GotoKnow

การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน

นาง ธุวนันท์ พานิชโยทัย
เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2549 16:35 น. ()
แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2555 00:01 น. ()
เป้าหมายของโครงการคือการสร้างขีดความสามารถและทักษะให้ชุมชนในการจัดการผลิตตามแนวทางการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน ปกป้องฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนให้มีการประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกัน

วันที่ 20 มีนาคม 2549 ได้มีการประชุมผู้ประสานงานจังหวัด 16 จังหวัดตามโครงการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม(SAFE Project)  เพื่อพิจารณางบประมาณที่ชุมชน 64 ตำบล ได้จัดทำมาภายใต้เงื่อนไขโครงการที่กำหนด

           รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร(นายเกรียงไกร คะนองเดชชาติ)ในฐานะผู้จัดการโครงการเน้นย้ำถึงเป้าหมายของโครงการคือการสร้างขีดความสามารถและทักษะให้ชุมชนในการจัดการผลิตตามแนวทางการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน ปกป้องฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ    ความหลากหลายทางชีวภาพ   และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนให้มีการประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น    ในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเป็นกลไกสำคัญ

            จากการที่ชุมชน 64 ตำบลได้นำเสนอโครงการแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมและความต้องการของชุมชน  เช่นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การสร้างเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ศูนย์เรียนรู้การเกษตรแบบยั่งยืน การศึกษารวบรวมแปลงสมุนไพร  ข้าวปลอดภัยจากสารพิษ การใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การอนุรักษ์และขยายพันธุ์ผักพื้นบ้าน ฯลฯ

           ที่ประชุมได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณโดยมีเกณฑ์กว้าง ๆ ว่าจะต้องเป็นไปตาม roadmap ของโครงการที่คาดหวังให้เกิดขึ้นคือ

           1.ชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง

           2.ชุมชนมีการผลิตที่คำนึงถึงการจัดการสิ่งแวดล้อม

           3.ต้นทุนการผลิตของชุมชนลดลง

           4.มีการจัดการในการประสานขอสนับสนุนทุน/กองทุนในชุมชนเพิ่มขึ้น

           5.องค์กรเกษตรกรมีความเข้มแข็ง

           6.จำนวนภาคีในชุมชนเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้คาดหวังว่าทั้ง 64 ตำบลจะสามารถบริหารจัดการและมีความพร้อมที่จะเป็นจุดเรียนรู้ หรือจุดต้นแบบแก่ชุมชนอื่น ๆ ต่อไป  การพิจารณางบประมาณในครั้งนี้เป็นการพิจารณาตามข้อเสนอตามบริบทของชุมชน  แล้วนำเกณฑ์มาพิจารณาจัดสรร    ซึ่งคาดหวังว่าจะตรงกับความต้องการของชุมชนและ เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง   ผู้ประสานงานโครงการได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ไม่เฉพาะจังหวัดของตนเอง  แต่เสนอแนะแก่จังหวัดอื่น ๆ ด้วย โดยนายมนตรี วงศ์รักษ์พานิช   ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้ดำเนินรายการในเวทีตลอดช่วงการประชุม 

 

 

 

 


ความเห็น

วีรยุทธ
เขียนเมื่อ

     ขอแสดงความยินดีกับรางวัล”จตุรพลัง” ตำแหน่งยอดคุณเอื้อ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ด้วยนะครับ (ลิงค์)

ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
เขียนเมื่อ

knowledge assets ไม่เพียงวิชาการเท่านั้น ต้องเอาภูมิปัญญาฃาวบ้าน ที่เกิดจากการทำจริงแล้วเกิดผลสำเร็จมา apply กับงานทางวิฃาการ นักวิฃาการกับผู้มีอาฃีพต้องสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ให้เกิด sharing จะทำให้ KM เกิดประสิทธิผลสูงสุด และจะเกิด vision ใหม่ ๆ ด้วย

ธุวนันท์
เขียนเมื่อ

ขอขอบพระคุณท่านรองไพโรจน์ ท่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นอย่างสูงที่ได้ข้อชี้แนะที่เป็นประโยชน์มากคะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย