GotoKnow

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 32. ไว้วางใจ

Prof. Vicharn Panich
เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2549 09:39 น. ()
แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2555 04:38 น. ()

• ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน (Mutual Trust) เป็นรากฐานของ KM
• ความไว้วางใจซึ่งกันและกันนำไปสู่การเปิดใจ พูดออกมาจากใจ ลปรร. กันอย่างเป็นธรรมชาติ 
• ความไว้วางใจซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้น    วิธีการเบื้องต้นคือการนำเอาความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ ของแต่ละคนมาเล่าเรื่อง ภายใต้บรรยากาศเชิงบวก เชิงชื่นชมยินดี  
• เครื่องมือ KM หลายตัว (เช่น สุนทรียสนทนา    เรื่องเล่า   AAR,  PA  เป็นต้น) เป็นเครื่องมือสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน  
• ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เป็นทั้งเหตุและผล ของ KM
• หากขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การ ลปรร. จะไม่เข้มข้น   สมาชิกจะไม่เสนอความเห็นลึกๆ ออกมา    จะไม่มีใครกล้าเสี่ยงเสนอความเห็นที่ไม่ใช่ความคิดกระแสหลัก    ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของกลุ่ม (Group Creativity) จะต่ำ 
• เมื่อสมาชิกมีความไว้วางใจซึ่งกันและกันสูง ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันจะสูง    เกิดความรู้สึกอบอุ่น   มีความเป็นชุมชนสูง

วิจารณ์ พานิช
๑๓ มีค. ๔๙
ปรับปรุง ๑๖ มีค. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ #km 

ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย