เรียนรู้...โครงการของบ อบจ.500,000 ไม่ง่ายเลย !!


การที่ไม่มีรายละอียดโครงการในแผ่นที่ท่านอนุมัติหรือลงนาม ท่านอาจไม่สบายใจ เกรงว่าอาจมีการนำไปเปลี่ยน ไปสอดไส้โครงการใหม่ ซึ่งอาจนำไปสู่การทุจริตได้

เมื่อผมต้องเขียนโครงการเพื่อของบสนับสนุนงบประมาณจาก อบจ.ในโครงการ"จัดตั้งศูนย์บริการด้านกายภาพบำบัดอำเภอปาย" แทคติก&เทคนิคที่ต้องใช้........................................

8 สิงหาคม ระหว่างที่ผมขับรถกลับจากการประชุมเรื่องสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่จังหวัดพิษณุโลก ผมได้รับโทรศัพท์จากน้องนักกายภาพบำบัดว่า อบจ.โทรศัพท์มาเรื่องโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อเครื่องมือด้านกายภาพบำบัด ให้ติดต่อกลับด่วนโครงการนี้เป็นโครงการร่วมกับชุมชนครับ เมื่อผมเดินทางถึงที่ทำงานรีบโทรไป อบจ.ทันที จึงทราบว่า อบจ.อนุมัติงบให้แล้ว โดยให้เครื่องมือ 1 ชิ้น ราคาประมาณ 380,000 บาท ผมจึงติดต่อกับน้องนักกายภาพบำบัดจึงทราบว่าราคาเครื่องมือชิ้นนี้ยังไม่รวมระบบความปลอดภัย(ตัวไฮโดรริกคอมเพรสเซอร์)ซึ่งมีราคาประมาณ 120,000 บาท ผมจึงโทรไปเรียนท่านนายก อบจ.ว่าความจริงถ้าให้เครื่องนี้สมบูรณ์ใช้งานได้อย่างดีจริง ๆต้องซื้อเครื่องนี้ด้วย ท่านนายกได้ตอบกลับมาว่าจริง ๆตั้งใจจะให้จำนวน 500,000 บาท นี่แหละ แต่ต้องเป็นเครื่องมือชิ้นเดียว แต่ไม่ทราบทางกองแผนทำเอกสารหรือยัง ผมจึงติดต่อกลับไปที่ อบจ.อีกครั้ง จนทราบว่าสามารถเปลี่ยนแปลงงบได้ จึงให้ผมส่งเอกสารเพิ่มเติม

ต่อมาวันที่ 11 สิงหาคม ระหว่างเดินทางไปประชุมเรื่องกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล ได้รับติดต่อจากน้องที่ อบจ.อีกว่าโครงการที่ส่งมาต้องให้ ผู้บริหารระดับจังหวัดลงนามเห็นชอบโครงการก่อน ผมจึงให้น้อง พขร.ไปรับเอกสารเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้บริหารระดับจังหวัดลงนาม พอเห็นเอกสาร ผมก็รู้ทันทีว่าท่านคงไม่ยอมลงนามแน่ ๆเพราะไม่มีรายละเอียดให้ ผมจึงได้แต่นำเอกสารกลับมา ที่สำคัญคือต้องส่งภายในเวลาที่กำหนดด้วย

12 สิงหาคม นอกจากเป็น"วันแม่" ยังเป็นวันที่ผมต้องวิ่งงานตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน็อตเลยครับ เพราะ ต้องปรับเขียนโครงการใหม่ แล้วเอาไปให้ผู้นำชุมชนลงนาม 12 คน กว่าผมจะหาตัวผู้นำชุมชนและลงนามจนครบก็ปาเข้าไป 3 ทุ่มครึ่ง

เช้า 13 สิงหาคม รีบตื่นเพื่อเดินทางไปจังหวัดเพื่อไปพบกับผู้บริหารระดับจังหวัดเพื่อเสนอโครงการให้ท่านลงนาม ผมต้องขอบคุณน้องที่ ห้องบริหาร พ่อบ้าน สสจ.และผู้บริหารอีกท่านหนึ่งของ สสจ.ที่คอยช่วยทำเอกสารเพิ่มเติมจากเดิมที่ผมคิดว่าน่าจะเพียงพอ แต่จริงจริง ยังไม่เพียงพอ งานนี้ทำให้ผมได้เรียนรู้หลายอย่างในเชิง Km คือ

         1)การเขียนโครงการเพื่อขออุดหนุน สนับสนุนงบประมาณจาก อบจ.ต้องขอร่วมกับชุมชน (ผู้นำชุมชนลงนามเป็นผู้เสนอโครงการร่วม)

         2)โครงการที่เขียนจากหน่วยงานเรา ต้องมีผู้เห็นชอบโครงการเป็นผู้บริหารระดับจังหวัด

         3)ผู้บริหารจะไม่ลงนามหากหน้าที่ต้องลงนามไม่มีรายละเอียดโครงการบางส่วนในหน้านั้น ๆ

         4)หากโครงการที่เขียนมีความจำเป็นในหน้าที่ท่านลงนามไม่มีรายละเอียด เราควรเขียนชื่อโครงการที่ท้ายกระดาษทุกแผ่นด้วย

         ซึ่งผู้บริหารท่านได้กรุณาอธิบาย"สอน"ผมว่า การที่ไม่มีรายละอียดโครงการในแผ่นที่ท่านอนุมัติหรือลงนาม ท่านอาจไม่สบายใจ เกรงว่าอาจมีการนำไปเปลี่ยน ไปสอดไส้โครงการใหม่ ซึ่งอาจนำไปสู่การทุจริตได้ ซึ่งอันนี้ที่อื่น ๆ อาจได้เรียนรู้แล้ว แต่จริง ๆผมก็ทราบว่าหากในแผ่นท้ายที่ให้ท่านลงนามไม่มีรายละเอียดท่านจะไม่ลงนามแต่ผมเลี่ยงไม่ได้เพราะมีผู้ลงนามมากตั้ง 12 คน ในหน้าท้ายที่ท่านต้องลงนามจึงมีแต่ชื่อผู้นำชุมชนและชื่อของท่านเท่านั้น "ท่านจึงแนะนำให้พิมพ์ชื่อโครงการลงที่ท้ายกระดาษทุกแผ่น ทุกอย่างจึงจบลงด้วยดี" ผมต้อขอกราบขอบพระคุณท่านมาในโอกาสนี้ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 200700เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2008 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • โห พี่รอน
  • ไม่ง่ายแบบพี่บอกจริงๆๆ
  • ขนาดเราตั้งใจทำงานนะเนี่ย
  • เอาใจช่วยครับ
  • จะรออ่านโครงการที่พี่หมอรอนทำนะครับ

สวัสดีครับ อ.ขจิต

ศูนย์บริการด้านกายภาพบำบัดอำเภอปายเปิดบริการแล้ว

เครื่องมือที่ใช้อยู่มูลค่าประมาณ 1,200,000 บาท แต่คุ้มครับ

วัน ๆ เฉลี่ย ผป.มารับบริการประมาณ 15 ราย

เจ้าหน้าที่(นักกายภาพ 1 ผช.1)เหนื่อย เพราะต้องใช้หัถเวชด้วย

เวลารักษาด้วย Short Wave ก็ต้องเฝ้า !!

เจ๋งมากครับ

ขอปรบมือให้ดังๆ

และขอบคุณแทนคนเมืองปายครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท