ประสบการณ์การสอน..ให้นักเรียนคิด


การสอนให้นักเรียนคิด  หรือรู้จักคิด  คิดได้  ทำได้  เรียงลำดับความสำคัญได้  รู้ว่า...ควรจะทำอะไรต่อไป   มีทักษะชีวิตอย่างไร   เป็นเรื่องที่ไม่ยาก  แต่.....ต้องใช้  เวลา  ความอดทน  เทคนิคเฉพาะตน

Dsc03969.....Kruo987.....Gr5.....Dsc01879.....Draw502.....Thi49

จากประสบการณ์ในการสอน  มาหลายปี   ทดลองกับการสอนหลากหลายวิธี   ดีบ้าง  เหมาะสมบ้าง  ทำแล้ว  ไม่ค่อยจะได้ผลบ้าง  สลับกันไป 

เคยพูดกันอยู่เป็นประจำว่า....สอนนักเรียน นะไม่ใช่  สอนหนังสือ  ดังนั้น  หนังสือ  เป็นเพียง  เครื่องมือ ชนิดหนึ่งที่มาช่วยให้การจัดการเรียนรู้  สะดวกขึ้น  เท่านั้นเอง  

เวลา .....  ครูอ้อยต้องใช้เวลา  ในการเลือกวิธี  เครื่องมือให้เหมาะสมกับนักเรียน  ในแต่ละห้อง  นักเรียนจะมีความสนใจ  ความถนัด  และความพร้อมที่จะเรียนรู้ แตกต่างกัน  เลยยาวไปถึง  การวัดและประเมินผล  ...ก็ต้องแตกต่างกันไปด้วย

ความอดทน  .....  มีหลายท่านผู้รู้  กูรู  ทั้งหลาย เคยเตือนภัยไว้เสมอว่า....หากจะให้นักเรียนเป็นนักคิด  ครูต้องอดทน  อดทน  รอคอยที่จะให้นักเรียน คิด พูด ทำ 

เทคนิค  .....  หลายท่าน ถามครูอ้อยว่า  มีเทคนิคการสอนนักเรียนอย่างไร  ความจริง  ครูอ้อยก็เหมือนกับท่านล่ะค่ะ  ..พกความปรารถนาดีมาเต็มร้อย  โยนให้นักเรียนทุกคนรับไว้  ตั้งแต่เปิดภาคเรียน 

นักเรียนต้องคิด พูด ทำในสิ่งที่กำหนดในหลักสูตร  เมื่อ คิด พูด ทำไม่ได้ถูกต้องตามหลักสูตร  คะแนนเต็มร้อยที่โยนให้ไว้นั้น....ก็ต้องถูกตัดออกไป  ใครดีมาก ก็ถูกตัดน้อย  ตรงกันข้าม  ใครไม่สนใจเรียน  ไม่คิด ไม่พูด  ไม่ทำ..คะแนนก็ถูกตัดไป.....จนไม่เหลือ 

มนุษย์ปุถุชน  มีหรือ  จะไม่โลภ  ไม่อยากได้  ก็ต้องรีบคิด รีบพูด รีบทำ....เพื่อให้ได้มี ได้เป็นเจ้าของ....เหมือนกับคนอื่น  เทียบเทียมกับคนอื่นรอบข้าง.....

*****

การสอนให้นักเรียนคิด...ใช้หลักการที่กล่าวมา  ครูอ้อยสังเกตนักเรียนของตนเองเสมอ  ในจุดเล็กๆ  แต่อาจกลายเป็นจุดด่างพร้อยที่ใหญ่ขึ้นได้  หากไม่ได้รับการรักษาเยียวยา  ....

เป็นหน้าที่ของครูแล้ว  ที่จะต้องช่วยกัน  ร่วมมือกัน ขจัดความไม่คิดให้กับนักเรียน  และส่งเสริมทักษะการคิดให้กับนักเรียน...

เริ่มได้เลย

*****

ใกล้สอบปลายภาคแล้ว  เราจะทบทวนการเรียน  พร้อมกับเก็บคะแนนภาคปฏิบัติไปด้วยนะคะ  เราจะต้อง 1.อ่านออกเสียง  2. ตอบคำถาม  3.  ร้องเพลง  4.  จัดงานปาร์ตี้ในสมุด

นักเรียนเข้าใจว่า  ในสัปดาห์สุดท้ายก่อนสอบนักเรียน  ต้องพิชิต 4 ข้อนี้ให้ได้ 

ข้อ 1  อ่านออกเสียง  ให้สิทธินักเรียนเองว่า...จะอ่านหน้าไหนก็ได้  ในหนังสือ  ตามความพึงพอใจ  ความสนใจ  ความพร้อม  และความสามารถ  ครูอ้อยเคยนำเสนอไปแล้วที่ .....

ข้อ 2  ตอบคำถาม  ตามบริบทรอบข้าง  นักเรียนส่วนใหญ่ตอบได้  เพราะได้รับการฝึกในการฟังคำถาม และตอบคำถามมาทุกวัน ทุกชั่วโมง  ก่อนการเรียน

ข้อ 3  ร้องเพลง  นักเรียน  มีกระบวนการกลุ่ม อยู่ในการจัดการ  แต่วันนี้สอบ  ..ต้องรายบุคคลเท่านั้นเอง  นักเรียนบางคน  ร้องเพลง และ เต้นตามจังหวะด้วย....น่ารักมาก

ข้อ 4  จัดงานปาร์ตี้ในสมุดงาน  เนื่องจาก เรามีเวลาน้อย  การจัดงานปาร์ตี้ในสมุดนี้  เป็นการสรุป เรื่องอาหารและการจัดการ  นักเรียนต้องเขียนภาพ เป็น graphic oragnizer ประเภท bubble thinking map  และการจัดการเป็น manager ร้านอาหาร  ที่จะต้องจัดการกับ เมนูอาหารยุโรป  เข้าใจและเขียนภาพออกมาได้

*****

ส่วนส่งเสริมเรื่องการคิด ในแบบฝึกทบทวน  ตั้งแต่คำถามของครู  ต้องส่งเสริมกันด้วยภาพ  และมีวินัยในการตอบ  นักเรียนจะระดม  brain storming  ในการตอบคำถาม  แบบหมวก 6 ใบ  6 thinking hats 

นักเรียนคิด พูดและทำ จนเป็นวงจร...

ครูใช้ เวลา ความอดทน และ เทคนิค....

แล้วเรา นักเรียน และครู  ก็จะเดินบนเส้นทางความคิด  จนมาพบกันที่ปลายทาง....นั่นคือ  ความสำเร็จ

หมายเลขบันทึก: 211939เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 05:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

แวะมาอ่านพี่ครูอ้อย สอนนักเรียนคิดครับ

อรุณสวัสดิ์ คะครูพี่อ้อย

เป็นแนวคิดที่ดีนะคะ ให้ใจเต็มร้อยกับนักเรียน

สวัสดีครับครูอ้อย

ตามหลังคนพลัดถิ่นอีกครั้งครับ

คิด พูด ทำ เป็นวงจรจำ

นำความคิดประดิษฐ์ใช้ให้เกิดผล

ครูต้องใช้เวลาและอดทน

สำเร็จผลปลายทางดั่งใจหมาย

  • น่าสนใจครับ
  • สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เลยครับ

 

ตามครูโย่งมาค่ะ

เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ

สบายดีนะค่ะ

สวัสดีค่ะน้องชาย .... คนพลัดถิ่น

  • ขอบคุณค่ะ ที่แวะมาอ่าน ครูอ้อย สอนให้นักเรียนคิดค่ะ
  • วันนี้  ไปเรียน หรือเปล่าคะ
  • โชคดี มีความสุข สนุกสนานทั้งวันเลยนะคะ

สวัสดีค่ะ น้องไก่ ... ประกาย

  • ครูอ้อย ยังจำ บรรยากาศ วันแรกที่ครูอ้อย จับโยน คะแนน 100 ให้นักเรียน 
  • นักเรียน ก็ยกมือคว้ารับไป..น่ารักดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ ... บังหีม

  • ขอบคุณมากค่ะ  มาให้กำลังใจ ครูอ้อย ในการปฏิบัติงาน ตั้งแต่เช้าเลยค่ะ
  • อ่านการแสดงความคิดเห็นของท่านแล้ว มีความสุข มีกำลังใจมากเลยค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

สวัสดีครับครูอ้อย กำลังตามล่า(อ่าน)บล็อกครับ หลังจากห่างหายไปนาน ครูอ้อยสบายดีนะครับ ด้วยความระลึกถึงครับผม

สวัสดีค่ะ น้องชาย .... ครูโย่ง หัวหน้า~ natadee

ขอบคุณมากค่ะ ที่สนใจ และคิดว่า นำไปใช้ได้เลยค่ะ

สอนให้คิด  มีความจำเป็นมากเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ ..... MSU-KM :panatung   ที่ตามน้องโย่งมาค่ะ

น่าสนใจ และนำไปใช้

ใช้ได้ผลเป็นอย่างไร นำมาเล่าให้อ่านกันอีกนะคะ

สวัสดีค่ะ ผอ... บวร

  • นานเหลือเกิน ท่านไปไหนมาคะ  คิดถึงมากเลยค่ะ
  • เคยเขียน tag คิดถึงท่านด้วยค่ะ
  • ตามล่าอ่านบล็อก แล้วจะอ่านบล็อกครูอ้อยไหวไหมคะ
  • เป็นกำลังใจให้เสมอนะคะ
  • รักษาสุขภาพนะคะ  แวะมาอ่านอีกนะคะ  ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ..คุณครูอ้อย

- ได้แอบอ่านครูอ้อยเขียนเรื่องที่น่าสนใจในบล็อกอยู่เสมอค่ะแต่เป็นเพราะไม่ค่อยถนัดในเรื่อง com. จึงไม่ค่อยกล้าคุยด้วยค่ะประทับใจกับครูอ้อยมากๆค่ะได้ความรู้มากมาย มองเห็นเลยว่าตัวเองเป็นกบในกะลาครอบอยู่นาน(จริงๆแล้วไม่มีใครครอบนะคะครอบตัวเองมั้งคะ)อยากได้คำแนะนำจากครูอ้อยบ้างค่ะ สอน นักเรียนชั้น ม.5

กลุ้มใจมากๆค่ะ เพราะนักเรียนแยกเองการใช้ tenseไม่ได้ จะสอนเรื่องอะไรก็ไม่ยอมท่อง โครงสร้างประโยคแต่ละเรื่องเด็กๆแยกไม่ได้เลยทำไงดีคะเป็นห่วงเด็กๆมากเพราะปีหน้าก็ต้องเตรียมตัว entranceแล้วค่ะ แก้ได้อย่างไรดีคะ ถ้าไม่สอนเองโครงสร้างเลยก็ไม้ได้ใช่ไหมคะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อาภา

  • ตื่นมาตอนเช้านี้ ก็พบกับ เสียงของครูหลายท่านที่เป็นห่วงเป็นใย นักเรียนที่ไม่แข็งแรงในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
  • ครูอ้อยคิด จนต้องไปเรียน เพื่อเสริมให้ตนเองคิด คิด อย่างเป็นระบบ  มองจุดเล็กๆ ให้ออกว่า  จะคิดทำอะไรเป็นระบบ  ให้คุ้มกับเวลาที่เราต้องสูญเสียไป
  • การสอนเรื่อง tense เป็นปัญหาใหญ่มากๆ  และยังดูแล้วขัดแย้งกับการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่ไม่เน้นเรื่อง tense  ซึ่งครูอ้อยเคยได้ถกเถียงกับครูระดับมัธยมบ่อยมากๆ
  • ครูอ้อยเอง ก็ไม่ได้เน้นการสอน tense แบบเปิดฉากมา ก็บอกว่า....วันนี้ เราจะเรียนเรื่อง present simple tense นะคะ  มันมีโครงสร้างแบบนี้ และต้องมีองค์ประกอบของโครงสร้างแบบนี้  ควรจะมีคำเหล่านี้กำกับ  ครูอ้อยไม่ได้จำว่าเรียกอะไร  แต่เวลาประชุม พร้อมๆ กับครูมัธยม  มักจะได้ยินเธอพูดบ่อยๆ ว่าควรสอนเรื่องนั้น เรื่องนี้ด้วย
  • ยิ่งตอนไปดูการสอนของอาจารย์ 3 รุ่นสุดท้ายนี้  ครูมัธยมหลายๆท่าน ก็ยังมีวิธีการสอนแบบเดิมๆ  ครูอ้อยพูดตามที่เคยเห็นนะคะ
  • น่าจะปรับเปลี่ยนวิธีการสอน  เทคนิค  สื่อ  กระบวนการเรียนรู้ จิตวิทยา แบบใหม่  สลับกัน ระหว่าง inductive และ deductive น่ะค่ะ  สงสัยต้องรื้อฟื้นเรื่องนี้มาเขียนบันทึกอีกแล้วค่ะ  และต้องทดลองการสอนก่อน  ค่อยมาแนะนำกันนะคะ 
  • ขอบคุณค่ะที่สนใจ ถามครูอ้อย ด้วยความอบอุ่น  ความเพียรของพวกเรา ย่อมประสบกับความสำเร็จค่ะ นะคะ  ครูอ้อยเป็นกำลังใจช่วยเสมอค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท