ข้อควรระวังในการจัดทำผลงานทางวิชาการ


การทำผลงานวิชาการนั้น หากเราไม่ค่อยรู้หลัก ก็จำเป็นต้องศึกษาให้รู้บ้าง


         
ระยะนี้ได้มีโอกาสทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำผลงานทางวิชาการของเพื่อนครู และท่านผู้บริหารที่สนิทสนมกันบางท่านแบบนอกรอบ เพราะดิฉันไม่ได้เป็นกรรมการอ่านผลงานแต่อย่างใด หากรับงานมาช่วยอ่านจะออกตัวกับทุกคนก่อนว่า ดิฉันเองไม่ได้เก่งกาจเรื่องการทำผลงานวิชาการมาจากไหน อาศัยความรู้ที่ร่ำเรียนมาสมัยปริญญาโท บวกกับการค้นคว้าหาอ่านงานวิจัย งานวิทยาพนธ์จากห้องสมุด และจากหนังสือ ตำหรับตำราทั้งหลายที่เขียนถึงการทำวิจัย

          ที่สำคัญพอจะมีประสบการณ์หมาด ๆ จากการทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของตัวเอง จึงทำให้มีข้อมูลที่เกิดจากการปฏิบัติจริงนำมาเล่าสู่ แนะนำแนวทางให้เพื่อนครู และผู้บริหารที่ยังไม่แน่ใจในการทำผลงานของตัวเองได้บ้าง ข้อสังเกตที่ได้จากการอ่านงานของทุกท่านโดยรวม (บางประเด็นหมายรวมถึงผลงานของตัวเองด้วย) มีสิ่งละอันพันละน้อยที่เป็นข้อควรระวังอยู่หลายจุด ซึ่งดิฉันคิดว่าคงจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่นอยู่บ้าง จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง

          ในบทที่
1 ซึ่งเป็นบทนำ พบว่าในการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา มักยืดเยื้อเกินไป ไม่กระชับ เพราะมัวแต่เสียดายกล่าวอ้างข้อมูลไกลตัวเกินไป และมักจะเขียนว่างานที่ต้องการพัฒนานี้เป็นเพราะทำตามนโยบาย หรือโครงการของ สพฐ. สพท. หรือ โรงเรียนมอบหมายให้ ขาดข้อมูลที่ระบุว่ามาจากความสนใจที่ต้องการพัฒนาหรือแก้ปัญหาของตนเอง กลายเป็นเพราะเขาสั่งให้ทำเราจึงต้องทำ น้ำหนักจึงเบาไป นอกจากนี้ยังพบว่าการนิยามศัพท์เฉพาะนั้นยังไม่ค่อยครอบคลุม ซึ่งที่จริงเราต้องดูที่ชื่อเรื่อง แล้ววิเคราะห์ว่ามีตัวแปรต้น ตัวแปรตาม อะไรบ้าง ถ้าคำเหล่านั้นมีความหมายเฉพาะหรือยังเป็นคำที่ยังมีความหมายไม่ชัดเจน เราจึงต้องหยิบมานิยามศัพท์

          สำหรับในบทที่
2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มักเป็นบทที่เราไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับการนำเสนอเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับบทอื่น ๆ พบว่าหลายคนไม่มีการสรุปท้ายหัวข้อรอง ท้ายหัวข้อหลัก และเมื่อจบบท ยกตัวอย่าง เช่น

              
1. คุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (เป็นหัวข้อหลัก ซึ่งมีหัวข้อรองอีก 6 หัวข้อ ดังนี้)
                        
1.1 การปฏิรูปการศึกษา

                         1.2 การกระจายอำนาจทางการศึกษา
                        
1.3 การประกันคุณภาพการศึกษา
                        
1.4 การพัฒนาบุคลากร
                        
1.5 การระดมทรัพยากร
                        
1.6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
              
2. การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
                        
2.1 ……………………………………
                         2.2 …………………………………..
                         2.3 …………………………………..
                         2.4 …………………………………..
               3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                       
 3.1 งานวิจัยต่างประเทศ
                       
 3.2 งานวิจัยในประเทศ

          อย่างนี้เมื่อเรานำเสนอเนื้อหาตามหัวข้อรอง
1.1 จบ ต้องสรุปเป็นสำนวนของเรา สักประมาณ 5-6 บรรทัด ก่อนขึ้นหัวข้อรอง 1.2 ทำอย่างนี้จนถึง ข้อ 1.6 จากนั้นให้สรุปรวมมาตั้งแต่หัวข้อที่ 1.1-1.6 เป็นการสรุปในหัวข้อหลักนั่นเอง ทำอย่างนี้จนกระทั่งถึงข้อ 3 และก่อนจะจบบทที่ 2 เราก็ยังต้องมีการสรุปหัวข้อหลักที่ 1-3 อีกครั้งด้วย ถือเป็นการสรุปเมื่อจบบทนั่นเอง แล้วจึงค่อยขึ้นบทที่ 3 ต่อไป

          ในบทที่
3 วิธีดำเนินงาน หลายคนมักเขียนในช่วงขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ แบบกว้าง ๆ ไม่ลงรายละเอียด ทำให้ขาดความชัดเจน อาจทำให้กรรมการตรวจผลงานอ่านแล้ว ไม่รู้หรือไม่เข้าใจได้ ในส่วนนี้ควรมีการระบุค่าคะแนนจากการหาคุณภาพของเครื่องมือแต่ละตัวไว้ด้วย ส่วนรายละเอียดที่เป็นผลการวิเคราะห์ทางสถิติก็นำไปแนบไว้ในภาคผนวก

          บทที่
4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จะไม่ค่อยมีปัญหา ถ้าบทที่ 1 กับบทที่ 3 ชัดเจน จะมีอยู่งานหนึ่งที่แปลก ๆ ตรงที่นำเสนอผลไม่สอดคล้องกับเครื่องมือ ดิฉันก็งง ๆ ว่า แล้วส่วนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากเครื่องมือตัวไหน เอ! แล้วอย่างนี้จะสร้างเครื่องมือมาทำไม เพราะผลที่เก็บได้แล้วนำมาเสนอ ไม่รู้มาจากเครื่องมือที่สร้างขึ้นหรือไม่ อย่างนี้ไม่ต้องพูดถึงบทที่ 5 เพราะต้องสืบเนื่องไปจากบทที่ 4

          สุดท้ายในบทที่
5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ พบว่า การอภิปรายผลยังขาดการอ้างอิง สนับสนุน หรือบางท่านมีน้อยไปสักหน่อย ดิฉันจึงเสนอแนะให้ค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลมาอ้างอิง สนับสนุน อย่างน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น

          นอกจากนั้นก็จะมีข้อปลีกย่อย จุกจิก เรื่องการจัดลำดับหัวข้อ เน้นตัวหนา ตัวบาง การให้เลขข้อ ย่อหน้า เว้นบรรทัด กั้นหน้ากระดาษ ฯลฯ เหล่านี้ที่ต้องตรวจสอบความเรียบร้อยให้มีความถูกต้อง เป็นไปในแนวเดียวกันทั้งเล่ม ที่จริงแล้วในการนำเสนองานโดยใช้รูปแบบการวิจัย อาจจะมีมากหรือน้อยกว่า
5 บท ก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะงานของเรา ที่น้อยกว่า ก็จะเห็นอยู่ที่สัก 4 บท ส่วนมากกว่า ก็มักเห็นว่ามีอยู่ที่ 6 บทบ้าง 7 บทบ้าง แต่ที่นิยมและเห็นทั่วไป ก็จะเป็น 5 บท นี่เอง

         การทำผลงานวิชาการนั้น หากเราไม่ค่อยรู้หลัก ก็จำเป็นต้องศึกษาให้รู้บ้าง จะเป็นจากการอ่านก็ดี การขอคำปรึกษาจากผู้อื่นก็ดี ล้วนแต่ต้องขวนขวาย ใช่ว่าจะสอนเก่ง บริหารโรงเรียนเก่ง หรือแม้แต่ศึกษานิเทศก์ที่นิเทศเก่ง เก่งอย่างนี้อย่างเดียวไม่ได้ เพราะเมื่อถึงคราวจัดทำผลงานวิชาการแล้ว ก็จะต้องเก่งเรื่องการนำเสนอด้วย หมายถึงนำเสนอแบบถูกหลักวิชาการน่ะค่ะ ก็จะทำให้เรามีเปอร์เซ็นต์ของการผ่านในการยื่นขอเลื่อนวิทยฐานะได้เพิ่มขึ้น  ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนครู ผู้บริหารทุกท่านที่กำลังจะส่งผลงานในรอบต่อ ๆ ไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 217720เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2008 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 05:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

- สวัสดีค่ะ

- มีประโยขน์มากค่ะ ทำให้เข้าใจวิธีการเขียนมากขึ้น เพราะงงๆ มาเหมิอนกัน

- ขอบคุณค่ะ

สวัสคืค่ะ

แวะมาเติมเต็มความรู้ ได้รับเทคนิคในการเขียนผลงานอีกแล้วค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

  • พบข้อผิดพลาดแบบที่พี่บอก
  • ยังสับสนเรื่อง ประชากร กลุ่มตัวอย่างด้วยครับ
  • วันที่ ดร เลขามาสุพรรณบุรี
  • ผมคุยกับอาจารย์ทางโทรศัพท์ครับ
  • อิอิๆๆๆ
  • l;ylfu8iy[ ลืมเปลี่ยนเป็นภาษาไทย แปลว่า สวัสดีครับ
  • สำหรับผมเองยังอยู่ คศ.1 อยู่เลย
  • ยังไม่มีโอกาศขยับสักที
  • แต่ขอเซฟไว้เป็นความรู้นะ
  • ขอบคุณครับ

มาศึกษาเพิ่มเติมคะ แนะนำได้ดีมากคะ

ขอบคุณคะ

ผมทำผลงานส่งไปแล้วเพิ่งเปิดมาเจอ มีประโยชน์มากครับ

สวัสดีค่ะ

* ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อครูดีมากเลยค่ะ

* ขอบคุณค่ะ

* ขอให้สวยวันสวยคืและสุขกายสุขใจนะคะ

สวัสดีครับ มาเยี่ยมครับ  ขอให้มีความสุข อากาศกำลังเปลี่ยนรักษาสุขภาพนะครับ  เพราะเป็นกำลังสำคัญของ สพท.สพ.2  คนสร้างสรรค์ผลงานสำคัญๆให้ สพท.สพ.2 ตลอดมา  โชคดีมีชัยครับ

Mk

  สวัสดีเจ้าค่ะ น้องจิแวะมาเขียนลายสือไทยให้ดูค่ะ อิอิ

น้องชาตรีตัวจริง เสียงจริง ส่งไปแล้วพี่ผลงานวิชาการน่ะ สงสัยต้องไปบนที่วัดไผ่โรงวัว ถ้าไม่ผ่านกะจะย้ายกลับไปสุพรรณละ ทำยากเหมือนกันนะ โดยเฉพาะของตัวเอง ของคนอื่นทำไปแล้ว 5 (ไม่ได้ตังค์ด้วย..กลัวผิดวินัย)ปรับปรุง 2 ตก 2 รอผล 1 กลัวจังว่าของตัวเองจะตก พี่ส่งยังอ่ะ ถ้าส่งคงผ่านแหงม ๆ

สวัสดีครับ  ปวีณา ธิติวรนันท์  มาเป็นกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ทำผลงานวิชาการ  ช่วงนี้คงเข้าที่เข้าทาง เดินเครื่องเต็มที่แล้วมั่งครับ คนทำงานดีรับผิดชอบสูง งานต้องเข้าแยะเช่นเคยแน่ๆ เป็นกำลังใจให้ครับ  ขอบคุณที่ห่วงใย มาเยี่ยมเป็นกำลังใจเกือบเป็นปกติแล้วครับ ขอให้โชคดี มีความสุขครับ

สวัสดีค่ะคุณกุ้ง

พี่ปอเองค่ะ.....ทราบจากบันทึกของหัวหน้าลำดวนว่าคุณกุ้งเข้ารับการผ่าตัด ...พี่ส่งกำลังมาพร้อมด้วยค่ะ....หายไว ๆ นะคะ

สวัสดีครับ

แวะมาทักทาย..
ขอให้เต็มไปด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท