งานประจำสู่งานวิจัย(Routine to Research)... นำผลกลับมาใช้ในงานได้จริง? : มุมมองผู้ปฏิบัติงาน


หากมีแนวคิดว่า R2R = ½ ของ ( HA+ Research)....ท่าจะดี

ฉันโชคดีได้มีโอกาสเข้าร่วมงานการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากงานประจำสู่งานวิจัย “R2R : เสริมพลัง  สร้างสรรค์ และพัฒนา ที่จัดโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและภาคี R2R

 

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และ ดร.นิภาพร ลครวงค์ ผู้ค้นพบ R2Rในงานบริการวิสัญญี รพ.ศรีนครินทร์ มข.

ผลงานวิจัยของทีมงานวิสัญญี รพ.ศรีนครินทร์ มข.ของเราได้รับรางวัลดีเด่นระดับตติยภูมิ 2 เรื่องคือ

1.     การบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วย (Pain Service) เพื่อสนับสนุนการบริการวิชาการและการวิจัย โดยคุณสุธันนี  สิมะจารึกและคณะ

2.     การประดิษฐ์วงจรวางยาสลบเพื่อใช้ในงานบริการวิสัญญีประจำวัน โดย รศ.สรรชัย  ธีรพงค์ภักดีและคณะ

งานนี้ทีมแรก คุณสุธันนี  สิมะจารึก กับ คุณศศิวิมล พงษ์จรรยากุล เป็นตัวแทน ทีม Acute Pain Service”  นำเสนอบนเวที  และทีมที่สอง รศ.นพ.สรรชัย ธีรพงค์ภักดี มอบหมายให้ รศ.พญ.วราภรณ์ เชื้ออินทร์และผู้เขียน(ที่ได้ต่อยอดงานวิจัยด้วยวิจัย)  ให้เป็นผู้เล่าเรื่องให้เพื่อนๆฟังในกลุ่มแยกย่อยค่ะ

รศ.นพ.สรรชัย  ธีรพงศ์ภ้กดี ผู้ประดิษฐ์วงจร CCX และคุณวัฒนา  ตันทนะเทวินทร์ทีมงานผู้มีความสามารถสูงค่ะ

 

ฉันเองเสียดายแทนผู้ฟังที่ไม่มีโอกาสได้ยินเรื่องราว แรงบันดาลใจจากปากของ อ.สรรชัย  ผู้ริเริ่มการคิดดัดแปลงอุปกรณ์นี้เอง

 

นับเป็นวาสนาของผู้บันทึกโดยแท้... ที่มีโอกาสได้ทำงานใกล้ชิดท่านมานาน  นับตั้งแต่เห็นท่านนั่งควั่นกระบอกฉีดยาให้กลมดิ๊ก  ในช่วงคิดประดิษฐ์ช่วงแรกๆในปี 2530....จนปัจจุบัน  จึงซึมซับแนวคิดท่านมาบ้าง

ส่วนประกอบที่หาได้ในงานและใกล้ตัว  โดยต้องไม่เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย

 

 

ศ.นพ.สมบูรณ์ เทียนทอง หัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยา  มข. และ อ.นพ.อนุวัฒน์  ศุภชุติกุล ได้ร่วมสนทนาในหัวข้อ R2R: เครื่องมือการทำงานให้มีความสุข ร่วมกับทีมค่ะ

งานประชุมครั้งนี้  มีการแลกเปลี่ยนแนวคิด และประสบการณ์กันอย่างสนุกสนาน  ไม่ยึดติดรูปแบบการทำกลุ่ม... อย่างที่ฉันเคยเห็น  เพียงแต่ผู้คุมกลุ่มต้องเก่งหน่อยในการดึงกลุ่มเข้าประเด็น   ไม่งั้นหันไปสนใจ outcome มากกว่า process…

แต่ก็ไม่แปลก  มันเป็นการต่อยอดความรู้ (ที่ดีเสียอีกหากมีเวลาพอ)..มันคล้ายเป็นเวทีโหมพลังไฟที่มีอยู่แล้วในตัวผู้ปฏิบัติงาน  ให้ลุกโชนขึ้นพร้อมๆกัน... ส่งผลให้เกิดความสว่างกลางแวดวงสาธารณสุข ...นั่นเอง   ....เสียแต่ว่าน่าจะฉวยโอกาสนี้สร้างเครือข่ายของงานระหว่างกันไว้ซะเลย... ไฟจะได้ไม่มอดเมื่อห่างกันไป

 

 

การแก้ปัญหางานประจำด้วยการถามคำถามที่ชัดเจน   แล้วเราพยายามหาคำตอบที่ดีที่สุดด้วยวิธีการที่เป็นระบบ  คงเป็นแนวทางร่วมของ R2R และ CQI ในงาน HAนั่นแหละ....

วงจรวางยาสลบ CCX ถูกนำมาใช้ในงานตั้งแต่ปี2531จนปัจจุบันค่ะ

 

ไม่ต้องห่วงเรื่องที่คำตอบจะไม่ถูกนำมาใช้ในงาน... เพราะคำถาม ข้อสงสัยได้มาจากปัญหาการทำงาน....เป็นความอยากรู้คำตอบเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาจากผู้ปฏิบัติงานเอง

 

ที่สำคัญปัญหาการทำงานที่เราเผชิญมีมากด้วยข้อจำกัดของทรัพยากร  หากทุกปัญหาแก้ไขด้วยงานวิจัยเต็มรูปแบบทั้งหมด  เห็นทีผู้ทำอาจจะหมดแรงม่อยกระรอกไปซะก่อน

 

ภาพคุณสุธันนี  สิมะจารึก, รศ.วราภรณ์ เชื้ออินทร์ และคุณอุบล  จ๋วงพานิช ทีม รพ.ศรีนครินทร์ รับรางวัลจาก ศ.นพ.เกษม  วัฒนชัย องคมนตรีค่ะ

โดยความเห็นส่วนตัว  เราควรจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่เราต้องการแก้ไข(ด้วยงานวิจัย)เอง  และควรมีพี่เลี้ยง(จะหาจากที่ไหนน้อ?) เข้าช่วยเหลือแนะนำให้สำเร็จโดยไว  ไม่ช้า(อืดอาด)เพราะติดความสมบูรณ์ ติดรูปแบบดังเช่นงานวิจัยที่เคยเห็นมา...  ไม่งั้น  ไม่ทันกิน  ฉันหมายความว่า  คำตอบที่ได้จากผลการวิจัยอาจจะช้าเกินไปที่จะนำมาแก้ปัญหาในงานบริการ....

 

ทีมงานถ่ายภาพร่วมกับ ผศ.นพ.เชิดชัย  นพมณีจำรัสเลิศ  และ อ.นพ.อัครินทร์  นิมมานนิตย์ ค่ะ

ถ้าโชคดี  มีผู้เมตตาค้นหาเครื่องมือที่เหมาะสมในการนี้  ก็จะทำให้คำตอบของปัญหานั้นๆมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น  มั่นใจในการนำไปต่อยอดต่อไป

หากมีแนวคิดว่า       

                       R2R =   ½ ของ ( HA+ Research)     .....ท่าจะดี

 

มิได้มีเจตนาให้ลดมาตรฐานของงานวิจัย  แต่....ฝันที่จะเห็น....บันไดสอง(สาม)ขั้นสู่ R2R....คล้ายบันไดสามขั้นสู่ HA บ้าง  ผู้ปฏิบัติงานคงมีความสุขไม่น้อยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 192372เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2008 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ขอบคุณที่นำเรื่องดี ๆ มาบอกกล่าวนะครับ และขอแสดงความยินดีกับรางวัลต่าง ๆ ที่ได้มาอย่างน่ายกย่อง

....

และเห็นด้วยอย่างยิ่งเลยกับประเด็นนี้นะครับ "งานประจำสู่งานวิจัย...นำผลกลับมาใช้ในงานได้จริง !"

...

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ น้องแผ่นดิน

  • สบายดีนะคะ
  • พี่ติ๋วเคยมีประสบการณ์ของการรอผลงานวิจัยเรื่องความพึงพอใจ...นานเกือบสองปีจึงได้ผลจากการตีพิมพ์   กว่าผลจะออกมา  ไม่รู้ว่าพอใจมากขึ้นหรือน้อยไปกว่าเดิมแล้ว  เพราะการพัฒนาคุณภาพงานไวมาก...งานวิจัยจะช้า  ตามงานคุณภาพไม่ทันค่ะ)...แต่ดีตรงที่ผลการวิจัยเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือและอ้างอิงได้นานค่ะ ....
  • คุณค่าของงานวิจัยที่มากกว่าการตีพิมพ์เผยแพร่..น่าจะคือความรู้ใหม่ที่เพิ่มขึ้นและได้นำมาใช้ในงานจริงๆนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาชื่นชมความสำเร็จของคน มข.ค่ะ

เห็นน้องสาวไปร่วมการประชุมครั้งนี้กลับมาเล่าถึงสาระความรู้...ว่าน่าทึ่งแล้ว

รพ.ศรีนครินทร์...ยิ่งน่าทึ่งใหญ่

สวัสดีค่ะ คุณtuk-a-toon

  • ยินดีที่ได้รู้จักชาวมข.คนขยันค่ะ
  • การทำกิจกรรมคุณภาพด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์  อย่างมีระบบระเบียบมิใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มิได้เป็นนักวิชาการหรือนักวิจัยค่ะ....
  • ...หาก มข.ลุกขึ้นมา หาส่วนที่ทับซ้อนในงาน 3 ส่วนได้แก่บริการ  วิชาการ  วิจัย... แล้วนำส่วนนั้นมาสร้างให้เจริญเติบโต...จะเป็นการบูรณาการที่ทำให้คนทำงานไม่เหนื่อยค่ะ...ยิงนกนัดเดียวได้สามตัว...
  • ขอบคุณที่แวะมาต่อยอดความคิดค่ะ

ยอดเยี่ยมเลยค่ะ พี่ติ๋วขา...

ขอปรบมือดังๆ...ให้กับทีมวิสัญญี คณะแพทย์ศาสตร์ มข. และคนรักการพัฒนางานประจำทุกท่านนะคะ...

กะปุ๋มอยากเห็นคนทำงานมีความสุขค่ะ เพราะเกือบครึ่งชีวิตต้องคลุกอยู่กับงาน...เหมือนเป็นบ้านที่สองของเรา ดังนั้นหากเราได้ตื่นขึ้นมาเพื่อไปทำงานด้วยหัวใจที่มีความสุขมากเลยนะคะ

กะปุ๋มจะตื่นและไปทำงานแต่เช้า...เสมอ ประมาณเจ็ดโมงก็เริ่มออกจากบ้านเพื่อไปมีความสุขอยู่ที่ทำงานแล้วค่ะ

ดีใจ..ที่ได้เจอพี่ติ๋ว...ในงาน นี่คือ อีกหนึ่งความสุขของกะปุ๋มค่ะ

(^_______^)

พี่ติ๋ว...กะปุ๋มมาเพิ่มเติมนะคะ

R2R =   ½ ของ ( HA+ Research)  + Happiness ค่ะ

Impact สุดท้ายที่เกิดขึ้นคือ การอยู่ดี มีสุขของคนทำงานค่ะ...อยู่ด้วยใจเบาเบา...ใจที่เปี่ยมสุข ทุกข์เพียงกายหากแต่เกิด "ปิติ" ภายใน...

เป็นความสุขๆ ที่ไม่โลภ ... ไม่เลื่อนลอยไปตามสิ่งที่ไปยึดหากแต่เป็น "สุข" สงบภายในใจ เหมือนเรากำลังสร้างบ้านหรือครอบครัวเล็กๆ ในใจเราผ่านการทำงานค่ะ...

เป็นกำลังใจให้นะคะ...

(^_____^)

  • มาร่วมแสดงความยินดีกับทีมงานชาวศรีนครินทร์ด้วยคนค่ะพี่ติ๋ว
  • ขอบคุณค่ะที่นำเรื่องดี ๆ มาเล่าสู่กันฟัง

 

สวัสดีค่ะ น้องกะปุ๋ม

  • ความสุขของคนทำงานเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจค่ะ..แต่ละคนมีเทคนิคการทำงานให้มีความสุขได้ไม่ยาก....แต่ที่ยากคือทำให้คนข้างๆมีความสุขไปด้วยขณะทำงาน
  • บรรยากาศการทำงานเป็นสิ่งสำคัญค่ะ  มักต้องมีความพอดี...มากไปก็ขาดความเกรงใจ  ให้เกียรติกัน...น้อยไปก็ขาดความใส่ใจในทุกข์ของเพื่อน...ยากยิ่งคือความพอดีของแต่ละคนนะคะ
  • ขอบคุณค่ะที่มาร่วมแสดงความยินดี
  • ...หวังว่าเราคงได้พบกันอีกนะคะ...

สวัสดีค่  น้องไก่ กัญญา

  • ทีมศรีนครินทร์มีบุคลากรที่มีศักยภาพสูงค่ะ  ...ซ่อนอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ...หากเราลุกขึ้นช่วยกัน...เราทำได้ทุกอย่างที่อยากทำค่ะ 
  • ...น้องไก่เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูงมากคนหนึ่งค่ะ
  • ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยมพี่ติ๋ว

น้องติ๋วคะ พี่ขอภาพที่รับรางวัลบนเวทีด้วยนะคะ ขอบคูณค่ะ

ขอนำภาพบางส่วนไปใช้ด้วยนะคะ

ยินดีค่ะ พี่แก้ว

...ภาพบนเวที ติ๋วมุดไปถ่ายมาได้แค่3ภาพ  เฉพาะของ รพ.ศรีนครินทร์น่ะค่ะ  ช่างภาพเยอะเหลือเกิน  อย่างกะนางงามแน่ะ...อิ...อิ...

...ส่วนรูปของพี่แก้วน่ะ...สวยแจ่ม  เดี๋ยวส่งไปให้ค่ะ

ยินดีค่ะ พี่แก้ว

...ภาพบนเวที ติ๋วมุดไปถ่ายมาได้แค่3ภาพ  เฉพาะของ รพ.ศรีนครินทร์น่ะค่ะ  ช่างภาพเยอะเหลือเกิน  อย่างกะนางงามแน่ะ...อิ...อิ...

...ส่วนรูปของพี่แก้วน่ะ...สวยแจ่ม  เดี๋ยวส่งไปให้ค่ะ

เพิ่มเติมน้องกะปุ๋ม P ค่ะ

  • คำว่า  Happiness  นี้มันน่าจะเกิดเองตามธรรมชาติ   เพราะไม่งั้น...บางคนจะพยายามยัดเยียดความสุขให้ตัวเองให้ได้..เพื่อจะบอก(หลอก)ใครๆว่ามีความสุข  ทั้งๆที่ชีวิตการทำงานจริง  มันสุขระคนทุกข์ค่ะ...มีเหนื่อย  มีสบาย  มีคนพูดถูกใจบ้าง  ไม่เข้าหูบ้าง  ตามเรื่อง...
  • ...แต่มันจะยั่งยืนหาก...มุมานะ  เชื่อมั่น  และศรัทธาในตัวเอง...แม้จะต้องเหนื่อยยาก  ลำบากกับงาน...ความสุข(ใจ)จึงตามมาค่ะ
  • ขอบคุณน้องกะปุ๋มค่ะ

สวัสดีค่ะ เป็นน้องใหม่นะคะ มาอ่านพบ ชื่นชมความสามารถค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณjinni

  • ยินดีต้อนรับน้องใหม่ค่ะ  แล้วเขียนบันทึกให้อ่านบ้างนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท