สถานที่เรียน สำคัญไหม..ทำไมนักเรียนต้องไปกวดวิชา...ทำไมต้องหนีไปเรียนในเมือง


ตอนเด็กๆเห็นเพื่อนๆไปกวดวิชากัน รู้สึกงงๆเนื่องจากเป็นเด็กบ้านนอก...เฉพาะเงินยังไม่มีกินข้าวเลย...จะมีปัญญาไปกวดวิชาไหมเนี่ย...

     ตื่นขึ้นมาเสียงนกกาเหว่าร้อง…กาเหว่าๆ…กาเหว่าๆ…กลิ่นดอกมะลิที่ปลูกริมหน้าต่าง…โชยมาอ่อนๆปนกับกลิ่นดอกไม้ป่าหลังห้องพัก…ทำให้คิดไปว่าเนี่ยถ้าเรียนอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จะมีบรรยากาศแบบนี้ไหม นึกไปถึงที่ มอ. หาดใหญ่ บรรยากาศก็คงคล้ายกัน…แต่ดอกสีตรัง คงมากกว่าที่นี่… หวนกลับมาคิดถึงการเรียนกวดวิชาในสมัยเด็ก…ครูเขาสอนวิธีการทำข้อสอบมากกว่า...สอนวิธีคิด.… ในด้านการศึกษาครูควรสอนเหมือนปรัชญาจีนที่ว่า  เราควรสอนวิธีการตกปลาให้แก่นักเรียน มากกว่าให้ปลาแก่นักเรียนเลย…ถ้าสอนวิธีการตกปลาให้แก่นักเรียน…เมื่อปลาหมด นักเรียนก็สามารถหาปลาได้เอง…หันกลับมานึกถึงสถานที่เรียนบ้านเรา …ผมพบว่านักเรียนบ้านอยู่ในชนบท…ห่างไกลจากเมืองระยะทางมากกว่า 80 กิโลเมตร…แต่นักเรียนตื่นตี 4-5 เพื่อรอรถโดยสารเข้าไปในเมือง…ในขณะที่ในชนบทก็มีโรงเรียนดีๆเหมือนกัน.. เป็นค่านิยม หรือ ระบบการศึกษาบ้านเราจัดไม่เท่าเทียมกัน…ใครทราบช่วยบอกทีครับ !!!

หมายเลขบันทึก: 21046เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2006 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
โจทก์คราวนี้ของคุณขจิตยากจัง 
  • เหมือนที่เราคุยกันในหลักการครับ ปรัชญาเรื่องการสอน เราควรเน้นการสอนวิธีตกปลา(สอนให้คิด)ให้เด็ก เพื่อที่เมื่อเด็กจบไปก็จะได้ตกปลากินเองเป็น ในขณะที่วิธีการสอบคือการวัดว่าเด็กคนไหนได้ปลามามากที่สุด (เน้นการจำ มากที่สุด) แทนที่จะเป็นการไปดูว่าวิธีการที่เด็กปฏิบัติในการตกปลาถูกต้องหรือไม่ (กระบวนการคิดของเด็ก) ผมก็เลยต้องตั้งคำถามต่อเนื่องว่า จริงๆแล้วอาจารย์ผู้สอนนั้นตกปลากินเองเป็นหรือไม่ เพราะวิธีการได้ปลาของอาจารย์ผู้สอนก็มาจากวิธีการรับมาจากครูเหมือนกัน ผมคิดว่าการสอนให้เด็กคิด มันเป็นศาสตร์และศิลป์ มันน่าจะมีแนวทางวิธีการทำ ที่น่าสนใจ มากกว่าการเรียนในห้องเรียนของนักศึกษาที่จะจบไปเป็นคุณครู แล้วปล่อยให้คุณครูใหม่เหล่านี้ไปหาวิธีการกันเอาเอง โดยวิธีการที่ต้องใช้ในการสอนให้เด็กคิด มันไม่เคยมีอยู่ในบทเรียนของการเรียนครู
  • ส่วนเรื่องการกวดวิชา เป็นเรื่องธรรมดาของระบบการศึกษาที่มี สองมาตรฐาน หากโรงเรียนมีมาตรฐานไม่เท่ากัน เป็นใครก็ต้องเลือกให้เด็กของตัวเองได้เรียนในที่ที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ เมื่อทำไม่ได้ ก็ต้องพึ่งโรงเรียนกวดวิชา เพื่อดึงให้เด็กมีมาตรฐานความรู้สูงขึ้น ทางแก้ในเรื่องนี้คือทำมาตรฐานของโรงเรียนให้เท่าเทียมกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ยาก ยิ่งกว่าการงมเข็มในมหาสมุทรเสียอีก ในอีกแนวทางหนึ่งหากการวัดผลไม่มุ่งเน้นที่ความจำ แต่หันมามุ่งเน้นที่กระบวนการคิด ผมคิดว่าช่องว่างระหว่างมาตรฐานของโรงเรียนน่าจะลดลง เพราะความจำกัดทางด้านทรัพยากรต่างๆทางการศึกษา ไม่น่าจะสัมพันธ์กับแนวทางในการสอนให้เด็กคิดเองเป็น ทำเองเป็นได้
  • ผมเห็นเด็กๆตัวเล็กๆ แบกกระเป๋าไปโรงเรียนกันหลังตุง ก็เคยพยายามบอกให้จัดตารางสอน แต่เขาก็บอกว่ามันต้องใช้ทุกเล่ม ก็เลยไม่รู้ว่าจะว่าอย่างไร
  • ในบ้านเรา ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องน่ายินดีหรือไม่ที่เด็ก ป.1 ในโรงเรียนเอกชน อ่านหนังสือกันออกแล้ว เด็ก ป 2 บวกลบเลขกันได้แล้ว เด็ก ป 3 คูณหารเลขได้แล้ว ทุกวันเต็มไปด้วยการบ้านชนิดที่เด็กง่วงแล้วก็ยังทำการบ้านไม่เสร็จ ในขณะที่เด็กเมืองนอกเรียนกันสบายๆ ไม่มีการบ้านให้ปวดหัวมากนัก จะป 2 หรือ ป 3 ก็ไม่ต้องไปปวดหัวกับตัวเลขให้มากนัก วันๆเห็นเล่นกันสนุกสนาน เรียนไปเรียนมายังไงก็ไม่รู้ ไอ้เจ้าเลขที่เด็กเราเคยทำได้ดีกันมาก่อน กลายเป็นทำกันไม่ค่อยได้ จนบางคนเข้าขั้นเกลียดวิชาคำนวณกันไปเลย ในขณะที่เด็กเมืองนอก กลับมาคำนวณได้ดีแซงหน้าเด็กไทยไปเลย ทั้งๆที่ตอนเล็กๆ ก็ไม่เห็นจะต้องมีการบ้านอะไรมากมาย  ผมเคยเห็นงานวิจัยเรื่องหนึ่งที่เคยบอกว่า เด็กไทยมีระดับ ไอคิว ไม่ด้อยกว่าเด็กต่างชาติ แต่พอยิ่งเรียนสูงขึ้นเด็กไทยเรากับมีไอคิวลดลง ในขณะที่เด็กต่างชาติไอคิวเขามีแต่สูงขึ้นหรืออย่างน้อยก็ไม่ลดลง
  • อย่างนี้ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเล่าสู่กันฟังดี หรือบ่นให้ฟังดี
  • ผมไม่ทราบว่าครูท่านอื่นเป็นอย่างไร มีวิธีการสอนเหมือนครูเดิมของเขาไหม
  • ในกรณีของผม ค่อนข้างออกนอกกรอบครับ การสอนนักศึกษาครู ควรสอนให้เขามีวิธีการสอนในบริบทของเขาเอง ไม่ใช่ให้เด็กบนภูเขา บนดอยเรียนหลักสูตรการปลูกยางเหมือนกันทั้งประเทศ
  • การสอนวิธีการคิด ( Critical Thinking ) เป็นเรื่องน่าสนใจ ท่านใดมีความคิดดีๆเล่าให้ฟังบ้างสิครับ
  • ขอบคุณ อาจารย์ สุคนธ์ มากครับที่เข้ามาจุดประเด็น

 “ฉลาดรู้” รูปแบบการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท

   เป็นยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วนคือ


1. มุ่งมั่นด้วยศรัทธา
2. ใฝ่หาความรู้ คู่คุณธรรม
3. นำไปใช้อย่างฉลาด
4. ไม่ประมาทหมั่นตรวจสอบ/พัฒนา

    ในขั้นที่ 1 อาจดำเนินการ เพื่อให้เกิด ศรัทธา และ ฉันทะ ด้วยการดังนี้ ..

1. ทำให้ผู้เรียนรู้จักตนและสภาพแวดล้อมของตนอย่างถ่องแท้
2. สร้างความตระหนักในปัญหาที่เผชิญอยู่ หรือกำลังจะมีมา
3. สร้างความตระหนักในคุณค่าของสิ่งที่จะเรียน
4. กำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้ร่วมกัน

    เป็นงานวิจัยที่เคยร่วมทีมทำกันมาตั้งแต่ขั้นพัฒนารูปแบบ  จนขั้นทดลองนำไปใช้  และเคยออกเผยแพร่มาแล้วระยะหนึ่ง ได้ผลดีครับ แต่รายละเอียดคงเป็นเรื่องที่ต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  ให้เหมาะสมที่สุด โดยอาศัย “ฉลาดรู้” เป็นกรอบแนวคิดเท่านั้น

     อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้การเรียนรู้มีคุณค่าและความหมายมากขึ้นครับ

 

  • ขอบคุณพี่พินิจมากครับ เป็นรูปแบบการสอนที่น่าสนใจ
  • ศ สุมน อมรวิวัฒน์ เคยทำเรื่องความคิดสร้างสรรค์เหมือนกัน สมัยทำงานที่ สกศ
  • ขอบคุณมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เหมือนเรื่องเล่าที่เคยไปออกค่ายในชนบท
ถามว่าลุงทำไมไม่สร้างรั้ว รั้วบ้านพังแล้วนะ
รอนักศึกษาออกค่ายอาสาพัฒนามาสร้างให้
 

  • ขอบคุณคุณดอกหญ้ามากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

     ขอบคุณอาจารย์ขจิตที่แนะนำแป๋มมาเยี่ยมชมนะคะ  โจทย์ข้อนี้ยอมรับค่ะว่ายาก ตัวเองก็เคยผ่านการเรียนกวดวิชามาช่วงม.ปลาย  แต่ไปเรียนไม่นานด้วยรู้สึกรำคาญที่จำนวนเด็กที่มาเรียนค่อนข้างมาก  การดูแลของครูก็ไม่ทั่วถึง  บางวิชาต้องเรียนกับครูตู้(ทีวีวงจรปิด)  จึงขออำลาชีวิตการเป็นนักเรียนที่ไปเรียนกวดวิชาคราโน้น  พร้อมกับนำข้อเสียที่ list ออกมาเป็นข้อๆ  แล้วสัญญากับตัวเองว่าหากได้กวดวิชาให้เด็กๆจะไม่มีสิ่งเหล่านี้เป็นอันขาดค่ะ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท