องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

เรื่องเล่า : เกราะป้องกันตัวเย็นของน้องหนู


อ่านจากเรื่องเล่า แล้วมันส์ดีกว่าจะคลอดเสื้อเกราะฯ

เยาวลักษณ์ :    ตอนนี้การส่งทารกไปแผนกสูติกรรม 1 มักจะมีปัญหาเรื่องภาวะอุณหภูมิร่างกายของทารกที่ส่งไปเนื่องจากทารกตัวเย็น

วาสนา : ยิ่งในขณะนี้ยิ่งเข้าหน้าฝนเวลาเราเคลื่อนย้ายเด็กไปส่งแม่จะทำให้เด็กควบคุมอุณหภูมิในร่างกายได้ไม่ดี

นริศา : แต่ตอนนี้หนูได้ทำเสื้อคลุมสำหรับเวลาเคลื่อนย้ายเด็กแล้วนะพี่

ปิยนุช : แต่เสื้อที่เก่งทำขึ้นนั้นทำความสะอาดยาก และที่สำคัญคือไม่สวยจะมีลักษณะเหมือนผ้าที่ใช้สำหรับคุลมศพผู้ป่วย 

สำนวล : เราน่าจะมาปรับปรุงเสื้อของเก่งที่ทำขึ้นเพื่อให้ดูสวยงามและดูดี

ปิยนุช : แต่นุชเคยอ่านเนต ที่อื่นหรือโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งเค้าใช้ถั่วเขียวเข้าไมโครเวฟก่อนประมาณ  15 นาทีที่อุณหภูมิเท่าไหร่จำไม่ได้ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายเด็ก

วาสนา  :  แต่การใช้ถั่วเขียวอบด้วยไมโครเวฟก็มีปัญหาว่าเมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายของเด็กได้และที่สำคัญถ้าเราไม่สามารถที่จะควบคุมอุณหภูมิร่างกายทารกได้อาจเป็นอันตรายกับทารกเนื่องจากผิวทารกอาจโดนความร้อนทำให้ผิวของทารกไหม้หรือพุพองได้

เยาวลักษณ์ : แต่เราเห็นด้วยกับนวลนะเนื่องจาการทำเสื้อคลุมสำหรับทารกเวลาเคลื่อนย้ายนอกจากไม่เป็นอันตรายกับทารกแล้ว เรายังสามารถช่วยทารกสูญเสียความร้อนโดยการพาความร้อนได้เมื่อเราควบคุมอุณหภูมิร่างกายทารกที่อยู่ที่ตึกเราได้คงที่ก่อนส่งให้มารดา

ฉัตรทิพย์ : หนูเห็นด้วยกับพี่ตู่  แต่ถ้าเปลี่ยนจากผ้ายางที่พี่เก่งทำไว้มาเป็นถุงผ้าและสามารถปรับขนาดของเสื้อได้เพื่อที่จะใช้ได้กับทารกที่มีน้ำหนักต่าง ๆ กัน

เยาวลักษณ์ : อย่างนั้นตกลงเราพัฒนาเสื้อคลุมที่ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายทารกที่เก่งทำไว้  แต่ก่อนอื่นเราตั้งชื่อเสื้อคลุมตัวนี้กันก่อนดีกว่า

ปิยุนช : เกราะป้องกันตัวเย็นของหนู

นริศา : อย่างนั้นเราต้องปรับวัสดุที่ใช้ทำเสื้อก่อนก็แล้วกัน

สำนวล : เราใช้ผ้ายางที่ใช้สำหรับรองก้นทารกดีไหม

ปิยนุช :  ดีเพราะลายมันน่ารักและใช้สีชมพูดีไหม และตรงบริเวณที่เป็นซิปของเก่งเปลี่ยนเป็นตีนตุ๊กแกเพื่อที่จะสามารถขยับให้เล็กได้ใหญ่ได้

หมายเลขบันทึก: 193118เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2008 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ทำเป็นลายน่ารักเช่นหมีพู
  • หรือแบบอื่นได้ไหมครับ
  • รอดูๆๆๆ
  • ไปนครสวรรค์ ไปดูด้วยตาตัวเองเลย
  • ดีมั๊ยคะ อ.ขจิต ฝอยทอง
  • :)
  • เรียน ชาวศูนย์อนามัยที่ 8 ทราบค่ะ
  • อ.ขจิต ฝอยทอง ... ท่านนี้ละ (+ นายช่างใหญ่อีก 1 ท่าน) ที่จะไป จัดกระบวนการเรียนรู้ G2K ให้กับเราที่ เมือง อุบลฯ
  • ... เตรียมจองโควต้าเข้าเรียนรู้กันได้เลยนะคะ
  • เพราะว่า เรียนกับ อ.ขจิต แล้ว จาติดใจค่า
  • อยากไปเยอะ ๆ แต่บ่มีตังค์ครับผม
  • สำคัญกว่านั้นไกลจังเลยค่ะ อุบล-นครสวรรค์ไปกัน 12 ชม.เชียวนะตัวเอง...
  • สงสัยต้องใส่อุปกรณ์เสริมไปกันช่วงล่างเสื่อมสภาพแล้ว
  • สู้ สู้ น่า
  • เดี๋ยวหมอก้องก็พาเที่ยวชมนกชมไม้รายทาง ด้วยแหล่ะน่า

ถ้าเพิ่มรูปแบบด้วยการทำเป็นผ้าที่มีหมวกคลุมศีรษะด้วยจะดีค่ะ ที่รพ.ศรีนครินทร์ (ขอนแก่น) หน่วยห้องคลอดได้ตัดเย็บเรียกว่า ถุงนอนอุ่นไอรัก ใส่ให้เด็กขณะเคลื่อนย้ายมาตึกหลังคลอด โดยห่อด้วยผ้าสำลีก่อน 2 ชั้น (ห่อศีรษะด้วยค่ะ) แล้วตามด้วยถุงนอน และคลุมด้วยผ้าห่มอีก 1 ชั้น แต่เหนืออื่นใด ก่อนเคลื่อนย้ายอุณหภูมิของทารกควรจะอยู่ที่ 37 องศา เพราะเคยเก็บข้เอมูลไว้ถ้า อุณหภูมิ 36.6 พอย้ายมาถึงตัวเย็นเลยค่ะ//// พอดีทำเรื่องการควบคุมอุณหภูมิกายทารกอยู่ค่ะ

ที่หลังคลอดรพ.สุโขทัยก่อนหน้านี้ใช้ถุงดำห่อเวลาเกิด Subtemp พัฒนามาเป็นเสื้อบุด้วยพลาสติก มีหมวกเริ่มทำมาตั้งแต่ปี2548จนถึงปัจจุบัน ใช้ช่วงเดือนพ.ย-ก.พ กับลูกทุกราย หรือวันที่อุณหภูมิห้องน้อยกว่า 28 องศาเซลเซียส

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท