ความฉลาดทางอารมณ์


ความฉลาดทางอารมณ์กับความสำเร็จในการทำงาน

ความสำเร็จนั้นต้องการมากกว่าความสามารถทางเชาว์ปัญญาหรือความรู้ความเชีียวชาญทางด้านเทคนิค ในตลาดงานที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง คุณภาพในตัวเรา เช่น การฟื้นคืนกลับสู่ความเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การมองโลกในแง่ดี ความสามารถในการปรับตัวได้ดี และการมีความรู้สึกเข้าอกเข้าใจคนอื่น ต่างๆ เหล่านี้ ...เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่ง และที่เราเรียกว่าความฉลาดทางอารมณ์์

ความสามารถทางอารมณ์อยู่พื้นฐานของ 5 เรื่องหลัก คือ

1. การมีความตระหนักในตัวเอง (Self-Awareness) ตระหนักถึงอารมณ์ของตนเอง และใช้มันอย่างถูกต้อง

2. การรู้จักควบคุมตัวเอง (Self-Regulation) การรู้่จักมีจิตสำนึกรัีบผิดชอบชั่วดี

3. การมีแรงจูงใจ (Motivation) มีความมุ่งมั่นพัฒนาการทำงานให้สำเร็จดังที่ตั้งใจไว้

4.ความเข้าอกเข้าใจ/เห็นใจคนอื่น (Empathy) ตระหนักว่าคนอื่นรู้สึกและคิดอย่างไร ในขณะเีดียวกันก็มีความสามารถที่จะโน้มน้าวใจคนประเภทต่างๆ ได้

5. ทักษะทางสังคม (Social Skills) มีการบริหารจัดการตัวเองที่ดี มีปฏิสัมพันธ์กับคนอย่างเหมาะสม ร่วมมือกับคนอื่นได้ดี

ความฉลาดทางอารมณ์ไม่ได้หมายถึง การทำตัวให้เป็นคนน่ารัก หรือการแสดงอารมณ์ความรู้สึกของเราในแบบใดแบบหนึ่ง แต่หากคือ การเรียนรู้ที่จะแสดงอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ในรูปแบบที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสมได้อย่างดี และสามารถที่จะเข้าใจ/เห็นใจคนอื่น และทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดีต่างหาก...

สรุปได้ว่า ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นการพัฒนาการทางอารมณ์อย่างมีวุฒิภาวะ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ และเข้ากับคนอื่นๆ ได้ดี แก้ปัญหาทางอารมณ์ได้อย่างสร้างสรรค์ เป็นความฉลาดที่ต่างไปจากความฉลาดทางปัญญา IQ ซึ่งเน้นความสามารถทางภาษา ตรรกวิทยา และคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงจะทำงานและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีโอกาสประสบความสำเร็จ และมีความสุขในชีวิต มากกว่า....

                                                                                                           ดาเนียล โกลแมน...

 

หมายเลขบันทึก: 191843เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2008 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

การเรียนรู้ว่าจะแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ในรูปแบบที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม

........................

ดีมากเลยคะ

ขอบคุณคะ

ขอบคุณมากคะ คุณดอกแก้ว ....ยินดีที่ได้รู้จักคะ...รุ่นพี่ มอ.คะ....

  • บางเวลา บางช่วง เราไม่สามารถแสดงออก
  • บ่อยครั้งเข้า กลายเป็นความเก็บกด ขัดแย้งในใจ
  • -------------
  • สังคมไทยไม่ชอบการวิพากษ์
  • ภาวะตามน้ำ เอาคัวรอดเป็นยอดดีเกิดขึ้นเสมอ
  • --------
  • หากใครควบคุมตัวเองได้ทุกเรื่องคงเป็นการดีนะคะ
  • แต่ยอมรับค่ะว่าตอนนี้ยังทำไม่ได้ แม้จะไม่โต้เถียง แต่ก็ยังรู้สึกขัดแย้งในใจเสมอ ซึ่งไม่ดีกับสุขภาพเลย

สวัสดีคะ คุณ นารี

ขอบคุณมากคะ ที่ร่วมให้ความคิดเห็น ใช่คะ เราไม่สมควรจะเก็บกด แต่ต้องพยายามปรับตัวให้เราอยู่ในภาวะอารมณ์นั้นให้น้อยที่สุด เท่าที่ทำได้ ค่อยๆ ฝึกไปคะ ดิฉันก็พยายามอยู่คะ

คนที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ และมีความสุขในชีวิตนั้น เป็นเรื่องที่ บุตุชนเข้าใจ ยาก และ คนที่จะมีความสุข/ความสำเร็จ จะต้องมีต้นทุนสูงมากๆ...

ข้อความดีมากครับ...

(J) ปรม. รุ่นที่ 5

ขอบคุณ คุณ ณรงค์มากคะ....ดิฉันเห็นด้วยคะ..."คนที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ และมีความสุขในชีวิตนั้น เป็นเรื่องที่ บุตุชนเข้าใจ ยาก" จริงๆ คะ...บางคน เดินทางมามากกว่าครึ่งนึงของชีวิต ยังหาไม่พบเลยคะ....ขอบคุณมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท