วันนี้ (23 มี.ค.49) ผมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ชุดโครงการ "วิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ - ท้องถิ่นน่าอยู่" ของ สสส. คณะกรรมการชุดนี้มีท่านอดีตรองเลขาธิการ สศช. คุณไพโรจน์ สุจินดา เป็นประธาน
หัวหน้าโครงการคือ นพ. พลเดช ปิ่นประทีป กับ อ. ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ (01-307-2288)
ผมถามหาความสำเร็จที่น่าชื่นชม ก็ได้ทราบว่ามีหลายจังหวัด
(ใน 35 จังหวัดที่เป็นพื้นที่โครงการ)
ที่มีผลสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ
-
เกิดการรวมตัวกันเป็นประชาคม
ทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ
แก้ไขปัญหาของท้องถิ่นที่เป็นประเด็นร้อน/ความขัดแย้ง
แต่ด้วยแนวทางของโครงการที่เน้นการทำงานวิชาการ
เน้นการแก้ปัญหาด้วยความรู้ เรื่องร้อนจึงเย็นลง
-
เกิดการสร้างคนในพื้นที่ประมาณ 1,000 คนที่มีความรู้
มีทักษะในการทำงานสาธารณะและสร้างความรู้ไปพร้อม ๆ กัน
เป็นคนที่มีทักษะในการทำงานแบบ collaborative partnership
-
กิจกรรมที่ทำมีความหลากหลาย
เพราะมีประเด็นร้อนโผล่เข้าไปในพื้นที่ตลอดเวลา
เข้าไปกดทับความเป็นอยู่ของชาวบ้าน
ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงหลากหลาย
และมีปัญหาเปลี่ยนหน้าเข้าไปในพื้นที่อยู่ตลอดเวลา
-
ทีมวิจัยเอ่ยตัวอย่างความสำเร็จที่ จ.ปราจีนบุรี
ซึ่งเดิมจับประเด็นเปะปะ แต่ในที่สุดก็ค่อย ๆ
รวมตัวกันทำเรื่องการจัดการลุ่มน้ำ
ประสบความสำเร็จมาก และได้ ลปรร.
กับพื้นที่อื่นด้วย ได้แก่ ทางภาคเหนือ (ลำพูน)
และภาคใต้ (สุราษฎร์)
-
ทีมงานแต่ละจังหวัดมีการประเมินภายใน
หรือการประเมินตนเองตลอดเวลา
ถือเป็นนวัตกรรมในการทำงานประชาคม
-
ความสำเร็จเกิดจากทีมประชาสังคมได้รับความเชื่อถือจากหลายฝ่าย
ทั้งภาคราชการ ธุรกิจและชาวบ้าน
พูดภาษาวิชาการว่าเกิดการเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาคมเข้ามามีบทบาทนำ
หรือบทบาทร่วมในการทำให้ท้องถิ่นน่าอยู่
มีการ ลปรร. กันว่า โครงการ ศตจ. ปชช. ของ พอช. & สกว. ก็มีผลเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาสังคม - ภาคประชาชนแสดงบทบาทเหมือนกัน แต่ ศตจ. เริ่มด้วยการจัดระบบ คือสร้างข้อมูลของชาวบ้าน (แผนแม่บทชุมชน) ขึ้นมาสร้างความยอมรับของผู้ว่าซีอีโอ & หน่วยราชการ จนเกิดการ "เปิดพื้นที่" แต่โครงการ "ชีวิตสาธารณะ - ท้องถิ่นน่าอยู่" เริ่มที่คนที่รวมตัวกันทำกิจกรรมจนได้รับการยอมรับและมีการเปิดพื้นที่ ดังนั้น 2 โครงการนี้ควรเข้ามาร่วมมือและ ลปรร. กัน
ตกลงกันว่า ในเดือน มิ.ย.49 โครงการฯ กับ
สคส. จะร่วมมือกันจัดเวทีนวัตกรรมท้องถิ่นน่าอยู่
-
เลือกจังหวัดที่ผลงานเด่น 5 จังหวัด เชิญผู้ปฏิบัติงานและ
collaborative partner จังหวัดละ 5 - 10 คนมา
ลปรร.กัน โดยใช้เครื่องมือ storytelling
และมีการบันทึกเรื่องเล่าและขุมความรู้
จัดทำเป็นคลังความรู้ในการทำงานชีวิตสาธารณะ -
ท้องถิ่นน่าอยู่ ซึ่งก็คือการเรียนเทคนิค "ถอดความรู้"
จาก tacit knowledge นั่นเอง
-
จะร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่เครือข่าย/CoP
-
ผู้ประสานงานของ สคส. คือคุณอ้อม (อุรพิณ) ของโครงการฯ
คือคุณคนุสสัน ศุภวัตรวรคุณ 0-2621-7810 - 12
-
ถ้าประสบความสำเร็จ สคส.
อาจเชิญเข้าร่วมมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3
วันที่ 1 - 2 ธ.ค.49
วิจารณ์ พานิช
23 มี.ค.49