ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

ถอดบทเรียนการเคลื่อนงานจัดตั้งระบบเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพกุมภวาปี


ทีมหนุนนี้ก็คือผู้ที่จะซุกยู้ให้ไทบ้านเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจ

ปี 2551 นี้ผมมีโอกาสได้ไปช่วยงานพี่คเณศวร โคตรทา และพี่ศิริชัย สายอ่อน  ในกระบวนการเริ่มต้นให้แก่เครือข่ายหมอพื้นบ้าน ผมใช้ตัวย่อที่อาจไม่ใช่สากลว่าคือ มพบ. หรือภาษาอังกฤษ FolkHealer ว่า FHL ซึ่งผมได้ลองเขียนระบบฐานข้อมูลเพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และแปรรูปเป็นเอกสารที่เหมาะสม ซึ่งงานนี้พี่คเณศวร โคตรทา และพี่ศิริชัย สายอ่อน  ในฐานะ Project Manager ของโครงการ (ซึ่งผมจำชื่อเต็มไม่ได้)  โดยจุดหมายของโครงการนี้เมื่อสิ้นสุดคือ การก่อเกิดชมรมใน 4 ตำบล และการมีหมอพื้นบ้านต้นแบบของแต่ละพื้นที่ เห็นท่านพี่ทั้งสองจะพูดถึงทุกครั้งในเวลาที่มีการแนะนำโครงการให้แก่ชุมชน และเครือข่าย (เตรียมการจัดตั้งเป็นชมรม)  โดยผมลองคิดเล่น ๆ ในฐานะที่ถูกชวนให้ไปเป็นโมดูเรเตอร์

1.การจัดการด้านกำลังคน วางบทบาท (จัดทัพ จัดทีม) เป็น 3 กลุ่ม คือทีมหนุน ทีมนำและทีมทำ ดังนี้

  • ทีมหนุน ซึ่งทีมหนุนนี้ก็คือผู้ที่จะซุกยู้ให้ไทบ้านเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจ และกล้าที่จะเปิดใจ พร้อมรับเรื่องราวที่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องเดิม ๆ แต่ทำในรูปแบบของการจัดการความรู้ โดยเอากระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือให้หมอพื้นบ้านในพื้นที่ได้มาคุยกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม โดยเฉพาะทีมนำที่เป็นชาวบ้านล้วน ๆ ในฐานะคนใน และเป็นโอกาสอันดีที่จะให้ภาครัฐซึ่งในที่นี้คือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้เรียนรู้และเข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ และได้ใช้ความรู้และทักษะในกระบวนการของนวัตกร  ซึ่งทีมหนุนก็ยังแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
    • พี่คเณศวร พี่ศิริชัย ซึ่งเป็นตัวแทนของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุมภวาปี และอำเภอประจักษ์ศิลปาคม ในฐานะเจ้าของโครงการ ผู้เขียนโครงการ หรือผู้จัดการโครงการ ที่ต้องทำหน้าที่
      • ยึดที่มั่นให้แน่นคือวัตถุประสงค์
      • สนับสนุนการดำเนินงานของกิจกรรม
      • ติดตาม ควบคุมกำกับ วิเคราะห์ผลการดำเนินการ
      • สรุปผลการดำเนินการ สรุปผลการประชุมทุกครั้ง
    • สช หรือ สมชาย ซึ่งก็คือตัวผมนั่นเอง ในฐานะของโมดูเรเตอร์เหมือนที่บอกตอนต้น ก็ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ที่เปิดโอกาสให้ได้ร่วมงานกันครับ หน้าที่คือ
      • ช่วยตั้งโจทย์ จับประเด็น
      • ร่วมจัดเวทีกับทีมงาน
    • เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย 4 แห่ง ได้แก่ ปะโค , ผาสุก , ห้วยบง และสะอาดนามูล ในฐานะผู้รับประโยชน์ร่วม เป็นกึ่งคนใน หมายถึงว่าเป็นพี่เลี้ยงที่ใกล้ที่สุดกับชุมชน กับเครือข่าย เป็นทีมหนุน ที่หมอพื้นบ้านจะวางใจได้มากที่สุด พูดคุยได้อย่างเปิดใจที่สุด แต่อย่ากดดันนะครับในความเป็นที่สุดนั้น คือปัจจัยความสำเร็จ คือองค์ประกอบหลักองค์ประกอบหนึ่ง หน้าที่คือ
      • เป็น Note Taker เป็นเลขาของการประชุม เป็นผู้ช่วยดักจับคำพูดหรือความคิดดี ๆ ที่ผู้มาเข้ากลุ่มหลุดออกมาจากปาก
      • ทำการทบทวนหลังการประชุม AAR นั่นเองว่ามีสิ่งที่ทำได้ดี ทำได้ไม่ดีตรงไหน หลังจากการประชุมทุกครั้งผ่านไป 2-3 วันให้ลงไปถามแกนนำหลัก ๆ สัก 2-3 คน ว่าเรื่องที่คุยกันมีความเป็นไปได้กี่มากน้อย โดยประเด็นที่น่าติดตามคือ 4M+1T คือ คนที่มาร่วมกิจกรรม , งบประมาณ , อุปกรณ์เครื่องมือ,การจัดการ และช่วงเวลา
      • ติดตามเก็บข้อมูลเพิ่มเติม
      • บันทึกข้อมูล อาจจะบันทึกในระบบฐานข้อมูลแต่ต้องลงข้อมูลเป็นนะครับ หรืออาจจะพิมพ์ใส่ใน word แล้วค่อย ๆ ตัดแปะใส่ในระบบฐานข้อมูลนั่นเอง
      • คึดนำ เฮ็ดนำ แต่ไม่ครอบงำ ไม่ทำให้ทั้งหมดกับเครือข่ายเตรียมการจัดตั้ง
  • ทีมนำ ก็โครงการนี้คาดหวังการจัดตั้งชมรม ซึ่งชมรมมีองค์ประกอบคือ กรรมการ กิจกรรม และกองทุน ทีมนี้ก็คือคนใน หมายถึงตัวหมอพื้นบ้านเอง ทำใมถึงเรียกคนใน เพราะเป็นเจ้าของภูมิปัญญา เจ้าของความคิด เจ้าของโจทย์ที่แท้จริง มากกว่าโมดูเรเตอร์ มากกว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทีมนี้จะถูกมองหาในเวทีแรก ๆ เพื่อเป็นแกนนำในการจัดตั้งและเคลื่อนงานในระยะต่อ ๆ ไป
  • ทีมทำ ตรงนี้คือโจทย์ในการทำงานต่อไป เพราะแน่นอนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ในตำบลย่อมอาจไม่รู้จักหมอพื้นบ้านทุกคนได้ดีไปกว่าคนใน หรือทีมนำ และถ้าโครงการเปิดโอกาสให้ทีมนำ ค้นหาเพื่อนหมอพื้นบ้านด้วยกันในชุมชน และชักนำให้มาร่วมคิด ร่วมทำ ในกระบวนการจัดการความรู้ที่วางหลักการไว้เกี่ยวกับการรวบรวม สังเคราะห์ วิเคราะห์ แปรรูป จุดพลุ ละพื้นที่รูปธรรมในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ฝังลึกในตัวคน หรือความรู้ในใบลาน

 

2.การเป้าหมายและผลลัพธ์ของแต่ละกิจกรรม ดังนี้

·        การประชุมเปิดโครงการ

·        เวทีในพื้นที่ 3 เวที

·        เวทีสรุปเพื่อไปต่อ

โดยรายละเอียดที่เกิดขึ้น

·        การประชุมเปิดโครงการ  ผู้จัดการโครงการได้นัดแนะชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นตัวอย่างชุมชน กลุ่มที่ประสบความสำเร็จ มาเล่าให้แต่ละพื้นที่ฟัง เพื่อจุดประกาย ว่ามีเรื่องจริง คนจริง กลุ่มจริง ความสำเร็จจริงเกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องเล่า ไม่ใช่เพียงคาร์เทคนิค จากนั้นวิทยากรก็ตั้งคำถาม 3 คำถามที่ใคร ๆ ก็มักจะตั้งคือ

o       ในกุมภวาปี  หมอพื้นบ้านเดี๋ยวนี้เป็นอย่างไร สถานการณ์ปัจจุบัน

o       ฝันว่าอยากให้เป็นอย่างไร

o       จะไปถึงฝันของตัวเองได้อย่างไร ต้องทำอะไรบ้าง ต้องมีใครบ้าง

ซึ่งก็มักจะเป็นไปตามคาดหมาย เหมือนเป็นบทบัญญัติ คำตอบตายตัวว่าอยากเป็นกลุ่ม แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร แต่วันนั้นวันที่ 3 มิถุนายน 51 ผมได้ยินแม่คนหนึ่งของตำบลหนองหว้า พูดว่า เฮาต้องกลับไป ขี่มอเตอร์ไซค์ ไปเอิ้นกันมาคุยโลด ตั้งกลุ่ม แล้วจะได้คิดว่าสิเฮ็ดหยังกันต่อไป

 

·        เวทีในพื้นที่ 3 เวที ซึ่งเป็นเวทีเพื่อการค้นพบตนเอง หา ดี ของตนเองพบ เครือข่าย (คข.) รู้ ดี ของตนเองผ่านกระบวนการจัดการความรู้  (จค.)  โดยหมอพื้นบ้านหรือคนในได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.)กัน และคนนอกคนรัฐได้ เรียนรู้และเข้าใจ (รรขจ.) หมอพื้นบ้าน นำไปสู่กระบวนการเคลื่อนงานของหมอพื้นบ้าน การไปต่ออย่างมีทิศทางและไม่ถูกทิ้งขว้างจากกระบวนการทำงานของภาครัฐ โดย 3 เวที คือ

o       เวทีรู้ตน รู้ตัว เป็นเวทีกระตุ้นให้คนที่มาเห็นศักยภาพของตนเอง ให้ทีมหนุนมองหาทีมนำเจอ และก่อนที่จะมีเวทีต่อไป ทีม สอ.จะได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเต็ม โดยอาจจะไปกับผู้นำอย่างไม่เป็นทางการของทีมนำ

o       เวทีสรุปผลการรวบรวม นำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมมาดูด้วยกัน เวทีที่ทีมนำจะชักพาให้ทีมทำบางส่วนเข้ามาร่วมกันมากขึ้น ที่จะนำไปสู่การริเริ่มก่อตั้ง นำไปสู่การลองช่วยกันทำแผนปฏิบัติการเบื้องต้น และเตรียมการลองจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน หรือเวทีหมอพื้นบ้านสัญจร ก็แล้วแต่จะเรียก

o       เวทีกระตุ้น เปิดตัว สัญจร เปิดพื้นที่ หรือสร้างพื้นที่ให้ชุมชน ได้รู้จักหมอพื้นบ้านของชุมชนมากขึ้น ละเอียดขึ้น อาจจะนำไปสู่การสอบถาม การเปิดโอกาส ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการวางกรอบการเคลื่อนงานของหมอพื้นบ้านในชุมชน เวทีนี้เราอาจได้เห็นผู้นำกลุ่มตัวจริงมากขึ้น นำไปสู่การวางแผนเพื่อพัฒนากลุ่มต่อไป

·        เวทีสรุปเพื่อไปต่อ เปิดโอกาสให้แต่ละพื้นที่ได้มาแลกเปลี่ยนกัน ได้เห็นความก้าวหน้าของกันและกันพูดคุยกัน เพื่อหาหนทางไปต่อ

คำสำคัญ (Tags): #หมอพื้นบ้าน
หมายเลขบันทึก: 192366เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2008 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท