ก้าวที่ 1 ของการบริหารเชิงพื้นที่


บทบาทนักส่งเสริมการเกษตร...ที่จะไปทำงานกับเครือข่ายและพันธมิตรควรจะเป็นอย่างไร? ภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัดขึ้น

    เกษตรกรเป็นศูนย์กลาง  เป็นหลักการที่คนส่วนใหญ่มักจะพูดถึงกันบ่อย ๆ  แต่ที่นี่ใช้ พื้นที่เป็นศูนย์กลาง แล้วชวนเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่เข้ามามีส่วนร่วม    พื้นที่นิคมเกษตรบ้านย่านซื่อ  ตำบลบ้านช้าง  อำเภอสองพี่น้อง  จังหวัดสุพรรณบุรี

 

เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 27 มิถุนายน  2551 ดิฉันได้ไปเรียนรู้วิธีการนำเสนองานในเชิงระบบโดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้ามาร่วมปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับ น้ำท่วมพื้นที่นาข้าว  ภายใต้การเดินเรื่องของงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

 

ในเหตุการณ์ของการสนทนาจะมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร (คุณรุ่งสุรีย์  เลี้ยงประยูร)  เป็นผู้ เดินเรื่อง ของเนื้อหาสาระที่ได้รวบรวมและประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยใช้สื่อแผนที่ในการคุยกับผู้ร่วมห้องประชุม ได้แก่  ขอบเขตของพื้นที่  สถานการณ์ของเกษตรกร  ปัญหาที่เกิดขึ้น  ทางออกที่น่าจะเป็นไปได้  วิธีการทำงาน  บทบาทภารกิจของความร่วมมือ  การสนับสนุน  ข้อสรุปที่เกิดขึ้น  และแผนการดำเนินงานร่วมกัน

 

การดำเนินงานดังกล่าวได้ใช้วิธีการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ที่แตกพื้นที่ในแผนที่ออกมาเป็น Blog ต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้ โดยมีแกนนำเกษตรกรเป็นแนวร่วมในการดำเนินการ  ฉะนั้น งานชิ้นแรกที่จะทำก็คือ การสร้างความเข้าใจกับแกนนำเกษตรกร ประมาณ  55 คน  โดยผู้แทนหน่วยงานเป็นผู้นำเสนองานที่ตนเองทำนั้นทำอะไรบ้าง? และมาเกี่ยวโยงกับความเป็นอยู่ของเกษตรกรตรงไหน?  และถ้าจะพัฒนาอาชีพการเกษตรจะมีลำดับงานกันอย่างไร? ที่นำ เรื่องข้าว มาใช้เป็นเป้าหมายการพัฒนาอาชีพของเกษตรกรร่วมกัน ได้แก่  การปรับโครงสร้างดิน  วิธีการลดต้นทุนการผลิต  การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในท้องถิ่น  การสร้างรายได้ของครัวเรือนเกษตรกร  และอื่น ๆ   ทั้งนี้การป้องกันไม่ให้นำท่วมก็จะมาจากนำเอาภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ทำกันอยู่เดิมมาประยุกต์ใช้/ขยายผล แล้วนำเอาหลักวิชาการของชลประทานมาเทียบเคียงและนำสู่การปฏิบัติการ

 

ดังนั้น บทบาทการทำงานของนักส่งเสริมการเกษตรที่เกิดขึ้นก็คือ  การรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ภารกิจและบทบาทของหน่วยงาน  การวางระบบงานวิสาหกิจชุมชน  การเจรจาสื่อสารเพื่อหาแนวร่วมในการปฏิบัติการ  การแบ่งสรรผลประโยชน์ร่วมกัน  การมอบหมายงาน  และการชักชวนมาร่วมทีมกันทำงาน  ภายใต้ทุคนมีความสุขและได้ผลงานเป็นของหน่วยงานตนเอง  ภายใต้การบริหารจัดการเชิงพื้นที่ที่นำไปสู่เป้าหมายของเกษตรกร.

 

หมายเลขบันทึก: 193233เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2008 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท