ต้องมั่นใจว่า..ได้เลือก..สิ่งที่ดีที่สุด


ผลงานสอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตฐาน ISO15189...
   ปัญหาในการตรวจเลือดทางโลหิตวิทยา ที่พบได้บ่อยมาก ม๊ากมาก และม๊ากมาก..ขึ้นเรื่อยๆ ก็คือการที่เลือดส่งตรวจ (ซึ่งควรจะเป็นเลือดที่ไม่แข็งตัว) มักจะมีการ "แข็งตัวบางส่วน" ผลก็คือทำให้การนับจำนวนเกล็ดเลือด "ต่ำกว่าความเป็นจริง" ปัญหานี้เหมือนปัญหาโลกแตก แก้ไขกันมาโดยตลอด เฝ้าระมัดระวังกันตั้งแต่การเจาะเลือด ปริมาตรเลือดต่อสารกันเลือดแข็ง การผสมเลือด ชนิดของสารกันเลือดแข็ง การเตรียมขวดเลือด ฯลฯ...
   ต้นเหตุหนึ่งของปัญหานี้ก็คือ ขวดบรรจุสารกันเลือดแข็งที่เตรียมขึ้นใช้เอง ไม่ค่อยเหมาะสมในการใช้งานแล้วล่ะค่ะ  ดังนั้นเมื่อกลางปี 48 ที่ผ่านมาพี่เม่ยจึง ประสานงาน กับ "คุณกลิ่น" (หัวหน้างานรับส่งสิ่งส่งตรวจ) เพื่อขอให้ช่วยดูแล แก้ไขไปตามขั้นตอน
   จนกระทั่งเดือนธันวาคม 48 คุณกลิ่นก็มาแจ้งว่า ได้บทสรุปแล้วว่า จะสั่งซื้อหลอดบรรจุสารกันเลือดแข็ง ทดแทนการเตรียมขึ้นใช้เอง ด้วยเหตุผลหลายประการที่บอกได้ว่า "คุ้ม" เอ้า..ดีเหมือนกันเพราะมองเห็นผลดีตามมาอีกหลายๆอย่าง แต่พี่เม่ยก็ต้อง "ขอคัดเลือก"ชนิดของหลอดบรรจุสารกันเลือดแข็งก่อนนะคะ...คุณกลิ่นก็แสนดี ประสานงานกับบริษัทที่จำหน่าย ขอตัวอย่างมาทดลองใช้งานดูก่อน 2 ชนิด... 
   พี่เม่ยจึงมอบหมายงานให้ น้อง(สุธาสินี) และพรรคพวก (ว่าไปแล้วพรรคพวกมากเหลือเกินค่ะ เพราะหมายถึงทุกคนในหน่วยงานเลย) ช่วยกันวางแผน ทดสอบ และเก็บข้อมูล วิเคราะห์ สรุป โดยอาศับประสบการณ์จากการร่วมโครงการ Patho-Otop I นั่นเอง
   น้อง ได้ทำการประเมินคุณภาพหลอดบรรจุสารกันเลือดแข็ง 2 ชนิดคือ หลอดบรรจุสารdipotassiumEDTA และ หลอดบรรจุสาร tripotassiumEDTA โดยเปรียบเทียบกับของเดิมที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ทำการประเมินผลด้วยการเปรียบเทียบค่าดัชนีเม็ดเลือด และคุณภาพสเมียร์เลือด ได้ผลดังนี้ค่ะ

 ชนิดของภาชนะ

ดัชนีเม็ดเลือด 

คุณภาพสเมียร์เลือด 

 ขวด..ปัจจุบัน

ค่ามาตรฐาน 

มักมีการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

 หลอด dipotas.

 ไม่แตกต่าง

 ดี,ไม่มีการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

 หลอด tripotas.

 ไม่แตกต่าง

 ไม่ดี,เม็ดเลือดแดงไม่ชัดเจน บวมน้ำ

   จึงได้บทสรุปว่า เราเลือกหลอดบรรจุเลือดที่ใส่สารกันเลือดแข็งชนิด dipotassiumEDTA ในการทดสอบ CBC ค่ะ ทีนี้ก็สบายใจได้ เพราะเรามีข้อมูลที่ยืนยันการคัดเลือกอุปกรณ์ก่อนนำมาใช้งาน สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านคุณภาพ ISO15189 ข้อ 5.5.1 ที่ว่า " ห้องปฏิบัติการมีวิธีปฏิบัติการทดสอบ รวมถึงการคัดเลือก/การเก็บตัวอย่าง....... มีการตรวจสอบความถูกต้องให้เหมาะสมกับการใช้งาน.... "
   ด้วย อุดมการณ์ ร่วมกันของทุกคน ที่ต้องการทำเพื่อคนไข้
   ด้วย ประสบการณ์ ของนักพัฒนา  ที่สามารถคิดเอง ทำเองได้
   ด้วย เป้าหมาย ที่เห็นกันได้ชัดเจน ว่าเราต้องการให้คุณภาพของงานดีที่สุด
   ด้วย การได้มีส่วนร่วม ของทุกคน ทำให้เราไม่รู้สึกว่าเป็นภาระหนัก(..คือเป็นภาระเบาๆ)
   ไม่ต้องมีการตั้งเป้าหมายว่าที่ทำนี้เพื่อให้ตรงตามมาตรฐาน ISO15189 แต่ผลงานก็สอดคล้องตามข้อกำหนด อย่างตรงเป้าที่สุด  ถึงตอนนี้ถ้ามีใครมาถาม  เราก็สามารถตอบได้ตรงกันว่า เรามั่นใจ..เรา "ได้เลือก" สิ่งที่ดีที่สุดแล้ว
   ระหว่างที่พี่เม่ยเขียนบันทึกนี้อยู่ ก็แอบเห็น "นู๋เม้า" ก้มๆเงยๆถ่ายรูปหลอดใหม่นี้อยู่ สงสัยจะมีเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับการใช้หลอดใหม่นี้ มาเล่าสู่กันอ่านในไม่ช้า...
หมายเลขบันทึก: 20252เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2006 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พี่เม่ย

ชอบจังคะ...ทำงานด้วยหัวใจ..และความ "รัก"..ในงาน
คือความสุข...
ไร้รูปแบบ...หากแต่สมดุล
คือ..ความสุขที่อยาก ลปรร.นะคะ คนเล่าเรื่อง  "จิตเวช"

ดีจังเลยที่มีการทดลองก่อนเลือกซื้อ จะได้รู้ว่าเลือกถูก   ไม่ได้ดูว่าราคาถูกกว่า เปรียบเทียบแต่ราคาอย่างเดียว   แถมยังทำเป็นกระบวนการและทำเป็นทีมด้วย ดีจริงๆ  

ขอร่วม "ดีจัง"  อีกคน

และขอเรียนถามเพิ่มเติมว่า   ถ้าสัดส่วนของเลือดและ EDTA ไม่ได้มาตรฐาน    เช่น ที่บอกว่าต้องใส่เลือด 3.5 cc.   แต่จริงๆแล้วเจาะเลือดได้น้อย  เช่น 1 - 2 cc. จะมีผลกระทบอย่างไรกับค่า CBC  (มีผลต่อค่า diff หรือไม่)

 

ปล. สำหรับเรื่องนี้..และอีกหลายเรื่อง  ไม่ขออ่าน "help"  ถามพี่เม่ยดีกว่า   ถ้ายังมีคนให้ถามก็ถามได้เรื่อยๆ  แหละค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ตามทฤษฎีบอกว่า จะทำให้เม็ดเลือดแดงมีขนาดและรูปร่างผิดปกติได้ (ไม่ใช่ผลของ EDTA โดยตรง แต่เป็นเพราะ Sodium  หรือ Potassium ที่เพิ่มขึ้นในพลาสม่า ทำให้ต้องมีการสร้าง "สมดุลย์" ระหว่างในและนอกเซลด้วยการ "ดึงน้ำออกจากเซลล์" แต่ผลนี้จะเกิดก็ต้องใช้เวลานานค่ะ ถ้าทำการทดสอบภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากเจาะเก็บเลือด ก็ไม่เห็นปัญหาค่ะ

หน่วยอื่นๆ จะสามารถใช้ได้ไหม เช่น thalassemia,genetics จะได้ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งภาคพยาธิฯ  เจ้าหน้าที่เจาะเลือดก็สะดวก ไม่ต้องจำว่าถ้าเป็น test ของธาลัสซีเมีย ต้องใช้ขวดกลมจุกแดง ถ้าเป็นของพันธุศาสตร์ ตรวจโครโมโซมใช้ หลอดฉลากสีส้ม  ถ้าตรวจ DNA ใช้ขวดฉลากสีฟ้า 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท