โดยที่พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2548 ได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอนมรา 111 ก วันที่ 28 พฤศจิกายน 2548 ได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิที่มีบุตรศึกษาอยู่ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีทั้งในสถานศึกษาของทางราชการและสถานศึกษาของเอกชนมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร สำหรับบุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาดังกล่าว โดยให้เป็นอำนาจของกระทรวงการคลังในการกำหนดประเภทและอัตราการจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในหลักสูตรดังกล่าว
กรมบัญชีกลางโดยได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นควรกำหนดประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียน เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร สามารถนำค่าใช้จ่ายที่สถานศึกษาเรียกเก็บสำหรับบุตรที่ศึกษาอยู่ในหลักสูตรระดับประริญญาตรีหรือเทียบเท่ามาเบิกจ่ายทางราชการได้ทุกประเภทสาขาวิชา ดังนี้
1. สถานศึกษาของทางราชการให้เบิกจ่ายได้เต็มจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินปีละ 15,000 บาท
2.สถานศึกษาของเอกชนให้เบิกจ่ายได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน ปีละ 15,000 บาท
แนวทางและการชักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
1. การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในระดับปริญญาตรีให้มีสิทธิเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นไป กรณีศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการให้เบิกจ่ายได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินปีการศึกษาละ 15,000 บาท และสถานศึกษาของเอกชนให้จ่ายเบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินปีละ 15,000 บาท โดยให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ทุกประเภทในลักษณะเหมาจ่ายทั้งปีการศึกษานี้ ทั้งนี้เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรที่จะเบิกได้จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สถานศึกษาได้รับอนุมัติให้เรียกเก็บตามระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศของสถานศึกษานั้นๆ กรณีส่วนราชการสงสัยว่าบางรายการจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สถานศึกษาได้รับอนุมัติให้เรียกเก็บหรือไม่ให้ประสานกับสถานศึกษานั้น โดยตรง
2. กรณีบุตรได้รับทุนการศึกษา ซึ่งเป็นลักษณะทุนให้เปล่า โดยผู้รับทุนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในการศึกษา ผู้มีสิทธิไม่นำสิทธินำค่าใช่จ่ายต่างๆ ของสถานศึกษามาขอเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรจากทางราชการ เว้นแต่เป็นกรณีการกู้ยืมเพื่อการศึกษาจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อยู่ในข่ายที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เนื่องจากจะต้องชำระเงินคืนให้กับกองทุนฯ หลังจากที่จบการศึกษาแล้ว
3. กรณีที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการหรือสถานศึกษาของเอกชนที่เปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษหรือภาคสมทบหรือภาคค่ำ หากหลักสูตรดังกล่าวได้รับอนุมัติให้เปิดการเรีนยการสอนจากส่วนราชการเจ้าสังกัด ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
4. กรณีศึกษาในปีการศึกษาเดียวกันพร้อมกัน 2 หลักสูตร เช่น วันเสาร์- วันอาทิตย์ ศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาตรีและวันเสาร์- วันศุกร์ ศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี มีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเพียงหลักสูตรเดียวเท่านั้น
5. กรณีศึกษาในหลักสูตรระดับเดียวกันและปีการศึกษาเดียวกัน เช่น ในปีการศึกษา 2548 ศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกาาของบุตรได้เพียงหนึ่งแห่งเท่านั้น
6. กรณีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในระดับปริญญาตรีได้จะต้องเป็นหลักสูตรแรกเท่านั้น หมายถึง จะต้องเป็นหลักสูตรแรกที่นำมาเบิกจากทางราชการ เช่นได้ศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาศึกษาศาสตร์ สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2547 ต่อมาปีการศึกษา 2548 ศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์เพิ่มอีก 1 สาขา และนำค่าใช้จ่ายมาเบิกจากทางราชการมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในสาขานิติศาสตร์ เนื่องจากเป็นหลักสูตรแรกที่ผู้มีสิทธินำมาเบิกค่าใช้จ่ายจากทางราชการ
7. กรณีบุตรอายุครบ 3 ปี หรืออายุครบ 25 ปี ในภาคเรียนใด มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรได้ในภาคเรียนนั้น เช่น บุตรเกิดวันที่ 1 ธันวาคม 2546 อายุครบ 3 ปี ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 จะมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวในภาคเรียนที่มีอายุครบ 3 ปี หรือกรณีอายุครบ 25 ปีกลางภาคเรียน ย่อมมีสิทธินำหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษาในภาคเรียนนั้น มาเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรจากทางราชการได้เต็มภาคเรียน
8. กรณีการยื่นขอเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรให้ผู้มีสิทธิยื่นแบบใบขอเบิก (7200) พร้อมด้วยหลักฐานจากการรับเงินของสถานศึกษาภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันเปิดภาคเรียนแต่ละภาคสำหรับสถานศึกษาที่เก็บเงินค่าการศึกษาเป็นรายภาคเรียน หรือวันเปิดภาคเรียนภาคต้นของปีการศึกษา สำหรับสถานศึกษาที่เก็บเงินค่าการศึกษาครั้งเดียวตลอดปี ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2547 เช่นมหาวิทยาลัยของทางราชการเรียกเก็บเงินค่าการศึกษาภาคเรียนที่ 1/2548 เป็นเงิน 17,000 บาท เมื่อผู้มีสิทธินำหลักฐานมาขอเบิกจากทางราชการ ส่วนราชการสามารถจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในอัตรา 15,000 บาท ได้ โดยส่วนราชการจะต้องทำทะเบียนคุมไว้ และในภาคเรียนที่ 2/2548 ไม่มีสิทธินำค่าใช้จ่ายมาขอเบิกจากทางราชการ ได้อีก เนื่องจากได้รับสิทธิเต็มจำนวนแล้ว
บุตรศึกษาระดับชั้น ปวส.ของเอกชน เบิกค่าเล่าเรียนได้เท่าใด เต็ม หรือ ครึ่งหนึ่ง
ไม่มีบุตรแต่มีแต่หลานเบิกค่าเล่าเรียนได้หรือไม่เห็นบางคนไม่มีบุตรแต่นำบุตรผู้อื่นมาเบิกได้
ลูกผมเรียนชั้นอนุบาล3 โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก โปรมแกรม English program มีรายละเอียดดังนี้ 1. ค่าอาหารกลางวัน 1,000บาท 2.ค่าห้องเรียนพิเศษ(EP) 5,000 บาท สามารถเบิกคืนได้เท่าไรครับ ผมทำงานอยู่ที่ องค์การบริหารส่วนตำบล รบกวนชาวยตอบด่วนน่ะครับ
ลูกเรียนอยู่ชั้นอนุบาล 1 เกิดเมื่อ 26 มิถุนายน 2550 สามารถเบิกค่าการศึกษาเทมอ 2 ปีการศึกษา 2553 ได้หรือไม่ ขอระเบียบอ้างอิงด้วยครับ เพราะเจ้าหน้าไม่ยอมทำเรื่องเบิก ขอบคุณครับ
อยากทราบเรื่องสวัสดิการหลังเกษียณและบำเหน็จตกทอด ขณะนี้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว ใครทราบช่วยบอกด้วยนะคะ