การจัดการแข่งขันรักบี้ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประเภท 7 คน แบบเก่าหรือแบบใหม่ดี ?


ในประเทศของเรามีการตรวจสอบเรื่องนี้กันอย่างจริงจังหรือไม่ โดยเฉพาะในวงการรักบี้ของเรา หากมีการเสริมสร้างกล้ามเนื้อด้วยวิธีการดังกล่าว หากเกิดมีในวงการของเรา คือวงการกีฬารักบี้ฟุตบอล และมีการใช้ในระดับเยาวชน ลองพิจารณาดูว่าจะส่งผลเสียให้แก่นักกีฬามากน้อยเพียงใด เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ซึ่งทั่วโลกกำลังรณรงค์กันอย่างหนัก เพราะเป็นผลเสียต่อร่างกายและจิตใจของนักกีฬาอย่างยิ่งและจะส่งผลเสียต่อตัวนักกีฬาในอนาคต สำคัญที่สุด หากมีในวงการของเรา คำว่า กีฬาสุภาพบุรุษ จะไร้คุณค่าและความมุ่งหมายทันที

การจัดการแข่งขันรักบี้ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประเภท 7 คน แบบเก่าหรือแบบใหม่ดี ?

วรรณศักดิ์พิจิตร บุญเสริม

 

 บทนำ

                ผมมีโอกาสได้พานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวม 36 คน เดินทางไปแข่งขันรักบี้ฟุตบอลรายการ รักบี้ 7 คนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย  เมื่อวันที่ 1-3 สิงหาคม 2551 ณ สนามกีฬากองทัพบก กรุงเทพมหานคร  รายการนี้เป็นรายการประจำที่เรียกว่า การเปิดฤดูกาลการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลของประเทศไทย ซึ่งจัดโดย สมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  จัดทุก ๆปี แต่ปีนี้ได้มีการจัดการแข่งขันในรูปแบบใหม่ กล่าวคือ แต่เดิมเมื่อเปิดฤดูกาล การจัดการแข่งขันจะเปิดโอกาสทุก ๆ สโมสร สมาชิกได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในแต่ละประเภทแต่ละรุ่น ตามความสมัครใจในระยะเวลาประกาศรับสมัคร แล้วจัดการจับฉลากแบบสายและจัดการแข่งขันประจำปี นั้น ๆ จึงเรียกการจัดรักบี้ 7 คน ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย แต่ละปีว่า รักบี้เปิดฤดูกาล ซึ่งมีทีมมากมายทั่วประเทศเข้าแข่งขัน ส่วนใหญ่ใช้เวลาถึง 3 วัน จึงแล้วเสร็จ

 

วชิราวุธวิทยาลัย แชมป์ U-17 เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด รองอันดับ 2

การแข่งขันระบบใหม่ ข้อดีและอุปสรรคปัญหา

        ในปีนี้มีการเปลี่ยนระบบการจัดการแข่งขันใหม่ โดยแบ่งการจัดการแข่งขัน แบบรอบคัดเลือกในแต่ละภูมิภาค เข้าทำการแข่งขันก่อน แล้วนำเอาทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศ แต่ละทีมจำนวนสองทีม ในแต่ละภูมิภาคมาแข่งขันในรอบมหกรรม รวมแล้วแต่ละประเภทจะมีทีมเข้าแข่งขันรอบสุดท้ายที่คัดมาจากภูมิภาค ประมาณประเภทละ 8 ทีม จุดเด่นของการจัดการแข่งขันแบบนี้ก็คือ ทีมในภูมิภาคที่มีงบประมาณจำกัด ได้มีโอกาสเล่นในท้องถิ่นเลย โดยไม่ต้องเดินทางมากรุงเทพฯให้เสียงบประมาณมาก ทีมที่เข้ามาเล่นรอบมหกรรมเป็นทีมที่ถูกคัดสรรมาอย่างดีแล้ว  และจำนวนทีมมีจำนวนพอดีกับการแข่งขันในตารางการแข่งขันสองวัน ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนากีฬารักบี้ในภาพกว้างที่ทำให้ทีมที่ได้รับคัดเลือกมีการฝึกซ้อมต่อเนื่องและมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

 

ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รองแชมป์ U-19

เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด ได้อันดับ 3

 

        แต่หลังจากการแข่งขันรอบมหกรรมเสร็จผู้เขียนในฐานะที่คลุกคลีในวงการรักบี้ทั้งระดับเยาวชนและประชาชนไม่น้อยกว่า 10 ปี ในฐานะผู้ฝึกสอน กลับมองเห็นสิ่งที่เป็นข้อด้อยในการจัดการแข่งขันระบบใหม่หลายประการ โดยไม่อยากให้สิ่งที่มองเห็นละลายไปในอากาศ เห็นควรมานำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำมาซึ่งการพัฒนาการแข่งขันเพื่อสร้างการพัฒนาเยาวชนโดยใช้รักบี้เป็นกีฬาทางเลือก จึงอยากนำเสนอเป็นมุมมองหนึ่งซึ่งถือเป็นมุมมองที่มองเห็นจากผู้ฝึกสอนส่วนภูมิภาคเท่านั้นและอาจไม่ใช่ทางออกทั้งหมด

คู่ชิงชนะเลิศอุดมศึกษาหญิง ระหว่างเสื้อน้ำเงินมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กับเสื้อสีขาวสถาบันการพลศึกษา กรุงเทพฯ

       

มุมมองที่มองเห็นและทางออกที่นำเสนอจากการแข่งขันครั้งนี้

             ประการแรก การจัดการแข่งขันแบบใหม่ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ เนื่องจากภาวะการของสถานการณ์ราคาน้ำมันเป็นปัจจัยหลักสำคัญ   ทีมที่ได้รับคัดเลือกเข้าแข่งขันในรอบมหกรรมจะต้องมีประมาณการค่าใช้จ่ายและงบประมาณถึงสองครั้ง ยากที่จะได้รับการอนุมัติจากต้นสังกัดทั้งหมด หากไม่มีผู้สนับสนุนช่วยเหลือ  ยกตัวอย่างของทีมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าแข่งขันรอบคัดเลือกที่ นครราชสีมา ใช้งบประมาณทั้งสิ้นในส่วนสนับสนุนจากทางมหาวิทยาลัย เกือบสามหมื่นบาทเศษ และเมื่อเดินทางไปแข่งรอบมหกรรมก็ต้องของบประมาณอีกสี่หมื่นกว่าบาท รวมแล้วเจ็ดหมื่นกว่าบาท ซึ่งถือเป็นการใช้จ่ายงบประมาณมากพอสมควร ซึ่งสถาบันเล็ก ๆ โรงเรียน หรือ สโมสรเล็ก ๆ คงไม่มีโอกาสที่จะหางบประมาณเดินทางได้ถึงสองครั้งหากได้รับสิทธิ์เป็นตัวแทน  หรือ หาผู้สนับสนุนไม่ได้ ประเด็นนี้น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตหากไม่มีการเตรียมการในด้านงบประมาณเป็นอย่างดี ในกรณีของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด เช่นกัน ได้รับสิทธิ์ถึงหกทีม นักกีฬาชายหญิง จำนวน  72 คน ผู้ฝึกสอนอีก 6 คน ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งสองรายการรวมไม่น้อยกว่า แสนกว่าบาท ซึ่งถือเป็นภาระหนักเอาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ๆ และโรงเรียนขนาดกลาง ที่ไม่มีรายได้อื่น ๆ นอกจากงบประมาณของรัฐ และประการสำคัญสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ไม่ได้มีกีฬาที่ให้นักเรียนเลือกและแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่มีกีฬามากมายอีกหลากหลายให้นักเรียน นิสิต เลือกเล่น เลือกฝึก ตามใจรักและความถนัด ดังนั้นสถาบันนั้น ๆ จะสนับสนุนกิจกรรมกีฬาชนิดใดอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวจึงไม่ได้ จะต้องดูแลทุกกีฬาอย่างทั่วถึง

 

คู่ชิงชนะเลิศอุดมศึกษา ดิวิชั่น 3

เสื้อเหลืองทีมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เสื้อขาวทีมมหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

        ประการที่สอง  การขาดสีสัน ทีมหลากหลายเหมือนการเปิดฤดูกาลที่ผ่านมา  กล่าวคือ  จำนวนทีมเล่นน้อยลง แต่ละประเภทถูกกำหนดไว้ที่ 8 ทีม ดังนั้นจึงมีแปดทีมทั่วประเทศได้เล่นในแต่ละรุ่น ใช้เวลาสองวันในการแข่งขัน ต่างจากแต่เดิมใช้เวลาสามวันโดยเพิ่มวันให้แก่ประเภทนักเรียนเพิ่มขึ้นอีก 1 วันเนื่องจากประเภทนักเรียนมีจำนวนมากทีม แต่ในปีนี้จึงมีการแข่งขัน 2 วัน ข้อดีทำให้ทีมที่แข็งแกร่งที่สุดได้เข้ามาเล่น ข้อด้อย คือ ทีมที่อยากมาเล่นที่กรุงเทพฯ แต่คัดเลือกไม่ผ่านก็ไม่มีสิทธิ์ ไม่เปิดโอเพ่นแบบเดิม  ในการคัดเลือกโซน ภูมิภาคใดที่มีทีมมากก็ได้สิทธิ์แค่ ทีมหลักสองทีมได้เข้ามาเล่นรอบมหกรรมเท่ากับภูมิภาคอื่น ๆ ที่มีทีมน้อย  ทีมอื่น ๆ ที่คัดไม่ผ่านแต่มีคุณภาพ ก็ไม่ได้เข้ามาเนื่องจากสิทธิ์สองทีมเท่ากันทุกภูมิภาค ทีมเหล่านี้เคยเป็นสีสันที่ทำให้การแข่งขันสนุกสนาน เช่น ประเภทโรงเรียน ขาดทีมปิยะชาติพัฒนา  ทีมกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ลพบุรี จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ชลบุรี อิสลามวิทยาลัย  เทคโนโลยีหมู่บ้านครู สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ระดับมหาวิทยาลัย ขาดทีมมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้งสามแห่ง  โรงเรียนนายร้อยทั้งสามแห่ง เป็นต้น  การขาดทีมอย่างหลากกลายในรอบมหกรรม ทำให้ขาดสีสันทั้งด้านผู้เข้าร่วมแข่งขัน ผู้เข้าชม ผู้เข้าเชียร์ ความตื่นตาตื่นใจก็ลดลง อัฒจรรย์ที่เคยแน่นแลดูแคบลงในปีนี้ ปีนี้จึงดูว่างและโล่งเกินไป ปรัชญาหรือแนวคิดที่กล่าวถึงรักบี้ 7 คน  คือ การเริ่มต้นการเปิดฤดูกาลการแข่งขันรักบี้ของประเทศไทยประจำปีแต่ละปี ซึ่งถือเป็นประเพณีและวัฒนธรรมแห่งการจัดการแข่งขันที่ปฏิบัติอย่างต่อเนิ่อง ก็หมดไป ขาดความขลังความอลังการและหดหายไปในที่สุด เพราะได้จัดในระดับภูมิภาคเรียบร้อยไปก่อนหน้าแล้ว สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องหันกลับมาพิจารณาใหม่ โดยการทบทวนผลดีผลเสียและการนำเสนอแนวคิดจากสโมสรสมาชิกทุกสโมสรเพื่อพิจารณาการดำเนินการใหม่ในปีต่อไป  ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์อย่างแน่นอน

ชนะเลิศอุดมศึกษา 3 ทีมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

            

             ประการที่สาม ระบบการแข่งขันจะต้องชัดเจน กรณี ประเภทนักเรียน ตั้งแต่รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี และรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี จะต้องชี้ให้ชัดเจนว่า ในการส่งจะต้องส่งในนามสโมสรระดับโรงเรียน หรือ สโมสรระดับจังหวัด หรือ สโมสรที่เรียกชื่ออย่างอื่น ๆ   เพราะนั้นหมายความว่า ถ้าเปิดโอกาสแบบเสรี การแข่งขันก็จะมีลักษณะที่เป็นแบบเปิดโอเพ่น แต่ละทีมสามารถจะนำนักกีฬาจากที่ใดมาเล่นก็ได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นนักเรียนต้นสังกัดเพียงโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่ง แต่หากระบุเป็นประเภทระดับสโมสรโรงเรียนก็ต้องใช้นักเรียนโรงเรียนนั้นเพียงอย่างเดียว ห้ามนำนักกีฬาโรงเรียนอื่นมาเล่นหรือเข้าเป็นผู้เล่นในทีมเดียวกัน การแข่งขันคราวนี้มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น  เพราะมีทั้งสโมสรระดับโรงเรียน สโมสรระดับจังหวัด และสโมสรระดับท้องถิ่น เช่น สโมสรโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด  สโมสรโรงเรียนพิมายวิทยา  เป็นต้น มีระดับสโมสรท้องถิ่น เช่น อบจ.แพร่  ศูนย์ฝึกกีฬาสุราษฎร์ธานี ดังนั้นตรงจุดนี้จะต้องพิจารณาถึงผลดีและผลเสียเพราะย่อมมีผลต่อการแข่งขันอย่างสิ้นเชิง  ตัวเลือกของนักกีฬาที่เข้าแข่งขันก็มีโอกาสได้เปรียบเสียเปรียบกันมากขึ้น  นอกจากนั้น บางทีมส่งทีมเข้าแข่งขันแต่ในนามโรงเรียนแต่เอานักเรียนโรงเรียนอื่นมาเล่น ก็ปรากฎให้เห็นซึ่งกติกาตรงนี้ต้องชัดเจนและต้องมีระบบตรวจสอบหลักฐานเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะเมื่อใดที่เราปล่อยให้มีการทุจริตมีการปลอมแปลงเอกสารมีการเปิดช่องโหว่ให้เกิดการสับเปลี่ยนนักกีฬาเกิดขึ้น เมื่อนั้นเราจะไปร้องเรียกหรือประท้วงว่าคนนั้นคนนี้โกงคงไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะหากเราปล่อยให้มีการสร้างเงื่อนไขแบบนี้ให้เกิดขึ้นในประชาคมเล็ก ๆ ที่เรียกว่าประชาคมของชาว กีฬาสุภาพบุรุษ ก็ย่อมนำมาซึ่งความไม่เป็นสุภาพบุรุษและผู้มีเกียรติมีศักดิ์ศรีอย่างแน่นอน

ชนะเลิศรักบี้ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประเภทอุดมศึกษาหญิง

ทีมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

        ประการที่สี่ ระบบการตรวจสอบเรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา  อาจปรากฎมีการใช้สารกระตุ้น สารสเตอรอยด์ในหมู่นักกีฬาระดับเยาวชนโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือการแนะนำที่ไม่ถูกต้องจากผู้ฝึกสอน เพียงเพื่อหวังชัยชนะเพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงผลที่จะเกิดขึ้นอย่างร้ายแรงในอนาคตให้แก่นักกีฬาหรือเยาวชน  จุดประสงค์ก็เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แก่นักกีฬา โดยเฉพาะที่เป็นข่าวกับนักกีฬาบางประเภทในสื่อมวลชนในต่างประเทศและในประเทศ ที่นักกีฬาต้องการความแข็งแกร่งและบึกบึน เช่น นักเพาะกาย กรีฑา ว่ายน้ำ อเมริกันฟุตบอล นักมวย นักยกน้ำหนัก ในประเทศของเรามีการตรวจสอบเรื่องนี้กันอย่างจริงจังหรือไม่ โดยเฉพาะในวงการรักบี้ของเรา หากมีการเล็ดลอด มีการเสริมสร้างกล้ามเนื้อด้วยวิธีการดังกล่าว หากเกิดมีการกระทำเช่นนี้ในวงการกีฬารักบี้ฟุตบอล และหากเกิดมีการใช้ในระดับเยาวชน ลองพิจารณาดูว่าจะส่งผลเสียให้แก่นักกีฬารักบี้ฟุตบอลและวงการรักบี้ฟุตบอลมากน้อยเพียงใด เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ซึ่งทั่วโลกกำลังรณรงค์กันอย่างหนัก เพราะเป็นผลเสียต่อร่างกายและจิตใจของนักกีฬาอย่างยิ่งและจะส่งผลเสียต่อตัวนักกีฬาในอนาคต สำคัญที่สุด หากมีในวงการของเรา คำว่า กีฬาสุภาพบุรุษ  จะไร้คุณค่าและความมุ่งหมายทันที สมาคมฯควรได้ตรวจสอบและตรวจตราอย่างละเอียดทั้งในระดับชาติ และระดับเยาวชน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการสูญเสียและการทำลายวงการกีฬารักบี้ฟุตบอล

 

สามถ้วยในรายการแข่งขันครั้งนี้ของทีมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

        ประการที่ห้า ระบบการแข่งขันในระดับรุ่นเยาวชน ควรจะจัดเข้าระบบแบบเดียวกับระดับอุดมศึกษาและสโมสร คือ ทั้งระบบเก่าและระบบใหม่ เพราะสุดท้ายแล้วก็คือเหลืออยู่ 8 ทีมสุดท้าย เช่นเดิมในระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นดิวิชั่น1 2 3 ในระดับสโมสร แบ่งเป็น ดิวิชั่น 1 2 3 และ 4    ก็ควรใช้ลักษณะเดียวกันคือในระดับเยาวชน เพราะคงไม่เสียงบประมาณเพิ่มเติมมากเท่าใดนัก ดังที่ทำกับระดับอุดมศึกษาและสโมสร โดยจัดในรอบชิงชนะเลิศเป็นลักษณะเดียวกัน คือ ชนะที่หนึ่งของสายชิงกับชนะที่หนึ่งอีกสายหนึ่ง  ลำดับที่สองสายหนึ่งแข่งชิงกับลำดับที่สองอีกสายหนึ่ง ลำดับที่สามชิงกับลำดับที่สาม และลำดับที่สี่ชิงกับลำดับที่สี่  เราก็สามารถจะทำให้ทีมได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งถ้วยที่สมาคมจัดให้ปัจจุบันถือว่างดงามและเหมาะสมยิ่ง หากจะเพิ่มอีก  เพื่อยุทธศาสตร์ของสมาคมที่ต้องการพัฒนารักบี้เยาวชนอันสอดคล้องกับแนวทางของ IRB (International Rugby Board )ก็น่าจะเป็นสิ่งที่กระทำได้อย่างดีและงดงาม  และเห็นด้วยอย่างยิ่งที่มีรางวัลเป็นเงินสนับสนุนทีมดังเช่นที่ทำในขณะนี้ด้วย แม้ไม่มากมายนักเหมือนกีฬาอื่น ๆ แต่ก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์และแรงกระตุ้นจูงใจอย่างดียิ่ง

        ประการที่หก  ระดับมาตรฐานผู้ตัดสิน ทางสมาคมฯจะต้องดำเนินการเป็นรูปธรรมให้เกิดขึ้นจริง ผู้ตัดสินระดับนานาชาติ ผู้ตัดสินระดับต่าง ๆ  ต้องมีระดับ (Level) อย่างชัดเจน ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 ระดับ 4 เป็นต้นและต้องพัฒนาสู่ส่วนภูมิภาค ซึ่งเห็นเป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น แต่มาตรฐานของผู้ตัดสินยังถูกกล่าวขวัญและถูกวิจารณ์อยู่ ซึ่งก็คงต้องเร่งพัฒนาไปพร้อมกันทั้งระบบ คือ การพัฒนาทีม(ผู้เล่น)  การพัฒนาผู้ฝึกสอน และการพัฒนา   ผู้ตัดสินและการพัฒนาระบบการแข่งขัน อันจะเป็นการยกระดับมาตรฐานของกีฬารักบี้ฟุตบอลของประเทศไทยไปสู่ศักยภาพที่สูงขึ้นและมีมาตรฐานเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอย่างดีเยี่ยม

       

สรุป

         ผมนำเสนอประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำมาซึ่งการเสนอแนวคิดร่วมกันอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนากีฬารักบี้ฟุตบอล มิได้มีจุดประสงค์อื่นใด การใดที่เราร่วมคิดร่วมทำร่วมนำเสนอ ทั้งแนวทางและวิธีปฏิบัติ ด้วยการให้แนวคิดและแนวทางอย่างสร้างสรรค์  ดีกว่า การติเตียนตำหนิโดยไม่นำเสนอทางออกที่เหมาะสมให้ วิธีการดังกล่าวจึงย่อมนำไปสู่การสร้างสรรค์และพัฒนาวงการกีฬารักบี้ฟุตบอลของประเทศไทยไปในถิ่นทางที่เจริญก้าวหน้าต่อไป และโดยเฉพาะความตั้งใจของนายกสมาคมรักบี้ฟุตบอลและคณะกรรมสัมปาทิกทุกท่าน ร่วมทั้งผู้สนับสนุนหวังว่า คงมีสาระบ้างไม่มากก็น้อย แต่ทั้งนี้ทังนั้น ก็เพื่อการสร้างสรรค์วงการรักบี้ไทยร่วมกัน โดยเฉพาะระดับเยาวชน ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญสู่การพัฒนาให้ก้าวไกลยิ่งขึ้นและพัฒนาสู่ระดับสากลได้อย่างมีคุณภาพและคุณค่าที่ดีต่อไป

หมายเลขบันทึก: 199412เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2008 18:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะอาจารย์

แวะมาให้กำลังใจค่ะ

แวะมาชื่นชมและเชียร์ด้วยค่ะ

 

ขอบคุณมากน้องนุ้ย เป็นทางเลือกทำกิจกรรมอย่างหนึ่งของนิสิต ที่คนกองกิจแบบพวกเรา อย่างดีที่สุดก็คือเพื่อชี้ทางและ นำพาพวกเขาสู่ฝั่งฝัน เป็นคนดีของสังคม ประเทศและโลกสืบไป แน่นอนที่สุด แม้จะเป็นกีฬาที่ใช้กำลังในการปะทะกัน ดูเหมือนรุนแรงและซาดิสก์ แต่ การเคารพ กฎกติกา การแข่งขัน ย่อมนำมาซึ่งการเคารพ แบบแผน วิถีปฏิบัติ ฮีตคอง ระเบียบกฎหมาย ของสังคม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขสืบไป ขอบคุณมากที่เป็นกำลังใจ เสมอมา ในฐานะคนทำกีฬากับเยาวชนเหมือนกัน ขอเป็นกำลังใจกลับคืน นะค่ะ

ขอบคุณมากน้องนุ้ย เป็นทางเลือกทำกิจกรรมอย่างหนึ่งของนิสิต ที่คนกองกิจแบบพวกเรา อย่างดีที่สุดก็คือเพื่อชี้ทางและ นำพาพวกเขาสู่ฝั่งฝัน เป็นคนดีของสังคม ประเทศและโลกสืบไป แน่นอนที่สุด แม้จะเป็นกีฬาที่ใช้กำลังในการปะทะกัน ดูเหมือนรุนแรงและซาดิสก์ แต่ การเคารพ กฎกติกา การแข่งขัน ย่อมนำมาซึ่งการเคารพ แบบแผน วิถีปฏิบัติ ฮีตคอง ระเบียบกฎหมาย ของสังคม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขสืบไป ขอบคุณมากที่เป็นกำลังใจ เสมอมา ในฐานะคนทำกีฬากับเยาวชนเหมือนกัน ขอเป็นกำลังใจกลับคืน นะค่ะ

  • ตามมาแสดงความยินดีกับทีมมหารคามด้วยครับ
  • ขอบคุณมากครับ

อาจารย์ขจิต มิตรเที่ยงแท้ที่น่ารัก

สืบสมัครทุกยามสอบถามหา

เป็นสายใจให้ผู้คนตลอดมา

เป็นกำลังล้ำค่าน่าชื่นใจ

คารวะวันนี้เพียงจอกหนึ่ง

เป็นน้ำทิพย์ให้คนึงจึงสดใส

เปี่ยมคุณค่ามากล้ำเลิศฤทัย

คือน้ำใจ ห่วงใย มอบให้คืน

สรุปผลการแข่งขันรักบี้ฟุตบอล 7 คน ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2551

ระหว่างวันที่ 2 – 3 สิงหาคม 2551

ณ สนาม ร. 1 พัน. 1 รอ.,ร. 1 รอ. และสนามกีฬากองทัพบก

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

ประเภทเยาวชนหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี

รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนมัธยมวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์

รองชนะเลิศอันดับ 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่

รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนกีฬาจังหวัดอ่างทอง

รองชนะเลิศอันดับ 3 โรงเรียนพิมายวิทยา

นักกีฬายอดเยี่ยม เด็กหญิงวราพร การสอน โรงเรียนมัธยมวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์

ประเภทเยาวชนชายอายุไม่เกิน 15 ปี

รางวัลชนะเลิศ วชิราวุธวิทยาลัย

รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนปริ้นรอยแยลส์วิทยาลัย

รองชนะเลิศอันดับ 3 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ พะเยา

นักกีฬายอดเยี่ยม เด็กชายภานุพงศ์ พ่วงพันธ์ โรงเรียนภ.ป.ร.ราชวิทยาลัยฯ

ประเภทเยาวชนหญิงอายุไม่เกิน 17 ปี

รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม

รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนพิมายวิทยา

รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด

รองชนะเลิศอันดับ 3 โรงเรียนเลยพิทยาคม

นักกีฬายอดเยี่ยม นางสาวอุไรวรรณ ซอลี โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม

ประเภทเยาวชนชายอายุไม่เกิน 17 ปี

รางวัลชนะเลิศ วชิราวุธวิทยาลัย

รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนปริ้นรอยแยลส์วิทยาลัย

รองชนะเลิศอันดับ 3 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด

นักกีฬายอดเยี่ยม นายปุญยวีย์ จิวรวัฒนกุล วชิราวุธวิทยาลัย

ประเภทเยาวชนหญิงอายุไม่เกิน 19 ปี

รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม

รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนกาญจนดิษฐ์วิทยาคม

รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนดอนทองวิทยา

รองชนะเลิศอันดับ 3 โรงเรียนกีฬาจังหวัดอ่างทอง

นักกีฬายอดเยี่ยม นางสาวยศกมล ยินดีหา โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม

ประเภทเยาวชนชายอายุไม่เกิน 19 ปี

รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี

รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนภ.ป.ร ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด

รองชนะเลิศอันดับ 3 โรงเรียนปริ้นรอยแยลส์วิทยาลัย

นักกีฬายอดเยี่ยม นายศตวรรษ อินทะรังษี โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยลพบุรี

ประเภทอุดมศึกษาหญิง

รางวัลชนะเลิศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รองชนะเลิศอันดับ 1สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ

รองชนะเลิศอันดับ 2มหาวิทยาลัยบูรพา

รองชนะเลิศอันดับ 3มหาวิทยาลัยรามคำแหง

นักกีฬายอดเยี่ยม นางสาววิรัญญา ปัตตะแวว มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประเภทอุดมศึกษาชาย ดิวิชั่น 3

รางวัลชนะเลิศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รองชนะเลิศอันดับ 1มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ประเภทอุดมศึกษาชาย ดิวิชั่น 2

รางวัลชนะเลิศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รองชนะเลิศอันดับ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประเภทอุดมศึกษาชาย ดิวิชั่น 1

รางวัลชนะเลิศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รองชนะเลิศอันดับ 1จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นักกีฬายอดเยี่ยม นายวรงค์กรณ์ คำเกิด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประเภทสโมสร ดิวิชั่น 4

รางวัลชนะเลิศ สโมสรขอนแก่น

ประเภทสโมสร ดิวิชั่น 3

รางวัลชนะเลิศ สโมสรตำรวจ

รองชนะเลิศอันดับ 1 ราชกรีฑาสโมสร

ประเภทสโมสร ดิวิชั่น 2

รางวัลชนะเลิศ ไทย-บาบาเรี่ยน

รองชนะเลิศอันดับ 1 สโมสรกองทัพอากาศ

ประเภทสโมสร ดิวิชั่น 1

รางวัลชนะเลิศ ราชนาวีสโมสร

รองชนะเลิศอันดับ 1 สโมสรลูกประดู่

นักกีฬายอดเยี่ยม จ่าเอก สุวัฒน์ มาพิจารณ์

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ตามมาเชียร์และดูความเก่งของทีม  รักบี้ฟุตบอลรายการ รักบี้ 7 คน  ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ของ มมส 
  • ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

คักหลายพี่นงค์

อำนวยอวยซัยคือกัน

สำหรับจิตอาสา เด้อพี่นงค์

ผมก็คิดเหมือนกับพี่ครับทีมเยอะแบบสมัยก่อนมันกว่าเยอะครับ อย่างเช่นพอเราแข่งเสร็จ ก็นั่งเชียร์ทีมเพื่อนเราต่อ แชวกันไป-มามันดีครับ ไม่ว่าจะจบจากไหนก็มาเล่นในหมาวิทยาลัยด้วยกัน มันดีครับ อย่างสมัยก่อนตอนผมเล่นให้ ทีมราชภัฏจันทรเกษมก็มีทั้ง rv,ov, อิสลาม,ราชสีมา แล้วก็เพื่อนๆที่ชวนมาเล่นพวกเราก็รักกันดีครับ เสียดายพอผมจบมา ทีมรักบี้ที่จันเกษมก็ไม่มีเลย ถ้ามีโอกาสจะกลับไปดูรักบี้ 7 คนที่เมืองไทยปีหน้าครับ จะได้ไปเชียร์ทีมพี่ด้วย

ขอบคุณน้อง sorat rattananai ที่มีแนวคิดร่วมกัน มีมุมมองในเชิงสร้างสรรค์

เราก็หวังสร้างวงการรักบี้ให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์รักบี้ไทยร่วมกัน ขอเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน

โรงเรียนบ้านน้ำจุน ก็กำลังไปแข่งวอลเลย์บอลหญิงคะ อาจารย์

ปล.อาจารย์คะ กรุณาแนะนำ ความรู้ เกี่ยวกับ ข้าวกับวิถีชีวิตในรอบ12เดือน ด้วยนะคะ อาจารย์ ว่า นักเรียนประถม ป4 ควร จะเรียนเรื่องอะไร เกี่ยวกับข้าว บ้างคะ

รักบี้ 7คนนานาชาติ หาดใหญ่ วันที่ 10-11 กันยายน 2554

ที่สนามกีฬาจิระนคร จังหวัดสงขลา

ทางสมาคมรักบี้ฯจะทำให้รายการนี้กลับมายิ่งใหญ่

และเป็นรายการประจำปีของสมาคมฯครับ

อยากทราบว่ารักบี้ปีนี้ทีมหญิง"พิมายวิยา"ได้ที่เท่ารัยหรอ!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท