โครงการพระไตรปิฏกศึกษา


วัตถุประสงค์ เพื่อให้เผยแพร่เนื้อหาคำสอนพระไตรปิฎกฉบับสมบรูณ์ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เมื่อวันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2549 สำนักหอสมุดได้จัดให้มีการประชุมโครงการพระไตรปิฏกศึกษา ของมหาวิทยาลัย ประธานที่ประชุม ศ.พิเศษ ดร. กาญจนา  เงารังษี   หัวหน้าโครงการพระไตรปิฏกศึกษาของมหาวิทยาลัย ได้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการ  อันประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด นางสุพ็ญ ทาเกิด รองผู้อำนวยการ รศ.วนิดา บำรุงไทย และ ดร. รุจโรจน์  แก้วอุไร บุคลากรสำนักหอสมุด และบุคลากรของCitcom เป็น ทีมงานในการดำเนินงานของโครงการนี้ ณ. ศูนย์เทปธรรมะท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ชั้น 3 สำนักหอสมุด  ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เพื่อให้เผยแพร่เนื้อหาคำสอนพระไตรปิฎกฉบับสมบรูณ์ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยสืบเนื่องจากกองทุนสนทนาธรรมนำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาคฯ ได้มอบเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และพระไตรปิฏกอักษรโรมันอิเล็คทรอนิคส์ พระไตรปิฎกเสียงอิเล็คทรอนิกส์ และวีดิทัศน์อื่นๆ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2548 ให้กับมหาวิทยาลัย
โดย ระยะแรก นี้  คณะดำเนินงานจะจัดทำโครงการ 3 โครงการย่อย ด้วยกัน ดังนี้
1.โครงการพระไตรปิฏกศึกษา รายละเอียดจะเป็นการ ให้ความรู้ และฝึกอบรมปฏิบัติ  แก่นิสิต บุคลากรมหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ
2. โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพระไตรปิฏกบาลี เสียงวัธยาย ฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ 2500 ในรูปสื่ออิเล็คทรอนิคส์ออนไลน์  และ
3.โครงการแปลพระไตรปิฏก  ประกอบด้วย สุตตันปิฏก จำนวน 12,425 หน้า วินัยปิฏก จำนวน 3,976 หน้า และ อภิธรรมปิฏก อีกจำนวน 5,964  หน้า จากภาษาบาลี แปลเป็นภาษาไทย และภาษาบาลีอักษรโรมัน เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสะดวกสำหรับผู้ศึกษาค้นคว้า พระไตรปิฎกได้ง่ายยิ่งขึ้น 
ส่วนในความคืบหน้าของโครงการอย่างไร ผู้เขียนจะขอรายงานในโอกาสต่อไป

บรรยากาศในที่ประชุม

 

ศ.พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี และอาจารย์สุเพ็ญ ทาเกิด ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด

 

รศ. วนิดา บำรุงไทย ดร.รุจโรจน์ แก้วอุไร รอง ผอ. สำนักหอสมุด และ ผศ. ดร.ดิเรก ธีระภูธร

ทีมงานคณะดำเนินการทั้งหมดนะคะ คงคุ้นเคยกันดี กรรมการชุดนี้มีสัญญาทางใจต่อกันที่จะดำเนินงานโครงการนี้ ให้ลุล่วงไปด้วยดีค่ะ


 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20334เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2006 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบพระคุณอาจารย์และทีมงานทุกท่าน
  • ตอนนี้คุณอา(พ.อ.ธงชัย แสงรัตน์)และคณะ(รวมทั้งผม)เป็นเจ้าภาพแปลพระไตรปิฎกฉบับละเอียด ยกศัพท์จากบาลีพม่า-พม่า(นิสสยะ)เป็นภาษาบาลี-ไทย
  • ปีนี้เริ่มแปลต่อจากบาลี-ไทยเป็นบาลี-กัมพูชา(เขมร)
  • และมีโครงงานแปลพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกาจากฉบับพม่าเป็นบาลี-กัมพูชา(เขมร) ใช้เวลาประมาณ 20 ปี
  • ขอปรึกษาว่า จะขอนำต้นฉบับมีทั้งภาษาบาลี-ไทย บาลี-กัมพูชา(เขมร)มาเผยแพร่ด้วย
  • อีกอย่างหนึ่ง...ผมมีคำบรรยายพระไตรปิฎกของพระอาจารย์สมบัติ นันทิโกในรูป MP3 ส่วนใหญ่เรียงตามพระสูตรในพระไตรปิฎก จะขอนำมาเผยแพร่ด้วย
  • ขอความกรุณาอนุเคราะห์ด้วย
  • จะติดต่อที่ พ.อ.ธงชัย แสงรัตน์ ประธานโครงงานฯ โดยตรงก็ได้ที่ 053.211.870 (บ้านเชียงใหม่), มือถือ (09.755.8737), มือถือ (01.568.5173)
  • ปล. ขอขอบพระคุณทีมงาน NUQAKM สำหรับเสื้อและตำราครับ...(ได้รับแล้ว)
  • ขอกราบอนุโมทนาครับ...
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ผมได้ปรึกษา พ.อ.ธงชัย แสงรัตน์แล้ว
    ท่านยินดีสนับสนุนโครงการพระไตรปิฎกศึกษาครับ...
  • ยังมีข้อเสนออื่นอีกครับ..น่าจะรวมรวมข้อมูลเหล่านี้ขึ้น internet เผยแพร่ทั่วโลก ทำทั้งที ทำให้ "มน." ดังไปเลย.
  • (1). วัดท่ามะโอมีตำราแปลจากบาลี-พม่าเป็นบาลี-ไทยจำนวนมาก ถ้าติดต่อขอต้นฉบับอีเล็คโทรนิคส์จากครูบาอาจารย์ได้น่าจะดีมาก
  • (2). คำบรรยายพระอภิธรรมมัตถสังคหะของท่านอาจารย์ทรงเกียรติ(ผมมีครบชุดในรูป MP3)
  • (3). น่าจะรวมคำบรรยายพระอภิธรรม เช่น วิภังค์ ปัฏฐาน(ปัจจัย) ฯลฯ ของท่านอาจารย์สันติ(มีในรูป MP3)
  • (4). พระไตรปิฎกฉบับยกศัพท์(นิสสยะ)จากบาลี-พม่าเป็นบาลี-ไทย เริ่มปี 2548 ตอนนี้เสร็จแล้ว 1 เล่ม
  • (5). อรรถกถา ฎีกาที่แปลเป็นบาลี-เขมร ท่านพระเจา ซะ เอมว่า ท่านแปลได้ 10 เล่มแล้ว (น่าจะขอ word files ได้ ยินดีจะประสานให้)
  • (6). คำบรรยายพระไตรปิฎก ส่วนใหญ่เรียงตามเล่มพระสูตรของท่านพระอาจารย์สมบัติ นันทิโก(ผมมีในรูป MP3)
  • ทั้งหมดนี้น่าจะรวบรวมไว้ใน website ของห้องสมุด มน.ได้ และนำเผยแพร่ให้ download ได้ทั่วโลกครับ...
    ทำดีทั้งที อย่าทำเงียบๆ
    ทำดีท้งที ทำให้ มน. ดัง(ในทางดี)ไปเลย

กราบขอบพระคุณอาจารย์หมอมากที่สุดเชียวค่ะ ในความกรุณาทุกอย่างที่อาจารย์หมอ  มอบให้กับคณะกรรมการในครั้งนี้ จะขออนุญาตคุณหมอ รวบรวมข้อเสนอแนะที่ดี  ยอดเยี่ยมนี้ เสนอต่อประธานคณะกรรมการดำเนินงานอย่างเร็วที่สุดเชียวค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์หมออย่างสูง

สุวรรณา

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์สุวรรณา
    ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของทีมงาน
    และท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน...
  • การประสานงานกับอาจารย์วัดท่ามะโอ ท่านพระภิกษุเจา ซะ เอม(เขมร)นี่ยินดีช่วยครับ ถ้าคณะทำงานตกลง... การออกหนังสือขอความอนุเคราะห์ก็น่าจะดีมาก
  • NUQAKM มี "อานุภาพแห่งการทำดี" มากครับ
  • ถ้าหากว่า ท่านพระภิกษุ(พระอาจารย์ชาวพม่า พระอาจารย์สมลักษณ์ วัดท่ามะโอ + พระเขมร) อาจารย์ที่แปลพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกานิสสยะ(ท่านอาจารย์จำรูญ ธรรมดา ประธานคณะแปลและเรียบเรียงแบบยกศัพท์)ท่านอนุเคราะห์ต้นฉบับ(e-files หรือฉบับเป็นเล่ม)... ผมอยากจะเรียนเสนอให้ NU พิจารณามอบปริญญากิตติมศักดิ์ให้ท่านอาจารย์เหล่านี้(โดยพิจารณาจากผลงานที่เป็นรูปธรรม)
  • ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลเจตนา
    ทำดีทั้งที ทำให้ NU ดัง(ในทางดี)ไปเลย
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ยังมีความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ...
  • การมี MP3 files, พระไตรปิฎกฉบับเสียงนี้น่าจะเปิดบริการให้ download ได้ทั้ง online (internet & intranet) & on call
  • การบริการ on call เช่น ถ้านิสิตมีเครื่องเล่น MP3 ก็มาขอใช้บริการห้องสมุด download ได้ ฯลฯ
  • ต่อไปการประเมิน KPI (key performance indicators) ของห้องสมุด มน. จะก้าวไปไกล ไม่เพียงแต่นับอะไรที่เป็นรูปธรรม (tangible) เช่น จำนวนผู้มาใช้บริการ จำนวนหนังสือ-วารสารที่ยืม ฯลฯ เท่านั้น
  • ต่อไป ห้องสมุด มน. น่าจะเตรียม e-KPI (electronic KPI) ไว้ด้วย เช่น จำนวนครั้งของการ download ฯลฯ
  • ถ้าเป็นไปได้... ขอเรียนเสนอให้จองชื่อ website สำหรับการนี้ไว้ล่วงหน้า เช่น freetipitaka.com, tipitaka.com (tipitaka = ติปิฎกะ = พระไตรปิฎก), tipitaka_nu.com อะไรทำนองนี้

    ขอบพระคุณคุณหมอวัลลภมากครับ ทาง ผอ.ห้องสมุดบอกว่าสงสัยด้วยเป็นบุญของทีมงานจัดทำทำให้ได้ข้อมูลดีๆ จากคุณหมอมากมาย ซึ่งทางทีมงานจะได้นำเรียน ศ.ดร.กาญจนา และทางกองทุนสนทนาธรรมนำสุข

     ในวันที่ประชุม ผมเองได้ความรู้มากมายเกี่ยวกับพระไตรปิฎก ซึ่งผมเองนั่งทำงานอยู่ข้างห้องพระไตรปิฎก แต่หยิบมาอ่านไม่กี่ครั้ง แต่พอมาฟังที่ ศ.ดร.กาญจนาพูดแล้วทำให้อยากศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งทาง ศ.ดร.กาญจนา ท่านศึกษามาทางอักษรศาสตร์ เรียนภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ และลิงควิสติก ทำให้ท่านอ่านและแปลพระไตรปิฎก ได้อย่างลึกซึ้ง และที่ไม่น่าเชื่อ คือ ผศ.ดร.ดิเรก ซึ่งเป็นคนใกล้ตัว เพิ่งรู้เหมือนกันว่า อาจารย์สนใจเรื่อง การทำสมาธิ ซึ่งทาง ผอ.รับปากแล้วว่าจะจัดโครงการให้พวกเราเหล่านักวิชาการที่ชำนาญเรื่องการศึกษาทางทฤษฎี ความรู้กันได้ไปลองฝึกปฏิบัติกันจริงๆ ว่าที่ศึกษามา เมื่อมาปฏิบัติจะเป็นอย่างไร

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์หนึ่ง และทีมงานทุกท่าน...
    ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของทีมงานทุกท่าน
  • ขอเรียนเสนอข้อคิดเพิ่มเติม...
    การทำโครงการ "พระไตรปิฎก" นี้จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมอีกนาน ถ้าเป็นไปได้... น่าจะหาทางเข้าไปทำ linkage จาก wikipedia เข้ามาที่ฐานข้อมูลโครงการ
  • ต่อไปพระภิกษุ สามเณร อาจารย์ ผู้สนใจ นิสิต นักศึกษาค้นหาข้อมูลทาง internet เข้าใจว่า ส่วนใหญ่จะผ่าน web search เช่น Google ฯลฯ หรือผ่านฐานข้อมูล เช่น wikipedia ฯลฯ จะพบ linkage และเข้ามาที่ฐานข้อมูลโครงการ
  • แม้คนพิการ เช่น ตาบอด ฯลฯ ก็อาจจะมีญาติ download ข้อมูลเสียงทั้งเสียงบรรยาย เสียงสวดมนต์ไปฟังได้
  • ฐานข้อมูลเสียงหลายเรื่องน่าสนใจมาก เช่น เสียงสวดมนต์ของชาติต่างๆ ฯลฯ
  • การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสมาธิน่าสนใจมาก การที่คนสนใจเรื่องสมาธิมากขึ้นเป็นการดี ต่อไป มน. อาจจะเป็น leader ทั้ง information center & research center ครับ...
  • เรียนเสนอให้ส่งข่าวให้วิทยาลัยสงฆ์ไทยทราบด้วย ต่อไปจะได้มีพันธมิตร (alliance) มากหน่อย พระ เณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกท่านคงจะได้เข้ามาใช้ฐานข้อมูล โดยเฉพาะวิทยาเขตที่ใกล้พิษณุโลก
  • ขอขอบพระคุณ ขอขอบคุณทุกท่าน
    และขออนุโมทนา
    ขอความปรารถนาที่ดีงามเช่นนี้พึงสำเร็จได้โดยเร็วพลัน...

ขออนุญาตอาจารย์สุวรรณา เพื่อฝากข้อความไปยัง ท่านผู้สืบค้นข้อมูลผ่าน Gotoknow...           

  • เนื่องจากมีท่านผู้สนใจสืบค้นข้อมูลผ่านGotoknow และได้ส่งแผ่น CDR เปล่าไปให้ผม
  • ขอเรียนว่า ผมมีกิจมาก มีธุระมาก... ตอนนี้ลงเรียนบาลี + พระอภิธรรม > จะไม่ copy แผ่นคำบรรยายของท่านพระสมบัติ นันทิโกให้
  • โปรดติดต่อเรื่องคำบรรยายพระไตรปิฎก+อรรถกถาที่นี่...

ขอให้ท่านติดต่อมูลนิธิรักษ์ธรรม > 98 หมู่ 13 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

  • โทร. 02-529-4533 ถึง 41

หรือที่สำนักงานกรุงเทพ > 80/10 ซอยเอกมัย 22 ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110

  • โทร. 02-711-5997 ถึง 8

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท