Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๕๒)_๒


จากปากคำของ นจท.ในบทบาทคุณอำนวย 
         สำหรับในการดำเนินโครงการระยะที่ 2 นี้ บทบาทหน้าที่ของนักจัดการความรู้ท้องถิ่น (นจท.) ทั้ง 8 คนก็เปลี่ยนไป ต้องมีภาระหน้าที่มากขึ้น ในการเชื่อมประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเชื่อมประสานงบประมาณที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์กับชุมชนมากที่สุด
         ทั้งนี้นางสาวพิมพร ช้างทองคำ นักจัดการความรู้ท้องถิ่น จ.อ่างทอง กล่าวว่า ในโครงการระยะแรกตนดำเนินโครงการในพื้นที่เกี่ยวกับเรื่องเกษตรอินทรีย์ โดยจะเน้นความต้องการของชาวบ้านเป็นหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการผลิต และส่งเสริมสุขภาพของเกษตรกร ใช้กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเพื่อเสริมการเรียนรู้เป็นระยะๆ โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็นการเรียนรู้เอง ทำให้เกษตรกรเริ่มเห็นผลต่างระหว่างการทำเกษตรแบบเคมีกับการทำเกษตรอินทรีย์ และเกิดความตระหนักในการเรียนรู้เพื่อลดต้นทุนและการจัดทำบัญชีฟาร์มอย่างต่อเนื่อง
         “ครั้งแรกเราจะดูศักยภาพ และความต้องการของชุมชนก่อน ว่าชุมชนต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร จากนั้นเราก็จะมาจัดกระบวนการกลุ่มวิเคราะห์ร่วมกันว่าเกษตรกรต้องการความรู้เรื่องอะไร ให้เขาจัดการตัวเขาก่อนโดยใช้ศักยภาพ/ภูมิปัญญาของเขาเองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดก็จะนำผู้รู้ในชุมชนมาสอนแล้วเชื่อมโยงความรู้จากภายนอก เช่นจากมูลนิธิข้าวขวัญ เข้ามาให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ เป็นการออกไปเรียนรู้ถึงสถานที่จริง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนวิธีคิดของชาวบ้าน” พิมพรพ์ กล่าวและว่า ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์ได้ขยายหัวเชื้อเป็นแกนนำในโรงเรียนเกษตรกร และความความรู้ดังกล่าวยังขยายผลต่อไปยังสถาบันการศึกษาในชุมชน เช่น นักเรียนจากโรงเรียนวัดชัยภูมิได้มาร่วมเรียนรู้กับชาวบ้าน หรือวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดอ่างทอง ได้ติดต่อให้นักจัดการความรู้ท้องถิ่นเข้าไปจัดกระบวนการเรียนรู้แก่นักศึกษาของตน เป็นต้น
         พิมพ์พร กล่าวต่ออีกว่า แนวทางโครงการโรงเรียนเกษตรกร ในระยะที่ 2 นี้แม้ไม่ได้เข้าไปต่อเชื่อมกับอปท. โดยตรงแต่แผนของโรงเรียนเกษตรจะไปตรงกับแผนของอำเภอในแผนปี 2549 ซึ่งจะสนับสนุนเรื่องเกษตรชีวภาพและเกษตรปลอดภัยอยู่แล้ว ตนจึงเข้าไปเชื่อมประสานโครงการเข้ากับโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดร่วมกับกลุ่มสหกรณ์ที่ชุมชนทำอยู่ ซึ่งจะพัฒนาเป็นสถาบันการจัดการความรู้ของชุมชนต่อไป โดยมีเป้าหมายทำให้ศูนย์ 1 ตำบล 1 ฟาร์มที่มีอยู่แล้วเป็นห้องทดลองด้านการเกษตรและเป็นที่เรียนรู้ด้านอื่นๆของชุมชน ผ่านการสร้างแกนนำชุมชนเพื่อเป็นผู้ขยายผลการเรียนรู้
          ด้านนางสาวนันท์ภัส รุ่งแสง นักจัดการความรู้ ต.เชิงกลัด อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี กล่าวว่า ในระยะแรกตนดำเนินโครงการเรื่องสุขภาพองค์รวมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กลุ่มออกกำลังกาย เป็นการพัฒนาศักยภาพของตนเองในฐานะคุณอำนวยและคุณประสาน ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนให้กับการทำงานในระยะที่ 2 ที่จะได้นำความรู้และประสบการณ์มาใช้อย่างเต็มที่
         ซึ่งโครงการระยะที่ 2 นี้จะดำเนินโครงการจัดการขยะในชุมชนเป็นหลัก ควบคู่กับเรื่องห้องเรียนชุมชนเช่น ห้องเรียนดงยาง ซึ่งเชื่อมประสานกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี จ.ลพบุรี ทำการอนุรักษ์ดงยางในพื้นที่ใกล้เคียง เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องทรัพยากรของชุมชนและเยาวชนในพื้นที่ ทั้ง 2 เรื่องนี้สามารถโยงเข้าสู่ประเด็นสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ โดยวางบทบาทที่หนุนเสริมการทำงานกันและกันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรีเป็นแหล่งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ (พฤษศาสตร์ ฯลฯ) ส่วนนักจัดการความรู้ท้องถิ่นจะเป็นผู้เชื่อมโยงกับชุมชน ดำเนินการจัดและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม
      “ สำหรับการทำงานร่วมกับอปท.นั้น ก็เข้าไปประสานความเข้าใจระหว่างชุมชนกับอปท. เช่นเรื่องงบประมาณของอบต.ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกจัดสรรไปสร้างถนนและอาคาร อาจจะไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชน นักจัดการความรู้ท้องถิ่นจึงต้องเป็นผู้ประสานเพื่อนำงบประมาณมาใช้ให้ตรงกับความต้องการของชุมชน และที่สำคัญจะต้องให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ร่วมกันว่าชุมชนมีปัญหาอะไร และปัญหานั้นจะส่งผลกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างไร เป็นภาพตัวอย่างของสถาบันการจัดการความรู้ในชุมชน” นันท์ภัส กล่าว
         นันท์ภัส กล่าวด้วยว่าสถาบันการเรียนรู้หมายถึง กระบวนเรียนรู้และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยมีบุคคลที่สามารถถ่ายทอดความรู้หรือเป็นตัวประสานกับหน่วยงานต่างๆ (นักจัดการความรู้ท้องถิ่น) ซึ่งแม้ว่าในระยะแรกจะมีตนเพียงคนเดียวในชุมชน แต่ในระยะหลังตนเริ่มถ่ายเทบทบาทให้กับคนในชุมชนเช่นกลุ่มออกกำลังกายในอดีตหากตนไม่อยู่ชาวบ้านจะออกมานำไม่ได้ แต่ในระยะหลังตนเริ่มทิ้งกลุ่มบ่อยๆ ชาวบ้านก็ลองนำออกกำลังกายกันเองซึ่งขณะนี้ถือว่ามีตัวแทนแล้ว หรือกลุ่มกีฬาในหมู่บ้านในอดีตจะมีเด็กมายืมอุปกรณ์กีฬาที่ตนประจำแต่ระยะหลังตนก็จะถ่ายโอนอุปกรณ์ไว้ให้กลุ่มให้เขาดูแลจัดการกันเอง ทำให้เกิดสภาวะที่เหมือนกับความรู้และการจัดการเริ่มถ่ายเทไปยังแกนนำกลุ่มต่างๆ ซึ่งตนในฐานะคุณอำนวยรุ่นแรกก็จะต้องจัดตั้งให้เขาเป็นกลุ่มย่อยๆ รองรับงานและกิจกรรมที่เขาถนัด เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออกกำลังกาย กลุ่มเยาวชน กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น ส่วนความรู้ที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้น ได้มีการจัดเก็บไว้เป็นบันทึกหรือรายงาน อีกส่วนหนึ่งคือเริ่มค้นหาคนที่อยู่ในชุมชน ว่าใครที่มีความรู้ภูมิปัญญา ก็จะมีการทำประวัติของเขา เหมือนแผนที่คนดีในชุมชน
         สิ่งเหล่านี้คือรูปธรรมบางส่วนที่กำลังขยับขยายแนวร่วม ซึ่งมีทั้ง อบต. เทศบาล อบจ. จังหวัด สหกรณ์ และชุมชนท้องถิ่น ให้กว้างขวางออกไปเป็น “เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันการจัดการความรู้ชุมชนท้องถิ่น” ภายใต้หลักการเรียนรู้ของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน เป็นอีกโครงการหนึ่งที่มีบทบาท ภารกิจ ในการขยายการจัดการความรู้สู่ฐานรากของสังคมไทยอย่างน่าชื่นชม

นายทรงพล เจตนาวณิชย์ โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.)
สำนักงานชั่วคราว เลขที่ 693 ถนนบำรุงเมือง เขตป้อมปราบ กทม. 10100
โทร.02-2236713 โทรสาร.02-2264718
จุฑารัตน์ จำปาเงิน นจท. จ.สุพรรณบุรี
54/1 ต.ดอนปรุ ต.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี 72140
โทร.036-420160
ชไมพร วังทอง นจท.จ.สุพรรณบุรี
59/1 ม.5 ต.หนองหญ้าไซ อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี 72240
โทร.09-9854882
นันท์นภัส รุ่งแสง นจท. จ.สิงห์บุรี
24/1 ม.2 ต.เชิงกลัด อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี 16130
โทร.01-3577442
ปราณีต นาคะเสโน นจท. จ.สิงห์บุรี
35 ม.3 ต.เชิงกลัด อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี 16130
โทร.01-1986245
อัฒยา สง่าแสง นจท. จ.อ่างทอง
139/1 ม.7 ต.หลักแก้ว อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง 14110
โทร.06-0803160
วลีรัตน์ จำนงค์เวช นจท. จ.อ่างทอง
46 ม.2 ต.ไชยภูมิ อ.ไชโย จ.อ่างทอง 14140
โทร.09-8023620
พิมพ์พร ช้างทองคำ  นจท. จ.อ่างทอง
28/3 ม.8 ต.ไชยภูมิ อ.ไชโย จ.อ่างทอง 14140
โทร. 09-7453112
สายใจ ทองเติม นจท. จ.อ่างทอง
15 ม.1 ต.บางระกำ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง 14120
โทร.09-9291153
กิตติ บุตรสิงห์ นจท. จ.อุทัยธานี
148 ม.6 ต.ประดู่ยืน อ.ลายสัก จ.อุทัยธานี 61160
โทร.056-537255

คำสำคัญ (Tags): #km#ท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 20593เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2006 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท