สัญญาณ.....ชีวิต


รู้ความดันโลหิต เท่ากับ....รู้สัญญาณชีวิต

มารู้จัก...ความดันโลหิต ของเรากันก่อน  นะคะ    ความดันโลหิต  หมายถึง....แรงดัน หรือความดันของเลือดต่อผนังของหลอดเลือดเลือดแดง

ระดับความดันโลหิตที่เราใช้เครื่องมือวัดนั้นเป็นการวัดระดับแรงดันโลหิตหลอดเลือดแดง  ที่จะขึ้นลงตามการบีบและคลายของหัวใจ

การวัดความดันโลหิต  จะถูกบันทึกไว้ด้วยหน่วยที่เรียกว่า  "มิลลิเมตรปรอท"  และประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัว  เช่น  120/80  มิลลิเมตรปรอท

ความดันซีสโตลิค  หรือ  ความดันโลหิต  ตัวบนเป็นความดันโลหิต  ขณะที่หัวใจบีบตัวเต็มที่  ได้แก่  120  หรือ  อื่น ๆ

ความดันไดแอสโตลิค  คือ  ความดันโลหิตตัวล่างเป็นความดันโลหิต  ขณะคลายตัว  เช่น  80 หรืออื่น ๆ

ค่าของระดับความดันโลหิตต่าง  ๆ  ความดันโลหิตน้อยกว่า  120/80  มิลลิเมตรปรอท 

-  ท่านอยู่ในกลุ่มที่มีความดันโลหิตปกติ

ความดันโลหิต ตัวบน  (ซิลโตลิค)  มากกว่า  120-139  ความดันโลหิต ตัวล่าง (ไดแอสโตลิค) มากกว่า 80-89

- ท่านอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความดันโลหิตค่อนข้างสูงและมีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิต ตัวบน (ซิสโตลิค)  มากกว่า  หรือเท่ากับ 140  มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิต ตัวล่าง (ไดแอสโตลิค) มากกว่า  90  มิลลิเมตรปรอท

-  ท่านอยู่ในกลุ่ม  ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว

ความดันโลหิต ตัวบน (ซิสโตลิค)  มากกว่า หรือเท่ากับ  160-180  มิลลิเมตรปรอท  ความดันโลหิต  ตัวล่าง  (ไดแอสโตลิค)  มากกว่าหรือเท่ากับ  100 -110  มิลลิเมตรปรอท 

-  ท่านอยู่ในกลุ่ม ผุ้มีความดันโลหิตสูงรุนแรง

แนวทางจัดการดูแล (ปฏิบัติ)

ถ้าอายุน้อยกว่า  40  ปี  ให้ติดตามวัดความดันโลหิต  ทุก  2 ปี

ถ้าอายุมากกว่า  40  ปี  ให้ติดตามวัดความดันโลหิต  ตรวจคัดกรอง  ภาวะความดันโลหิตสูงปีละครั้ง

เมื่อไหร่..? ควรสงสัยว่า  อาจเป็น....ความดันโลหิตสูง

-  ระดับความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นทีละน้อย

-  ไม่มีอาการนำของโรค  ส่วนใหญ่จะไม่รู้  ยกเว้น เครียด ฯลฯ

-  ความดันอาจขึ้นกระทันหัน

-  อาจมีปวดศรีษะ  มึนงง  ตาพร่า

-  เหนื่อยง่าย  นอนไม่หลับ

ควรปฏิบัติตัวอย่างไร....เมื่อพบว่าเป็นความดันโลหิตสูง

1.  ลดและควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม

2.  ออกกำลังกายให้เหมาะสมตามวัยและสุขภาพ

3.  ลดอาหารพวกเค็ม  และเพิ่มอาหารที่สมดุลกับสุขภาพ

4.  ละ  เลิก  เหล้า  บุหรี่  และสารเสพติดต่าง ๆ

5.  รู้จักผ่อนคลายความเครียด

6.  การจัดการภาวะความดันโลหิตสูงและข้อแนะนำทางการแพทย์

รู้อย่างนี้แล้ว  อย่าลืมดูแลตัวเองนะคะ  เราจะได้มีพื้นฐานสุขภาพที่ดี  และไม่มีโรคภัยมาคุกคามเราได้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 216432เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2008 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอขอบคุณในสาระดีดีที่นำเสนอ เพื่อได้รับรู้และเตรียมความพร้อมในการดูแลรักษาตนเองให้มีสุขภาพที่ดี และแข็งแรง ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท