คุณคิดว่าคุณเป็นแบบไหน?


Instructional Design, Human Learning, Behavorism, Cognitivism, Constructivism

พื้นฐานสำคัญของ Instructional Designer คือต้องมีความเข้าใจว่ามนุษย์คนเรามีการเรียนรู้อย่างไร หรือที่เรียกว่า Human Learning เป็นวิชานึงของด้าน Psychology จะว่าไปแล้ววิชานี้เป็นวิชาหลักเลยก็ว่าได้ทีเดียว เพราะสิ่งที่ำสำคัญที่สุดของการเป็น IDer คือ หาหนทางหรือแนวทางถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้จดจำ เข้าใจ และนำความรุ้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

เราก็ต้องมาดูกันว่า คนเราสามารถเรียนรู้กันได้อย่างไร นักจิตวิทยา นักวิจัย ได้ทำการทดลองทดสอบมามาก สรุปโดยคร่าวๆ ว่า การเรียนรุ้ของคนเราแ่บ่งได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ Behaviorism, Cognitivism และ Constructivism กอล์ฟคงจะไปไม่อธิบายลึก เพราะคิดว่าเป็นพื้นฐานหาอ่านได้ตามหนังสือทั่วไปละ แต่จะขอเขียนถึง การประยุกต์เข้าทาง ID

เมื่อพูดถึง Behaviorism ควรจะนึกถึง Passive learning คือ การเรียนรู้ด้วยวิธีการซึมซับข้อมูล ตัวอย่างคือ อาจารย์เขียนๆๆพูดๆๆ นักเรียนจดๆๆ ฟังๆๆ อย่างเดียว อาจารย์ถ่ายทอด นักเรียนเป็นผู้รับข้อมูลอย่างเดียว

Ivan Pavlov คนที่คิดข้น Behavorim และทำการทดลองกับสุนัข กับ กระดิ่ง
Ivan Pavlov คนที่คิดค้น Behaviorism และทำการทดลองกับสุนัข กับ กระดิ่ง

ส่วน Cognitivism กับ Constructivism จะคล้ายกันคือ Active learning ข้อแตกต่างระหว่าง Cognitivism กับ Constructivisim คือ สำหรับ Constructivism ผู้เรียนเอา้ข้อมูลเนื้อหาใหม่ที่ได้รับประยุกต์เข้ากับความรู้และประสบการณ์เดิมแล้วสร้าง (keyword นะครับ construct แปลว่าสร้าง) เป็นความรู้ใหม่ที่มีความหมายความเข้าใจของตัวเอง Cognitivism ก็จะเน้นการใช้เทคนิกในการเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสามารถการรับรู้ข้อมูลของสมองคนเรา

Robert Gagne ใครก็ยกย่องเป็นเจ้าพ่อ Instructional Design
Robert Gagne เป็นบุคคลสำหรับในด้าน Instructional Design หลายคนยกให้เป็นเจ้าพ่อ ID เลยก็ว่าได้ ชื่อเขา หลายคนอ่่านผิดกันมากมาย ฝรั่งอ่านว่า "โรเบิร์ต เกนเย" รับรองอ่านตามนี่ไม่ผิดไม่ต้องอายด้วย ฮ่าๆ

คราวนี้ กอล์ฟอยากจะถามผู้อ่านว่า ระบบการศึกษาของไทยเรานั้น เน้นแบบไหนในสามแบบนี้ หรือเป็นแบบผสม และ ก็อยากจะถามว่า แล้วตัวคุณเองล่ะ จากมุมมองผู้เรียนรู้ คุณชอบเรียนรู้ในรูปแบบไหน

นี่เป็นประสบการณ์ และก็ข้อมูลจาก research ที่กอล์ฟศึกษามานะครับ คนอเมริกัน หรือ ฝรั่ง จะเน้น Cognitivism กับ Constructivism เป็นส่วนใหญ่ในการถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียน เขาถือว่า การเรียนรู้อะไรก็ตามที่มาจากการค้นพบหรือการมีส่วนร่วมของนักเรียน จะทำให้นักเรียนจดจำได้นานกว่าและเข้าใจถึงการประยุกต์ความรู้ได้ดีกว่า นักเรียนที่นั่งฟัง นั่งจด ไม่มีการโต้ตอบกับครู เขาบอกว่า ครูควรทำหน้าที่แค่ Facilitator or Guide เท่านั้น เพื่อชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ ไม่ใช่ Lecturer หรือผู้ที่บอกเลคเชอร์ให้นักเรียนจด

แต่ตรงนี้ต้องระวังนิดนึง สำหรับ Constructivism วิธีนี้จะใช้ประยุกต์ยากหน่อยเพราะว่า structure ของการสอนจะหลวมมากส่วนใหญ่เน้นให้นักเรียนคิดเองทำเอง หากนักเรียนไม่มีความรู้ในเนื้อหานั้นๆ อาจจะทำให้เกิดความสับสนกังวล และอาจจะไม่อยากที่จะรับรู้เนื้อหาเลยก็ได้ ดังนั้น การใช้ Constructivism ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ลักษณะวิชา และนิสัยของผู้เรียน

การเข้าใจ Human Learning กอล์ฟคิดว่าสำคัญมากๆ คุณครูควรถามตัวเองว่าที่นักเรียนสอบตกเพราะอะไร เพราะวิชามันยากไป หรือถ่ายทอดไม่ถูกวิธี ควรลด Passive learning แล้วเน้น Active learning มี research มากมายได้แนะนำ Activity ต่างๆที่สามารถใช้ในห้องเรียน หรือ Training ทั่วไปได้ คุณครูควรเปิดกว้างในการนำเสนอเนื้อหา ไม่ควรปิดกั้นตัวเอง แล้วหยุดอยู่แค่ PowerPoint Lecture

ส่วนตัวนักเรียนเองก็เช่นกัน ควรทำความเข้าใจกับตัวเองว่า ตัวเองเป็นคนที่เรียนรู้แบบไหนได้ดี มี Cognitive Learning Strategies มากมายที่นักเรียนสามารถเอามาใช้ เพื่อช่วยให้จดจำเนื้อหาบทเรียนได้เร็วขึ้น จำได้นานขึ้น แล้วเอาไปประยุกต์ใช้งานได้ ไม่ควรท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง ตัวอย่าง cognitive strategy ที่เราเห็นบ่อยกันมากที่สุดคงจะเป็น การขีดเส้นใต้ เน้นข้อความสำคัญ นอกจากนี้ นักเรียนบางคน เอาจจะเอาเนื้อหามาแต่งเป็นกลอน เป็นเพลง เพื่อให้จำข้อมูลได้ดีขึ้น ก็ได้ หรือ จะวาดภาพ diagram, chart ก็ช่วยอธิบาย concept ได้ด้วยเช่นกัน การเขียนบทสรุปบทเรียน ก็เป็นอีกวีธีนึง เห็นไหมครับ มี cognitive learning strategy มากมาย

ไว้ผมจะหยิบยก theory หรือไม่ก็ นักวิจัย Theorist ชื่่อดังในด้าน Instructional Designer ให้ได้รู้จักกัน  และแชร์ประสบการณ์ กันนะครับว่า เราสามารถนำ theory ต่างๆไปประยุกต์ในด้าน Instructional Designer ได้อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 216699เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2008 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตัวเจี๊ยบเองนะคะ คิดว่าที่ผ่านมาในการเรียนรู้ตั้งแต่เด็กจนจบปริญญาโทเลย ส่วนใหญ่จะเรียนมาแบบ Passive learning ค่ะ ปัจจุบันก็ยังเป็นแบบนั่นอยู่ ส่วน Cognitivism แต่ก็เริ่มมีโรงเรียนนำร่องหลาย ๆ แห่งที่นำ Cognitivism กับ Constructivism มาใช้ เช่น โรงเรียนดรุณสิกขาลัย อันนี้นำ Constructivism มาใช้เต็มรูปแบบ แต่ปัญหาคือเด็กเองไม่ได้เรียนแบบสอดคล้องกับหลักสูตรตามมาตรฐานการศึกษาไทยทั้งหมด แต่เจี๊ยบก็เห็นว่ามันก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีทีเดียว และเด็กเองก็สนุก มีความมั่นใจในตัวเองกล้าคิดกล้าแสดงออก ซึ่งก็ดีมาก ๆ ในการพัฒนาเด็กไทย

แต่โดยส่วนตัวนั้นคิดว่ารูปแบบการเรียนรู้ของตัวเองคือ Cognitivism คือจะเรียนรู้ได้ดีถ้าบทเรียนนั้น ๆ มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Cognitivism อันนี้อาจจะเพราะด้วยเราโตขึ้นมีประสบการณ์มากขึ้น เราจึงค่อนข้างเรียนแบบ adult learning มากขึ้น คือจะค้น จะเลือกรับเนื้อหาที่ค่อนข้างชัดเจน อ่านหรือเรียนแล้วรู้ว่าเราเอาไปทำอะไรได้บ้าง คือจะมีความต้องการจากพื้นความรู้ที่มีก่อน ว่าเราอยากรู้อะไร

แค่นี้ก่อนนะคะ อู้งานมาตอบนะเนี่ย อิอิ

ไม่น่าเชื่อนะครับว่า โรงเรียน ดรุณสิกขาลัย จะนำ Constructivism มาเต็มรูปแบบ เพราะเท่าที่รู้ ไม่ค่อยมีคนใช้เต็มรูปแบบเพราะส่วนใหญ่ ให้ผลลบมากกวาผลดี คำว่า Constructivism เต็มรูปแบบ ก็คือ

1.คุณครูยื่นหนังสือ ให้นักเรียน แล้วบอกว่าให้อ่าน หน้าไหนถึงไหนหน้า วันนี้จะเรียนอะไร ให้กลับไปอ่านเองที่บ้าน

2.กิจกรรมในห้อง ก็จะเป็นการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ จนนักเรียนเข้าใจหลักการ pattern หรือความรู้โดยตนเอง โดยคุณครุ คอยให้แค่ feedback หรือ guide ให้เข้าที่เข้าทางเท่านั้น

3.นักเรียนจะต้องขยันมาก ต้องขวนขวายหาความรุ้เองเป็นหลั ไม่เข้าใจอะไรก็จะต้องค้นขว้าหาคำตอบเอง โดยได้รับการช่วยเหลือจาก คุณคุณน้อยมากๆ

จากตัวอย่างที่ผมเขียนไว้ข้างบน ผมว่ามันจะยากไปสำหรับเด็กนะครับ ถ้าเป็นศึกษาผู้ใหญ่อาจจะโอเค เพราะมีประสบการณ์ทำงานมาก่อน ก็จะช่วยให้การเรียนรู้เร็วขึ้น Experience เป็นตัวแปรสำคัญของ Constructivism นะครับ สำหรับเด็กแล้วความรู้ประสบการณ์ ยังมีไม่มาก อาจเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า Misconceptualization คือการเข้าใจแบบผิดๆคิดไปเองเออ-ออ-ห่อหมกไปเอง ทำให้เวลาเรียนเนื้อหาที่ต่อเนื่องต่อไปจะลำบากและยากจะเข้าใจหรือรับรุ้ความรู้ขั้นสูงได้เนื่องจาก มี foundation ที่ผิดๆ

ถ้าโรงเรียน ใช้แบบผสม แบบประยุกต์ เน้น Active learning อันนี้ผมสนับสนุน ไว้ครั้งหน้า จะมาเขียนตัวอย่าง active learning ที่ตอนนี้คุณครูที่อเมริกานิยมใช้กันนะครับ

อ่อ ลืมบอก กอล์ฟก็เป็น Congitivist เหมือนกัน ฮ่าๆ เวลาจะเรียนรู้อะไร ก็พยายามหาวิธีที่ช่วยให้เราจดจำอะไรง่ายขึ้น

อืมมม อันนี้เจี๊ยบไม่แน่จะนะ เพราะได้ไปสัมผัสอยู่ช่วงหนึ่งอ้ะ แต่รูปแบบการเรียนของกก็คือ จะมีครู Facilitator มาแนะนำ แล้วก็จะมีหัวเรื่องมาให้เด็ก ๆ เลือกว่าเด็กแต่ละคนอย่างจะเรียนรู้เรื่องอะไร ก็เลือกไปได้ตามความพอใจเลยแล้วเด็กไปศึกษามาเอง โดยให้นำเสนอในลักษณะของ Project โดยเด็กคิดโปรเจ็คเอง ว่าจะทำอะไรแบบไหนบ้างแต่จะมี ครู Facilitator คอยช่วยเหลือแนะนำและสอดแทรกความรู้ในเชิงทฤษฎีเข้าไปให้ช่วย เช่นถ้าเด็กจะทำ Project ทำขนม เช่น วุ้น เด็กก็ต้องไปศึกษาไปค้นมาว่าวุ้นมันทำอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง จากนั้นก็มาลงมือทำใน Project ครู Facilitator ก็จะเป็นผู้ช่วย และแนะนำและสอดแทรกเนื้อหาที่เป็นวิชาการลงไปให้เพิ่มเช่น ในการทำวุ้น ต้องรู้อัตราส่วน ครู Facilitator ก็จะให้เด็กชั่งตวงวัดเอง จากนั้นก็สอน วิชาคณิตศาสตร์ การชั่ง ตวง วัด การบวก-ลบ-คุณ-หาร สอนวิทยาศาสตร์ เช่น เรื่องการผสมสาร สมบัติของสะสาร ของแข็ง ของเหลว สอนศิลปะ เรื่องการผสมสี การออกแบบ และการตกแต่งวุ้นให้สวยงามน่ากิน เหล่านี้เป็นความรู้ที่จะแทรกเข้าไป แต่ไม่ได้มาสอนกันแบบ Passive learning แต่ให้ learning by doing เลย โดยสุดท้ายเด็กต้องมีสรุป Project ที่ทำให้ ครูและผู้ปกครองฟังว่าจากการทำ โปรเจ็คนี้เขาได้รับอะไรบ้าง ก็ประมาณนี้ค่ะ คือผู้บริหารเขาบอกว่าเอา Constructivism มาใช้ และเขาเริ่มตั้งแต่อนุบาลเลย ตอนนี้รู้สึกจะมีถึง ระดับ ม.2 แล้ว แต่ในรายละเอียดดิฉันยังไม่ทราบนะคะ เพราะว่า ไม่ได้ทำงานที่นี่โดยตรง เพียงเป็นศิษย์เก่าของที่พระจอมเกล้าธนบุรี แล้วก็มีเพื่อนทำงานอยู่ ก็พอจะได้ไปสัมผัสมาบ้างค่ะ แต่ข้อเสียก็คือ เด็กจะมีความมั่นใจในตัวเองสูง จึงค่อนข้างจะก้าวร้าวนิดหน่อย แต่เขาก็มีเหตุผลนะคะ คือเพราะเชื่อความคิดตัวเองมากไป อันนี้ครูและพ่อแม่ก็ต้องเพิ่มเรื่องศีลธรรมจรรยาให้อีก แต่ดิฉันมองว่าเป็นก้าวแรกที่ดีที่เดียวในการพัฒนาเด็กไทย แต่ทุกฝ่ายคงต้องร่วมมือกัน

อันนี้ต้องถามคุณกอลฟ์ว่า เห็นว่าแบบนี้เป็น Constructivism เต็มรูปแบบหรือป่าวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท