สายพันธ์กล้วยไข่ตอน 2


กล้วยไข่พระตะบอง

มารู้จักสายพันธุ์กล้วยไข่  

          ตอนที่ 2    ต้องขออภัยนะค่ะที่ทิ้งช่วงห่างระหว่างตอนที่ 1 และ2กันซะยาวนาน  วันนี้มารู้จักกับ  กล้วยไข่พระตะบอง

            ชื่อสามัญ              -

           ชื่อพ้อง                  กล้วยไข่บอง   เจ๊กบอง

           ชื่อวิทยาศาสตร์      Musa ( AAA  group)

                                          Kluai  Khai  Pra  Tabong    

            แหล่งที่พบ             จังหวัดตราด  สุรินทร์  ชัยภูมิ   นนทบุรี   ชลบุรี

                                          สระแก้ว  ฉะเชิงเทรา  นครนายก   ปราจีนบุรี

                                                 

                                        

 

           ลักษณะทั่วไป

              ต้น      ลำต้นสูง  2.5 -3.5  เมตร  เส้นผ่านศูนย์กลาง   ประมาณ 15 เซนติเมตร  กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวมีปะดำหนา  โดยเฉพาะใต้ขอบใจ ด้านในมีสีเขียวอมเหลือง

               ใบ        ก้านใบสีเขียว ร่องใบเปิด  ขอบก้านใบมีสีชมพูเล็กน้อย

               ดอก     ใบประดับรูปไข่ปลายแหลม   สีแดงอมม่วง  ด้านในสีซีด

               ผล        เครือหนึ่งมีประมาณ  7 หวี  หวีหนึ่ง มี  14 -16 ผล  ผลโตกว่ากล้วยไข่ทั่วไปก้านผลค่อนข้างสั้นผลไม่มีเหลี่ยม  ปลายผลมนโค้งขึ้นเล็กน้อย  เปลือกค่อนข้างหนา   เนื้อด้านในสีเหลือง  รสหวานอมเปรี้ยว  มีกลิ่หอมเล็กน้อย

          การใช้ประโยชน์   วิธีการแก้รสเปรี้ยวให้นำไปต้มทั้งเปลือกหรือนำไปทำกล้วยบวชชี

หมายเลขบันทึก: 216434เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2008 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท