สอนอย่างไร จึงจะทำให้นักศึกษาเกิด "จึตสำนึก" ใน "การสวมหมวกกันน็อค" เพื่อตัวของเขาเอง ?


จิตสำนึกต้องเกิดจากการมองเห็น การสัมผัสด้วยประสาททั้งห้า ...

ทุก ๆ ภาคเรียน ... การเสียชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยท้องถิ่นมีสาเหตุมาจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุรถล้ม รถชนกัน เมาแล้วขี่ ขี่แล้วเมา (ล้ม) ไม่เสียชีวิต ก็นอนแอดมิตกันยาวนาน บางคนก็เอ๋อ ๆ เบลอ ๆ เพราะมีการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างนัก และส่วนใหญ่ที่เกิดเหตุร้ายแรงขึ้น คือ ไม่สวมหมวกกันน็อค จึงทำให้จากที่น่าจะไม่หนักมาก ก็หนักขึ้นมาทันที เพราะไม่มีอะไรมาป้องกันหัวและสมอง

เด็กเรียนมหาวิทยาลัย อายุอยู่ประมาณ 18 - 23 ปี ยกเว้นพวกเรียนภาคพิเศษ ทำงานแล้ว พวกนี้จะอายุเยอะกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กภาคปกติ ถือเป็น วัยรุ่นตอนปลาย ก่อนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ทำอะไรก็จะเชื่อเพื่อนมากกว่าเชื่อผู้มีอาวุโสกว่า อย่างครูกับอาจารย์ หรือ แม้กระทั่งพ่อแม่ อันมาจากวัยใช้แรงเยอะ (ไม่ใช่ แรงเยอร์)

ผมเองก็มีพาหนะหลัก คือ รถมอเตอร์ไซค์เก่า ๆ อยู่คันหนึ่ง ทุก ๆ ครั้งที่ไปไหนผมจะสวมกันน็อคทุกครั้งจนเป็นนิสัย

ผมลองมาถามตัวเองอยู่เหมือนกันว่า ทำไมผมจึงสวมหมวกกันน็อค ? คำตอบง่าย ๆ ก็คือ ผมกลัวตาย ผมไม่ต้องการให้พ่อกับแม่เสียใจ อีกประการหนึ่ง ผมยังไม่ได้ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่เลย แล้วผมจะเสี่ยงตายโดยความประมาทอย่างนั้นทำไม รักความสบายแบบที่วัยรุ่นพวกนี้คิดทำไม

การสอนนักศึกษาของผมในทุก ๆ วิชา ผมพยายามที่จะสอดแทรกเรื่องราวของ "การสวมกันน็อคเพื่อใคร ?" อยู่เสมอ มันเป็นคำถามที่ผมชอบถามว่า

  • ทำไมถึงไม่ชอบสวมหมวกกันน็อค ?

คำตอบมีอยู่ไม่กี่คำตอบจากปากวัยรุ่นที่ไม่เคยคิดถึงพ่อแม่ นอกจากคิดถึงแต่ตัวเอง คือ

  • มันรำคาญครับ อาจารย์
  • มันไม่เท่ห์ครับ อาจารย์
  • ไกล ใกล้แค่นี้เองครับ อาจารย์
  • มันมองเห็นไม่ชัดครับ อาจารย์

แต่ยิ่งไปกว่านั้น มีเด็กคนหนึ่งตอบว่า

  • ผมไม่ใส่หรอกครับ เพราะว่า คนเราจะถึงที่ตาย ก็ต้องตาย ถ้าผมไม่ถึงที่ตาย ผมก็ไม่ตาย (แต่มันลืมไปอย่าง ถ้าพิการขึ้นมา ใครคือคนต้องมาดูแลเหรอ ฮึ)

ถามต่อไปว่า แล้วการใส่หมวกกันน็อคเพื่ออะไรครับ ?

คำตอบ คือ

  • ป้องกันตำรวจจับครับ
  • กันอุบัติเหตุครับ (รู้ แต่ไม่ทำ)

ผมก็พยายามสอนเขาว่า ... ป้องกันตำรวจจับไม่สำคัญมากกว่าชีวิตของพวกเราเอง

ผมมักจะใช้ตัวอย่างของผลที่เกิดจากการไม่สวมกันน็อคว่า เป็นอย่างไร ?

ตาย ดีกว่า พิการ ... เพราะตาย พ่อแม่ก็เสียใจแป๊บเดียว แต่ถ้าพิการ พ่อแม่ต้องมานั่งหยอดข้าว ให้ตลอดอายุขัยของเธอ พ่อแม่เธอแก่แล้ว เธอต้องการอย่างนั้นหรือ ?

แค่ไม่สวมกันน็อคแค่นี้ เป็นเรื่องหนักขนาดนี้เชียวหรือ พวกเด็ก ๆ คงคิด แต่เด็ก ๆ มักจะไม่ค่อยมองให้ไกล ๆ มองแค่เอาความสบายส่วนตัวก่อน ความรักที่มีต่อพ่อแม่

ผมยังพยายามควานหาสื่อวีดิทัศน์ที่เป็นเรื่องราวเหล่านี้ แต่ยังหาไม่ได้

 

ได้แต่สอนเขาได้เพียงนี้ ... หรือจะเอาไปดูอาจารย์ใหญ่ที่คณะแพทย์ดี อันนี้คิดอยู่

จิตสำนึกต้องเกิดจากการมองเห็น การสัมผัสด้วยประสาททั้งห้า ...

การสอนคนให้มีจิตสำนึก ... ยากชะมัด

 

ดังนั้น ผมจึงอยากขอถามว่า สอนอย่างไรจึงจะทำให้นักศึกษาเกิดจึตสำนึกในการสวมใส่หมวกกันน็อคเพื่อตัวของเขาเอง ?

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ .. เรื่องนี้สำหรับผม สำคัญมาก

 

บุญรักษา ครับ :)

หมายเลขบันทึก: 189268เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2008 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
  • ที่มหาวิทยาลัยแถวโคราช
  • นักศึกษาใส่กันยามจับ
  • ผมใส่ประจำเหมือนกัน
  • เป็นความเคยชิน
  • ปลอดภัยดีด้วยครับ
  • เป็นอะไรสมองจะได้ไม่กระจาย
  • กลัวศพไม่หล่อ
  • ฮ่าๆๆๆ
  • อันนี้พิมพ์ผิดใช่ไหมครับ
  • ไกลแค่นี้เองครับ อาจารย์
  • ใกล้เนอะ

สวัสดีค่ะอาจารย์..

  • เวลาบอกสอนกันบ่อยๆ แล้วนักศึกษารำคาญค่ะ
  • มีข้ออ้างได้สารพัดค่ะ
  • ที่วิทยาลัยถ้านักศึกษาไม่ใส่หมวกกันน็อคจะไม่ยอมให้เข้าไปในวิทยาลัยได้ค่ะ
  • แต่เวลาอยู่ข้างนอกนักศึกษาก็ไม่ใส่อยู่ดีค่ะ ยิ่งเวลาดึกๆ ตำรวจไม่จับแล้ว
  • เฮ้อ..ยังไม่มีมาตรการที่ทำได้สำเร็จเลยค่ะ
  • คอยดูท่านอื่นๆดีกว่าค่ะว่าทำอย่างไรกันบ้าง
  • เป็นกำลังใจให้อาจารย์นะคะ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ
  • คิดถึงอาจารย์เสมอๆค่ะ

จิตสำนึกต้องเกิดจากการมองเห็น การสัมผัสด้วยประสาททั้งห้า ...

สนับสนุนค่ะ

สอนเรื่องจิตสำนึกสอนยาก ต้องเจอด้วยตัวเอง เจอโดยตรง หรือเจอโดยอ้อมคือเพื่อนคนใกล้ชิดที่รู้จัก รัก ประสบเหตุ อาจจะพอเพิ่มความคิดที่จะระวังตัวบ้างมั้ยคะ แต่คิดอีกทีหากว่านักศึกษาหรือเด็กๆ เหล่านั้นจะมีเพื่อนที่เป็นคนดีมีจิตสำนึกที่ดีและมีอิทธิพลมากพอที่จะช่วยเตือน ช่วยโน้มน้าวให้เพื่อนๆ คิดใหม่ สำนึกใหม่ สามารถชี้ให้เห็นว่า ควรจะประพฤติปฏิบัติตามกฎที่เขากำหนด น่าจะช่วยผ่อนแรง(ใจที่เหน็ดเหนื่อย)ของอาจารย์ หรือพวกผู้ใหญ่ได้

อย่าว่าแต่การสวมหมวกเลยค่ะอาจารย์ ถนนแถวคันคลองในเชียงใหม่ หรือเส้นทางไฮเวย์ที่เอาหินปูนก้อนใหญ่มาปิดกั้น ยังรั้งไม่อยู่เลยค่ะ ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่เหมือนกันหมด เป็นห่วง (คนที่รักพวกเขาที่อยู่ทางบ้าน)จังค่ะ

เฮ้ จะโดนรุมไหมคะเนี่ย

สวัสดีครับ อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง  :)

มาเป็นท่านแรกเลย ...

ใส่กัน "รปภ." จับหรือครับ โถ ๆๆๆ ไม่ต่างกัน ๆ

สมองของอาจารย์ไม่กระจาย เหมือน ปลอดภัยใน V O L V O ... ใช่ไหมครับ คือ เหล็กแข็ง แต่หมดลมหายใจในรถนั่นเอง :)

ผมได้แก้ไข "ไกล" เป็น "ใกล้" แล้วนะครับอาจารย์

แสดงว่า อาจารย์อ่านละเอียดจริง จึงพบข้อผิดพลาด

แบบนี้ต้องระวังตัวเองไว้ โดยเฉพาะระวังอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง  นั่นแหละ อิ อิ

ขอบคุณครับ :)

สวัสดีครับ น้อง มะขามอ่อน/ครูมิม :)

ถูกต้องแล้วครับ วัยรุ่นมันเบื่อคำบ่นจากคนแก่

เราพูด มันว่าเราบ่น ... ไม่เห็นโรงศพ ไม่หลั่งน้ำตา

ถ้าไม่ใช่ลูกศิษย์ ควรตายไปให้เพื่อนคนอื่นเห็นซะเลยน่าจะดี

มาแนวโหดครับ :)

ขอบคุณครับ :)

สวัสดีครับ พี่หม่อม ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี :)

เรื่องนี้หนักใจอยู่น่ะครับ ไม่ทราบว่า ควรจะใช้กลยุทธ์อย่างไรจึงจะได้ผล ... ถึงว่าจะพาไปไหว้อาจารย์ใหญ่ที่คณะแพทย์สักรอบ แล้วให้เขาเลือกที่เกิดอุบัติเหตุจากรถมอเตอร์ไซค์กันเลย

เห็นด้วยกับพี่หม่อมครับ ... ถ้าไม่เกิดกับตัวเอง หรือ คนที่ตัวเองรัก ไม่มีวันรู้สึก เพราะกลัวเพื่อนมากกว่าความตายของคนที่ตัวเองรักอยู่ น่าสมเพชกับวัยรุ่นที่เราสอนแล้วเขาไม่ฟังจริง ๆ

ที่คันคลอง ตรงทางสะพานใช่ไหมครับ อิ อิ ... ผ่านทุกวันครับ เป็นช่องเลยล่ะ มีคนตายกันบ่อยครับพี่หม่อม ... รถที่วิ่งมาค่อนข้างเร็ว เบรคไม่ทัน เวลาตัดหน้า

ไฟแดงไม่ต้องพูดถึง ... วิ่งฝ่าไปเลย พร้อมกับมีลูกของตัวเองนั่งอยู่ด้วย

คิดหรือครับว่า เด็กคืออนาคตของชาติมันจะไม่ทำตามพ่อ แม่ตัวเอง

เกิดอะไรขึ้นกับเด็กคนนี้ อย่าโทษคนอื่น ขอให้โทษตัวเองดีกว่า ครับ พ่อแม่ที่เป็นตัวอย่างที่ดีของลูก ?

จิตสำนึก สร้างยากจริง ๆ ..

ขอบคุณครับ พี่หม่อม ... :)

  • หมวกกันน็อคช่วยชีวิตผู้คนได้จริงๆ นะคะ
  • มีบ่อยๆ ที่ดิฉันขับรถยนต์ แต่ถูกมอเตอร์ไซด์ปาดหน้าอยู่บ่อยๆ  หรือบางครั้งเรากดแตรเตือนเขา ก็จะถูกตอบโต้ด้วยการแซงมาข้างหน้ารถ แล้วขับยกล้อให้ดู ใส่หมวกกันน็อคแบบครึ่งศรีษะค่ะ
  • บ่อยๆ ครั้งที่มีโมโห ดิฉันก็แช่งชักหักกระดูกเด็กพวกนี้ในใจ แต่เมื่อเราเห็นเค้าประสบอุบัติเหตุ ก็อดสงสารเวทนาไม่ได้
  • ป้ายเตือน พ่อแม่เตือน คนรอบข้างเตือน ไม่ฟัง  จนมีประสบการณ์เกิดอุบัติเหตุเอง ก็สายเกินไปแล้วค่ะ

สวัสดีครับ คุณ Bright Lily  :)

ยินดีที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ

หมวกกันน็อคจะให้ปลอดภัยจริง ๆ ต้องใส่แบบ "เต็มใบ" ครับ ถ้าใส่แบบ "ครึ่งใบ" ก็เหมือนป้องกันศีรษะได้แค่ครึ่งเดียวฉันนั้น

แบบยกล้อโชว์ ... นี่ เราไม่ต้องสงสารก็ได้ครับ ...  หากมีอะไรเกิดขึ้น นั่นก็คือ กรรมของเขาเอง กรรม คือ การกระทำที่เขาเลือกเอง ไปโทษบุญ พา วาสนา ส่ง ก็หาใช่ นะครับ

ไม่เห็นโรง (ผี) ไม่หลั่งน้ำตา (เลือด) ด้วย

ขอบคุณครับ

ตอนนี้ ที่ มมส. รณรงค์เรื่องนี้มาก  มีการตรวจจับตัดคะแนน.  ปัญหาพฤติกรรมแก้ยากกว่าปัญหากายภาพของท้องถนนมาก  การรณณรงค์  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำควบคู่ไปกับการบังคับใช้มตรการ

"หัวสวมหมวกนิรภัย หัวใจสวมกฎจราจร" ..

http://gotoknow.org/blog/pandin/123855

http://gotoknow.org/blog/pandin/123652

สวัสดีครับ คุณ แผ่นดิน :)

ยินดีมากครับที่ มมส. ได้มีนโยบายทำให้เกิดเรื่องดี ๆ แบบนี้

นั่นหมายถึงว่า เพียงลำพังการสอนภายในห้องเรียนนั้น เป็นแค่ส่วนหนึ่งในการช่วยให้เด็กเกิดจิตสำนึกเท่านั้น

ต้องใช้ระบบทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยเหลือ เปิดโอกาสให้วัฒนธรรมที่ดีแบบนี้เกิดขึ้น และปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ขาดจิตสำนึกคิดไม่ดี หรือไม่สนใจ

ขอบคุณมากครับ :)

ช่วยชีวิตมนุษย์...เป็นมหากุศล

ช่วยชีวิตตนเอง...เป็นบุญของครอบครัว

กว่า 30 ปี ตำรวจฝ่ายเดียวทำไม่ได้

จะสำเร็จได้...ด้วยท่านทั้งหลาย

รณรงค์สวมหมวกนิรภัยเริ่มต้นวันนี้

ด้วยความปรารถนาดีจาก...ตำรวจภูธรภาค 4

ผมในฐานะเป็น "ครู" ของนักศึกษาเหล่านี้

ผมยินดีที่จะช่วยรณรงค์เต็มร้อยครับ

คุณ ตำรวจภูธรภาค 4 ;)...

เพื่อทำให้เขามีเวลาที่จะทำความดีให้กับประเทศชาติของเราต่อไป

ทำเรื่องการรณรงค์ให้คนไทยสวมหมวกนิรภัย...แบบคนอยู่เบื้องหลัง กับงานวิจัยเล็กๆที่ส่งผ่านไปเพื่อนโยบายระดับต่างๆ..มาอ่านความคิดเห็นของพวกอาจารย์ทั้งหลายที่อยู่ในนี้ แล้วทึ่งค่ะ...ปกติเจอไม่บ่อยที่มีคนคิดเห็นเหมือนสิ่งที่พวกเรากำลังทำ...คือทำอย่างไรให้คนไทยเด็กไทยใช้รถจักรยานยนต์แบบปลอดภัย (ทั้งๆที่ตัวรถมันก็เสี่ยงเป็นทุน..เจอถนนที่ไม่มีช่องทางเฉพาะยิ่งเสี่ยงยกกำลัง)

เรากำลังช่วยกันหาว่า...อะไรจะทำให้เด็กวัยรุ่นและคนไทย..ลุกมาใส่หมวก..โดยไม่ต้องใช้ตำรวจเฝ้าถนน..คอยเตือน..จับ..ปรับ....ลุกมาแข่งกัน..หาหมวกดีๆใส่หาเสื้อผ้าป้องกันเวลาขับขี่รถจักรยานยนต์..เหมือนในต่างประเทศ..ไม่ต้องไกลค่ะ..อินโดนีเซีย...เป็นแบบนั้น..หมวกต้องดี ใส่ทุกคน..สวมเสื้อหนัง..กางเกงยีนส์..ใส่สนับเข่า สนับแขน..โอ้ว..วัยรุ่นไทย..แข่งกันซื้อ accessory มือถือ แทนที่จะแข่งกัน ซื้อ accessory  สำหรับความปลอดภัย 

คิดถึงบรรยากาศของการนั่งมอร์เตอร์ไซด์คู่ชีพจากวิทยาเขตฯ มาสู่จังหวัดจังเลย ทรงผมกระเจิงไม่รู้ทิศรู้ทาง และที่สำคัญ ดูแลวิทยากรได้อย่างน่าทึ่ง-...55

มาดูคนอินโด....ต่างจากคนไทยราวฟ้ากับเหว(เฉพาะเรื่องสวมหมวก)สวมเสื้อผ้ากันการบาดเจ็บ

น่าสนใจมากครับ คุณ ณัฐกานต์ ;)...

ยินดีรับใช้วิทยากรเสมอครับ คุณ Blank แผ่นดิน 555

ขอบคุณมากครับ คุณ ณัฐกานต์ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท