KM แบบ "จัดตั้ง" vs. KM แบบ "ใจสั่งมา"


ผมเรียก KM แบบนี้ว่าเป็น KM แบบ "จัดตั้ง" ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร เพียงแต่ว่าเมื่อโครงการนั้นสิ้นสุดลง กลุ่มหรือเครือข่ายที่เกิดขึ้นจากการทำ KM นี้จะต้องไม่หยุดตามโครงการ ...จะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป เรียกได้ว่า "โครงการจบ" แต่ "KM ไม่จบ"

        บางคนอาจจะมอง KM ว่าเป็น "กระบวนการ" สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บางคนมอง KM ว่าเป็น "หลักการ" สำหรับใช้บริหารงาน มีคนถามผมเสมอว่า "ถ้าไม่ทำ KM ในระดับองค์กร (เพราะยังไม่พร้อม) แต่จะนำมาใช้เฉพาะกับกลุ่มที่สนใจก่อนจะได้ไหม?" ซึ่งผมก็มักจะตอบไปทันทีว่า "ได้"  โดยมี "ข้อแม้" เพียงอย่างเดียวก็คือ "เรื่องที่จะ Share & Learn นี้ จะต้องเชื่อมโยงไปสู่ Shared Vision ให้ได้  ไม่ใช่สักแต่ Share กันเรื่อยไปอย่างไร้ทิศทาง"
   
        การมอง KM อาจจะมองในเชิงองค์กร หรือมองในเชิง "เครือข่าย" ก็ได้  แต่ต้องเป็นเครือข่ายของผู้ที่สนใจ มีเป้าหมาย หรือมีปัญหาเรื่องทำนองเดียวกัน ....หลายท่านที่คุ้นเคยการทำงานในลักษณะที่เป็นโครงการ มักจะถามผมว่า "จะทำ KM เป็นโครงการได้ไหม?" ซึ่งผมก็มักจะตอบไปว่า "ย่อมได้"

        ผมเรียก KM แบบนี้ว่าเป็น KM แบบ "จัดตั้ง" ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร เพียงแต่ว่าเมื่อโครงการนั้นสิ้นสุดลง กลุ่มหรือเครือข่ายที่เกิดขึ้นจากการทำ KM นี้จะต้องไม่หยุดตามโครงการ ...จะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป เรียกได้ว่า "โครงการจบ" แต่ "KM ไม่จบ"  ทั้งนี้เนื่องจากมีใจที่ผูกพัน เป็นใจที่มีพลังสร้างสรรค์ พลังที่ทำให้เครือข่ายนี้หมุนต่อไปได้ ไม่ว่าจะมี "โครงการ" หรือไม่ก็ตาม  ผมเรียกว่า KM แบบนี้ว่า เป็น KM แบบ "ใจสั่งมา" ครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20145เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2006 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผมเห็นด้วยกับแนวคิดของอาจารย์ครับ ...เพียงแต่ว่ากระบวนการระหว่างการดำเนินการจัดทำ KM นั้น ทำอย่างไร? จะมีวิธีการหรือ Best Practice ตามกระบวนการของ KM ได้ เพราะบริบทของแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน

วิชิต

"กระบวนการทำ KM นั้น ทำอย่างไร?" ....ก็ให้เริ่มจาก "หัวปลา" ไปสู่ "ตัวปลา" ไปสู่ "หางปลา" ครับ (ลองหาอ่าน Model ปลาทู ดูนะครับ)

และเนื่องจาก "บริบท" ของแต่ละที่นั้นไม่เหมือนกัน "Best Practice" ในแต่ละที่จึงมีความหมายในทำนองที่ว่า "What works best for me" ครับ ...ไม่ใช่ Best สำหรับทุกๆ ที่

..ไม่รู้ว่ายิ่งพูดยิ่งงงหรือเปล่าครับ ...เพราะผมเองก็เริ่มมึนๆ แล้วครับ.....

จะพัฒนาใช้กับการเรียนการสอนง่ายๆได้อย่างไร
คุณวรชัย ถามมาง่ายๆ แต่สร้างความหนักใจให้กับผมครับ ...เพราะ "การเรียนการสอน" โดยทั่วไปยึดเอาผู้สอน เอาวิทยากรเป็นตัวตั้ง แต่ Knowledge Sharing (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ KM) นั้นเอาผู้เรียนเป็นตัวตั้ง (ทำนอง child-centered นั่นแหละครับ) ภายใต้ Assumption ว่า คนทุกคนนั้นมีความรู้อยู่ในตัว (Tacit Knowledge) เช่น ครูแต่ละคนต่างก็มีความรู้ความสามารถในเรื่องต่างๆ แตกต่างกันครับ ถ้าจับมา Share Knowledge กัน ซึ่งอาจจะเป็น "เคล็ดลับ" ที่ทำให้ทำงานในเรื่องนั้นๆ ได้ดีก็ได้ ....ไม่ทราบว่าคุณวรชัย พอเห็นแนวทางบางหรือยังครับ ...ผมแนะนำให้ตามอ่าน blog ของ ท่านอาจารย์วิจารณ์ ครับ
คุณวรชัยลองอ่าน http://gotoknow.org/archive/2006/03/27/08/57/42/e21033 ดูนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท