กวีเต๋าเถาหยวนหมิง



รูปหน้าปกหนังสือ กวีเต๋าเถาหยวนหมิง

ซิเซโร (Cicero) เขียนจดหมายถึง ขงจื๋อ (Confucius) ผู้นิพนธ์ คัมภีร์อี้จิง (I-Ching) แต่ขงจื๋อ ตอบจดหมายช้า เพราะสมัยก่อนยังไม่มี E-mail   ขงจื๋อ เขียนจดหมายตอบ ซิเซโร ไว้ว่า "เทียนโหย่วเต๋าเจ๋อเจี้ยน เทียนอู๋เต๋าเจ๋ออิ่น" : ยามที่ฟ้าอยู่ในมรรค (บ้านเมืองอยู่ในภาวะปกติสุข) นักปราชญ์ก็จงแสดงตนให้ปรากฎ เมื่อใดที่ฟ้าไร้มรรค (เกิดกลียุคในรัฐ) นักปราชญ์ก็จงหลบซ่อนตน  "เทียนตี้เสียน เสียนเจ๋ออิ่น" : ฟ้าดินไร้ซึ่งสิ่งที่ควรจะทำ (เกิดทุรยศในบ้านเมือง) นักปราชญ์จงปลีกตัวไปหลบซ่อน "ต๋าเจ่อจี้เทียนเซี่ย ผินเจ่อตู๋ซ่านฉีเซิน" หากประสบความสำเร็จก็จงหวนคืนกลับมาช่วยเหลือสรรพสิ่งใต้ฟากฟ้า หากยังยากจนหนทางอยู่ ก็จงพยายามรักษาตัวรอดเอาไว้ก่อนเถิด แนวคิดของ ขงจื๋อ มีอิทธิพลอย่างมาต่อนักปราชญ์ในยุคต่อๆ มา หนึ่งในนักปราชญ์ที่ดำเนินรอยตามปรัชญาของ ขงจื๋อ ก็คือ เถาหยวนหมิง  (ปล. เรื่องจริงก็คือ ซิเซโร ไม่ได้เขียน จม. ถึง ขงจื๊อ เป็นมุขตลกของผู้เขียน)

(ซิเซโร เป็นนักการเมืองที่ยิ่งใหญ่สุดของกรุงโรมซึ่งพยายามรักษาสาธารณรัฐไว้ แต่ไม่สำเร็จ จนต้องเสียชีวิตไปพร้อมกับการล่มสลายของประชาธิปไตย นอกจากนี้แล้ว เขายังเป็นนักกฎหมายคนสำคัญของยุคสมัย และเป็นคนมีวาทศิลป์ที่หาตัวจับได้ยาก เขาเป็นเพื่อนรักกับอัตติกัส  (Atticus) ซึ่งเกิดก่อนเขา 3 ปี แต่อัตติกัสเห็นพิษภัยของการเมือง จึงหนีไปอยู่ที่กรุงเอเทนส์ ทั้งยังเปลี่ยนชื่อเสียงเสียด้วย จึงร่ำรวยและมีชีวิตราบรื่นมาโดยตลอด ทั้งยังรู้จักปรับตัวให้เข้าได้กับสภาพการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนไปเรื่อย โดยมีชีวิตยืนยาวกว่าซิเซโร คือตายอย่างธรรมดาสามัญหลังสหายรัก 8 ปี (ที่มา ประวัติ ซิเซโร โดยอนุทินคุณ ครูมิม @12261)  


เถาหยวนหมิง เป็นกวีเอกในสมัยราชวงศ์ตงจิ้น (ค.ศ.356-427) เป็นที่ยกย่องกันว่าเป็นกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคหลังราชวงศ์ฮั่นแลก่อนราชวงศ์ถัง เป็นชาวมณฑลเจียงซี อยู่เมืองจิวเจียง เคยรับราชการแล้วออกมาใช้ชีวิตชาวนาอย่างสันโดษที่ตีนเขาหลูซาน ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่ต้องการคำนับขุนนางที่ยศสูงกว่า งานกวีที่มีชื่อเสียงมากคือ ธารดอกท้อ (เถาฮวาเหวียน) อันเป็นดินแดนในอุดมคติ ซึ่งก็คือสังคมนิยมเพ้อฝัน หรือ Utopia นั่นเอง เรื่องมีอยู่ว่าชาวประมงคนหนึ่งได้พลัดหลงเข้าไปในดินแดนดอกท้อ ไปพบโลกอีกโลกหนึ่งซึ่งตัดขาดจากโลกภายนอก ประชาชนในดินแดนแห่งนี้ปลูกข้าวเลี้ยงหม่อนพึ่งตนเอง ปราศจากการกดขี่ขูดรีดใดๆ ต่างคนต่างทำงานมีฐานะเท่าเทียมกัน ปราศจากความเดือดร้อนยุ่งยากจากโลกภายนอก (กวีเต๋าเถาหยวนหมิง หน้า 13)

ฤดูดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ 405  เถาหยวนหมิงได้ไปเป็นผู้ว่าการอำเภอเผิงเจ๋อ ที่ห่างจากบ้านเกิดของตนไม่ไกลนัก และในฤดูหนาวปีเดียวกัน  ผู้บังคับบัญชาของเขาได้ส่งผู้ตรวจการคนหนึ่งมาดูงาน  ผู้ตรวจการคนนี้เป็นคนไม่สุภาพและยังหยิ่งยโส พอเขาเดินทางถึงเขตอำเภอเผิงเจ๋อก็ส่งคนมาสั่งให้นายอำเภอมาเข้าพบเขา   เถาหยวนหมิงได้ข่าวแม้ในใจจะดูถูกคนประเภทที่อาศัยชื่อของผู้บังคับบัญชามาออกคำสั่งก็ตามแต่ยังคงรีบออกเดินทาง  ทว่าคนรับใช้ของเขารีบทักท้วงเถาหยวนหมิงว่า ”การเข้าพบผู้ตรวจการท่านนี้ต้องระวังแต่งกายให้เรียบร้อย  และยังต้องมีท่าทีอ่อนน้อมถ่อมตน  มิฉะนั้น  เขาจะต้องใส่ร้ายท่านต่อผู้บังคับบัญชาของท่านแน่ๆ”  เถาหยวนหมิง ผู้มีจิตใจงดงามและมีคุณธรรมสูงส่งมาแต่ไหนแต่ไร  ถอนใจยาวกล่าวว่า”ข้าพเจ้ายอมอดตาย  ก็จะไม่ค้อมคำนับเพื่อเบี้ยหวัดข้าวห้าโต่วและคนต่ำช้าสามานย์เช่นนี้”  (หนึ่งโต่วเท่ากับสิบลิตร) พูดจบเขาได้เขียนหนังสือลาออกจากตำแหน่งทันที  ลาออกจากตำแหน่งนายอำเภอที่ดำรงอยู่กว่า ๘๐ วัน  จากนั้นเถาหยวนหมิงไม่กลับเข้ารับราชการอีกเลย (ที่มา http://thai.cri.cn/chinaabc/chapter16/chapter160404.htm)




<h4> เหมาเจ๋อตง นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ของจีนเคยเขียนบทกวีพาดพิงไปถึง เถาหยวนหมิงและสวนดอกท้อของท่าน บทกวีชิ้นนี้ชื่อ “ขึ้นหลูซาน” เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2502 สำนวนแปลของ ทวีป วรดิลก (นามปาก ทวีปวร)</h4>

ท่านเถาหยวนหมิงไปไหน    มุ่งสู่สถานใดในหน
ดินแดนดอกท้อสถิตยล      ไถนาได้ผลหรือไร  (กวีเต๋าเถาหยวนหมิง หน้า 12)



คืนสู่ชนบท
เถาหยวนหมิง แต่ง
โชติช่วง นาดอน แปล
เนารัตน์  พงษ์ไพบูลย์ ร้อยกรอง


ข้ามิอาจปล่อยตัวตามกระแส                   ด้วยธาตแท้ข้ารักอยู่ภูดอยผา
เคยหลงเข้าข่ายโลกีย์นานปีมา                ถึงสิบสามปีพาข้าหลงไป
นกในกรงถวิลหาถิ่นป่าเก่า                      ปลาสระเล่าถวิลหาสาครใหญ่
บัดนี้ข้าเบิกร้างถางถิ่นไพร                      ดังเคยให้คำมั่นจักหันคืน      

อยู่กับที่กระผีกริ้น ผืนดินข้า                    กระท่อมหญ้าหลังน้อยก็พลอยชื่น
หลิวครึ้มลานหลังร่มคลุมห่มพื้น               ลานหน้ารื่นสาลี่ท้อ ลออราย
หมู่บ้านห่างห่างอยู่ดูตะคุ่ม                      ควันจับกลุ่มเคลื่อนคล้อยค่อยลอยหาย
เสียงหมาเห่าอยู่ตามตรอกซอกทางกราย  ไก่ขันเจื้อยแจ้วกระจายปลายหม่อนนั้น

บ้านห่างร้าง อลวลสับสนกระแส               ห้องโล่งแต่ปิติหฤหรรษ์
นกน้อยถูกขังกรงมานานครัน                  บัดนี้ผันคืนรังอีกครั้งครา
ชนบทไร้บันเทิงเริงสถาน                        ทุกตรอกย่านไร้จอแจรถแห่หา
ยามกลางวันหับประตูไม่ตรูตรา                ห้องว่างเปล่าไม่ต้องมาคอยห่วงใย

ความเป็นอยู่ในหมู่บ้านนั้นธรรมดา           คนแหวกหญ้าหาสู่อยู่ชิดใกล้
ไม่ต้องมีทีท่ามายาใด                             ยามพบหน้าปราศรัยไร่หม่อนปอ
ทั้งต้นหม่อนต้นปอก็เริ่มใหญ่                   ดินข้าไถข้าถากมากแล้วหนอ
กลัวหิมะเหมยร้ายทำลายกอ                    เหลือแต่ตอตายเห็นเป็นพงร้าง

ปลูกถั่วอยู่เชิงหลูซานงานเหนื่อยยาก       ถั่วไม่มากแต่หญ้าดกรกเหลือถาง
ออกดายหญ้าแต่รุ่งตะวันลาง                  แบกจอบพลางจูงจันทร์กลับบ้านเรือน
ทางแคบไม้ครึ้มคร่าหญ้ารกรื้น                หมอกค่ำคืนชื้นเสื้อชื้นเหงือเปื้อน
เปื้อนไปเถิดเปื้อนเปรอะเปื้อนเลอะเลือน     ไม่กระเทือนปณิธานอันมั่นคง

ห่างป่าเขาลำเนาไพรไปนานนม              บัดนี้ข้าได้มาชมไพรระหง
กับลูกหลานฝ่าไปในไพรพง                    เที่ยวดั้นดงถึงสถานหมู่บ้านร้าง
เดินเวียนวนด้นอยู่ในสุสาน                      แล ทำเลหย่อมย่านอันกว้างขวาง
ยังเห็นซากบ่อเก่าเตาไฟวาง                   แลเศษไผ่หม่อนค้างอยู่กลางคัน

ลองถามคนตัดฟืนช่วยยืนชี้                    คนเหล่านี้หนีไปที่ไหนนั่น
คนตัดฟืนตอบคำที่ถามพลัน                   เขาทั้งนั้นตายหมดไม่เหลือเลย    
จริงดั่งคำ "สามสิบปีทุกที่เปลี่ยน"            ไม่ผิดเพี้ยนเลยสักนิด นิจจาเอ๋ย
ชีวิตคนดั่งมายามายั่วเย้ย                      แล้วลงเอยสู่ความว่างเช่นดังนี้

ถือไม้เท้าย่ำทางอย่างหมองหม่น             เดินวกวนตามทางหว่างวิถี
ถึงธารติ้นรื่นพักวักวารี                           พอล้างเท้าเข้าถึงที่กระท่อมทับ
เอาเหล้าหมักออกมากรองร้องทักเพื่อน    เมื่อตาวันผันเผื่อนเลื่อนห้องหับ
จุดคบไต้ต่างเทียนเวียนไหววับ               โอราตรีมีแต่ลับล่วงเร็วจริง
       

(จากหนังสือ กวีเต๋าเถาหยวนหมิง โดย ทองแถม นาถจำนง หน้า  118-120)   



ภาพวาด เถาหมิงกับดอกเบญจมาศ ฝีมือ สือเถา พ.ศ.2184-2260  (กวีเต๋าเถาหยวนหมิง หน้า 8)

คำสำคัญ (Tags): #เถาหยวนหมิง
หมายเลขบันทึก: 191850เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2008 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • แวะมาทักทายครับ
  • น้องกวิน
  • พรุ่งนี้ โรงเรียนพี่
  • รอรับการตรวจ Smart School  ครับ
  • สบายดีนะครับ
  • สวัสดีครับพี่ยม เอ้ยพี่โย่ง (พี่โย่งหน้าเหมือนพี่ยม ในละครเป็นต่อ เลยจำสับซน ขอโทษทีค้าบ)
  • ขอให้ผ่าน การตรวจ Smart School 
  • ขอบคุณค้าบไปอายบน้ำนอนก่อนนะครับ

คุณกวินคะ

  • มาอ่านด้วยความ...อิ่มเอมจังเลย ชอบมาก ๆ ๆ ๆ
  • ชอบปรัชญาเต๋า..เพราะอ่านแล้วไม่ค่อยรู้เรื่อง...เลยยิ่งอยากอ่าน อ่านแล้วก็รู้สึก...ใหม่ ๆ ทุกครั้งค่ะ
  • เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเถาหยวนหมิง..ทำให้หวลนึกถึงเหตุการณ์ในบ้านเมืองเราไม่ได้ ไม่ทราบว่าจะมีคนเช่นท่านที่ต้อง...ยอมถอยออกมาจาก...ความสามานย์ของการเมืองในขณะนี้กี่คนกัน
  • ชอบตรงที่คุณกวินทำตัวเน้นไว้...
  • ชีวิตคนดั่งมายามายั่วเย้ย  แล้วลงเอยสู่ความว่างเช่นดังนี้
  • ถ้าตระหนักได้ตรงนี้แล้ว...ทุกคนคงมีความสุขได้มาก ได้ง่ายขึ้น และทุกข์น้อยลง เพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง
  • ขอบคุณบันทึกดี ๆ อ่านแล้ว อิ่มใจ มีความสุขค่ะ
  • (^__^)

 

 

  • นำภาพวาดจีนมาฝากคุณกวินแทนคำขอบคุณ จากหนังสือ เต๋าเต็กเก็ง ค่ะ
  • ชื่อภาพ ท่องเที่ยวสัญจรไปในระหว่างขุนเขาและสายน้ำ ฝีมือของศิลปิน ฟานก๋วน ค่ะ

สวัสดีครับคุณกวิน

ตามคุณคนไม่มีรากเข้ามาอ่านครับ  ผมก็ชื่นชอบเรื่อง เต๋า และแนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาจีนมากเช่นกัน

เป็นบทความที่ให้แง่มุมของความคิด  สำหรับผมแล้ว การต่อสู้ทำลายกันไม่ใช่เรื่องยาก แต่ที่ยากกว่าคือ..การพยายามไม่ทำร้ายกันมากกว่าครับ  และดังนั้นการที่เถาหยวนหมิงหลีกลี้ราวกับคนขลาด (ดังที่คุณคนไม่มีรากกล่าวถึงบ่อย ๆ ) จึงไม่ใช่การยอมแพ้ แต่ยอมถอยเพื่อประนีประนอม..รอวันบุกประชิดและมีชัยต่างหาก

คงต้องมาเป็นแฟนประจำคุณกวินอีกคนครับ

  • สวัสดีครับ คนไม่มีราก
  • ขอบคุณสำหรับภาพท่องเที่ยวสัญจรไปในระหว่างขุนเขาและสายน้ำ ฝีมือของศิลปิน ฟานก๋วน  นะครับ
  • ยกหนังสือเรื่องนี้ขึ้นมา เผยแพร่ ก็เพราะนึกถึงคนไม่มีรากนะครับ ฮาๆเอิ๊กๆ
  • เพราะเห็นว่าชอบไปเรียนพิเศษที่ มหาวิทยาลัยราชดำเนิน
  • ขอมอบไว้ให้เป็นบรรณาการแด่ มิตรรักอักษรา  คนไม่มีราก  และมิตรรักอักษรา ท่านอื่นๆ ด้วยนะครับ
  • ส่วนเรื่องการเมืองในยุคปัจจุบัน ขอละไว้ในฐานที่เข้าใจ นะครับ
  • สวัสดีครับ คนตัดไม้
  • ผมก็ชอบอ่านแนวคิด และปรัชญาของจีนอยู่บ้างนะครับ
  • อย่างเรื่อง เต๋า ก็อ่านมาบ้างอย่างผิวเผิน ครับกำลังหาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมตามแต่โอกาสจะอำนวย ขอขอบคุณ คนตัดไม้  ครับที่กรุณาติดตามอ่าน

สวัสดีค่ะคุณกวิน

  • ใบไม้ได้รู้จักกับกวีเถาหยวนหมิง  เพราะได้สนทนากับคุณกวินผ่านบันทึกเก่า ๆ
  • ใบไม้เลยค้นหากวีเถาหยวนหมิงจากอินเตอร์เน็ต และได้อ่านประวัติจนรู้จักท่านมังกรผู้ซุ่มซ่อนตนบ้าง
  • ขอบคุณคุณกวินอีกครั้ง ที่แนะนำให้รู้จักกวียิ่งใหญ่ท่านนี้ และนำบทกวีของท่านมาให้ซึมซับอีกด้วย
  • อ่านแล้วอยากกลับไปขึ้นเขาเข้าป่าอยู่ท่ามกลางธรรมชาติจังเลย..
  • ท่านกวีคนจริงผู้ยิ่งใหญ่ มังกรผู้ซุ่มซ่อนตนผู้ล่วงลับไปแล้ว โปรดรับการคารวะจากผู้น้อยที่อ่อนเขลาผู้นี้ด้วยเถิด..
  • น้อมคารวะจรดผืนดินทั้งกายและใจ..

สวัสดีครับ

อิๆ

ซื้อจากแฟรี่แลนด์

  • สวัสดีครับคุณ  ใบไม้ย้อนแสง
  • ผมก็เพิ่งศึกษาประวัติ ท่านเถาหยวนหมิง ครับ
  • แต่ซื้อหังสือมานานแล้วตอนนี้กลับมาอ่านอีกที เลยนำมา ลปรร ไว้น่ะครับ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ สบายดีนะครับ
  • สวัสดีครับอาจารย์  ธ.วั ช ชั ย
  • ใช่แล้วครับซื้อที่ แฟรี่แลนด์ ช่วงลดราคา
  • ซื้อมาใกล้ๆ กับหนังสือ
  • สูตรของเว่ยหล่าง  (ยังอ่านไม่จบ อ่านไม่เข้าใจ)
  • คำสอนของฮวงโป (ยังอ่านไม่จบ อ่านไม่เข้าใจ)
  • ที่เขียนไว้โดยท่าน พุทธทาส น่ะครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมค้าบบบ

มาทักทายคุณกวินค่ะ

สบายดีนะคะ ...^_^..

  • มี สูตรของเว่ยหล่าง  เหมือนกันค่ะ
  • เมื่อก่อนชอบอ่านหนังสือเซ็น
  • ย้ายบ่อย หนังสือหายไปเยอะ บางทีเพื่อนยืมแล้วไม่คืน
  • แต่เล่มนี้ไม่มีค่ะ โอโหหนังสือดีมากๆไว้ต้องไปหาเก็บไว้บ้างแล้วค่ะ
  • สวัสดีครับพี่ naree suwan
  • หนังสือเล่มนี้เชื่อมั้ยครับว่า ราคา แค่ 30 บาทเอง (ซื้อขายหัวเราะได้ 2 เล่ม) มี 120 หน้า
  • แต่ผมซื้อตอนลดราคาเหลือเล่มละ 20 บาท ฮาๆเอิ๊กๆ คุ้มจริงๆ
  • คิดว่าน่าจะมีพิมพ์อีกนะครับแต่ไม่รู้ว่าเมื่อไร
  • หนังสือประวัติ-ปรัชญาดีๆ ส่วนมากจะขายไม่ค่อยออกน่ะครับ นำมาลดราคาแล้วลดราคาอีกก็ไม่ค่อยมีคนสนใจซื้อเท่าไร

 

ตามมาจากเวปคนไม่มีรากค่ะ

ชอบแนวเต๋าเช่นกันค่ะ...เป็นแนวคิดที่แตกต่างจากคนในสังคมทั่วไป เราอาจไม่ค่อยเข้าใจ....

เชื่อไหมคะ มีคนเช่น เถาหมิงหยวนอีกมากเลยค่ะ ที่ไม่ยอมก้มหัวให้กับนักการเมืองฉ้อฉล โกงชาติ ยอมออกมาอยู่แบบคนไม่มีตำแหน่งค้ำคอดีกว่าก้มหัวให้ทรราชค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ อมิตดา ครับ เชื่อไหมคะ มีคนเช่น เถาหมิงหยวนอีกมากเลยค่ะ ที่ไม่ยอมก้มหัวให้กับนักการเมืองฉ้อฉล โกงชาติ ยอมออกมาอยู่แบบคนไม่มีตำแหน่งค้ำคอดีกว่าก้มหัวให้ทรราชค่ะ เชื่อครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท