"เงินเฟ้อ" ศัตรูร้ายเศรษฐกิจไทย ธปท.ต้องชั่งใจขึ้น-คงดอกเบี้ย


"ศัตรูที่ร้ายกาจของเศรษฐกิจไทยคือ ปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่อง" ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นในงานสัมมนา "เศรษฐกิจไทยในวิกฤติเศรษฐกิจโลกและแนวทางปรับตัวอุตสาหกรรมของไทย" ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของนักวิชาการและผู้บริหารภาคเอกชน ที่ออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐทั้งกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เร่งร่วมกันดูแลไม่ให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นไปสู่ระดับ 2 หลักอย่างที่หลายฝ่ายเริ่มกังวล เชื่อ ธปท.ขึ้นดอกเบี้ยสกัด

"ศัตรูที่ร้ายกาจของเศรษฐกิจไทยคือ ปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่อง" ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นในงานสัมมนา "เศรษฐกิจไทยในวิกฤติเศรษฐกิจโลกและแนวทางปรับตัวอุตสาหกรรมของไทย" ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของนักวิชาการและผู้บริหารภาคเอกชน ที่ออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐทั้งกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เร่งร่วมกันดูแลไม่ให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นไปสู่ระดับ 2 หลักอย่างที่หลายฝ่ายเริ่มกังวล เชื่อ ธปท.ขึ้นดอกเบี้ยสกัด

ดร.สมภพกล่าวว่า หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับ 8-9% ก็ถือว่าเป็นระดับที่สูงเกินไป เชื่อว่า ธปท.จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เนื่องจากปัจจุบันเงินเฟ้อพื้นฐาน ณ สิ้นเดือนมิถุนายนเกินเป้าที่กำหนดไว้ 0-3.5% ดังนั้น ธปท.จะต้องควบคุมให้อัตราเงินเฟ้อไทยอยู่ใกล้เคียงกับประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย หากของไทยขึ้นไป 2 หลัก จะเข้าไปติดกลุ่มเดียวกับเวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมายทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จนรัฐบาลรับมือไม่ไหว เพราะจะมีการประท้วงของกลุ่มแรงงาน ปัญหาอาชญากรรมตามมา  ส่วนปัญหาการเมืองขณะนี้ถือว่าไม่รุนแรงเท่าเงินเฟ้อ

สอดคล้องกับความเห็นของนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่ระบุว่า สิ่งที่น่าห่วงในขณะนี้คือ อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งที่กระทบมากที่สุดคือ ประชาชนปรับตัวลำบาก และเป็นสิ่งที่ ธปท. จะต้องพิจารณาว่า ควรจะต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยมาสกัดเงินเฟ้อหรือไม่ เพราะในเรื่องอัตราเงินเฟ้อหากเกิดขึ้นมาก จะกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจได้  ทั้งนี้ คงไม่สามารถแสดงความเห็นได้ว่า ควรสกัดกั้นเงินเฟ้ออย่างไรและไม่ต้องการคาดเดา โดยเป็นเรื่องของผู้กำกับดูแลต้องพิจารณา  

ส่วนปัญหาการเมืองนั้น นักการเมืองจะต้องไปจัดการแก้ปัญหา ซึ่งส่วนตัวไม่อยากให้เกิดความรุนแรง เพราะไม่เป็นผลดีต่อใคร จึงอยากให้ทุกฝ่ายหันหน้าเจรจากันด้วยเหตุผลและมีการปรับตัว แต่หากสถานการณ์การเมืองเกิดความรุนแรงและมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อาจทำให้เศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงเหลือขยายตัว 4% ถือเป็นสิ่งที่ดีกว่าในอดีตที่ผ่านมา และเท่าที่ติดตามและพูดคุยกับนักลงทุนต่างชาติพบว่า ส่วนใหญ่นักลงทุนต่างชาติไม่ได้วิตกปัญหาการเมืองของไทยมากนัก

ขณะที่ในงานเอ็กซิม ฟอรัม ครั้งที่ 2 ในเรื่อง "ปัญหาเงินเฟ้อและมาตรการแก้ไขที่เหมาะสม" ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง ระบุว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ถึงขั้นฟองสบู่ แต่ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น   ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อสูงขึ้นต่อเนื่อง  อย่างไรก็ตาม การขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอเงินเฟ้อนั้น ทำได้ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวร้อนแรง และมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด แต่สถานการณ์ของไทยตอนนี้กลับกัน ซึ่งเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกิดจากต้นทุนล้วน ๆ จึงส่งผลกระทบต่อภาคการเงินและภาคการผลิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะมีการปรับ       อัตราดอกเบี้ย 0.25-0.50% ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ของตลาดได้ระยะนี้จะเห็นว่าภาคธุรกิจมีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ขณะที่สถาบันการเงินก็ขึ้นดอกเบี้ยแข่งกันระดมเงินฝาก แต่จากค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้ประชาชนมีการออมลดลง ซึ่งหากอยู่ในภาวะนี้ต่อเนื่องไปถึงกลางปีหน้าเชื่อว่าจะเห็นสภาวะเงินตึงตัว และจากความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินยิ่งทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยเดือดร้อนหนักขึ้นดร.วีรพงษ์กล่าว

 ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายควรเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ตั้งรับสถานการณ์ และมีการใช้นโยบายหลายส่วน บรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ โดยเฉพาะการใช้นโยบายการคลัง การเพิ่มรายได้ให้ประชาชน เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล บุคคลธรรมดา แต่ไม่ควรลดภาษีพลังงาน เพราะจะทำให้เกิดการบิดเบือน รวมถึงการเร่งโครงการลงทุนของภาครัฐ ส่วนนโยบายการเงินควรเน้นดูแลเงินในระบบให้เพียงพอและผ่อนปรนหลักเกณฑ์ที่เข้มงวด เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจอื่น ๆ ให้อยู่ได้

คมชัดลึก  ไทยโพสต์  โพสต์ทูเดย์  กรุงเทพธุรกิจ  10  กรกฎาคม  2551

หมายเลขบันทึก: 193236เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2008 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท