นาหว่านที่ศรีสะเกษ ลงมือช้าเพียงวัน อาจหมายถึงการต้องซื้อข้าวกินตลอดปี (3)


Dsc03361 

(ผลพวงจากการที่นาหว่านของพี่น้องชาวนามีน้ำเร็วกว่าปกติ  ก็คือการที่ต้องลงทุนเพิ่มในด้านสารกำจัดหอยเชอรี ที่ชาวนาต้องสูญเสียและขาดทุนอีกหลายเด้ง)

************

นอกจากการที่พี่น้องต้องลงทุนในการทำนาเป็นจำนวนมหาศาล

แต่เปราะบางเสี่ยงต่อการเสียหายอย่างง่ายๆดังที่กระผมได้กล่าวมาใน 2 ตอนที่แล้ว

ผลพวงอีกอย่างที่พี่น้องชาวนาแถวศรีสะเกษต้องลงทุนเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนไม่น้อย

ในกรณีที่ฝนฟ้ามาเร็วกว่าปกติก็คือ

"ค่าสารเคมีกำจัดหอยเชอร์รี่"

ซึ่งแน่นอน 

เราทุกคนทราบดีว่าสิ่งดังกล่าวมีราคาแพง และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมทั้งมวล

รวมทั้งสุขภาพของพี่น้องชาวนาเองด้วย

แต่ดูเหมือนว่าพี่น้องชาวนาของเราจะมิได้ใส่ใจใดๆเลย

ทุกคนดูเหมือนว่าพร้อมจะกระทำการหรือลงทุนอะไรก็ได้เพิ่มขึ้นอีก(ถ้ามีตังค์)

ขอเพียงต้นข้าวในส่วนที่เหลืออยู่เจริญเติบโตผ่านวิกฤติไปได้จนถึงออกรวง

เรียกว่า"ขาดทุนเป็นขาด ขอเพียงมีรวงข้าวให้เก็บเกี่ยวเป็นพอ"

นี่คือลักษณะของการลงทุนทำนาของพี่น้องในทุกปีที่ผ่านๆมา

เช่นในกรณีการเก็บเกี่ยว

ที่แม้รู้ทั้งรู้ว่าค่าจ้างเกี่ยวข้าวขึ้นจากนาที่มีน้ำขังสูงที่เกิดจากการที่พายุเข้าในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว (ประมาณปลาย ต.ค..-ธ.ค.)

จะแพงกว่ามูลค่าของเมล็ดข้าวสีคล้ำๆที่จะได้มา

(โดยไม่ต้องพูดถึงมูลค่าการลงทุนตั้งแต่เริ่มแรกเป็นต้นมาว่าหมดไปแล้วเท่าไหร่)

พี่น้องชาวนาก็ยังต้องจำใจจ้างเกี่ยว

เพราะทำใจไม่ได้ที่จะปล่อยข้าวทิ้งในนา

***********

....ที่จริง....

ทางแก้ของปัญหาดังกล่าวนี้

ก็มีพี่น้องชาวนาส่วนหนึ่งรู้เท่าทันธรรมชาติของฟ้าฝนและสภาพพื้นที่นาของศรีสะเกษบ้างแล้ว

กล่าวคือ

โดยปกติ  นาส่วนใหญ่ของศรีสะเกษ  จะเป็นที่ราบเรียบและค่อนข้างลุ่มต่ำ

ฟ้าฝนโดยมรสุมปกติจะมาค่อนข้างล่าช้า

แต่ส่วนใหญ่พื้นที่ในแถบแถวอีสานใต้

จะได้น้ำฝนที่มากับหางพายุลูกต่างๆ

ทั้งที่เกิดทางทะเลอันดามันและทะเลจีนใต้เป็นหลัก

ซึ่งบางปีจะมีพายุเข้าเร็วเช่นกรณี"นาร์กีส"และ"ฮาลอง"ในปีนี้

และไม่ว่าพายุจะมาช้าหรือเร็ว

ข้าวนาหว่านของพี่น้องชาวนาล้วนมีความเสี่ยงทั้งสิ้น

ถ้าพายุเข้าเร็ว ข้าวและนาก็จะเป็นเช่นปีนี้ 

ส่วนถ้าพายุเข้าช้า นาก็เผชิญกับหญ้า เพลี้ย และแมลง

หรือแม้แต่การยืนแห้งตายคานา

(แต่กรณีหลังนี้จะเกิดการเสียหายน้อยกว่า เพราะต้นข้าวจะมีความทรหดโดยธรรมชาติพอสมควร)

(2 ภาพต่อไปนี้ ถ่ายจากแปลงนาบริเวณเดียวกัน ห่างกันประมาณเดือนเศษๆ)

Dsc00998 

(นาหว่านแห้งในท้องที่อำเภอปรางค์กู่ ที่หว่านตั้งแต่ช่วงหลังสงกรานต์ไม่นาน เห็นที่พื้นนามีสีเขียวนิดๆ นั้นคือต้นข้าวที่เพิ่งงอกใหม่ๆ ไม่ใช่หญ้า)

Dsc02962 

(ต้นข้าวจะตั้งตัวได้ดีก่อนที่นาจะมีน้ำ ซึ่งจะสามารถทนแล้ง ทนน้ำท่วมได้นานวันกว่า และด้วยความที่ลำต้นแข็งแกร่ง จึงทำให้ปลอดภัยจากหอยเชอร์รี่มากขึ้น)

***********************

ดังนั้น

พี่น้องชาวนาส่วนหนึ่งจึงต้องรีบหว่านข้าวตั้งแต่ก่อนสงกรานต์

แต่ส่วนใหญ่ก็จะรีบเร่งเต็มที่ก็ประมาณหลังสงกรานต์ถึงช่วงไม่เกินกลางเดือนพฤษภาคมเป็นอย่างช้า

ซึ่งเรียกว่า "การทำนาแบบหว่านแห้ง"

เป็นการทำนาหว่านแบบฝากแม่ธรณีไว้

เมื่อดินมีความชื้นพอเพียง เมล็ดข้าวที่หว่านไถกลบไว้ ก็จะงอกออกมาเอง

ซึ่งต้นข้าวที่งอกในลักษณะนี้  จะมีความแข็งแรงโดยธรรมชาติมากกว่า

สามารถทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี

แม้ฝนฟ้าจะมาช้าบ้าง  ก็ไม่ทำให้ต้นข้าวเสียหายมากนัก

และพอได้น้ำฝนหรือความชื้นเป็นระยะๆ

ก็จะแตกกออย่างเต็มที่(แตกกอดีกว่าข้าวหว่านช้า)

สามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าหญ้าที่ขึ้นพร้อมกันซะอีก

ข้อสำคัญ

ข้าวที่งอกก่อนที่จะมีน้ำขังในนานานๆ

จะมีเวลาในการเจริญเติบโตและสร้างความแข็งแกร่งให้กับตัวเองอย่างเต็มที่

จนรอดพ้นจากการเป็นอาหารอันโอชะของแมลงและหอยเชอร์รี่จอมเขมือบ  ที่มีการขยายและกระจายพันธุ์อย่างรวดเร็วเมื่อน้ำเต็มนาได้อีกด้วย

Nawan7 

(ข้าวที่งอกใหม่ๆแล้วมีน้ำขังในนาทันที จะถูกหอยเชอร์รี่กัดกินเสียหายยับเยินเช่นนี้ )

*******

และด้วยสภาพการณ์ที่ฝนฟ้ามักมาไม่แน่นอน

อันเป็ผลจาก "สภาวะโลกร้อน" เช่นนี้

พี่น้องชาวนาที่ศรีสะเกษจึงจำต้องรีบเร่งลงนาหว่านข้าวให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

โดยเฉพาะถ้าเห็นฝนเริ่มมาบ่อยครั้งในช่วงเมษายน

จะต้องรีบเร่งให้เร็วที่สุดเป็นกรณีพิเศษ

(แต่พี่น้องชาวนาหลายคนก็ยังหัวเราะเยาะคนที่เร่งรีบหว่านข้าวในช่วงนี้อยู่) <h3 style="text-align: center;">เพราะถ้าขีนชักช้า  นั่นหมายความว่าปีนั้น</h3> <h2 style="text-align: center;">“อาจต้องนา ทิ้งลูก ทิ้งถิ่นไปรับจ้างหาเงินมาซื้อข้าวกิน”</h2> <h2 style="text-align: center;">โดยปล่อยให้คนเฒ่าคนแก่และโรงเรียน</h2> <h2 style="text-align: center;">รับกรรมในการเลี้ยงดูลูกน้อยกลอยใจแทน</h2> <h3 style="text-align: center;">ทั้งปีก็เป็นได้</h3> <h3 style="text-align: center;">*********</h3>

หมายเลขบันทึก: 189936เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2008 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีครับครูวุฒ
  • วิเคราะห์ได้รอบด้านดีจริง ๆ
  • ใช่ครับปีนี้หอยเชอร์รี่ระบาดหนัก...
  • หลังจากที่ซุ่มตัวอยู่หลายปี ชาวนาเริ่มนอนใจไม่เก็บตัวทำลาย
  • ปีนี้ฝนมาเร็ว ออกไข่แพร่พันธุ์ได้หลายรุ่นก่อนชาวนาปลูกข้าว
  • ได้ยินว่าใช้ฝักต้นคูณแก่ ทุบแล้วหว่านในนา ช่วยป้องกันหอยเชอร์รี่ได้ แต่คงต้องรอปีหน้าจึงจะหาฝักคูณได้
  • ช่วงนี้ใช้มะกรูด ฝ่าแช่น้ำ 1 คืนก่อน หรือไม่ก็เถาดอกเล็บมือนาง หรือเปลือกมังคุด พอช่วยได้ครับ

Pสวัสดีครับท่านเกษตร(อยู่)จังหวัด 

  • ครับ ในฐานะที่เป็นลูกชาวนา ยังทำนาเอง และพาเด็กๆที่โรงเรียนทำนาอยู่ด้วย ก็เลยลองพยายามพาเด็กๆเขาสังเกตปัจจัยแวดล้อมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการทำนาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  เผื่อพอจะช่วยไม่ให้ต้องซื้อข้าวกินน่ะครับ (แพงด้วย)
  • เรื่องหอยเชอร์รี่ ปีนี้น้องชายผมเขาเก็บมาหมักแบบธรรมดาๆ เสร็จแล้วนำไปผสมน้ำสาดลงในนาข้าว  ปรากฏว่าข้าวงามสุดๆพอๆกับการที่เราใส่เคมี 15-15-15 เลยครับ ผมเลยบอกเขาว่า นี่แหละสิ่งที่เทวดาให้มา ปุ๋ยธรรมชาติที่ไม่ต้องซื้อต้องหา  ทำได้ไม้อั้น ถ้าขยันขึ้นสักหน่อย
  • ปีนี้เลยจะลองหมักให้ได้มากๆ  แล้วลองใช้เจ้านี่อย่างเดียวครับ (ปุ๋ยเคมีแพงด้วย)
  • เดี๋ยวจะถ่ายรูปมาให้ดูในโอกาสต่อๆไปนะครับ
  • สวัสดีครับ

ไหว้ครูค่ะ

ขอให้คุณครูมีสุขภาพแข็งแรงนะคะ

  • รับไหว้จากครูกั๊ดด้วยความยินดี
  • ขอบคุณมากสำหรับคำอวยพร ขอให้เผื่อแผ่ถึงครูกั๊ดด้วยนะครับ
  • ไปเยี่ยมที่บล๊อกครูกั๊ดหาสมุนไพร ของหม่ำแซบๆ และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมาแล้วล่ะ  คงได้นำไปประจงลงมือทำกันบ้างสักครั้ง เพราะเป็นแบบและแนวที่ชอบๆทั้งนั้น
  • อย่าลืมแวะมาอีกนะครับ
  • สวัสดีครับ
  • สวัสดีครับครู..
  • พอมีเวลาว่างตามมานี่หน่อยไหมครับ ข้างล่างนี่ครับ
  • http://gotoknow.org/blog/pree-d2/190490
  • ...อยากรู้จังกินอะไรถึงขยันขนาดนี้...
  • ครูวุฒิขาฝนทิ้งช่วงอีกแล้วเป็นห่วงนาในที่ดอนค่ะ
  • เฮ้อศัตรูตัวฉกาจนี้ขอให้กำจัดได้โดยเร็วนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท