กือเต๊าะ บาเญาะ : ยางเยอะแต่เงินไม่เยอะ


เราควรหันกลับมาพัฒนานวัตกรรมเดิมๆที่ถูกละเลยไป ให้เหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น เราไม่ต้องเหนื่อยในการคิดเรื่องใหม่ทุกครั้งไปเพื่อสอดรับกับปัญหาให้ทัน และมีระบบการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพเป็นคลังทางปัญญามาเป็นต้นทุนการแก้ไขปัญหา

การศึกษาที่มุ่งให้คนในชุมชนภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตัวเอง คือ เครื่องมือพัฒนาปัญญาที่เป็นธรรมอย่างยิ่งสำหรับคนชายขอบ เพราะการศึกษากระแสหลักผลักคนให้ห่างไกลจากโลกของเขามากขึ้น โดยการเน้นเรียนรู้โลกใหม่ ภูมิใจเรื่องราวถิ่นอื่น และไม่เห็นค่าทุนที่มีอยู่ของตัวเอง อีกทั้งสร้างอัตตาเพื่อแข่งขันในกระแสทุนนิยมที่ไม่สร้างสรรค์

ผมนั่งอ่านหนังสือ เกี่ยวกับ นวัตกรรมการศึกษาที่เรื่องราวเก่าๆแต่ไม่ล้าสมัย โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมมองว่า เราได้คิดค้นนวัตกรรม แนวทาง และกลวิธีดีๆขึ้นมามากมาย สุดท้ายเราละทิ้งไม่ได้นำผลผลึกของงานเหล่านั้นมาใช้เพื่อพัฒนาพื้นที่จริงๆ หรือใช้ก็เพียงชั่วครั้งชั่วคราว การพัฒนาจึงเป็นแบบไม่ประติดประต่อ ไม่มีความต่อเนื่อง

กือเต๊าะ บาเญาะ ดุ วิ บาเญาะ

เป็นนวัตกรรมที่ ๒ ที่ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ นำมาใช้ในพื้นที่ ๓ จชต. (ยุค พ.ศ.๒๕๑๓ - ๒๕๒๔) เป็นการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ (functional Literacy) หลักการนี้คือใช้ "หนังสือหน้าเดียว" อ่านวันละหน้าเสนอด้วยประโยคง่ายๆให้นักศึกษาได้อ่านแล้วสนทนาภายใต้การนำของครูผู้สอน หลักสูตรนี้ใช้เวลา ๖ เดือนจบ รับเฉพาะผู้เรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับแล้ว

วิธีคิดของนวัตกรรมนี้ คิดมาจากสื่อส่วนกลางที่มีเนื้อหาการเรียนที่ว่า

"ข้าวมาก เงินมาก"

"ปลามาก เงินมาก"

ในหนังสือเรียนดังกล่าวที่ใช้ในเฉพาะเขตการศึกษาที่ ๒ ยะลา ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็น สำนักตรวจราชการเขต ๑๒ (ยะลา เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ เป็นต้นมา)  เปลี่ยนเนื้อหาการเรียนจากภาษาไทย มาเป็นภาษามลายู

กือเต๊าะ บาเญาะ ดุวิ บาเญาะ

อีแก บาเญาะ ดุวิ บาเญาะ

ปาดี บาเญาะ ดุวิ บาเญาะ

ฯลฯ

ชั่งโมงแรกในห้องเรียน  "การศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ" ที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ครูแจก "ปกหนังสือ" ชนิดมีลวดทองแดงร้อยให้นักศึกษาคนละชุด พร้อมหนังสือหน้าแรกที่มีข้อความโตๆ

กือเต๊าะ บาเญาะ ดุ วิ บาเญาะ

พอมาถึงบทที่จะสอนอ่าน ครูก็อ่านให้ฟังเป็นภาษามลายู บางคนก็อ่านเองได้ ดร.โมฮัมหมัด อับดุลกาเดร์ (ผอ.กศน.ยะลาในขณะนั้น) ได้อธิบายว่า "นักศึกษาเคยผ่านการเรียนภาษาไทยมาแล้ว เพียงแต่ลืมไปชั่วคราว พอมาเห็นรอบใหม่ ใช้เวลาไม่นานก็อ่านได้ จำได้ ยิ่งเขียนด้วยสำเนียงมลายูด้วยแล้ว พออ่านปั้บก็เข้าใจความหมายทันที นักศึกษาเพียงทำความเข้าใจกับพยัญชนะ (สัญลักษณ์) เท่านั้น ส่วนเสียง (Sound) และความหมาย(Meaning) สามารถเข้าใจได้ทันที นี่คือปรัชญาการใช้ ๒ ภาษาในการสอน ซึ่งจะเข้าใจเร็วกว่าที่ต้องเรียนพร้อมกัน ๓ อย่าง คือ สัญลักษณ์/เสียง/ความหมาย"

ซึ่งการสอนต่อไปเป็นการสอนบทสนทนา นักศึกษาสามารถอภิปรายเป็นภาษามลายูได้ด้วย การเรียนรู้นั้นจะสนุกและเร้าความสนใจเพราะเป็นเรื่องราวของตนเอง ผ่านความคุ้นชิน บรรยากาศการเรียนรู้จึงผสมระหว่างองค์ความรู้กับประสบการณ์ของนักศึกษาพร้อมๆกันไป

 

ที่ผมหยิบยกเรื่องนี้มาเขียนบันทึก ผมขอมองในส่วนของผู้อยู่ข้างนอกว่า พัฒนาการของการศึกษาที่นำมาทดลองในพื้นที่ ได้สรุปบทเรียนและส่วนหนึ่งประสบความสำเร็จมาเป็นอย่างดี แต่เราไม่ได้มีการ "การจัดการความรู้" (Knowledge management )ที่เป็นระบบ ผลึกผลที่มีคุณค่าเหล่านั้นจึงถูกพับเก็บไว้ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างที่ควรจะเป็น และเราก็เร่งการแก้ปัญหาใหม่ๆ ซึ่งก็ถูกต้องแล้วครับ แต่บางครั้งเราไม่ทันต่อปัญหาที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และซับซ้อนด้วยเงื่อนไขใหม่ๆ

ผมเพียงอยากจะเสนอว่า เราควรหันกลับมาพัฒนานวัตกรรมเดิมๆที่ถูกละเลยไป ให้เหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น เราไม่ต้องเหนื่อยในการคิดเรื่องใหม่ทุกครั้งไปเพื่อสอดรับกับปัญหาให้ทัน และมีระบบการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพเป็นคลังทางปัญญามาเป็นต้นทุนการแก้ไขปัญหา

ครูฮาบิบ๊ะ แห่งโรงเรียนดารุลอูโลมนิบงบารู

 

ผมได้สนทนากับคุณครูฮาบิบ๊ะ เหมจำ แห่งโรงเรียนดารุลอูโลมนิบงบารู

("ฮาบีบ๊ะ" แปลว่า "ที่รัก" ส่วนชื่อโรงเรียน ดาอุลอูโลมนิบงบารู แปลว่า "โรงเรียนเมืองใหม่"  - ดารุลอูโลม แปลว่า "โรงเรียน "  นิบง แปลว่า "แห หรือเมือง"  และบารูแปลว่า "ใหม่")

ครูฮาบิบ๊ะ แปลความ อักษรมลายูให้ผมได้เข้าใจง่ายๆดังนี้ครับ

กือเต๊าะ บาเญาะ ดุวิ บาเญาะ = ยางเยอะ เงินเยอะ

อีแก บาเญาะ ดุวิ บาเญาะ = ปลาเยอะ เงินเยอะ

ปาดี บาเญาะ ดุวิ บาเญาะ = ข้าวเยอะ เงินเยอะ

แต่ผมและเธอเห็นพ้องกันว่าในสถานการณ์ใต้ขณะนี้ น่าจะเขียนใหม่ว่า

"กือเต๊าะ บาเญาะ ตาปี บูเล๊ะ ดุวิ เต๊าะบาเญาะสามะ การยอแอ ตีเดาะดีสื่อนั่นกัน "

แปลความได้ว่า  "ยางเยอะ แต่ได้เงินไม่เยอะ เพราะสถานการณ์ความไม่สงบ"

 

 


 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

๒๒ ก.ค.๕๑

๑๐.๕๙ น.

 

อ้างอิงข้อความบางส่วนจาก :  หนังสือ "สู่เหย้า เขตการศึกษา ๒"  ,๒๕๔๙,ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์
หมายเลขบันทึก: 195688เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2008 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)
  • ตามtheory การเรียนภาษาเลยครับ
  • "นักศึกษาเคยผ่านการเรียนภาษาไทยมาแล้ว เพียงแต่ลืมไปชั่วคราว พอมาเห้นรอบใหม่ ใช้เวลาไม่นานก็อ่านได้ จำได้ ยิ่งเขียนด้วยสำเนียงมลายูด้วยแล้ว พออ่านปั้บก็เข้าใจความหมายทันที นักศึกษาเพียงทำความเข้าใจกับพยัญชนะ (สัญลักษณ์) เท่านั้น ส่วนเสียง (Sound) และความหมาย(Meaning) สามารถเข้าใจได้ทันที นี่คือปรัชญาการใช้ ๒ ภาษาในการสอน ซึ่งจะเข้าใจเร็วกว่าที่ต้องเรียนพร้อมกัน ๓ อย่าง คือ สัญลักษณ์/เสียง/ความหมาย"
  • สงสัยน้องเอกจะไม่ได้กลับภาคเหนือแล้ว
  • อยู่ภาคใต้เลยน้อง
  • อิอิๆๆ
  • มาแซวๆๆเล่นก่อน
  • เข้าใจว่า ถ้ารัฐบาล จริงใจในการแก้ปัญหาการศึกษา แก้ปัญหาภาคใต้ สิ่งดีๆๆก็จะตามมาครับ
  • สงสัยน้องเอกจะไม่ได้กลับภาคเหนือแล้ว
  • อยู่ภาคใต้เลยน้อง
  • อิอิๆๆ
  • มาแซวๆๆเล่นก่อน
  • *
  • ...
  • ตามท่านพี่ แบรด พริก มาเห็นด้วยค่ะ อยู่ทางโน้นเลยแหละ
  • ... หัดแหลง ใต้ ชับ แล้วนิ แถม จะเรียน ภาษายาวี อีก :)
  • ส่วนทาง มฮส. น่ะ บ่ต้องห่วง นานไป 10 ปี อสังหาก็โอนโดยปริยายค่ะ คุณเอก .. อิ อิ ..

    * ... ชอบภาพที่ 2 มาก ๆคุณเอกจับได้งามอย่างแรง

    - - - เคยอยู่ในส่วนเรียนภาษาไทยของชาวต่างชาติ ภาษา เป็นทักษะ ค่ะ ... ก่อนคือ ต้อง เน้น ทัศนคติ ว่า ต้อง รัก ชอบ ก่อนค่ะ - - 

    * แล้ว ลง ฝึกฝน ... คุย ๆ พูดๆ  บ่อยๆ  กับ คนพท. จริงๆ เห็น 3 เดือน เค้าได้ผล พูดไทยปร๋อ แล้วลงไปคลุกกับชาวบ้านได้เลย *

    - - เช่นเดิม  - -

    หวัดดีค่ะ...

    เห็นด้วยกับคุณปู อย่างแรงเหมือนกันค่ะ

    ภาษา เป็นทักษะ  ต้อง เน้น ทัศนคติ ว่า ต้อง รัก ชอบ ก่อน 

    คุย ๆ พูด ๆ  บ่อย ๆ ... 3 เดือน ได้ผล

                (  ^_^  )

    สวัสดีครับพี่เอก

    เห็นด้วยครับที่เราควรรวบรวมผลงานเก่าๆที่เคยทำไว้แล้วมาค่อยๆมานั่งวิเคราะห์ข้อดี ผลกระทบ แล้วหาทางต่อยอดน่าจะก่อให้เกิดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและไม่ใช้เวลานานเกินไป เพราะในดีย่อมมีเสีย ขณะเดียวกันในเสียก็ย่อมต้องมีของดีๆซ่อนอยู่ ดีในวันนั้น อาจจะไม่ดีในวันนี้ เสียในวันนั้นอาจมีประโยชน์ในวันนี้ก็ได้

    เดินทางปลอดภัยทุกเส้นทางนะครับ

    สวัสดีครับพี่เอก

    เห็นด้วยครับที่เราควรรวบรวมผลงานเก่าๆที่เคยทำไว้แล้วมาค่อยๆมานั่งวิเคราะห์ข้อดี ผลกระทบ แล้วหาทางต่อยอดน่าจะก่อให้เกิดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและไม่ใช้เวลานานเกินไป เพราะในดีย่อมมีเสีย ขณะเดียวกันในเสียก็ย่อมต้องมีของดีๆซ่อนอยู่ ดีในวันนั้น อาจจะไม่ดีในวันนี้ เสียในวันนั้นอาจมีประโยชน์ในวันนี้ก็ได้

    เดินทางปลอดภัยทุกเส้นทางนะครับ

    สวัสดีครับเอก

    ขออ้างอิงคุณปู่ขจิต ฝอยทอง แล้วเสนอความเห็นเพิ่มเติมครับว่า "ชาฆี ตีนอ ดี ตานีย์ ละ ลาเบะห์ บัยก์" ฮิฮิ หาความหมายเองนะครับ หรือหากให้ผมแปลให้ ลงใต้เมื่อไรก็หาเวลามาจิบแตออที่บ้านนะครับ ฮิฮิ

     

    เงินไม่เยอะ แต่นำใจเยอะ คนภู อีสานเหนือคะ

    • สวัสดีค่ะ
    • เข้ามาทักทายยามเย็น
    • ได้เรียนรู้ภาษาเพิ่มเติมเลยนะคะ
    • ขอบคุณมากที่เติมเต็มความรู้ให้ค่ะ

    ...

    ลืมบอกคุณเอกไปว่า

    ...

    มีหนุ่มน้อย จากต่างแดน มอบดอกไม้ให้ค่ะ

    อยากเห็นความสงบสุขเร็วๆคะ

    น้องเอก

    • มาแก..ดูริแย..สะดะ
    • วะตาปอ..นิ
    • ฆีมอกาเซะ

    สวัสดีครับ

    เราน่าจะทบทวนนวัตกรรมที่เคยใช้ได้ผลตามสถานการณ์ในอดีต กลับมาใช้อีกที เพื่อให้ความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น

    ไม่ใช่พอเปลี่ยนหัวแล้วเอาสิ่งที่ดี ๆ ทิ้งไปด้วย ควรทบทวนอย่างยิ่ง

     

    สวัสดีครับพี่ ขจิต ฝอยทอง

    เรียนรู้จากคุณครูครับ นำมาเขียนเป็นส่วนหนึ่งที่เราพูดคุยในเวที การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนที่ ยะลาครับ

    ช่วงนี้งานส่วนใหญ่ อยู่ ภาคใต้หมดครับ ไม่เฉพาะสาม จชต.นะครับ ครอบคลุมทั้งภาคเลยครับ

    เป็นโอกาสที่ดีสำหรับผมครับ

    คุณแดนไทdanthai
    ครับ

    ผมต้องขอบคุณมากครับที่ให้เกียรติ และมอบความรู้สึกดีๆผ่านบันทึก gotoknow ครับ ส่วนเรื่องความลับของผมนั้นเคยเขียนไว้ที่นี่ครับ เปลือยชีวิตหนุ่มเหนือ ความลับ ๕ ข้อ : เพราะ Blog tag แท้ๆเชียว  นี่เป็นความลับของผมครับ...

    ฝากความคิดถึงหลานๆผมด้วยครับ

    • จะไป กำแพงเพชร เมื่อไรคะ
    • มา tag ความลับคุณเอก ที่นี่
    • มีความสุขกับงานนะคะ

    คุณpoo

    นอกจากกระผ้ม แหลงใต้ ไม่ค่อยชั้บ แล้ว ยังอาจหาญไปเรียนรู้ ภาษามลายูอีกนะครับ...เสน่ห์ท้องถิ่นน่าสนใจมากครับ โดยเฉพาะภาษา วัฒนธรรม เลยนำแง่มุมเล็กๆน้อยๆมาฝากกันไงครับผม

    ขอบคุณคุณปูมาก หากผมแหลงไม่ชั้บตรงไหน บอกมาได้เลยครับผม

    :)

    ขออภัยในความผิดพลาดอย่างสูง  ที่นี่ ค่ะ

    มาให้กำลังใจครับ

     

    สวัสดีครับ

    ปาดี บาเญาะ ดุวิ บาเญาะ = ข้าวเยอะ เงินเยอะ

    ชาวนาได้ผลผลิตข้าวเยอะจริง เงินก็เยอะเพราะราคาข้าวแพงจัง...แต่ไม่รู้ว่าเงินตกไปอยู่ในกระเป๋าใครบ้าง

    เพราะว่าข้าวเดินทางออกจากท้องนาตั้งแต่ยังไม่ทันได้ขึ้นลาน

    ...เหมือนกันกับ...ยางเยอะ แต่ได้เงินไม่เยอะ เพราะสถานการณ์ความไม่สงบ

     

     

    ครูมธุรสwindy

    ผมรู้สึกชอบเมืองใต้แล้วสิครับ คิดว่าไม่นานคงฝึกพูด(แหลงใต้) ได้คล่องครับ

    รบกวนช่วยแนะนำสอนผมด้วยครับ

     

    ข้ามสีทันดร
    คุณกบครับ

    ประเด็นที่ผมเกริ่นมานั้น ผมพยายามให้มองถึง "การจัดการความรู้" เพื่อพัฒนา ซึ่งเราขาดตรงนั้นครับ

    น้อง คนตานี  มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ

     

     

    อ.อีย์ จารุวัจน์

    กรุณาแปลความให้หน่อยครับ น่าสนใจจังครับ

    "ชาฆี ตีนอ ดี ตานีย์ ละ ลาเบะห์ บัยก์"

    ------------------------------------------------------

    คุณ danthai  ครับ

    ขอบคุณครับสำหรับกัลยาณมิตรที่ดีสำหรับผมเสมอมา สำหรับความลับของผมได้เคยเขียนเอาไว้แล้วครับที่ เปลือยชีวิตหนุ่มเหนือ ความลับ ๕ ข้อ : เพราะ Blog tag แท้ๆเชียว 

    คุณ ขอบฟ้า

    ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยมบันทึกผมครับ...

    ยินดีต้อนรับเข้าสู่โลกของความรู้และมิตรภาพนะครับ

     

    คุณ lovefull 

    ผมชอบประโยคนี้ครับ "แตกต่างแต่ไม่แตกแยก"

    คุณpoo  ขอบคุณครับสำหรับดอกไม้


    ครูยุ้ย ครับ พวกเราล้วนต้องการความสงบสุขเช่นเดียวกันครับผม

    ขอบคุณครับ ให้กำลังใจในการทำงานครับผม

    เกษตรยะลา พี่ยาวครับ

    ขอบคุณครับสำหรับทุเรียนและช่วยเหลือที่ยะลานะครับ

    และ ประโยคภาษามลายูที่พี่เขียนมานั้น แปลว่าอย่างไรน้อ?

     

    "มาแก..ดูริแย..สะดะ  วะตาปอ..นิ  ฆีมอกาเซะ "

    สวัสดีครับพี่ วัชรา ทองหยอด

    "สังคมไทยเรา พอเปลี่ยนหัว ก็มักเริ่มใหม่ครับ เสียทั้งงบประมาณ และเวลา นวัตกรรมดีๆเลยไม่ต่อยอด"

    ประเด็นเดียวกันนี้ผมนั่งคุยกับคุณครูวิทยากรท่านหนึ่งครับ

    พี่นก NU 11

    ขอบคุณครับ สำหรับความรู้สึกดีๆที่มีให้ผมเสมอมา เรื่อง "ความลับ" ของผมนั้น ติดตามที่นี่เลยครับเปลือยชีวิตหนุ่มเหนือ ความลับ ๕ ข้อ : เพราะ Blog tag แท้ๆเชียว 

    ขอบคุณภาพสวยๆและกำลังใจดีๆจาก อ.หมอจิตเจริญJJ  ครับ

    คุณพิทักษ์

    ผมตามไปอ่านบันทึกพี่แล้วครับ ได้ข้อคิดมากมาย รวมถึง การอยู่รอดของรากหญ้าที่คนข้างบนมองไม่ค่อยเห็น

    "รากหญ้ากำลังเน่าตาย"

    น่าเศร้าจริงๆครับ

    ตามไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ P IAM: สุขสะลึมสะลือ » หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน (1) รากหญ้ากำลังจะเน่าตาย

    ขอบคุณครับผม  :)

    • สวัสดีคะพี่ชาย
    • เห็นว่าลงใต้ไปนึกว่าจะไปอยู่แล้ว
    • จะว่าไปแล้วท้องถิ่น วัฒนธรรมไหนๆ ก็คนไทยด้วยกันนะคะ
    • ภาษา เพราะดีคะ

    หวัดดีค่ะ...น้องเอก

    • วันก่อนน้องเอกมา...พี่ยาวชวนไปหาน้องเอกแล้ว  แต่เผอิญติดงาน อีกอย่างเพิ่งลาพักร้อนขึ้นไป กทม.มา งานรอสะสางเยอะมาก...ต้องขอโทษด้วยนะค่ะ
    • มาเที่ยวนี้...ได้เรียนรู้ภาษามาลายูไปเยอะนี่ อิอิ
    • พี่เองอยู่กับภาษาพื้นเมืองโดยแท้...แต่กลับพูดไม่ค่อยได้ แถมไมคิดจะเรียนรู้อีกด้วย...อิอิ
    • เดินทางบ่อย...รักษาสุขภาพบ้างนะค่ะ         

     

    พี่ไม่ค่อยได้เข้ามานิดเดียว  น้องชายเราพูดยาวีชับผึดเลยนะน้อง

    เก่งมากน้องชาย....พูดได้แยะเชียวนะ....

    อ้าว....แล้วตอนนี้อยู่ไหนล่ะจ๊ะพ่อหนุ่มนักเดินทาง..ชีพจรลงเท้าอีกแล้วสิครับ

    ปลอดภัยในทุกๆ ที่ที่มาทางใต้นะครับผม

    น้องกรรณิการ์ วิศิษฏ์โชติอังกูร

    อีกหน่อยคงจะได้ไปอยู่ใค้จริงๆเสียแล้ว ดีใจครับที่ได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย สวยงาม

    เมืองไทยเรามีเรื่องดีๆให้เรียนรู้อีกเยอะเลย

    เอาภาพสาวนิบง(ยะลา)มาฝาก

    พี่อ้อยควั้นครับ

    ไม่เป็นไรครับ..ผมเองไปยะลาบ่อยๆครับ วันไหนไป ผมอาจไปจู่โจมที่ สนง.เหมือนทุกครั้ง เพราะผมไปไม่แน่นอนเรื่องเวลา ทราบอีกทีคือไปนั่งคุยกับพี่แล้ว

    พี่ยาวพาไปซื้อของ ไปซื้อทุเรียนครับ ได้มาประมาณเข่งน่าจะได้ อร่อยมากครับ หวาน มัน ยังติดใจอยู่

    โอกาสหน้าจะไปชิมใหม่นะครับ

     

    ขอบคุณครับ คุณคนโรงงาน  คำชมทำให้มีกำลังใจในการเขียนบันทึกดีๆสม่ำเสมอครับ

    ให้กำลังใจท่านด้วยเช่นกัน

    พี่Lioness_ann

    ได้ศัพท์มาเ พิ่ม

    "ชั้บผึด"

    จริงๆแล้ว ผมพูดไม่ได้หรอกครับ ก็อาศัยถามเอาจากสาวๆครับ เขาก็ยินดีบอกกล่าว ผมก็กระตือรือร้นที่จะทราบครับ :)

    เดินทางตลอดครับ อีกไม่กี่วันคงได้ไปหาดใหญ่อีกแล้วครับ ตอนนี้คงอยู่ที่ตัวหาดใหญ่เลยครับ มีงานของ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติครับ

    มีเวลาผมขอไปชิม ไก่ทอดเทพา ด้วยนะครับ ติดใจครับติดใจ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท