"หลุด" ได้...แต่ต้องไม่ "ล่องลอย"


...ต้องไม่ใช่หลุดแบบล่องลอย แต่เป็นการหลุดจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง สภาพที่เราต้องการหลุดพ้นคือ การถูกพันธนาการจากตีกรอบ การยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งปลอมๆ ...

       หลุดจากอะไรนะหรือ?.... ผมใช้คำว่า "หลุด" ในความหมายทำนองเดียวกันกับคำว่า "freedom" ซึ่งก็คือสภาวะที่เราเป็นอิสระจากอะไรบางอย่าง  ซึ่งท่าน osho ก็ได้เตือนไว้เสมอว่า การที่เราอิสระจากอะไรบางอย่างนั้น ถือว่าเป็นอิสรภาพแค่เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น  อีกครึ่งที่เหลือ ก็คือเราจะต้องตอบให้ได้ว่า มีอิสรภาพไปเพื่ออะไร?
 
       ....เป็นการ "เล่นคำ"  ในทำนองที่ว่า freedom "from" อย่างเดียวนั้นไม่พอ  ต้องเป็น freedom "for" ด้วย.. ซึ่งในเรื่องนี้ท่านอาจารย์วิจารณ์ ได้กล่าวไว้ในคำนิยม หนังสือ "หลุด : freedom"  มีใจความตอนหนึ่งว่า "....ต้องไม่ใช่หลุดแบบล่องลอย  แต่เป็นการหลุดจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง  สภาพที่เราต้องการหลุดพ้นคือ การถูกพันธนาการจากตีกรอบ  การยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งปลอมๆ"

       สังคมทุกวันนี้มีสิ่งปลอมๆ อยู่มากมาย ทำให้เรา "หลงติด" ได้ง่ายเหลือเกินครับ  ...การเมืองก็เป็นการเมืองแบบปลอมๆ ....การพัฒนาองค์กรก็เป็นการพัฒนาแบบปลอมๆ .... การทำ KM ก็เป็นการทำ KM แบบปลอมๆ ...แล้วอย่างนี้จะ "หลุด" ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) ได้อย่างไรล่ะครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19504เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2006 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
     การทำ KM ตามแบบที่อาจารย์คาดหวังไว้ มันไม่ใช่มาจากความต้องการของคนบางกลุ่มแล้วจะสามารถทำได้ มันต้องทำให้ทุกคนในองค์กรเห็นความสำคัญก่อน แล้วจึงกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ว่าจะมาร่วมหัวจมท้ายร่วมกัน ซึ่งเท่าที่ผ่านมาผมมองว่าขั้นตอนตรงนี้ถูกละเลยหรือมองข้ามไป ส่วนใหญ่จะเป็นแบบผู้บริหารอยากทำแล้วก็เกณฑ์เด็กๆเข้าไปฟังว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง อย่างดีก็เชิญวิทยากรจากภายนอกมาอธิบายให้ฟังว่าต้องทำอย่างไร  ก็ได้งานเป็นอีกแบบหนึ่ง คือ ทำตามที่อยากให้ทำแล้วไง จะเอาอะไรอีก อาจารย์จะเรียกว่าเป็น KM แบบปลอมๆหรือไม่ก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่เบื้องบนอยากได้ แล้วเด็กๆอย่างพวกเราก็มีหน้าที่ที่จะต้องสนอง
     การกวาดพื้น การถูพื้น เราทำที่ไหนครับที่สะอาดที่สุด ตอบได้เลยครับว่าที่บ้านของตัวเอง เราก็ทำสิ่งเดียวกันกับที่ทำงานหรือที่อื่นเหมือนกัน แต่ก็ไม่สะอาดเท่ากับที่บ้าน นั่นเพราะที่บ้านของเรา เราทำด้วยใจของเรา ในขณะที่เรื่องเดียวกันนี้ที่ทำงานเราทำเพราะมันเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ
     ผมยังยืนยันความคิดของตัวเองเสมอครับว่า การทำ KM, 5 ส, 6 ส หรือจะกิจกรรมคุณภาพอื่นไดก็ตาม เราต้องได้ใจของผู้ที่ร่วมอยู่ในทีมก่อนครับ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างจากการทำแบบสักแต่ว่าทำ ทำๆซะให้มันเสร็จจะได้หมดเรื่องหมดราว ความยากที่สุดของงานนี้ไม่ได้อยู่ที่การให้คุณทำ แต่อยู่ที่การให้ทำด้วยใจรักต่างหาก การได้ใจของทีมงาน ของบุคลากรทุกคน น่าจะเป็นคำตอบสุดท้ายของการทำกิจกรรมลักษณะนี้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ผู้บริหารถึงจะมองเห็นสักที

อย่าเพิ่งท้อ อย่าเพิ่งถอยค่ะ อย่าไปคาดหวังอะไรจากสิ่งต่าง ๆเพียงแต่เราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด (ในสิ่งที่ดี) ทำไปเรื่อย ๆ อย่าหยุด.....  รับรองว่าแล้วสักวันก็จะมีคนชื่นชม และอยากทำ....

 

  • ในฐานะของผู้ที่ไม่รู้เรื่อง KM  เลยซักนิด   ขอบอกว่า " ยิ่งอ่านก็ยิ่งงง"  ไม่รู้ว่าอันไหน  KM ปลอม  KM จริง   จะเข้าไปศึกษาก็ยังกล้าๆ กลัวๆ  เฮ้อ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท