กระดาษข่าวพระเครื่อง ของตำรวจ สภ.นิคมพัฒนา


พระเครื่องในคอตำรวจ สภ.นิคมพัฒนา
กล่าวนำ 
           
วัตถุมงคลในพุทธศาสนา หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระเครื่องราง หรือ พระเครื่อง คือรูปสมมติของพระพุทธเจ้ามีขนาดเล็ก สร้างไว้สำหรับบรรจุไว้ในพุทธเจดีย์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และเพื่อสืบทอดพระศาสนา
ประวัติการสร้าง 
            สันนิษฐานว่าสร้างภายหลังการสร้างพระพุทธรูป (ราว พ.ศ. 500 )ปรากฏเห็นเป็นหลักฐานชัดเจนในในสมัยทวารวดี (ราว พ.ศ. 400-พ.ศ. 1200)และ สมัยศรีวิชัย (พ.ศ. 1300) โดยสร้างพระเครื่องขึ้นเพื่อเป็นของที่ระลึกสำหรับผู้ที่มาเคารพสังเวชนียสถาน เพื่อให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ส่วนความหมายของคำว่าพระเครื่องในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ท่านสั่งเครื่องจักรจากยุโรปมาเพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ ทำให้มีการผลิตเหรียญของเกจิอาจารย์ขึ้น ทำให้เรียกว่าพระที่ทำจากเครื่องจักรว่าพระเครื่องหรือ เรียกพระองค์เล็กๆที่เป็นพระพิมพ์เรียกเหมือนกันว่าพระเครื่อง
ความเชื่อและคตินิยม
  1. พระเครื่องรางส่วนใหญ่ การสร้างสร้างให้มีขนาดเล็กเพื่อที่จะสามารถสร้างได้จำนวนมาก สำหรับบรรจุในพระพุทธเจดีย์ เพื่อว่าในอนาคตเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมลง วัตถุต่างๆพังทลายยังสามารถพบรูปสมมุติของ พระพุทธเจ้า เพื่อแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนา
  2. ใช้เป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันในการออกศึกสงครามของคนโบราณ เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่ง
  3. ปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกัน
 พระเครื่องที่เป็นที่นิยม
  1. พระกรุต่างๆ (ที่ขุดได้จากพุทธเจดีย์ โบราณสถาน) เช่นพระสมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย กำแพงเพชร อู่ทอง อยุธยา รัตนโกสินทร์
  2. พระสมเด็จ เช่น พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรม พระสมเด็จเกศไชโย พระสมเด็จปิลันทร์ พระสมเด็จวัดหลวงปู่ภู พระผง ๙ สมเด็จเป็นต้น
  3. พระสมเด็จจิตรลดา
  4. พระสมเด็จนางพญ สก.วัดบวรนิเวศวิหารพระสมเด็จนางพญา วัดบวรนิเวศวิหาร มวลสารจิตรลดา
  5. หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
  6. หลวงพ่อท่านคล้าย พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
  7. เหรียญที่ระลึกรูปพระพุทธรูป เช่น หลวงพ่อโต (อยุธยา) พระพุทธชินราช หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อวัดเขาตะเครา
  8. เหรียญที่ระลึกรูปพระเกจิอาจารย์ (รูปพระภิกษุสงฆ์) เช่น หลวงปู่ศุข หลวงปู่เอี่ยม หลวงพ่อฉุย เป็นต้น
  9. เหรียญหล่อ เช่น หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก หลวงพ่อเงิน บางคลาน เป็นต้น
  10. พระปิดตา (พระภควัมบดี)เช่น หลวงปู่โต๊ะ หลวงปู่ทับ หลวงปู่นาค เป็นต้น
  11. พระกริ่ง/พระชัย เช่น พระกริ่งวัดสทัศน์ เป็นต้น
  12. พระของขวัญวัดปากน้ำ หลวงพ่อสด พระมงคลเทพมุนี
  13. พระอื่นๆ เช่น หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก เป็นต้น

- สรุปท้ายนิดหนึ่งว่า..."พระเครื่อง"...คือ เครื่องมือให้ถึงพระ...หมายเอาว่า เป็นเครื่องมือให้ระลึกถึง(เตือนสติ)ว่า...ต้องปฏิบัติตามคำสอนของพระ...แล้วการปฏิบัติดังกล่าว จะคุ้มครองผู้ปฏิบัติ ให้สะอาด สว่าง สงบ และมีบารมีธรรมเหมือนพระได้ นั่นเองครับ

- มาดูกันว่า พระเครื่องหรือวัตถุมงคลที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง นิยมและบูชาให้เกิดมงคลในชีวิต และเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปกิบัติหน้าที่มีของใครและองค์ไหนกันบ้าง นะครับ สามารถติชมหรือให้ข้อคิดเห็น ตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ต่าง ๆ ได้ 

*******************************

                  พระเครื่องที่จะกล่าวถึงองค์แรก คือ หลวงพ่อปาน รุ่นขี่ไก่ วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ของ พ.ต.ท.มงคล  บุญโชติ พงส.(สบ.๓) ซึ่งเป็นพระเก่าแก่อีกองค์หนึ่งที่สมควรที่จะหาไว้บูชา ได้ฟังท่านรองมงคลฯ เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ได้พระองค์นี้มา แล้วอาราธนาติดตัวไว้ตลอดเวลา ทำให้การรับราชการเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ และด้านเมตตามหานิยม ได้รับการอุปถัมย์จากผู้ใหญ่ให้การดูแล ทำหน้าที่การก้าวหน้า ใคร่ที่อยากรู้พุทธคุณติดต่อสอบถามท่านรองมงคลฯ ได้ตลอดเวลา

มีให้ดูอีกองค์เป็นของ จ.ส.ต.พงศ์ภัคฯ
เป็น หลวงพ่อปาน รุ่น ไก่หางพวง

ด้านหน้า

ด้านหลัง


 

มีต่ออีกนิดให้ชมกัน

หลวงปู่ทวดพิมพ์ใหญ่หลังตัวหนังสือ ปี พ.ศ.2505

ด้านหลัง


สมเด็จบางขุนพรหม รุ่นพิมพ์สังฆาฏิ มีหู
ของ พ.ต.ท.พล คอนเอม พงส.(สบ 3) สภ.นิคมพัฒนา

พระสมเด็จบางขุนพรหม

.....ในปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสมียนตราด้วง ต้นสกุล “ ธนโกเศศ ” ได้ทำการบรูณะพระอารามหลวงวัดใหม่อมตรส พร้อมกันนี้ได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้ที่นี้ เพื่อเป็นมหากุศล โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๑๓ จึงแล้วเสร็จ

......การสร้างพระเจดีย์ครั้งนี้ มีการสร้างทั้งพระเจดีย์องค์ใหญ่ เพื่อบรรจุพระ ตามโบราณคติของการสร้างมหากุศล ในอันที่จะสืบทอดพระศาสนา และสร้างเจดีย์องค์เล็กเพื่อบรรจุอัฐิบรรพบุรุษ เมื่อก่อสร้างศาสนสถานเสร็จแล้ว เสมียนตราด้วง ได้เข้าไปกราบของอนุญาต สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นที่เคารพอย่างยิ่งของประชาชนในยุคนั้น ทำการสร้างพระเครื่องเพื่อบรรจุในพระเจดีย์องค์ใหญ่ ณ วัดใหม่อมตรส ที่ตนได้สร้างพึ่งแล้วเสร็จ

......สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ทรงประทานอนุญาต และมอบผงวิเศษ ที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของท่านส่วนหนึ่ง ไปเป็นส่วนผสมในการสร้างในครั้งนี้ และได้ทำการปลุกเสกพระที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ตามคำอาราธนาของเสมียนตราด้วง จากนั้นจึงนำพระที่ผ่านการปลุกเสกโดยสมเด็จฯท่านทุกองค์ ไปบรรจุลงในเจดีย์องค์ใหญ่

......สำหรับพระเนื้อผงที่สร้างในกิจครั้งนี้ เป็นพระเนื้อผงแก่ปูนขาว รูปทรงสี่เหลี่ยม ตามแบบของพระสมเด้จวัดระฆัง ที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ซึ่งเป็นการสร้างไปแจกไป หากแต่พระที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ เป็นพระที่สร้างขึ้นมาเพื่อบรรจุลงในกรุหรือเจดีย์ทั้งสิ้น โดยมีจำนวนการสร้าง ตามคตินิยมเท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ คือ ๘๔,๐๐๐ องค์ และได้มีการเรียกชื่อพระเครื่องดังกล่าวนี้ว่า “ พระสมเด็จบางขุนพรหม ” ต่อมาในชั้นหลัง ตามชื่อตำบลที่ตั้งของเจดีย์ซึ่งบรรจุลงในพระเจดีย์องค์ใหญ่

......อายุของพระสมเด็จบางขุนพรหมจึงไม่ห่างจากสมเด็จวัดระฆังมากนัก แต่เนื่องจากช่างผู้แกะพิมพ์พระ ต่างกลุ่มกันกับช่างผู้แกะพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง ดังนั้นพิมพ์ต่างๆของสมเด็จบางขุนพรหม จึงมีความแตกต่างจากสมเด็จวัดระฆัง แต่ด้วยช่างทั้ง ๒ กลุ่ม เป็นช่างยุคเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นสกุลช่างศิลปเดียวกัน และได้มีการสร้างที่อาศัยต้นแบบเค้าโครงเดียวกัน ดังนั้นพระเครื่องทั้งสองวัดจึงมีองค์ประกอบศิลปะที่สอดคล้องคล้ายคลึงกัน

......พระสมเด็จบางขุนพรหม ได้มีการจำแนกออกเป็นพิมพ์ใหญ่ๆ ได้ทั้งหมด ๙ พิมพ์คือ
๑  พิมพ์ใหญ่
๒  พิมพ์เจดีย์
๓  พิมพ์เกศบัวตูม
๔  พิมพ์เส้นด้าย
๕  พิมพ์ฐานแซม
๖  พิมพ์สังฆาฏิ
๗  พิมพ์สังฆาฏิ มีหู
๘  พิมพ์ฐานคู่
๙  พิมพ์อกครุฑ

พระสมเด็จบางขุนพรหม ได้ถูกเปิดกรุอย่างไม่เป็นทางการถึง ๓ ครั้ง
ครั้งแรก ในปี พ.ศ.๒๔๒๕
ครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖
ครั้งที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙


.....พระสมเด็จที่ได้มาจากกรุ ทั้ง ๓ ครั้งนี้ เราเรียกโดยรวมว่า “ พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า ”.ซึ่งลักษณะของวรรณะ(ผิว) ขององค์พระที่เกลี้ยงเกลา มีคราบกรุจับอยู่น้อย เนื้อค่อนข้างหยาบกว่าพระที่ขุดในชั้นหลังเล็กน้อย และส่วนใหญ่จะไม่มีคราบฟู หรือเม็ดกรวดทรายจับอยู่บนองค์พระ

.....หลังจากทำการเปิดกรุในยุคแรกไปแล้ว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้มีการลักลอบขุดเจาะเจดีย์ เพื่อนำพระออกมาอยู่ตลอดเวลา แม้จะมีมาตรการป้องกันจากทางวัด จนกระทั่งทางวัดใหม่อมตรสมีการประกาศเปิดกรุอย่างเป็นทางการ เพื่อนำพระออกมาจากพระเจดีย์ทั้งหมดโดยเชิญ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป้นประธานในพิธีเปิดกรุดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๐ พระที่นำออกมาครั้งนี้เรียกว่า “ พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่ ”

......พระที่ได้ในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อละเอียดแก่ปูน มีคราบกรุ และคราบเต้าหู้เกาะเป็นชั้นๆ จับหนา (ซึ่งคราบขี้กรุที่จับอยู่บนองค์พระเหล่านี้ เกิดจากความชื้นทำปฏิกิริยากับปูนขาว เกิดเป็นฟอสเฟตเกาะติดบนองค์พระ เนื่องจากพระที่พบ เป็นพระบรรจุอยู่ตรงส่วนฐานขององค์พระเจดีย์ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำท่วมขังอยู่เสอม นอกจากนี้การลักลอบนำพระออกจากกรุวิธีหนึ่ง คือการเทน้ำลงในเจดีย์ที่บรรจุพระ เพื่อให้แรงน้ำที่เขาเทลงไป ทำให้พระกระเด็นขึ้นมาติดสายเบ็ดที่ปลายมีดินเหนียว แล้วนำพระขึ้นมาจากกรุ แต่ทิ้งน้ำไว้ในกรุ จนส่งผลให้พระที่เหลือเปียกชื้นแฉะจนเกิดมีคราบจับหนา พระจำนวนมากที่เกาะติดกันเป็นก้อนไม่สามารถแกะออกจากกันได้ และจำนวนไม่น้อยที่หักเสียหาย จากการกระทำดังกล่าว คงเหลือพระที่มีสภาพดีโดยประมาณ ๓,๐๐๐ องค์) ติดสนิทแน่นเป็นเนื้อเดียวกับองค์พระและทางวัดได้นำพระออกให้บูชา เพื่อหารายได้มาบูรณะวัดฯ โดยมีอัตราทำบุญตั้งแต่ ๕๐๐ - ๒,๐๐๐ บาท ตามสภาพพระ ซึ่งนับว่ามีราคาสูงมากในยุคนั้น

......พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจากพระสมเด็จวัดระฆัง ในตระกูลพระสมเด็จทั้งสามวัด ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ได้มีส่วนสำคัญในการสร้าง ซึ่งพระสมเด็จทั้งสามวัดนี้ ล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมสูงมาก มีราคาแพง หายาก และได้รับความศรัทธาจากประชาชนว่ามีพุทธานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ไม่น้อยไปกว่ากัน ที่มีพุทธคุณสูงทางเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดนิรันตราย และหลายคนยังเชื่อส่วนตัวว่า นำพระมาขูดผงผสมดื่ม สามารถรักษาโรคต่างฯ ได้เป็นอย่างดี


ด้านหลัง



สำหรับองค์นี้ ท่านรองพล บอกว่า ยินดีให้เช่า...ติดต่อท่านได้นะครับ


                        อีกองค์ ของ ด.ต.สมชาย  กาญจนัด เป็นหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง รุ่นเสมา 8 รอบ เนื้อเงินลงยา 3 สี ปี 2518 ซึ่งดาบสมชายห้อยคอติดตัวไว้บูชาไว้ตลอด ทำให้เจริญรุ่งเรื่องมาโดยตลอด เป็นนายดาบอยู่อย่างไร ..ก็อยู่อย่างนี้น...( ล้อเล่นนะครับพี่...) จริง ๆ พระจะสักสิทธิ์ หรือไม่สักสิทธิ์ อยู่ที่ตัวเราเป็นที่ตั้ง ถ้าเราตั้งอยู่ในศีลในธรรม ท้ายสุดแล้ว....กรรมดีทั้งหลาย..ช่วยเรา..ได้..

 

 


มีให้ชมกันต่อครับ............................

 

 

มีต่อ.....................................................

 

 

 

 


คำสำคัญ (Tags): #.
หมายเลขบันทึก: 217717เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2008 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บันทึกที่เกี่ยวข้องกับพระเครื่อง น่าสนใจดีครับ คาดว่ามีกลุ่มผู้สนใจไม่น้อยที่ยังไม่มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนประเด็นนี้

ให้กำลังใจในการเขียนบันทึกครับผม

ขอบคุณ คุณจตุพร ฯ เป็นอย่างยิ่งที่ ให้คำแนะนำติชม มีอะไรจะแลกเปลี่ยน ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ สามารถให้คำแนะนำได้นะครับ

หรือเข้าชมเว็บไซต์ สภ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง ได้ที่ http://nikompattana.rayong.police.go.th หรือhttp://202.44.52.40/police_go_th/ ครับ

ขอบคุณสำรับความรู้ครับ พระเครื่องสวยทุกองค์ครับ โดยฉะเพราะ เหรียญเสมาหลวงปู่ทิม สุดๆ ไปเลย (อาไจ๋ อุดร)

น่าจะมีลงให้ชมอีกเยอะๆนะครับ ชอบมาก ท่านที่มีสวยมาลงโชว์หน่อย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท