มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

คนไข้ end stage Huntington's ที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเพราะญาติไม่ยอม consent


มีคนไข้ที่เป็น end stage Huntington's disease มาอยู่รพ. HF ตั้งแต่ปี 2003 ยังไม่แก่เลยด้วย เป็นคนอินเดีย ตอนนี้นอนตลอด ไม่ลืมตา กระตุกจนหายกระตุกแล้ว ให้อาหารทางท่อ ไม่รับรู้ใดๆ

พยาบาล/care-aide บ่นว่าปากคนไข้เหม็นมากๆ ทำให้ไม่มีใครชอบทำงานกับคนไข้คนนี้ ให้หมอช่วยที

หมอตรวจมาหลายปีแล้ว เห็นว่าคนไข้ปากแห้งมากเพราะนอนอ้าปากหายใจตลอด แห้งจนมีคราบเกาะแข็งตามฟันที่เหลือและเนื้อเยื่อบางส่วน   หมอแนะนำไปว่าถึงคนไข้ tube fed ก็ต้องทำความสะอาดช่องปาก เขียน care plan ให้อย่างดี ให้ยา antibacterial และ น้ำลายเทียม แล้วก็แนะนำให้ hyginist มาดูแล ขูดหินปูนเรื่อยๆ แต่ดูแล้วคงไม่มีคนดูแลแบบจริงจัง แถมญาติผู้ป่วยก็ไม่ยอมเซ็น consent ให้ hygenist มารักษา โทรตามก็ไม่ยอม เพราะมันต้องเสียเงินและญาติเห็นว่าคนไข้ end stage แล้ว (แต่ end มา 5 ปีแล้ว...และคงอยู่แบบนี้ไปอีกนาน!)

พยาบาลอยากให้ทำกรณีนี้เป็น medical emergency จะได้รักษาได้โดยไม่ต้องรอ consent จากญาติ แต่ว่า"กฎ"บอกว่าไม่ได้ ต้องเป็นพวกหนองที่จะปิดกันทางเดินหายใจ หรือ การติดเชื้อรุนแรงเท่านั้น หรือไม่ก็เจ็บมากๆ

คนไข้คนนี้ก็นอนเป็นผักต่อไป พยาบาลกับcare-aide รพ.นี้ก็บ่นต่อไปแต่ไม่มีใครยอมพัฒนา daily mouthcare เลย ยิ่งเหม็นเค้าก็ยิ่งไม่อยากทำ จะให้หมอกับ hygienist เข้าไปทำให้ก็ได้แค่เดือนละ 2 ครั้ง ยังไงมันก็ไม่พอ มันต้องทั้งหมอทั้งคนที่ดูแลอยู่ทุกวันช่วยกันถึงจะดีขึ้น

เป็นปัญหาคาราคาซังมาก นำเรื่องปรึกษาหัวหน้าแล้ว รอดูว่าจะทำอย่างไรต่อไปได้บ้าง

หมายเลขบันทึก: 187757เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2008 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

นับถือคุณหมอมากค่ะ สำหรับcaseนี้ ต้องเป็นหมอที่มีความกรุณาจริงๆ

คุณหมอมัทคะ กรณีนี้ สมัยพี่เป็นฟันเฟืองตัวหนึ่งของAuditor พี่ไม่ยอมเลยค่ะ 


แถมทำให้เป็นคนเสียงแข็งกับการที่จะต้านการเขียนกฎ หรือ เขียนอะไร ๆ ที่เป็นทางการเกินไป

เช่นนะคะ ในการเขียนJd , Js พี่กลัวค่ะ เดี๋ยวมี "สิ่ง" ที่ทำให้คนบางคนได้ใช้วิชา "ข้าง ๆ คู ๆ"

สวัสดีค่ะคุณศศิ

มัทว่าไม่ว่าเป็นใคร ถ้ามาเห็นต้องเกิดความเมตตากรุณาโดยอัตโนมัติค่ะ

ใจจริงมัทอยากถ่ายรูปถ่ายวีดีโอสิ่งที่มัทเห็นแต่ละวันให้คนอื่นได้ดูมากๆ จะได้รู้ว่านี่แหละชีวิต...มัทว่าคนที่คิดว่าตัวเองมีปัญหาโดยที่จริงๆไม่ได้มีปัญหานั้นมีมากเกินความจำเป็นหน่ะค่ะ

สร้างความทุกข์ให้ตัวเองไปเอง คนที่เค้าทุกข์จริงๆมีอีกมาก ถ้าได้เห็นจะได้มีสติเตือนหน่ะค่ะ จะได้รู้ว่าตัวเองโชคดีแค่ไหน

ขอบ่นหน่อยนะคะ ไม่เกี่ยวกับที่คุณศศิลงความเห็นเท่าไหร่ อิๆ

ใช่เลยค่ะพี่หมอเล็ก มัทเป็นคนหนึ่งที่ต้าน detailed specification มากๆ "คน ไม่ใช่ เครื่องจักรในโรงงาน"

thesis มัทก็เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงค่ะ มัทเชื่อใน simple rules และการค่อยๆพัฒนาเป็นขั้นๆขึ้นไปมากกว่า

ตอนนี้ทุกคนกำลังหาทางช่วยคนไข้คนนี้ค่ะ

ที่นี่ติดปัญหาเรื่อง consent ทั้ง consent for treat และ consent for financial responsibility

เรื่องหลังหางบมาจ่ายให้ไม่น่ายาก แต่การที่ญาติยืนยันไม่อยากทำอะไรนี่ลำบากมากเลยค่ะ คนอินเดียนั้นผู้ชายในบ้านเป็นคนตัดสินใจทุกอย่าง คนอื่นไม่มีปากเสียงใดๆ ต้องรอดูกันต่อไปค่ะ

เรียน อ.มัท

มองจากมุมมองของคนทำงานนะคะ รู้สึกแย่จังเลยค่ะ เหมือนกับคนไข้ไม่ได้รับการดูแลอย่างดี มองแล้วมันไม่ได้เกิดจากปัญหาของ consent เท่านั้นน่ะค่ะ

1. เอ แล้วญาติคนนี้เป็นคนที่ได้รับมอบอำนาจในการตัดสินใจหรือเปล่าคะ (Legal guardians or Power of Atroney)ถ้าใช่ก็ต้องรอเค้าคนเดียว แย่จัง..

2. ญาติเค้าเข้าใจถึงเหตุผลจำเป็นที่จะต้องดูแลหรือไม่คะ เค้ามีข้อข้องใจอะไรเกี่ยวกับการรักษาหรือเปล่า ทำไมถึงใจแข็งกับญาติที่รักของตนเองได้ แปลกจังค่ะ เอ หรือมันมีปัญหาอื่นๆ บ้างหรือเปล่าคะ (ขอโทษค่ะ อยากรู้เพิ่มอีกแล้ว..)

ระหว่างรอการแก้ปัญหาในอนาคตเนี่ย พยาบาลหรือคนดูแลสามารถทำอะไรได้มากกว่า รอ หรือไม่คะ (พอดีไม่แน่ใจบทบาทของพยาบาลในแคนาดาน่ะค่ะ) เพราะส่วนใหญ่ถ้าคนไข้ไม่รู้สึกตัวในเมืองไทย พยาบาลต้องทำความสะอาดให้เหมือนกับการแปรงฟันน่ะค่ะ อย่างน้อยถ้าได้ทำทุกวัน ก็น่าจะดีขึ้น เห็นด้วยกับ อ.มัทอย่างยิ่งที่บอกว่า ทำแค่เดือนละ 2 ครั้งมันไม่พอ เพราะขนาดพวกเรา ยังต้องแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเลยค่ะ

สรุปว่า เรื่องนี้สามารถสอนเราได้หลายๆอย่างเหมือนกันนะคะ

1. ระบบการคิดของคนที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญ ทั้งของญาติ พยาบาลหรือผู้ดูแล และบุคลากรสุขภาพ

2. ระบบการบริการและขอบเขตการให้บริการอาจจะมีความจำกัด แต่ก็ขึ้นอยู่กับคนนำกฎระเบียบไปใช้ด้วย

3. เตรียมตัวของตนเองเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาที่ต้องให้คนอื่นมาตัดสินใจให้ในอนาคต

เอาใจช่วยอาจารย์มัทให้ช่วยหาทางแก้ปัญหาให้คนไข้นี้ได้เร็วๆนะคะ ขอบคุณค่ะที่นำเรื่องที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง

คิดถึงค่ะ

สวัสดีค่ะคุณศิริกุล

คุณศิริกุลมองทะลุปัญหา ถูกใจใช้เลยค่ะ

คือรพ.นี้เป็น extended care ที่คุณภาพน่าเป็นห่วงมากค่ะ staff:patient ratio แย่มากๆ 1: 8-10 อ่ะค่ะ คือจะเห็นใจก็เห็นใจ แต่ว่าหลายๆอย่างก็เป็นข้ออ้างค่ะ เรื่องแปรงฟันทำความสะอาดช่องปากนั้นมีปัญหามากที่รพ.นี้ค่ะ เค้าอ้างกันว่าไม่มีเวลาบ้าง คนไข้ไม่ร่วมมือบ้าง หรือ กลัวคนไข้ choke บ้าง คือการดูแลช่องปากของคนไข้ extended care (dementia/depression/schizophrenia/parkinson's/stroke, etc.) ก็ยากกว่าปกติจริงๆค่ะ ทำได้แต่ต้องใช้เวลาหน่อย
พอมีงานอื่นต้องทำ เรื่องปากเรื่องฟันก็ตกกระป๋องไป พยาบาลที่นี่ดีค่ะ แต่พยาบาลก็ทำอะไรมากไม่ได้ aide เป็นคนดูแลคนไข้ งานเค้าเยอะจริงๆตอนเช้า แต่ตอนบ่ายก็เห็นนั่งคุยกัน ระบบก็เป็น union ขี้เกียจได้ระดับนึงยังไงก็ไม่โดนไล่ออก! แถมที่รพ.ก็มีปัญหาเรื่อง food service กับ luandry ที่ให้เอกชนมารับงานแล้วไม่ถูกกันเท่าไหร่

คนไข้คนนี้ถ้าได้รับการการรักษาโรคเหงือกคนดีขึ้นมาก แต่ถึงรักษาแล้วพยาบาลก็ต้องดูแลทุกวันไม่งั้นก็เป็นอีก

next of kin เป็น PA ด้วยค่ะ เค้าคงเห็นว่าญาติเป็นผักแล้ว ไม่อยากให้ทำอะไร แล้วโรคเหงือกอักเสบที่เป็นตอนนี้ก็ไม่ได้มีอาการเจ็บหรืออะไร

ที่ผ่านมามัทเขียน care plan พิเศษให้ ให้ใช้น้ำยา Chlorhexidine ช่วย ตอนแรกคนไข้ drool ด้วย มุมปากเลยอักเสบราขึ้น (angular chielitis)  ก็รักษาไปแล้วไม่ต้องรอ consent เพราะใช้ยาไม่มีหัตถการไม่มีค่าใช้จ่าย ก็หายแล้ว มัทเขียน care plan ให้แบบละเอียด มีวาดรูปให้ดูด้วย แต่ดูจากสภาพคนไข้แล้ว มัทบอกได้เลยว่ารับรองว่า care aide ไม่ได้ดูแลคนไข้ทุกวันตาม plan ตอนนี้เท่าที่ทำได้คือแวะไปหาทุกครั้งที่ไปรพ.นี้ แล้วก็รอเรื่องว่าหัวหน้าจะเอายังไงต่อไป

ทางเราก็คุยกับญาติมาหลายครั้งแล้ว แขกคนนี้นี่คุยยากมากค่ะ

ตอนนี้ทางเราก็พยายามผลักดันให้รัฐรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของคนไข้ใน extended care เพราะมันไม่ได้มากมายอะไรเลย คิดต่อหัวแล้วคนละ $300 สำหรับ basic dental care ทั้งหมด (มัทเป็น R.A. ช่วยวิเคราะห์ feasibility เรื่องนี้อยู่เหมือนกันค่ะ) ถ้าเรื่องนี้กลายเป็นสิทธิได้เมื่อไหร่คงดีขึ้นมาก PA คนไข้ไม่น่าจะมีข้ออ้างใดๆแล้ว

กลายเป็นมาบ่นให้คุณศิริกุลฟังซะยาวเลย! : P

สวัสดีค่ะ อ.มัท

ยินดีที่ได้มีโอกาสรับรู้เรื่องเกี่ยวกับการแคร์คนไข้เพิ่มมากขึ้นค่ะ

เห็นแล้วค่ะ ปัญหาใหญ่โตทั้งคน แล้วก็ระบบ แล้วก็กระทบกันเป็นลูกโซ่ไปหมดเลยค่ะ

เห็นด้วยกับอ.มัทนะคะเรื่องคุณภาพของการดูแลค่ะ สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว จำนวนนี้ถือว่าหนักเหมือนกันค่ะ ส่วนใหญ่สัดส่วนของพยาบาล น่าจะดูแลได้ที่ประมาณ 1 ต่อ 4 แต่ถ้าในกรณีแบบนี้ที่มี aide มาช่วย ส่วนใหญ่เรื่องไฮยีนจะเป็นเรื่องของ aide ไป แต่ส่วนใหญ่พยาบาลจะเป็นคนควบคุมอีกทีหนึ่งค่ะ หรือบางทีก็ต้องมาช่วยกันทำไปด้วยกันเลยค่ะ เพื่อให้งานเสร็จทันเวลา ดูท่าทางเรื่องนี้จะมีปัญหาตั้งแต่ระบบใหญ่กันมาเลยนะคะเนี่ย

งานหนักมาก ระบบการตรวจสอบต้องทำแบบอะลุ้มอะหล่วย ทุกๆอย่างต้องคิดถึงจุดคุ้มทุน(ตัดคนไข้ที่เป็นระยะสุดท้ายออกจากการดูแลที่มีคุณภาพก่อนเลย)

เอ แล้วมีใครร้องเรียนบ้างไหมคะเนี่ย เรื่องคุณภาพการดูแล เพราะผู้บริหารเค้าควรจะเพิ่มจำนวนคนให้บริการซะหน่อย เป็นขวัญและกำลังใจให้คนทำงาน

แต่ส่วนเรื่องมุมมองของญาติที่แวดล้อม ท่าทางจะคุยกันยากเหมือนกันค่ะ แล้วคนที่เป็น next of kin กับคนที่ตัดสินใจมีอิทธิพลต่อกันไหมคะ คิดแบบเด็กๆ ก็คือ ถ้าเขาสามารถชักจูงได้ อาจจะได้รับการยอมรับและเชื่อถือกว่าเราค่ะ (พอมาคิดอีกที อ.มัทคงจะทดลองใช้วิธีต่างๆมาหมดแล้วแน่เลย ท่าทางจะใช้ไม่ได้อีกเช่นเคย)

เป็นกำลังใจให้รัฐเค้าช่วยรับผิดชอบเรื่องค่ารักษาด้วยคนค่ะ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดของคนไข้คนนี้

แอบมาคิดนอกเรื่องอีกหน่อย รู้สึกว่าบางอย่างจะคล้ายๆกับเมืองไทยเหมือนกันนะคะเนี่ย

เป็นกำลังใจให้อ.มัท สู้ สู้ค่ะ

สวัสดีอีกครั้งค่ะคุณศิริกุล

้ใช่เลยค่ะปัญหาทั้งระบบเลยค่ะ

เมื่อวานมัทแวะไปดูคนไข้คนนี้ ดีใจมากที่พยาบาลกับaide ดูแลดีขึ้นมากๆทันตาเห็น เค้าทำความสะอากช่องปากด้วยน้ำยามฆ่าเชื้อและฟลูโอไรด์ วันละ 3 ครั้ง

ตอนนี้ social worker รับเรื่องไปว่าจะไปคุยกับญาติให้อีกครั้งค่ะ

กลับมาเรื่องระบบ รพ.นี้เป็นรพ.ของรัฐ งบน้อย มีอะไรคล้ายๆเมืองไทยหลายอย่างเลยค่ะ : )

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท