ลุ้นระทึกค่าเค "บวกลบ 1-2%" รัฐเท 3 พันล.อุ้ม


มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่ต้องการจะเยียวยาธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง แม้มีเป้าหมายหลักเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาต้นทุนวัสดุและราคาน้ำมัน แต่เนื่องจากถ้อยแถลงที่ออกมาไม่ชัดเจน จึงก่อให้เกิดความสับสนให้กับคนในวงการรับเหมาไม่น้อย ทำให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ต้องมีหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเวียนแจ้งมติ ครม.ที่ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง

มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่ต้องการจะเยียวยาธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง           แม้มีเป้าหมายหลักเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาต้นทุนวัสดุและราคาน้ำมัน แต่เนื่องจากถ้อยแถลงที่ออกมาไม่ชัดเจน จึงก่อให้เกิดความสับสนให้กับคนในวงการรับเหมาไม่น้อย ทำให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ต้องมีหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเวียนแจ้งมติ ครม.ที่ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง

ที่น่าสังเกตคือ ในจำนวน 11 มาตรการ ที่ ครม.มีมติออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้รับเหมานั้น ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องค่าชดเชยค่าก่อสร้าง หรือค่า K ที่สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ให้น้ำหนักมากที่สุดกลับถูกจัดอันดับไว้ข้อสุดท้าย เนื่องจากเป็นเรื่องใหญ่ ต้องผ่านการกลั่นกรองจากหลายหน่วยงานโดยเฉพาะกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ  อย่างไรก็ตาม ในส่วนของค่า K หลัง ครม.มีมติเมื่อ 24 มิถุนายน 2551 ให้ทบทวนปัญหาค่า K ใหม่ จากเดิม มติ ครม.วันที่ 17 มิถุนายนให้ยกเว้นการใช้สูตรบวกลบ 4% ชั่วคราว เนื่องจากสำนัก งบประมาณไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้รัฐต้องใช้เงินอุดหนุนมากถึง 6-7 พันล้านบาท

ขณะเดียวกันมีกระแสข่าวการผลักดันปรับสูตรค่า K ผ่านฝ่ายการเมืองหลายสาย ทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม ฯลฯ จนเกิดข่าวลือแพร่สะพัดว่ามีการเรียกร้องค่าเหนื่อยจากผู้รับเหมาถึง 160 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดสำนักงบฯ ได้ พิจารณาข้อเรียกร้องของผู้รับเหมาที่ต้องการให้ยกเลิกการหักค่า K บวก-ลบ 4% แล้ว และจะเสนอ ครม.ใช้สูตรค่า K เหลือหักแค่ 1-2% ชั่วคราว 1 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2550 ถึง       30 กันยายน 2551   ส่วนการทบทวนและปรับปรุงเงื่อนไขหลักเกณฑ์สูตรค่า K ใหม่ ให้สะท้อนความเป็นจริงซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้รับเหมาต้องการที่สุดนั้น จะเสนอ ครม.พิจารณาภายใน 90 วัน นับจากวันที่ ครม.มีมติ

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า การที่สำนักงบฯยอมให้หักค่า K จาก 4% เหลือ 1-2% เพราะ      ถือเป็นการช่วยเหลือในระยะสั้น ระหว่างรอข้อสรุปสูตรค่า K ใหม่ ซึ่งในส่วนนี้รัฐบาลต้องใช้เงินอุดหนุนกว่า        2-3 พันล้านบาท แต่ถือว่ายังน้อยกว่า ที่จะยกเลิก 4% ไปเลย ส่วนจะเป็น 1-2% จริงหรือไม่อยู่ที่ ครม.ตัดสิน

สำหรับมาตรการช่วยเหลือ 11 ข้อ ตามมติ ครม. ซึ่งพยายามจูนให้ตรงกับข้อเรียกร้องของสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้าง 14 ข้อ ประกอบด้วย 1.ชะลอการยกเลิกสัญญา ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ ชะลอยกเลิกสัญญาที่ผู้รับเหมาทำไว้กับทางราชการ 30 วัน นับแต่ ครม.มีมติ และหากมีการบอกเลิกสัญญาแล้วภายหลังวันที่
1
ตุลาคม 2550 จนถึงวันที่ ครม.มีมติ ไม่ถือว่าเป็นผู้ทิ้งงาน   2.การขยายระยะเวลาสัญญาและเพิ่มระยะเวลาสัญญา สำหรับสัญญาที่เซ็นก่อนและหลัง 1 ตุลาคม 2550 ที่ยังมีนิติสัมพันธ์ และยังไม่ส่งมอบงานงวดสุดท้าย ให้ขยายเวลา ได้อีก 180 วัน ส่วนสัญญาที่ประมูล หลัง 1 ตุลาคม 2550 จนถึงวันที่ ครม.มีมติแต่ยังไม่ได้เซ็นสัญญาให้ยกเลิก สัญญาได้ หรือให้เพิ่มขยายเวลาไปอีก 120 วัน ฯลฯ  3.ผู้เสนอราคาที่ไม่เซ็นมาสัญญาหรือไม่ประสงค์จะทำงานต่อ   ให้ยกเลิกสัญญาได้ โดยไม่ถือเป็นผู้ทิ้งงาน และให้คืนหลักประกันสัญญา รวมถึงสัญญาที่มีข้อตกลงแล้วแต่ยังไม่ทำงานหรือส่งงานงวดแรก แต่หากสัญญาไหนที่ได้ดำเนินการไปบางส่วนแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับค่างานที่ได้ทำไปแล้ว  4.ให้เพิ่มคู่สัญญาได้ในกรอบวงเงินและเนื้องานเดิม  5.การแก้ปัญหาเรื่องการจ่ายเงินล่วงหน้า 15%  6.การหักเงินค้ำประกันผลงาน ให้แก้ไขสัญญาให้มีสิทธิที่จะขอรับเงินประกันผลงานที่ถูกหักไว้ทั้งหมดคืนได้ทันที โดยให้วางหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารได้  7.แบ่งงวดงานหรืองวดเงินใหม่ได้ให้สอดคล้องกับค่าจ้างและแผนงานที่ปฏิบัติจริงแต่ละงวด 8.กำหนดระยะเวลายื่นซองให้เพียงพอกับการคำนวณราคา 9.กำหนดราคากลางให้เป็นปัจจุบันก่อนเคาะราคา 45 วัน หากราคาที่คำนวณใหม่มีราคากลางสูงกว่าเงินงบประมาณให้หน่วยงานพิจารณา 2 แนวทาง คือ ขอเพิ่มวงเงินจากสำนักงบประมาณ หรือให้ปรับลดเนื้องานลง  10.ให้ขอรับความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อหน่วยงานคู่สัญญาภายใน 60 วันนับจากวันที่ ครม.มีมติ  11.ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่ในการตีความและวินิจฉัยปัญหา ยกเว้นปัญหาเกี่ยวกับสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ให้เป็นอำนาจของสำนักงบประมาณ

"กฤษดา จันทร์จำรัสแสง" กรรมการบริหารสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย กล่าวว่า มาตรการที่ ครม.มีมติออกมา 11 ข้อ เป็นแค่การเยียวยาธุรกิจรับเหมาให้ประทังชีวิตอยู่ได้ในระยะสั้น ๆ จากที่จะตายอยู่แล้ว แต่ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ  ถ้าจะแก้ปัญหาธุรกิจนี้ให้อยู่รอดต่อไปได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือค่า K ต้องไม่มีการหัก 4% และต้องรื้อสูตรใหม่ ให้สะท้อนความเป็นจริง เพราะแม้ได้รับการขยายเวลา แต่ถ้าทำต่อไปแล้วขาดทุนก็แย่เหมือนกัน  "เรากำลังรอลุ้นว่า รัฐจะตัดสินใจยังไงกับเรื่องค่า K เพราะนี่คือหัวใจของผู้รับเหมา ขณะเดียวกันก็กำลังรอคำตอบเรื่องการ เปิดเสรีนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำลังพิจารณาด้วย"

ฐานเศรษฐกิจ  10  กรกฎาคม  2551

หมายเลขบันทึก: 193230เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2008 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การใช้ค่าชดเชยนั้นจะต้องสะท้อนกับราคาค่าวัสดุของแต่ละเดือน เพราะฉนัน ควรจะต้องมีการประชุมเพื่อกำหนดราคากลางของกระทรวงพาณิชย์ทุกเดือน และจะต้องจ่ายตามความเป็นจริงตามงวดงาน ไม่ใช้จ่ายตอนส่งมอบงานดีกว่านะครับ จากผู้ปฎิบัติงาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท