกิจ สุ่มสาย. (2549) การรวมกลุ่มของสตรีชาวไทพวนในการผลิตงานหัตถกรรมทอผ้าพื้นเมือง : กรณีศึกษาการจัดตั้งศูนย์ทอผ้าบ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ศุภนิตย์ กีรติจริยโสภณ. (2547) ศึกษากระบวนการผลิตผ้าบาติกในจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต          

-ส-

สนธศักดิ์ สร้อยผาบ. (2547) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานธุรกิจชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านภู ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2533) ความเปลี่ยนแปลงของการผลิตผ้าพื้นเมืองชุมชนบ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภารัตน์ ปาละลี. (2551) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เรื่องผ้าย้อมคราม ช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนเดื่อศรีไพรวัลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนครเขต 3. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

-อ-

อนุสรณ์ ร่มเย็น, ธรรมพงศ์ ศรีทรง (2546) การศึกษาออกแบบปรับปรุงเครื่องทอผ้าแบบกี่กระตุก. ปริญญานิพนธ์ (อส.บ.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อดุลย์ คามดิษฐ์. (2549) หัตถกรรมผ้าไหมมัดหมี่บ้านเหล่าเหนือ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

อภิวันท์ ศรีปลั่ง. (2546) การดำเนินงานธุรกิจภูมิปัญญาชาวบ้าน : กรณีศึกษาธุรกิจผ้าแพรวาบ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

อมรา จิวาลักษณ์. (2549) ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติกับวิถีชุมชนบ้านพงษ์ ตำบลบริบูรณ์ อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น.  วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

อุไร แสงทวีป. (2526) ระบำทอผ้าหนองปรง. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

 

Sk-05

ข้อมูลที่ให้ไว้ข้างบนนี้ ส่วนหนึ่งนำมาจากฐานข้อมูล Thailis ครับ บางรายการก็ยังไม่ครบถ้วน ไว้จะนำมาเติมให้สมบูรณ์ครับ หวังว่าคงจะมีประโยชน์สำหรับผู้ต้องการศึกษาเรื่องผ้าทอของไทยนะครับ

หมายเลขบันทึก: 218570เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2008 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (39)

กาญจนา เพ็ชรวิเศษ. (2546) การศึกษาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าทอพื้นเมืองสุรินทร์ของประชาชนที่มีอาชีพรับราชการในจังหวัดสุรินทร์.  วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

อยากอ่านเรื่องนี้ทำอย่างไรดีคะ

บทคัดย่อครับ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ผ้าไหมทอมือพื้นเมืองสุรินทร์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอมือพื้นเมือง สุรินทร์ และเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอ มือพื้นเมืองสุรินทร์ ในปัจจัยทั้ง 9 ด้านคือ ด้านแหล่งผลิตและจำหน่าย ด้านรูปแบบและประเภทของผ้า ด้านลวดลายและสีของผ้า ด้านความสะดวกในการซื้อ และด้านการประชาสัมพันธ์การจำหน่ายผ้าไหม โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอาชีพรับราชการ จากหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดส่วนราชการทั้ง 14 หน่วยงานของจังหวัดสุรินทร์ 

ผลการศึกษาค่าระดับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าทอมือพื้นเมือง สุรินทร์ ของ ประชาชนที่มีอาชีพรับการ ในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า โดยภาพรวมทั้ง 9 ด้าน มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอมือพื้นเมืองสุรินทร์ในระดับมาก โดยปัจจัยในด้านรูปแบบและประเภทของผ้า ด้านลวดลายและสีของผ้า ด้านราคาจำหน่าย ด้านคุณภาพของผ้าไหม ด้านการใช้ประโยชน์จากผ้าไหม ด้านการดูแลรักษา และด้านการประชาสัมพันธ์การจำหน่ายผ้าไหม มีผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับมาก

ส่วนในด้านแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่าย และด้านความสะดวกในการซื้อ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ผลต่อการตัดสินใจ ซื้อผ้าไหมทอมือพื้นเมืองของประชาชนที่มีอาชีพรับราชการในจังหวัดสุรินทร์ จำแนกตามเพศ โดยภาพรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ข้าราชการเพศชายและเพศหญิง มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอมือพื้นเมือง สุรินทร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ในด้านราคาจำหน่าย ด้านคุณภาพของผ้าไหม และด้านความสะดวกในการซื้อ ส่วนในด้านการดูแลรักษา และด้านการประชาสัมพันธ์การจำหน่ายผ้าไหม ประชาชนที่มีอาชีพรับราชการเพศหญิงและเพศชาย มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอมือพื้นเมือง สุรินทร์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอมือ พื้นเมืองสุรินทร์ ของประชาชนที่มีอาชีพรับราชการในจังหวัดสุรินทร์ จำแนกตามอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอาชีพรับราชการที่มีอายุ 20-30 ปี อายุ 31-40 ปี อายุ 41-50 ปี และอายุ 51 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอมือพื้นเมือง สุรินทร์ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ในด้านรูปแบบและประเภทของผ้า ด้านลวดลายและสีของผ้า ด้านคุณภาพของผ้าไหม ด้านการใช้ประโยชน์จากผ้าไหม ด้านการใช้ประโยชน์จากผ้าไหม ด้านการดูแลรักษา และด้านการประชาสัมพันธ์การจำหน่ายผ้าไหม

กลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอาชีพรับราชการ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนในด้านแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่าย ด้านราคาจำหน่าย และด้านความสะดวกในการซื้อ กลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอาชีพรับราชการ มีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอ มือพื้นเมืองสุรินทร์ ของประชาชนที่มีอาชีพรับราชการ จำแนกตามรายได้ต่อเดือน พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ประชาชนที่มีอาชีพรับราชการ ที่มีรายได้ต่อเดือน 4,000-10,000 บาท รายได้ 10,001-16,000 บาท รายได้ 16,001-22,000 บาท และรายได้ 22,001 บาทขึ้นไป มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอมือพื้นเมือง สุรินทร์ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ในด้านรูปแบบและประเภทของผ้า ด้านคุณภาพของผ้าไหม ด้านการใช้ประโยชน์จากผ้าไหม และด้านการ ดูแลรักษา กลุ่มตัวอย่างข้าราชการ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ส่วนในด้านแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่าย ด้านลวดลายและสีของผ้า ด้านราคาจำหน่าย ด้านความสะดวกในการซื้อ และด้านการประชาสัมพันธ์การจำหน่ายผ้าไหม กลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอาชีพรับราชการ มีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหม ทอมือพื้นเมืองสุรินทร์ ของประชาชนที่มีอาชีพรับราชการในจังหวัดสุรินทร์ โดยการจับคู่ตัวแปรอิสระ คือ เพศ อายุ และรายได้ กับตัวแปรตาม คือ ปัจจัยทั้ง 9 ด้าน พบว่า การศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระในด้านเพศ กับตัวแปรตาม พบว่า ด้านที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอมือพื้น เมืองสุรินทร์ ของกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอาชีพรับราชการในจังหวัดสุรินทร์ ที่มีเพศต่างกัน คือ ด้านรูปแบบและประเภทของผ้า ด้านลวดลายและสีของผ้า ด้านราคาจำหน่าย ด้านคุณภาพของผ้าไหม ด้านการใช้ประโยชน์จากผ้าไหม และด้านความสะดวกในการซื้อ

ส่วนด้านที่ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอ มือพื้นเมืองสุรินทร์ ของกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอาชีพรับราชการ ในจังหวัดสุรินทร์ ที่มีเพศต่างกัน คือ ด้านแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่าย ด้านการดูแลรักษา และด้านการประชาสัมพันธ์การจำหน่ายผ้าไหม ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระในด้านอายุ กับตัวแปรตาม พบว่า ด้านที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอมือพื้น เมืองสุรินทร์ ของกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอาชีพรับราชการ ในจังหวัดสุรินทร์ ในระดับอายุที่ต่างกัน คือ ด้านแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่าย ด้านรูปแบบและประเภทของผ้า ด้านลวดลายและสีของผ้า ด้านคุณภาพของผ้าไหม และด้านการประชาสัมพันธ์การจำหน่ายผ้าไหม ส่วนด้านที่ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการ ตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอมือพื้นเมืองสุรินทร์ ของกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอาชีพรับราชการ ในจังหวัดสุรินทร์ ในระดับอายุที่ต่างกัน คือ ด้านแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่าย ด้านรูปแบบและประเภทผ้า ด้านลวดลายและสีผ้า ด้านคุณภาพของผ้าไหม และด้านการประชาสัมพันธ์การจำหน่ายผ้าไหม ส่วนด้านที่ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอ มือพื้นเมืองสุรินทร์ ของกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอาชีพรับราชการในจังหวัดสุรินทร์ ที่มีระดับอายุต่างกัน คือ ด้านราคาจำหน่าย ด้านการใช้ประโยชน์จากผ้าไหม ด้านการดูแลรักษา และด้านความสะดวกในการซื้อ และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระในด้านรายได้ต่อเดือน พบว่า ด้านที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอมือพื้น เมืองสุรินทร์ ของกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอาชีพรับราชการในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีรายได้ต่อเดือนต่างกัน คือ ด้านแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่าย ด้านรูปแบบและประเภทของผ้าไหม และด้านการดูแลรักษา ส่วนด้านที่ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมทอ มือพื้นเมืองสุรินทร์ ของกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอาชีพรับราชการในจังหวัดสุรินทร์ ที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน คือ ด้านลวดลายและสีของผ้า ด้านราคาจำหน่าย ด้านการใช้ประโยชน์จากผ้าไหม ด้านความสะดวกในการซื้อ และด้านการประชาสัมพันธ์การจำหน่ายผ้าไหม

ผ้าไหมทอ มือพื้นเมืองสุรินทร์
พี่เคยซื้อมาหลายชิ้น ชอบใจมากๆค่ะ แต่เปื่อยง่ายเหมือนกัน ไม่ค่อยทนเท่าไร หรือไม่ได้ซื้ออย่างดี ก็ไม่ทราบ

ไมตรี เกตุขาว. (2540) การศึกษาลวดลายผ้าตีนจกในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. การศึกษา (ศิลปศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

อยากอ่านเรื่องนี้ค่ะ สามารถหาข้อมูลได้จากที่ไหนคะ

สวัสดีครับ คุณthirawan

ติดต่อได้ที่

1.อ.ไมตรี เกตุขาว ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

2. หอสมุด มศว.

3. อ่านบทคัดย่อที่นี่ครับ http://www.elibrary.sacict.net/upload/knowledge_base/Introduction/research/linethai/T344.pdf

สวัสดีครับ พี่Sasinand

ทิ้งไว้นาน ไม่ได้แวะมาดู อิๆ

ผ้าเปื่อยง่ายก็เป็นไปได้ครับ บางทีสีย้อมหรือกระบวนการย้อมก็มีผล รวมทั้งกระบวนการผลิตตั้งแต่แรก

ผ้าสุริืนทร์ลวดลายละเอียดลออมากครับ และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตอนนี้มีชื่อไปถึงต่างประเทศแล้ว ;)

ขอบคุณสำหรับกระทู้นะคะ คาดว่าจะมีประโยชน์ในการทำงานวิจัยของ ดิฉันมาก ๆ ค่ะ ตอนนี้กำลังเรียนป.โทอยู่ค่ะ และหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าไทย คิดว่าคุณต้องเป็ฯผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทยมากแน่ๆ ขอคำแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับท่าน ธ.วัชชัย มาศึกษาการตั้งหัวข้อวิจัย เพื่อนำไปปรับใช้สาธารณสุขชุมชนครับท่าน

สวัสดีครับ คุณเมย์

การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าไทยยังมีไม่มาก ถ้าสนใจวิจัยเรื่องนี้ก็น่าสนับสนุนครับ

อ้อ ผมไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องนี้หรอก แต่มีหลายท่านที่เชี่ยวชาญเรื่องผ้าไทยในเว็บ gotoknow นี้ครับ

ถ้าแนะนำ คงเสนอว่าควรพิจารณาทั้งระบบ ตั้งแต่การทอ จนถึงลวดลาย และการใช้งาน จะเห็นแนวทางมากขึ้นครับ

สวัสดีครับ ท่านวอญ่า บันทึกนี้อันที่จริงผมจะเขียนเรื่อง งานวิจัยผ้าไทย อีกบันทึกหนึ่ง แต่ข้อมูลหาย เลยไม่ได้เอามาลงเพิ่มครับ

  • ศิลามีผ้าไหมหลายจังหวัด ทั้งสุรินทร์ อุบล มุกดาหาร แต่ละแห่งมีจุดเด่นของตัวเอง  ทราบว่ามี แต่แยกไม่ค่อยออกเลยค่ะ
  • ชื่นชมผู้ทำวิจัยเรื่องนี้ ยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นภูมิปัญญาระดับสากล
  • ไม่ทราบว่าผ้าไหมที่ไหนมีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์บ้างหรือยังคะ จะได้ไม่มีที่อื่นนำชื่อเสียงไปแอบอ้างค่ะ
  • ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ

มีงานวิจัยต่างประเทศบ้างไหมครับ อาจารย์

สวัสดีครับ คุณ Sila Phu-Chaya

เคยได้ยินว่า อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ได้ทำโครงการขึ้นทะเบียน

ผ้าไทยนะึครับ น่าจะเรียบร้อยไปแล้ว

ถ้ามีรายละเอียด จะนำมาบอกกล่าวกันครับ

 

สวัสดีครับ คุณที

ผมยังไม่ได้ค้นงานวิจัยต่างประเทศเลยครับ

น่าสนใจดี ไว้จะลองค้นหาดูนะครับ

 

สำหรับงานในประเทศ ยังมีงานวิจัยอีกจำนวนหนึ่ง

ไว้ค่อยนำมาเสนอให้อ่านกันครับ

ขอบคุณครับ

 

เป็นกระทู้ที่ดีและมีประโยชน์ มาก ๆ เลยค่ะ

พอดีแอมกำลังจะทำวิทยานิพนธ์ จบ เกี่ยวกับเรื่องผ้าทออยู่ค่ะ เป็นผ้าทอไทลื้อ จังหวัดน่านน่ะค่ะ

ซึ่งแอมเรียน สาขา ออกแบบผลิตภัณฑ์ อยู่น่ะค่ะ โดยการวิจัยครั้งนี้แอมตั้งใจให้เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากผ้าทอไทลื้อ

หรืออาจเป็นการออกแบบลวดลาย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอไทลื้อน่ะค่ะ จึงอยากได้คำแนะนำ เกี่ยวกับ ข้อมูล หรือ วิทยานิพนธ์ที่สามารถศึกษาได้น่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

design

สวัสดีค่ะท่านบก. ใหญ่หัวใจไทย

มาชื่นชม ผลงานหัตถการของชาวบ้าน และงานวิจัย ของนักวิชาการค่ะ

ทั้งสองส่วนล้วนส่งเสริมกันและกัน เพื่อดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาไทย ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครัย คุณ design

วิทยานิพนธ์ทั้งหมด ต้องค้นต่อจากหอสมุดแต่ละมหาวิทยาลัยครับ

หรือจะลองค้นจาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php ก็ได้ครับ

ใส่ชื่อผู้แต่งเข้าไป สะดวกกว่า (สมัครสมาชิก เผื่อต้องการจะโหลด fulltext)

สำหรับข้อมูล เรื่องผ้าลื้อน่าน ผมว่าคุณคงมีพอสมควรแล้วล่ะ

จึงไม่แนะนำอะไร อิๆๆ

ปัจจุบันผ้าไทยลื้อน่านไม่หวือหวามากนัก เพราะขาดการออกแบบใหม่

ลองปรับที่การกำหนดตำแหน่งลวดลาย (ไม่ต้องลายเต็มผืนก็ไ้ด้)

และความลงตัวของสี น่าจะไปได้ไกลกว่านี้

ผมอยากให้ลองออกแบบผ้าคล้่ายๆ tapestry ของฝรั่ง

จะได้มูลค่าเพิ่มสูงกว่าทอเป็นผ้านุ่งมากๆ

(จะรีบนำเสนอรายชื่องานวิจัยผ้าทอ เร็วๆ นี้ครับ)

สวัสดีครับ คุณปู อันดามัน

ตอนนี้อยู่ฝั่ง(ทะเล)ไหนครับ

ต้องช่วยๆ กัน

เคยได้ยินชาวบ้านบ่นๆ ว่านักวิชาการไปศึกษาศิลปะ หัตถกรรม

จนได้ผลงานเป็นใหญ่เป็นโต แต่ชาวบ้านยังนั่งทอผ้าเหมียนเดิมๆ

อิอิ

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำแนะนำค่ะ

ตอนนี้กำลังเก็บข้อมูล และจะลงพื้นที่เร็ว ๆ นี้ค่ะ

ผมสนใจ การออกแบบลายผ้าไหม ด้วยโปรแกรม autocad ครับ ไม่ทราบควรเริ่มต้นตรงใหนดี พอมีตัวอย่างให้ศึกษาไม๊ครับ(ผมเขียนCADพอได้)

สวัสดีครับ คุณ design

ขอให้สนุกกับงานนะครับ

ว่างแล้ว มาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ คงจะสนุกดี

สวัสดีครับ คุณ PU_ARCH4779

การเริ่มต้น ก็น่าจะลองออกแบบ แล้วนำไปทอดู

ว่ามีจุดอ่อน หรือจุดแข็งตรงไหนบ้าง

ปัจจัย บางครั้งอยู่ที่การทอ ฝีมือ ลักษณะด้าย หรือแม้แต่การนำไปใช้

ส่วนตัวอย่าง ลองค้นจากวิทยานิพนธ์ของคุณ "นารี บุญนาค"

ลองสืบค้นจาก http://dcms.thailis.or.th นะครับ

คงจะพอเป็นตัวอย่างได้นะครับ

สวัสดีค่ะ คือตอนนี้ดิฉันต้องการศึกษาเรื่อง OTOPกับวัฒนธรรมผ้าแพรวาที่กาฬสินธุ์อ่ะค่ะ

ช่วยแนะนำหนังสือเพิ่มเติมได้ไหมคะ

และถ้าต้องการอ่าน การดำเนินงานธุรกิจภูมิปัญญาชาวบ้าน กรณีศึกษาธุรกิจผ้าแพรวา บ้านโพน จ.กาฬสินธุ์ อยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ดิฉันสามารถอ่านได้จากแหล่งไหนบ้างคะ

ขอรบกวนด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

นาย พลพีร์ แสงสุวอ

อ. ครับผมสนใจจะทำวิทยานิพนธ์ เรื่องแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนหมู่บ้านผ้าไหม บ้านท่าสว่าง อยากทราบว่าทำได้ไหมครับ และอาจารย์อยู่ที่สุรินทร์หรือป่าวครับ ผมศึกษาปริญญาโทที่จุฬา ครับแต่เป็นคนสุรินทร์เลยอยากจะศึกษาเรื่องนี้ครับ โปรดให้คำแนะนำผมด้วยนะครับ

สวัสดีครับ คุณ ahcha

ความจริงผมไม่ค่อยได้ศึกษาเรื่องธุรกิจนะครับ

แต่เห็นว่ามีงานวิจัยเ้กี่ยวกับ OTOP ไม่น้อยเลย ลองศึกษาเทียบเคียงรายชื่อข้างล่างดูนะครับ

(ธุรกิจ)

*ธารีรัตน์ ขูลีลัง, ปพฤกษ์ อุตสาหะวาณิชกิจ และบัณฑิต สวรรยาวิสุทธิ์. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นการตลาดกับผลการดำเนินงานของ กลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมโครงการ OTOP ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

*กรรณิการ์ ทิมหอม. (2552) อาชีพการผลิตผ้าทอมือ : กรณีศึกษาบ้านหนองขาว ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จัหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา ม.ราชภัฏนครปฐม

(ภูมิปัญญา)

*อภิวันท์ ศรีปลั่ง. (2546) การดำเนินงานธุรกิจภูมิปัญญาชาวบ้าน : กรณีศึกษาธุรกิจผ้าแพรวาบ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. (ข้างบน)

*สุภาวดี ตุ้มเงิน. (2538) การทอผ้าแพรวาที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สวัสดีครับ คุณพลพีร์ แสงสุวอ

ผมไม่ได้อยู่สุรินทร์ครับ ตอนนี้อยู่นครปฐม

ผมว่าน่าสนใจครับ ลองศึกษาเทียบเคียงกับที่อื่น อย่างของบ้านโพน ข้างบนที่เพิ่งพูดไปนี้ก็ได้

หรือที่ บ้านหนองขาว จังหวัดกาญจนบุรี (ข้างบน) ก็เป็นการท่องเที่ยวที่ใช้หัตถกรรมผ้าทอเป็นตัวชูโรง

ซึ่งเน้นผ้าขาวม้า ที่เดิมถือว่าเป็นผ้าแสนจะธรรมดา

มีแหล่งผ้าหลายแห่ง ที่มีชื่อเสียง กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว และรู้จักกันดี

อย่าง ผ้าไหมพุมเรียง (อ.ไชยา) ก็มีคนไปเที่ยวชม และซื้อผ้ามาช้านาน

อ.ศรีสัชนาลัย มีพิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ ให้คนเข้าชม และได้ซื้อผ้า ซื้อทองคำด้วย

บางแหล่งอาจจะมีผ้าดี มีคุณภาพ แต่ผู้คนไม่รู้จัก ไม่คุ้นหู เป็นประเด็นที่น่าศึกษาเช่นกัน

ผ้าน้ำไหลของน่านและพะเยา มีชื่อเสียง แต่ผู้คนอาจไม่ได้คิดไปทางเดียวกันว่า ถ้าเป็นผ้าน้ำไหล ต้องไปที่ไหน

ที่ ม.นเรศวร มีพิิพิธภัณฑ์ผ้าที่สวยงาม แต่ที่พิษณุโลกไม่มีแหล่งผ้าที่โดดเด่นมากนัก

หรือ บ้านกล้วย อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ผู้คนอาจลืมไปแล้ว ว่าเคยเป็นแหล่้งผ้ามัดหมี่ที่สำคัญในภาคกลาง

ฯลฯ

การทำแผนท่องเที่ยว นอกจากจะมีตัวชูโรงแล้ว ยังต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ (สำคัญมากๆ)

แหล่งท่องเที่ยวข้างเคียง และคุณภาพที่เสมอต้นเสมอปลายครับ

ธนพร เวทย์ศิริยานันท์. (2548) ภูมิปัญญาผ้าไหมของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร บ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

อยากอ่านเรื่องนี้ค่ะ

จะทำอย่างไรค่ะถึงจะได้อ่าน

สวัสดีครับคุณ Moonoy

ค้นได้จาก Thailis นะครับ สามารถอ่านได้ทั้งฉบับ

http://202.28.199.4/tdc/index.php

สวัสดีคะ อยากจะรบกวนถามหางานวิจัยเกี่ยวกับการทอผ้าสำหรับเด็กพิเศษทั้งในประเทศและต่างประเทศ พอจะมีอันไหนแนะนำบ้างรึเปล่าค่ะ

สวัสดีครับ คุณสุพจนีย์ สกุลณา

งานวิจัยเกี่ยวกับ การทอผ้าสำหรับเด็กพิเศษ ของไทยผมยังไม่เคยเห็นเลยครับ

ของต่างประเทศ ที่เคยผ่านตา เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับ ศิลปะสำหรับเด็กพิเศษ

แต่ไม่ใช่งานวิจัยครับ

พิมพ์พิสุทธิ์ อ้วนล้ำ

กำลังค้นหาบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เกี่ยวกับ การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตชุมชนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ขอคำแนะนำอาจารย์ด้วยค่ะ น้องพิมพ์ค่ะ

สวัสดีครับ คุณน้องพิมพ์

มีงานปริญญาเอกที่ใกล้เคียงนะครับ

"การวิจัยและพัฒนากระบวนการทอผ้าพื้นบ้านในอุณภูมิภาคลุ่มน้ำโขง กรณีศึกษาในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย พ.ศ.2553

"การพัฒนากลไกสังคมในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มที่ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ของ มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2553

"การพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์และส่งเสริมผลผลิตจากตาลโตนด : กรณีศึกษาชุมชนตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา"

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ พ.ศ.2552

ลองสำรวจเพิ่มเติมดูนะครับ งานระดับปริญญาเอกยังมีน้อยครับ

กำลังทำรายงานเกี่ยวกับวิชาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไหมไทยค่ะ หาหัวข้อเกี่ยวกับ

1. การทบทวนวรรณกรรม

       1.1 แนวคิด+ทฤษฎี

       1.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3ชื่อ (ผู้ที่วิจัยมีใครบ้าง 3 คน)

2.สมมุติฐาน

รบกวนแนะนำเว็บไซค์การหา 2 หัวข้อข้างต้นด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ

ปล.ถ้าไม่รบกวนจนเกินไป ส่งลิงค์ไปทางอีเมล์ให้ด้วยนะคะ รายงานนี้ต้องเสร็จก่อนวันที่ 4 มิถุนายน 2555 ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

ขอรบกวนหน่อยนะคะ มีงานวิจัย ที่เกี่ยวกับการรวมปัญหาผ้าไหมไทยรึเปล่าคะ ทุกด้านเลยค่ะ

สวัสดีครับ คุณ Aum

สงสัยจะเลยกำหนดไปแล้ว

 

สวัสดีครับคุณพักตร์

เรื่องปัญหาผ้าไหม ยังไม่เห็นเลยครับ

ว่าแต่ปัญหาแบบไหนครับ อาจจะแทรกๆ อยู่ในเรื่องอื่นๆก็ได้

ลองตรวจสอบจากเรื่องที่้เกี่ยวกับผ้าไหมก็ได้ครับ

 

ผมไม่ได้เพิ่มเติมข้อมูลจากครั้งล่าสุดตั้งแต่ 2551

มีเวลาจะค้นมาเพิ่มเติมให้ครับ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ จะขอรบกวนอีกครั้งนะคะ คือดิฉันกำลังทำงานวิจัยเกี่ยวกับผ้าไหมอยู่ ซึ่งเนื้อหาวิทยานิพนธ์ของคุณหลายเรื่องสามารถเป็นแหล่งอ้างอิงของดิฉันได้ จะเป็นการรบกวนมากมั้ยถ้าดิฉันจะขอเวปที่สามารถโหลดงานวิทยานิพนธ์นี้ได้เกือบทั้งหมด (ดิฉันกลัวจะรบกวนคุณเกินไปถ้าต้องขอหลายเล่มน่ะค่ะ)

ลองเข้าไปที่นี่ครับ http://dcms.thailis.or.th/tdc//basic.php แต่ต้องสมัครสมาชิกก่อนนะครับ จะโหลดงานได้ (ถ้าไม่โหลด ไม่ต้องสมัครสมาชิกก็ได้)

ชอบผ้าไทยมากค่ะอาจารย์ ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม สีสันสวยงามสะดุดตา โดยเฉพาะผ้าซิ่น คุณภาพของสีย้อมเดี๋ยวนี้ดีขี้นมาก แต่ถึงสีไม่ตกก็ไม่อยากซัก หากไม่ได้ใช้สมบุกสมบันอะไร เคยให้เพื่อนยืมผ้าซิ่นไป 2 ผืน เมื่อใช้เสร็จ เขาเกรงใจ เอาไปซัก(เอง)ก่อนส่งคืน กลับมาหายสวยเลยค่ะ สีหม่นลง ความเป็นเงางามหายไปชัดเจน ดีนะคะที่มาเห็นและอึ้งที่บ้าน :)

 เข้ามาอ่านทีหลัง ได้ประโยชน์มากกว่าอ่านเป็นคนแรกนะคะอาจารย์ ได้ความรู้มากเลยค่ะ ชอบ 

งานวิจัยเกี่ยวกับผ้าไหมอำเภอนาโพธิ์ ตัวแปรต้น2 และตัวแปรตาม1 ที่จะต้องศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่างชาวบ้านต้องทำยังไงบ้างค่ะ

พอดีทำงานวิจัยเรื่องนี้ค่ะ ช่วยบอกที

ผมจะหางานวิจัยข้างบนอ่านจากที่ไหนได้บ้างครับ รบกวนด้วยนะครับผม

อ.พรชัย มรภ.พิบูลสงคราม จ. พิษณุโลก

ผมมีความสนใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาผ้าทอ...ซึ่งผมจะทำเขียนเค้าโครงงานวิจัย ป.เอก เกี่ยวกับผ้าทอ แต่ยังไม่รู้จะตั้งหัวงานวิจัยอย่างไร ซึ่งสถานที่จะทำจะอยู่ในเขตพิษณุโลกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท