วิทยาการสุขภาพ. : ระดมสมองเรื่อง Multiprofessional Health Education (๑)


all for health

เรื่องเดิม , , , ,

เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๑ มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการวางแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ การพัฒนางานด้านวิทยาการสุขภาพ มวล. โดยมีวัตถุประสงค์ ๔ ข้อ ดังนี้
๑. เพื่อให้คณาจารย์ได้พบปะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ประสบการณ์ และร่วมวางแผนกลยุทธ์พร้อมแผนปฏิบัติการมุ่งสู่การศึกษาสหวิชาชีพสุขภาพ
๒. เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคณาจารย์ด้านสุขภาพและบุคลากรที่ให้บริการหรือดูแลรักษาด้านสุขภาพ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ในการประสานความร่วมมือร่วมใจทำงานเป็นทีม เกิดเป็นทีมสหวิชาชีพสุขภาพ
๓. เพื่อให้เกิดงานวิจัยด้านวิทยาการสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ ซึ่งทำให้เกิดแนวทางในการแก้ปัญหาด้านสุขภาพ การบริการและดูแลรักษาให้ดีขึ้นต่อไป
๔. เพื่อเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ การเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ซึ่งจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวมของชุมชนอย่างยั่งยืน ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อีกด้วย

ผู้จัดการประชุมวางแผนไว้ว่าผู้เข้าประชุมจะมาจากสำนักวิชาด้านวิทยาการสุขภาพ (๔ สำนักวิชา) รวมทั้งสำนักวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ และสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ แต่เนื่องจากวันที่ประชุมเป็นวันอาทิตย์และเป็นหยุดช่วงงานบุญเดือน ๑๐ ผู้ที่เข้าประชุมได้จึงมีเฉพาะจากสำนักวิชาด้านวิทยาการสุขภาพ และแพทย์จากโรงพยาบาลร่วมผลิตแพทย์ ประมาณ ๒๐ คนเท่านั้น

ในการประชุมภาคเช้ามีปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวมของชุมชนอย่างยั่งยืนและ Multiprofessional Health Education โดย รศ.นพ.กิจประมุข ตันตยาภรณ์ อดีตคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ได้ประเด็นเกี่ยวกับแนวโน้มใหม่ๆ ใน health care เช่น พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ การสร้างเสริมสุขภาพ Humanistic Medicine ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  People-Centered Health care (PCHC) การแพทย์ทางเลือก การใช้ยาและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม รวมทั้งจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยเฉพาะในเรื่องของ PCHC ว่าได้รับการรับรองจากภาคีสมาชิกขององค์การอนามัยโลกในการประชุม Regional Committee for the Western Pacific ครั้งที่ ๕๘ กันยายน ปีที่แล้ว ไม่ใช่ health for all แต่เป็น all for health

แนวทางการพัฒนาสุขภาพให้ยั่งยืน จะทำอะไรได้บ้าง เช่น การให้การศึกษา การจัดหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพ การเน้นการป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ การสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต ฯลฯ

สำหรับ Multiprofessional education (MPE) WHO ให้ความหมายไว้ตั้งแต่ปี ๑๙๘๘ มีหลายระดับตั้งแต่ interpersonal, interprofessional, interdepartmental, interinstitutional และ intercultural  เป้าหมาย เพื่อ
- development of collaborative competencies
- Modification of attitudes, perceptions and stereotypes of other professions
- Financial and political expediency
- Enhancement of motivation of students to collaborate through identification of common objectives, values and beliefs
- Development of a common language and greater shared meaning for interprofessional communication

Educational model อาจเป็นแบบต้นไม้หลายกิ่งก้าน (Tree model) หรือ รูปแบบที่มาสัมพันธ์กันเฉพาะเมื่อมี common theme ร่วมกัน (recurrent contact model) ประโยชน์ของ MPE มีหลายเรื่อง เช่น เพิ่มแรงจูงใจและความพึงพอใจ professional socialization ส่งเสริม self-reflection และ staff appraisal เป็นการเตรียมสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขความสำเร็จ (เราได้รู้เนื้อหา แต่ยังไม่รู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร)

หลังจบการบรรยายแล้วก็มีการประชุมกลุ่มย่อย ๒ กลุ่ม เพื่อระดมสมองตอบโจทย์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมร่วมกัน และการจัดทำชุดโครงการวิจัย

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 213026เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2008 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 00:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท