โรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอน เปิดเทอมใหม่แล้ว...


                           โรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอน เปิดเทอมใหม่แล้ว...

                  ได้ อบจ.จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นนักเรียนใหม่

                                                                                             บันทึกโดย ณรงค์  คงมาก

 

            วันที่ 9 ตุลาคม 2551   ในแวดวง การจัดการความรู้  หรือ KM ของจังหวัดนครศรีธรรมราช  ต้องบันทึกไว้อีกหน้าหนึ่ง  เมื่อ นายจำนงค์  หนูนิล  ( ครูนง )  นักวิชาการคนสำคัญจาก กศน. อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช  และคณะโรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอน  ได้ประสานงานกับรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช นายอนันต์  คลังจันทร์  เปิดห้องประชุมเทวะบุรี  ชั้น 3 อาคาร  สำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดเวที โรงเรียนคุณอำนวยกลาง มีผู้เข้าร่วมเรียนรู้ 23 คน  ทั้งนักวิชาการ นักจัดรายการวิทยุ ผู้นำชุมชน นักสาธารณสุข  ข้าราชการ ผู้ประสานงานโครงการความร่วมมือฯ สกว. พร้อมนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช นายวิฑูรย์  เดชเดโช  เข้าร่วมแลกเปลี่ยนด้วย  พร้อมขันอาสานำ อบจ.เข้าร่วมขบวนการจัดการความรู้  เพื่อสานต่อภารกิจและปณิธานนายวิชม  ทองสงค์  อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างต่อเนื่อง  และพร้อมทำงานความร่วมมือกับทุกฝ่าย  ไม่ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่จะเป็นใครก็ตาม   ผู้ร่วมห้องเรียนคุณอำนวยกลางฟันธง  ร่วมกันสร้างฐานรากคือภาคประชาชนให้เข้มแข็ง   จะนำไปสู่ความยั่งยืนของขบวนการพัฒนาเมืองนคร...  โดยการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ นับว่าเป็นการเปิดโรงเรียนคุณอำนวยกลางเมืองคอน เป็นวันแรก  นับจากวันที่ 1 ตุลาคม 2551  วันแรกของปีงบประมาณใหม่ ประจำปี พ.ศ.2552

            สำหรับสาระสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียนเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2551  ประมวลสรุป ได้ดังต่อไปนี้

·       องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช  ในฐานะเป็นผู้นำ อปท.ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยนายวิฑูรย์  เดชเดโช ยก อบจ. ยืนยันว่า ยินดีเข้ามาร่วมการขับเคลื่อนขบวนการจัดการความรู้เมืองคอน  โดมอบให้นายอนันต์  คลังจันทร์  รองนายก อบจ.นครศรีธรรมราช เป็นแกนกลางในการประสาน  และจะมอบให้ส่วนราชการใหม่ของ อบจ. คือ กองเศรษฐกิจและสังคม  เป็นฝ่ายเข้าร่วมปฏิบัติการอย่างเป็นทางการ   ทั้งนี้ อบจ.จะเปิดหน้าวารสารเมืองนคร รายเดือน ให้กับคณะทำงานโรงเรียนคุณอำนวยกลาง  เป็นแหล่งสื่อสารติดต่อประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง

·       ทีมงานโรงเรียนคุณอำนวยจังหวัดที่เป็นแกนหลัก  นำทีมโดย อ.จำนงค์ หนูนิล  จาก กศน.อำเภอเมือง   ผอ.สุธีป  อาจไพรินทร์   จาก กศน.ชะอวด  อ.ภีม  ภคเมธาวี  จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  นายทวี  สร้อยสิริสุนทร  จากอำเภอเชียรใหญ่  และคณะคุณอำนวยตำบลอีกหลายคน  นั้น         แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า  ได้รับการประสานงานจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ให้พัฒนาโครงการโรงเรียนคุณอำนวยกลางในจังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อเนื่องจากงานมหกรรมจัดการความรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ 24-25 กันยายน 2551  ณ วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช  ซึ่งนายแพทย์ประเวศ วะสี  นายแพทย์วิจารณ์  พานิช  นายประยงค์ รณรงค์  ได้นำเสนอเป็นแนวทางไว้แล้ว  พร้อมกับให้หาแนวทางขยายผลสู่จังหวัดอื่นๆด้วย

·       อ.ภีม  ภคเมธาวี  จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้ความเห็นที่สำคัญว่า ในการจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนงานโรงเรียนคุณอำนวยในอนาคตนั้น ต้องพิจารณาให้ได้ดุลยภาพระหว่างกลไกที่ไม่เป็นทางการและเป็นทางการ เพราะมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกัน  กลไกที่เป็นทางการ  สามารถใช้ทรัพยากรและการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคีราชการได้สะดวก ขยายผลได้กว้างขวางและรวดเร็ว  แต่อาจด้อยด้านคุณภาพและความต่อเนื่อง  มีคำสั่งแต่ไม่มีจิตวิญญาณ  ดังนั้นต้องให้มีทั้ง 2 องค์ประกอบ คือ การขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนอินทรีย์ ด้วยการจัดการความรู้ ขยายผลได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน  ทั้งภาคีราชการ นักวิชาการ ภาคประชาชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สื่อ และภาคธุรกิจเอกชน  ซึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช อาจต้องเพิ่มการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มขึ้น

·       ด้านนโยบายของรัฐและกฎหมายที่จะเอื้อต่อการขับเคลื่อนขบวนการชุมชนอินทรีย์นั้น  อ.ภีม  ภคเมธาวี ให้ข้อมูลว่า มีกฎหมายหลายฉบับที่เอื้อต่องานของเรา  แต่บางครั้งเราขับเคลื่อนไม่ทันกับกฎหมาย เช่น กฎหมายกรรมการหมู่บ้าน  กฎหมายให้จังหวัดเสนองบประมาณเอง  ซึ่งนครศรีธรรมราชได้งบประมาณในปี 2552 มา 252 ล้านบาท  ซึ่งกฏหมายเหล่านี้กำหนดให้จัดตั้งกลไกการเข้ามามีส่วนร่วมของทุกฝายตั้งแต่ หมู่บาน ตำบล อำเภอ  พวกเราทราบข้อมูลเหล่านี้หรือยัง   ในกรณีแผนแม่บทชุมชนและชุมชนอินทรีย์นั้น  จะไปด้วยกันอย่างดีกับเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการหมู่บ้าน  อาจไม่เรียกว่าชุมชนอินทรีย์อย่างที่นครศรีธรรมราช  แต่เนื้อหาก็คือ การให้กรรมการหมู่บ้านมีบทบาท ภารกิจในการจัดทำแผนแม่บทหมู่บ้าน  หากในจังหวัดนครศรีธรรมราช  เมื่อเราได้ผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่แล้ว  เราก็ควรสนับสนุนให้จังหวัดใช้กฏหมายกรรมการหมู่บ้านมาจัดทำแผนแม่บทชุมชน หรือแผนชุมชนอินทรีย์ นั่นเอง โดยเราอาจไม่ต้องใช้คำว่า ชุมชนอินทรีย์นำหน้าก็ได้  แต่ให้รู้กันว่า เรากำลังเคลื่อนชุมชนอินทรีย์ อย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้ประชาชนคนนครไม่สับสน

·       นางวาสนา  ด้วงฉุย   แกนนำในการขับเคลื่อนชุมชนอินทรีย์และการจัดการความรู้จากที่ทำการปกครองจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ในส่วนของที่ทำการปกครองจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น  อดีตท่านผู้ว่าราชการจังหวัด นายวิชม  ทองสงค์ และคณะกรรมการจัดทำงบประมาณ ได้เสนองบประมาณในส่วนการขับเคลื่อนงานชุมชนอินทรีย์ต่อเนื่อง โดยให้ที่ทำการปกครองจังหวัดเป็นกลไกการเคลื่อนงานชุมชนอินทรีย์ต่อเนื่อง จัดงบประมาณในปี 2552ไว้ 12.5 ล้านบาท ให้นายอำเภอเข้ามากำกับติดตามงานต่อเนื่องจากที่ปกครองจังหวัดได้ดำเนินการไว้  โดยบูรณาการกฎหมายที่ว่าด้วยบทบาท กรรมการหมู่บ้าน และนางวาสนาเสนอว่า เราควรมีวาระเสนอกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านใหม่ ( นายภาณุ  อุทัยรัตน์- ข้อมูลจากณรงค์ คงมาก)  ให้ชัดเจนว่า จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเอื้ออำนวยและสนับสนุนด้านใดบ้าง   ในช่วงที่ท่านเดินทางมารับตำแหน่ง

·       นายอนันต์  คลังจันทร์  รองนายก อบจ. และนายสวัสดิ์  สมัครพงศ์ ที่ปรึกษานายก อบจ.นครศรีธรรมราช กล่าวเรื่ององค์กรปกครองส่วนทองถิ่นว่า อบต.ของนครศรีธรรมราช ที่เลือกตั้งใหม่ 104 ตำบล จาก 160 ตำบลนั้น มีการเปลี่ยนตัวนายกประมาณ 60-70 %  หาก อบจ.ในฐานะหัวเรือใหญ่ของฝ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามาร่วมให้ความรู้กับ ผู้บริหารรุ่นใหม่ของ อบต. เกี่ยวกับการเชื่อมโยงแผน อบต.กับแผนแม่บทชุมชน  รวมทั้งขบวนการชุมชนอินทรีย์   ขบวนการ KM   เราสามารถวางรากฐานความรู้ ความเข้าใจ กับผู้บริหารท้องถิ่น ได้ ตั้งแต่ต้น  ซึ่งเรื่องนี้  ควรให้ท้องถิ่นจังหวัด นครศรีธรรมราช เข้ามามีส่วนร่วมด้วยโดยเฉพาะในการออกหนังสือเชิญประชุม

·       อ.ธนิต  สมพงศ์  จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ให้ข้อมูลเรื่องการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในอำเภอท่าศาลาว่า ขณะนี้มีโครงการของบริษัทพลังงาน กำลังย้ายฐานที่ตั้งมาอยู่ในอำเภอท่าศาลา   และอาจมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องเกิดขึ้นตามมา  คนนครจะร่วมตัดสินใจอย่างไรต่อกรณีเช่นนี้  เราควรใช้กระบวนการจัดการความรู้เข้าไปดำเนินการร่วมกันในพื้นที่เหล่านี้  ให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม เข้าถึงข้อมูล  เอาข้อมูลมาให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียมาศึกษาอย่างเป็นระบบ  หากทำได้แบบนี้  จะได้ข้อสรุปเพื่อการตัดสินใจที่รอบด้าน และอยู่บนฐานของการมีส่วนร่วม  ซึ่งจะนำไปสู่การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

·       นายคณพัฒน์ ทองคำ  ประธานร่วมโครงการความร่วมมือฯนครศรีธรรมราช ซึ่งมาจากภาคประชาชน  กล่าวว่า ที่ผ่านมาเรามีจุดอ่อนที่ต้องกำจัด ต้องทำอย่าให้เกิดช่องว่าง  ทั้งด้านภาคีการพัฒนาภาคราชการ  ซึ่งหลายกรณีพบว่า  ยังทำแบบระบบตัวบุคลกันอยู่ ไม่เข้าไปในเชิงองค์กร  ภาคประชาชนเองก็เป็นพวกๆกลุ่มๆกันอยู่ไม่เป็นขบวนการเคลื่อนงานจึงขาดพลังและความต่อเนื่อง  ในหลายกรณีก็ถูกกำหนดโดยแหล่งทุนสนับสนุน  ไม่เป็นตัวของตัวเองเท่าที่ควร  ภาคประชาชนในอนาคตต้องเป็นตัวของตัวเอง  และบริหารจัดการตนเองได้มากขึ้น รวมทั้งความสัมพันธ์ในแนวดิ่งระหว่างภาคีเหล่านี้  ต้องพัฒนามากขึ้น  ให้มากกว่าความสัมพันธ์ในแนวราบ  เพราะความสัมพันธ์แนวดิ่งหากทำได้สำเร็จจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ยั่งยืนกว่าความสัมพันธ์แบบบุคคล

·       นายประพันธ์  สุวรรณ ผู้แทนจากสื่อมวลชน  ให้ข้อคิดว่า บุคคลหลายฝ่ายยังต้องการให้ท่านวิชม  ทองสงค์  มาเคลื่อนงานพัฒนาเมืองนครอยู่  และท่านก็รับปากแล้ว  และท่านก็กล่าวตลอดว่า เราควรร่วมกันพัฒนางานชุมชนอินทรีย์  งานจัดการความรู้  การสร้างนครให้ก้าวไปสู่นครแห่งการเรียนรู้  ให้เป็นงานขับเคลื่อนที่หยั่งรากลึกลงในฐานของชุมชนคนนคร  ไม่ขึ้นกับภาคีใดๆ  ใครจะมาใครจะไปก็ให้งานไม่สะดุด  ก้าวเดินไปอย่างต่อเนื่องและมั่นคง  โดยทำให้ฐานรากเข้มแข็ง  แต่ถ้ารากฐานไม่เข้มแข็งก็จะหวั่นไหวไปตามกระแสและฝ่ายบริหารของจังหวัด  ซึ่งเราไม่ปฏิเสธว่า  ผู้นำจังหวัดยังคงมีความสำคัญ  แต่ให้ท่านสำคัญในฐานะเป็นฝ่ายสนับสนุน เป็นฝ่ายเอื้ออำนวย  ไม่ใช่เป็นฝ่ายกำหนด

·       บทสรุป  หลังจากใช้เวลาจนถึง 16.30 น. ห้องเรียนก็ยุติลง  พร้อมกับการร่วมกันกำหนดเปิดห้องเรียนคุณอำนวยกลางครั้งที่ 2  ในวันที่ 21 ตุลาคม 2551 เวลา 09.00 16.30 น.  โดยกำหนดให้เป็นวาระการประชุมเพื่อให้คุณเอื้อ คุณอำนวย  ในวงการจัดการความรู้เมืองนคร  มาเยี่ยมชม มาศึกษาดูงาน อบจ.จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมกับการนำเสนอร่างโครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน การพัฒนาสังคม และสุขภาวะ ระยะที่ 2  จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยคณะทำงานโครงการความร่วมมือฯ และยกร่างโครงการโรงเรียนคุณอำนวยกลาง  ที่จะเสนอให้ สสส.  สปสช. และ อบจ. สนับสนุน  ในปีงบประมาณ 2522 นี้ด้วย

·       ฝ่ายประสานงานโรงเรียนคุณอำนวยกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช

( ชุดเตรียมการประชุม วันที่ 21 ตุลาคม 2551)

1.      นายจำนง  หนูนิล  ( กศน.อำเภอเมือง)  โทร. 081-090-8860

2.      นายอนันต์ คลังจันทร์  ( อบจ.นครศรีฯ) โทร 081-271-6703

3.      นางวาสนา  ด้วงฉุย ( ที่ทำการปกครองจังหวัดนครศรีฯ)

      โทร.087-286-5014

4.      นายณรงค์  คงมาก ( โครงการความร่วมมือฯ 5 จังหวัดภาคใต้)

โทร  081-963-0273

5.      นายคณพัฒน์  ทองคำ ( ภาคประชาชน ) โทร.081-968-1385

6.      นายวีระชาติ  เส้งเสน ( ภาคเจ้าหน้ที่ อบต. จาก อบต.ปากพนังฝั่งตะวันตก) โทร. 086-267-5935

 

หมายเลขบันทึก: 216473เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2008 12:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

คิดถึงเพื่อนเก่าที่วัดพระมหาธาตุ คิดถึงเพลงเชียร์ เราดำแดงต้องเข้มแข็งห้าวหาญอดทน ผนึกกำลังตั้งมั่นทุกคนประจัณ....ใจรักพรรคเรา นักกีฬาต้องมุ่งหน้าลำบากยากกาย ต้อง...ทั้งหนักและเบา เราดำแดงอดทน ดำแดงอดทน มานะ ยิ่งขนะ ขนะน๊ะเรา ดำแดง คิดเพื่อนที่ศรีธรรมราชศึกษา เห็นคนเมืองคอนเขียนบทความเข้ามาอ่าน อ่านด้วยความคิดถึงเพื่อนเก่า อยู่ไหนกันบ้าง 36ปีแล้ว ไม่เคยเจอใครเลย คิดถึงคุณป้า ช.วิไล บุญพันธ์ คิดถึงพี่แหม่ม พี่โต..

เมื่อเครือข่ายระดับจังหวัด จากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งนักวิชาการและผู้นำชุมชน ประชน อบจ.มาร่วมคิดร่วมทำ และกำหนดผู้รับผิดชอบประสานที่ชัดเจน และเร่งขยายผลลงไปในระดับคุณกิจ ผู้ปฏิบัติจริงในชุมชน ก็จะทำให้วิสัยทัศน์ของเมืองนคร ที่ว่า นครศรีธรรมราช เมืองศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ เมืองเกษตรและท่องเที่ยวน่าอยู่ สู่สังคมพัฒนายั่งยืน เป็นจริงได้
 

น่าสนใจ การพัฒนาเครือข่ายที่เข้มแข็ง

เกิดการ ลปรร

สวัสดีครับ อาจารย์ ภีม

ปฎิลญา กระบี่ บังหีมยังไม่ลืม ต่อ พมจ อยู่

ยินดีด้วย กับ คุณอำนวยเมืองคอนทีเปิดสอนเทอมนี้

วันงาน ที่เทคนิค ได้คุยกับของอ. จำนงแล้ว คงมีโอกาสร่วมงานครับ

  • ฮ่าๆๆ
  • จำรูปใหม่พี่ภีมไม่ได้
  • รออ่านอีกครับ

อ่านแล้วรู้สึกถึง ความตั้งใจ เอาจริง เอาจัง ความมีใจ ในสิ่งที่ทำ ของเหล่าผู้คนใน โรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอน

เป็นกรณีที่น่าเรียนรู้ อีกกรณีหนึ่ง ยิ่งนานวัน ยิ่งเข้มข้นนะครับ

สวัสดีครับ

  • ภาคใต้ของเราองค์กรชุมชนค่อนข้างเข้มแข็ง
  • ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

 

ฝากเรียน ผอ. โรงเรียนกันนะครับ ผมย้ายไปทำงานที่ "วัดป่ายาง" แล้ว

คิดถึงโรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอนจัง วันนี้เจอครูนงเมืองคอนที่อบต ขุนทะเลเพื่อประชุมร่วมโครงการจังหวัดสุขภาวะ เจอท่านวิชม ทองสงค์ด้วย ครูนงเราเหงาไปเยอะเลย ขอเป็นกำลังใจให้สู้ สู้ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท