สุขง่ายอ้วนน้อย สุขน้อยอ้วนยาก (+นำชมพระเจดีย์มอญ-พม่าที่มหาชัย)


...

คนในโลกอาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มคนที่ "กินง่าย-อยู่ง่าย", กลุ่มคนที่ "กินยาก-อยู่ยาก" และกลุ่มคนกลางๆ

กลุ่มคนที่ "กินง่าย-อยู่ง่าย" มีความสุขได้แม้จะกินอาหารพื้นๆ ธรรมดาๆ และอยู่แบบพอเพียงได้แบบง่ายๆ สบายๆ คนกลุ่มนี้เป็นพวก "สุขง่าย (easily happy)"

...

กลุ่มคนที่ "กินยาก-อยู่ยาก" ไม่ค่อยมีความสุขกับอาหารพื้นๆ ธรรมดาๆ หรือการใช้ชีวิตแบบธรรมดาๆ ต้องหรู เลิศ สำอาง หรือเดินทางไปกินอะไรไกลๆ จึงจะรู้สึก "อร่อย" ขึ้นมาได้ คนกลุ่มนี้เป็นพวก "สุขยาก (hardly happy)"

คนส่วนใหญ่ในโลกเป็นพวกอยู่กลางๆ ไม่สุดโต่งไปทางสุขง่าย หรือสุขยาก... วันนี้มีผลการศึกษาพบว่า คนที่ "กินยาก-อยู่ยาก" ซึ่งมักจะเป็นนักชิม หรือนักทำอาหารมีโอกาส "อ้วนง่าย" กว่าคนที่ "กินง่าย-อยู่ง่าย" มาฝากครับ

...

ภาพประกอบจากสำนักข่าว BBC > [ picture from BBC ] & [ BBC ]

...

การศึกษารายงานแรกทำในนักศึกษาสาว อายุ 18-22 ปี จำนวน 43 คน การศึกษาอีกรายงานหนึ่งทำในวัยรุ่นสาว อายุ 14-18 ปี

การศึกษาทำโดยการวัดระดับการทำงานของสมองส่วนหนึ่ง (dorsal striatum) หลังการกินนมสั่นหรือนมปั่น (มิลค์เชค / milkshake) หรือเครื่องดื่มที่ไม่มีรสชาด

...

คณะนักวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ "กินยาก" หรือกินมิลค์เชครสชอคโกแลตแล้วไม่ค่อยตอบสนอง โดยมีการหลั่งสารความสุขที่ชื่อ "โดพามีน (dopamine)" ในสมองส่วนดอร์ซัล สไทรทัมน้อย ทำให้ไม่ค่อยมีความสุข

นอกจากนั้นยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ "กินยาก" หรือกินมิลค์เชครสชอคโกแลตแล้วไม่ค่อยมีความสุข... เป็นผลจากสารพันธุกรรม หรือยีนส์ชื่อ 'TaqA1 / ทีเอคิวเอวัน)

...

เมื่อติดตามไป 1 ปีพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่กินมิลค์เชครสชอคโกแลตแล้วไม่ค่อยมีความสุขมีโอกาส "อ้วน" เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่กินแล้วมีความสุข

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์อีริค สทิซ แห่งสถาบันโอเรกอน รีเซิร์ช สหรัฐฯ กล่าวว่า คนที่กินมิลค์เชครสชอคโกแลตแล้วไม่ค่อยมีความสุข หรือเป็นคน "กินยาก-อยู่ยาก" มีแนวโน้มจะต้องหาอะไรที่พิเศษ หรือ "ไม่ธรรมดา" มากิน เพื่อให้มีความสุขพอๆ กับคนที่ "กินง่าย-อยู่ง่าย"

...

ผลในระยะยาวคือ คนที่ "กินยาก-อยู่ยาก" มีแนวโน้มจะอ้วนได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม 2551 ผู้เขียนมีโอกาสเดินทางไปร่วมงานฉลองพระเจดีย์ (แน่นอนว่า ทรงคล้ายพระชเวดากอง) ของพี่น้องชาวมอญ-พม่าที่เข้ามาทำงานในไทยที่วัดหงษ์ อำเภอมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร

...

ภาพที่ 1 > เสาหงษ์ที่วัดเจริญสุขาราม มหาชัย สมุทรสาคร

  • เสาหงษ์เป็นสถาปัตยกรรมแบบมอญที่พม่ารับต่อไปอีกทอดหนึ่ง

...

  • วัดในลำปางหลายแห่งมีเสาหงษ์ แสดงว่า เป็นวัดที่ชาวพม่า(เข้ามาทำไม้ในสมัยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษ)เข้ามาสร้างไว้ เช่น วัดพระเจดีย์ซาว วัดพระธาตุลำปางหลวง ฯลฯ
  • วัดหลายแห่งในมหาชัยมีเสาหงษ์ แสดงว่า เป็นวัดที่ชาวมอญ(ในไทย)สร้างไว้ เช่น วัดเจริญสุขาราม ฯลฯ

...

ภาพที่ 2 > งานใส่บาตรฉลองพระเจดีย์ที่วัดหงษ์

  • โปรดสังเกตชาวมอญ-พม่าเดินนำขบวนอุ้มขันเงินใส่ดอกไม้ ถือธงชาติไทยนำ ตามด้วยธง "ภปร." สีเหลือง

...

  • แท็กซี่ที่มหาชัยท่านหนึ่งบอกว่า ความหวังลึกๆ ของชาวมอญ-พม่าคือ ชาตินี้ทำบุญ... ชาติหน้าขอเกิดเป็นคนไทย
  • เรื่องนี้ผู้เขียนเรียนถามจากชาวพม่าที่บริจาคเลือดหลายท่านก็ได้ยินเรื่องทำนองนี้เหมือนกัน

...

  • "เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ อยู่แล้วมีความสุข มีความอบอุ่น" ชาวพม่าท่านหนึ่งที่ตั้งความปรารถนาทำนองนี้กล่าว

...

ภาพที่ 3 > สาวๆ ชาวมอญ-พม่ารอใส่บาตร

  • ชาวพม่าที่นั่นเล่าว่า ผู้ชายจะรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มสวดพระมหาปัฏฐาน หรือคัมภีร์พระอภิธรรม (ใช้เวลาสวดประมาณ 20 นาทีเศษต่อรอบ) ยามว่างจากการทำงาน

...

  • พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า เมื่อพระธรรมจะอันตรธาน (สูญหายไป)... พระอภิธรรมจะสูญหายก่อน โดยพระคัมภีร์ปัฏฐานจะสูญหายเป็นอันดับแรก
  • ชาวพม่าและชาวมอญจึงเชื่อว่า การรวมกลุ่มกันสวดพระมหาปัฏฐานจะช่วยกันอนุรักษ์พระพุทธศาสนาไว้

...

  • ประเพณีการสวดพระมหาปัฏฐานฉบับเต็มจะใช้เวลาประมาณ 5 วัน 4 คืน... นิยมนิมนต์พระภิกษุสวดผลัดกันทั้งวันทั้งคืน รูปละ 1 ชั่วโมง
  • การสวดพระมหาปัฏฐานที่พระพม่าร่วมสวดกับพระไทยมี 2 ครั้ง ครั้งแรกสวดที่ท่าขี้เหล็ก (พ.ศ. 2550) สวดไป... พายุเข้าท่าขี้เหล็กไป ครั้งที่สองสวดที่ลำพูน (พ.ศ. 2551) สวดไป... พายุนาร์กิสเข้าพม่าไป ไม่ทราบเหมือนกันว่า เพราะอะไร

...

  • ฝ่ายหญิงจะรวมกลุ่มกันสวดพระสูตร เช่น รวมกันเป็นกลุ่มสวดพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ฯลฯ

...

ภาพที่ 4 > พระเจดีย์ที่แรงงานมอญ-พม่าในไทยที่มหาชัยร่วมกันสร้างขึ้นที่วัดหงษ์ มหาชัย สมุทรสาคร

  • โปรดสังเกตพระเจดีย์ทรงเดียวกันกับพระมหาเจดีย์ชเวดากอง มีเสาหงษ์แบบมอญ

...

  • งานนี้ชาวมอญ-พม่าใช้ฉัตร (ร่ม) เชิญธงชาติไทยนำ ตามด้วยธง "ภปร." (ปี พ.ศ. 2550 ชาวมอญ-พม่ารวมกันบวชถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวง ทว่า... ไม่เป็นข่าว) และพระพุทธรูป
  • คนใส่บาตรกันมากจนต้องใช้คนถือถุงปุ๋ยใส่ของใส่บาตรเดินตามพระ

...

ชาวมอญ-พม่าเล่าให้พระพม่าและผู้เขียนว่า กว่าจะสร้างพระเจดีย์เป็นศูนย์รวมจิตใจได้ก็ใช้เวลานานมาก

วันทำงานก็ไปทำงาน... วันหยุดก็ช่วยกันลงทุนลงแรง (และลงเงิน) สร้างพระเจดีย์ 2-3 ปีต่อมาถึงได้เป็นรูปเป็นร่าง

...

พี่น้องชาวมอญ-พม่าที่เข้ามาทำงานใช้ชีวิตอย่างเรียบ ง่าย ประหยัด... วันธรรมดาไปทำงานตามโรงงาน กินอยู่อย่างเรียบง่าย เช่น กินข้าวกับน้ำพริกกะปิผัด ฯลฯ

ค่ำลงก็กลับไปสวดมนต์ที่ "บ้าน" ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นห้องในแฟลตที่เช่ารวมกันอยู่ 4-5 คนต่อห้องจนถึง 3 ครอบครัวต่อห้องก็มี (เรื่องนี้มีโทรทัศน์ช่องหนึ่งทำเป็นข่าวแล้ว)

...

ชาวมอญ-พม่าได้ชื่อว่า เป็นชาวพุทธที่ปฏิบัติธรรมเข้มข้นที่สุดในพม่า ค่ำลงมาก็รวมกลุ่มกันสวดมนต์เงียบๆ ไม่ได้ไปเที่ยวเตร่เฮฮาที่ไหนเพราะไม่ชอบด้วย และไม่ค่อยมีสตางค์ด้วย

คนที่ใช้ชีวิตเรียบ ง่าย ประหยัด และออกแรง-ออกกำลังทำงานแบบนี้... "ไม่ค่อยอ้วน" เนื่องจากได้รับการฝึกฝนให้อดทน และ "กินง่าย-อยู่ง่าย"

...

เรียนเสนอให้พวกเราฝึกอยู่แบบ "กินง่าย-อยู่ง่าย" เพื่อจะได้ห่างไกลโรคอ้วนกัน

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ขอแนะนำ                                

  • "เล่าเรื่องเมืองมหาชัย...ตอน 1" เขียนโดยท่านอาจารย์จันลอง (stateless watch)
  • [ Click ]

 

...

 

 

 

ที่มา                                                  

...

  • Thank BBC > Brain signals predict weight gain > [ Click ] > October 16, 2008.

...

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือหมออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา + อ.ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) แม่สัน-เมืองยาว โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 18 ตุลาคม 2551.

...

หมายเลขบันทึก: 217800เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2008 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์

  • โชคดีที่เป็นคนอยู่ง่าย กินง่าย..อนาคตคงจะไม่อ้วน..เหมือนภาพ..อิ อิ
  • เห็นชุมชนชาวมอญ-พม่า แล้วรู้สึกดีจังเลยค่ะ
  • อยากไปไหว้เจดีย์..ที่เขาสร้างไว้
  • แทนการไปไหว้เจดีย์ชเวดากอง ถึงพม่า ..
  • ขอบคุณค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์สีตะวัน...

  • ดีใจด้วยครับที่เป็นคนกินง่าย-อยู่ง่าย
  • ดีใจยิ่งกว่านั้นที่อาจารย์มีความรู้สึกดีๆ กับชาวมอญ-พม่าที่เข้ามาทำงานในไทย
เรียนเชิญ...
  • ขอเรียนเชิญพวกเราไปร่วมกราบพระเจดีย์ที่วัดหงษ์ มหาชัย สมุทรสาครครับ
วัดหงษ์นี่... 
  • เดิมเป็นวัดของชุมชนมอญที่เข้ามาช่วยไทยรบตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์
  • ทุกวันนี้มีชุมชนชาวมอญ (สัญชาติไทย) อยู่ร่วมกับชุมชนชาวมอญ-พม่าที่เข้ามาทำงานในไทย
เมื่อชาวมอญต่างยุคกันมาพบกัน...
  • ทำให้เกิดเป็นชุมชนที่น่าอยู่มากทีเดียว
  • เมืองไทยเราน่าจะส่งเสริมวัฒนธรรมมอญ-พม่าให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวของไทยอยู่ในสภาพ "ใกล้อิ่มตัว (nearly saturated)" 
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ช่วยเสริมการท่องเที่ยวไทยได้มาก
  • เรียนเสนอให้เมืองไทยทำสถาบันวัฒนธรรมมอญ สถาบันวัฒนธรรมพม่า สถาบันวัฒนธรรมลาว สถาบันวัฒนธรรมกัมพูชา รวมของดีจากวัฒนธรรมต่างๆ ไว้ เช่น ให้ชาวอินเลจากพม่าเข้ามาสอนคนไทยพายเรือด้วยเท้า แล้วจัดแข่งพายเรือด้วยเท้า ฯลฯ
  • เรื่องนี้เราควรให้ work permit & ควรพิจารณาให้ัสัญชาติกับครูบาอาจารย์ที่เข้ามาสอนศิลปวัฒนธรรมนาน 10 ปีขึ้นไปด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท