แผนการจำหน่ายผู้ป่วย(Discharge Plan)....การปฏิบัติที่เหนือทฤษฎี..


ความเอื้ออาทรของคนอีสานด้วยกัน

แผนการจำหน่ายผู้ป่วย(Discharge Plan)....การปฏิบัติที่เหนือทฤษฎี..

ได้ชื่อว่าโรงพยาบาลไม่มีใครอยากมาคะ...ดิฉันเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่าผู้ที่อยากมาโรงพยาบาลคือผู้ที่มาคลอดและมารับลูกรับเมียกลับบ้านเท่านั้น..เกือบทุกคนมาโรงพยาบาลด้วยความจำเป็นต้องมา.ดังนั้นเมื่อความเจ็บป่วยบรรเทาเบาบางก็อยากกลับบ้านคะ...จากประสบการณ์ทำงานของดิฉัน..ทันทีที่หมอสั่งกลับบ้านผู้ป่วยหลายคนจะรีบเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที..เตรียมตัวกลับบ้าน.ทั้งๆที่ขั้นตอนต่างๆยังไม่เรียบร้อย..

แต่มีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งคะ..อยู่โรงพยาบาลหลายวัน.เมื่อหมดความจำเป็นทางด้านการแพทย์แล้ว..หมออยากให้กลับไปดูแลต่อที่บ้าน..ก็อิดๆออดๆไม่อยากกลับบ้าน..ต่อรอง..พรุ่งนี้ได้มั๊ย..พอถึงวันนัดก็เปลี่ยนใจอีก..วันเสาร์ได้มั๊ย...วันนั้น..วันนี้ได้มั๊ย..ถ้าพยาบาลไม่เข้าใจความต้องการของคนไข้..ก็อาจหงุดหงิดหาว่าคนไข้เรื่องมาก..แท้จริงแล้วพึงระลึกเสมอว่าถ้าไม่จำเป็น..ผู้ป่วยไม่อยากอยู่โรงพยาบาล..จะทำให้พยาบาลค้นหาปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วยได้..ดังกรณีตัวอย่างต่อไปนี้คะ..

ผู้ป่วยชายไทยวัยกลางคนชื่อลุงประสิทธ์(นามสมมติ) .โรคเบาหวาน..มานอนโรงพยาบาลด้วยอาการท้องเสีย..แพทย์รักษาด้วยการให้น้ำเกลือและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างอยู่โรงพยาบาล..กระทั่งอาการดีขึ้น.แพทย์ต้องการจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน..วันแรกแพทย์และพยาบาลเริ่มคุยให้คำแนะนำเพื่อเตรียมตัวกลับบ้าน.ลุงตกลง..แต่ท่าทางครุ่นคิด..พอถึงวันจะกลับลุงประสิทธิ์ขอเลื่อน..ระหว่างนั้นลุงมีอาการสะอึกเป็นพักๆ..ห่างกันประมาณ..3-4 ชั่วโมง/ครั้ง..แพทย์สั่งให้ยา..แต่อาการไม่ทุเลา..พยาบาล(ดิฉัน)ช่วยแก้ไขด้วยการทำ gax reflex (ให้ผู้ป่วยอ้าปากกว้างๆจนมองเห็นลิ้นไก่.แล้วใช้ไม้กดลิ้นเขี่ย/กระตุ้นที่บริเวณลิ้นไก่.จนเกิดปฏิกิริยาเหมือนจะอ้วกหรือไอแรงๆ:ผู้เขียน.) หลังทำอาการดีขึ้นทันที..ลุงประสิทธ์ไม่ยอมกลับบ้าน..บอกกับหมอว่าเพราะไม่หายสะอึกซักทีจะกลับได้ยังไง.ดิฉันสอนให้ลุงประสิทธิ์ทำ gax reflex เอง โดยใช้ช้อนแทนไม้กดลิ้น  ลุงก็ทำได้.แต่ไม่ค่อยเชื่อว่าได้ผลจริง.ไม่ยอมทำเองคะ..กระทั่งมีผู้ป่วยอีกคนถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลอำเภอแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม..มานอนอยู่เตียงตรงข้ามลุงประสิทธิ์พอดี..มีอาการสะอึกเหมือนกัน..แพทย์ก็สั่งให้ยา..แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น..ดิฉันก็ใช้วิธีทำ gax reflex ให้อีก..ในคืนแรกที่มานอนโรงพยาบาลศรีนครินทร์..เช้าวันรุ่งขึ้นผู้ป่วยบอกกับดิฉันและพยาบาลหลายๆคนว่า..ถ่าบ่ได้หมอมาแหย่คอให้..มื่อคืนนี่..บ่ได้นอนคักๆ...อยู่โรงพยาบาลเก่า..สะอึกบ่ได้นอนมา 3 มื้อ  3 คืนแล่ว..(ถ้าไม่ได้พยาบาลมาทำ gax reflex ให้เมื่อคืนนี้ คงไม่ได้นอนแน่ๆเพราะสะอึกมา 3 วัน 3 คืนแล้ว) เหตุการณ์เหล่านี้อยู่ในสายตาของลุงประสิทธ์..ลุงเชื่อแล้ว..การสะอึกไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับลุงอีกต่อไป..แต่ทำไมลุงประสิทธิ์ไม่กลับบ้าน..เมื่อย้อนกลับไปดูจึงพบว่า..ลุงประสิทธิ์อดีตเคยเป็นข้าราชการปัจจุบันอยู่บ้านเพียง 2 คนกับลูกสาว..ซึ่งกำลังเรียนอยู่.ม.2..ภรรยาไปทำงานอยู่ภูเก็ต..ส่งเงินมาให้ลูกใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น..ซึ่งลูกก็ต้องแบ่งเงินมาซื้อข้าวให้พ่อด้วย..ถ้าลูกไปโรงเรียน..ใครจะดูแลลุงประสิทธิ์..ขณะอยู่โรงพยาบาลก็ไม่มีญาติมาเยี่ยมเลย..ลูกสาวก็ไปเรียนหนังสือ..พอค่ำก็ต้องรีบกลับบ้าน.ลุงประสิทธิ์มีโทรศัพท์มือถือแต่โทรไม่ได้..แรกๆลุงนอนบนเตียง..ขาไขว่ห้าง..กดออดเรียกพยาบาลบ่อยๆ.. หรือกวักมือเรียกพยาบาลโดยเฉพาะในวันที่ดิฉันอยู่เวร..จนคนอื่นๆบอกว่า..ไทพี่น้องเจ้า..เอิ้นอีกแล่ว..(ญาติพี่น้องของคุณ..เรียกอีกแล้ว)..ที่ลุงเรียกดิฉันบ่อยๆคือยืมโทรศัพท์มือถือ.โทรหาลูกสาวให้หน่อย..ชื่อน้องฟิลล์(นามสมมติ)..ดิฉันเคยได้ยินลุงแกพูดกับลูกสาวว่า..ไม่มาเยี่ยมกันเลยนะ...ดิฉันอดเมินไม่ได้..(สงสารคะ)..ที่สงสารที่สุดคือลูกสาวลุงนั่นแหละ..แค่ ม.2 เอง ..ต้องมารับผิดชอบดูแลพ่อที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน..เข้าๆออกๆโรงพยาบาลบ่อยๆ..ต่อมาพออาการลุงดีขึ้น.ก็พาลุงไปห้องน้ำ.อาบน้ำ..สระผม..หวีผม..ทาแป้ง..เดินไปสูดอากาศ.ริมระเบียงตึก..ตอนไปต้องพยุงไปคะ..แต่ตอนกลับลุงเดินมาเองคะ..เราคุยกันเรื่องกลับบ้านอีกครั้ง..คราวนี้เราเสนอตัวช่วยคือ.1.ให้ PCU ไปดูแลเมื่อลุงอยู่บ้าน..2.หารถ ร.พ.(1669)ไปส่งลุงที่บ้าน.3.บอกลุงว่าถ้าต้องการความช่วยเหลือให้โทรเรียก 1669 ..เราจะไปรับลุงทันทีที่ลุงต้องการความช่วยเหลือ...เขียนให้ด้วยนะคะ.เดี๋ยวลืมคะ.4.ขอเงินช่วยเหลือจากงานสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลให้(ได้ 200 บาทคะ)..5.เงินมันน้อยไปจึงควักเงินตัวเองให้ด้วยแต่พอควรและเงินบริจาคของเพื่อนๆร่วมวิชาชีพอีกจำนวนนึงคะ..7.อาหารว่างเมื่อกลับถึงบ้าน...เรื่องอื่นๆก็ดำเนินการให้ตามระเบียบขั้นตอนของโรงพยาบาล  ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ากระบวนการจำหน่ายผู้ป่วยนั้นประกอบด้วยหลักการของ DMETHOD ดังนี้

l      Diagnosis: การวินิจฉัยโรค  ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจอย่างไร

l      Medication: มียาอะไรบ้างที่ผู้ป่วยต้องรับประทานต่อที่บ้าน จำนวนเท่าไหร่ เพียงพอกับวันนัด?

       วิธีใช้ยา (รับประทาน/ฉีดอย่างไร) มีข้อควรระวังอย่างไร?

l      Environments & Economic:  สิ่งแวดล้อมเป็นอุปสรรคต่อการดูแลที่ต่อเนื่องหรือไม่

         ตลอดจนการใช้แหล่งประโยชน์ในชุมชน

l      Treatment : ทักษะการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ควรทำอย่างไร เช่น การดูแลตนเองเมื่อรู้สึกว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ

          หรือ มีไข้ เป็นต้น

l      Health: (ภาวะสุขภาพ) การดูแลที่จำเป็น เช่นการดูแลเท้าในผู้ป่วย DM   เป็นต้น

l      Out pt. referral: หน่วยงายที่รับผิดชอบดูแลต่อเนื่อง, กรณีฉุกเฉินขอความช่วยเหลือได้อย่างไร

l      Dietary:  อาหารที่ควรรับประทานและ ควรหลีกเลี่ยง มีอะไรบ้าง

ท้ายสุดลุงประสิทธิ์ก็ยินดีกลับบ้านคะ....อะไรคือส่วนเกินของทฤษฎี..?  ในมุมมองของผู้เขียน..ปัจจัยแห่งความสำเร็จในครั้งนี้คือ..ความเอื้ออาทรของคนอีสานด้วยกัน คะ..จากการสัมผัสดูแลผู้ป่วยและญาติๆคนชาวอีสานมาหลายปี..โดยส่วนใหญ่แล้วคนอีสานมีความจริงใจ..เห็นอกเห็นใจและเอื้ออาทรซึ่งกันและกันคะ...ท้ายนี้ดิฉันอยากเห็นกระบวนการจำหน่ายของโรงพยาบาลอื่นๆบ้างคะ..ขอบคุณคะ

 

หมายเลขบันทึก: 197956เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2008 03:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

หลังจากได้อ่านบทความข้างต้นแล้ว โดยส่วนตัวคิดว่าถ้าไม่ได้ความมีน้ำใจของพี่ดา ดิฉันคิดว่าคนไข้คงไม่ยอมกลับบ้านแน่ๆ ต้องขอบคุณความเอื้ออาทรของพี่ดา ที่ทำให้คนไข้ยอมกลับบ้านและเกิดเป็นกรณีศึกษาให้ดิฉันได้เรียนรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนาตนเองต่อไปค่ะ

ยินดีด้วยคะ ที่มี Web blog ของตนเองแล้ว ได้อ่านบทความแล้วรู้สึกดีคะ เป็นบทบาทของพยาบาลที่ดีคะ จะติดตามงานของพี่ตอไปคะ และขอให้กำลังใจพี่ไม่ว่าพี่จะอยู่ที่ไดมีความสุขกับการทำงานนะคะ สู้ ๆ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะดา

  • OK แล้วใช่ไหมคะเรื่อง Load ภาพในหน้าประวัติ
  • แวะมาให้กำลังใจมีบล็อกเป็นของตนเอง
  • เขียนมาบ่อย ๆ นะคะ

แวะมาเยี่ยมblog ใหม่คะ อัพบ่อยๆนะคะ

จะตามมาให้กำลังใจและเก็บเกี่ยวเอาประสบการณ์ดีๆจากพี่บ่อยๆคะ

สวัสดีครับคุณหมอ...ถ้ามีพยายบาลใจดีอย่างคุณมาก ๆ...ชาวบ้านก็มีความสุขนะครับ แล้วอย่าลืมดูแลตัวเองนะครับ..เขียนอีกนะให้กำลังใจ

สวัสดีเพื่อน...ฉันอ่านผลงานแกแล้ว เออ..เอ็งเก่งวะ เป็นปฏิบัติการเหนือทฤษฎีจริงๆ สามารถนำสู่การปฏิบัติได้เลย แถมการดูแลแบบองค์รวมด้วย ลุงน่ะโชคดีแกได้พยาบาลดีๆดูแล ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้แกได้นำเสนอผลงานดีๆมาเผยแพร่ต่อไป และอย่าลืมดูแลตัวเองนะเพื่อน

ถึงเพื่อนสนิท..ขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง..ฝากคำขอบคุณไปถึงครูด้วยนะ..หนึ่งกำลังใจมีค่ามากกว่าสิ่งใดๆทั้งสิ้นคะ.. thank so much.

ขอบคุณมากๆๆคะ พี่แก้ว.bloger ของน้องๆ.จะเรียนรู้..จะติดตาม..ผลงานของพี่เช่นเดียวกันคะ..จะพยายามสอบเป็น APN ให้ได้คะ..แต่อาจจะนานหลายปีหน่อยนะคะ.คนมันปึกนะคะ..

ชื่นชมค่ะ

 

สั้นๆ แต่ได้ใจความ

P  ขอบคุณพี่กระติกมากค่ะ..

          ชี้แนะด้วยนะคะพี่....

แวะมาเยี่ยมบันทึกแรก พี่ลดาค่ะ

มีความสุขในทุกๆวัน นะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอชื่นชมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท