คำทับศัพท์ และ ศัพท์บัญญัติคอมพิวเตอร์ ... ที่คนไทยชอบเขียนผิด


รุ่งกานต์ มูสโกภาส กล่าวนำไว้ในบทความ  "ผิด ๆ ถูก ๆ ใช้ศัพท์คอมพิวเตอร์" ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Internet Magazine ไว้ว่า

"...โลกของวิทยาการและเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีเข้ามาใหม่ตลอดเวลา  ด้วยเหตุนี้จึงมีคำศัพท์ทางด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ออกมามากมาย ขนาดคนอยู่ในวงการคอมพิวเตอร์เองบางทีก็ยังตามกันไม่ทัน

มีการพบว่า มีการเขียนคำศัพท์เหล่านี้ผิดอยู่จำนวนมาก เราจะเห็นได้จากสื่อต่าง ๆ ที่เผยแพร่โดยสื่อมวลชน บทความ ผลงานวิชาการตามสถาบันการศึกษาอันเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความเข้าใจผิด และใช้คำผิด ๆ นั้นจนกลายเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นสิ่งที่เคยชินไปแล้วในชีวิตประจำวัน..."

 

ยกตัวอย่างเช่น ร้านให้บริการ Internet มักจะติดป้ายคัทเอาท์ใหญ่ ๆ ไว้หน้าร้านว่า

"อินเตอร์เน็ต" ซึ่งใช้ ต.เต่า แทนตัวที แต่คำที่ถูกต้องแล้วต้องใช้ ท.ทหาร คือ "อินเทอร์เน็ต"

ตัวอย่างที่ยกมาดังกล่าวเห็นกันเป็นประจำ จนไม่ทราบว่าจะให้ความรู้เหล่านี้ได้อย่างไร เพราะผิดกันจนเคยชิน

 

หรือ เวลาตรวจงานนักศึกษา ผมก็มักจะพบคำเหล่านี้ผิดเป็นประจำ จะละเลยไม่บอกนักศึกษาให้ทราบ ก็ใช่ที่ ในฐานะเป็นครูของเขา เมื่อพบข้อผิดพลาดก็ต้องแจ้งให้ทราบ และทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ครับ

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงกับการบัญญัติคำศัพท์เหล่านี้ ได้แก่ ราชบัณฑิตยสถาน (http://www.royin.go.th)

 

ตัวอย่าง ... คำทับศัพท์ที่มักจะเขียนผิด เช่น

 

ตัวอย่าง ... ศัพท์บัญญัติที่มักเขียนผิด เช่น

 

ผมขอนำเสนอ ... คำทับศัพท์ที่มักจะเขียนผิด และ ศัพท์บัญญัติที่มักเขียนผิด ในชุดที่ 1 นี้ก่อนนะครับ

 

หากเราเป็นคนไทย และ เกี่ยวข้องกับคำศัพท์เฉพาะเหล่านี้ ... ท่านอย่าละเลย เลยนะครับ เรื่องเล็ก ๆ เหล่านี้อาจจะทำให้ประเทศของเราเสื่อมก็เป็นได้

เริ่มจากการเขียนบันทึกใน Gotoknow.org นี่แหละ ... ดีไหมครับ :)

 

 

แหล่งอ้างอิง

รุ่งกานต์ มูสโกภาส.  "ผิด ๆ ถูก ๆ ใช้ศัพท์คอมพิวเตอร์" , วารสาร Internet Magazine. 8, 86 (กันยายน 2546) : หน้า 77 - 82.

เอกสารประกอบการอภิปราย เรื่อง การบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของราชบัณฑิตยสถาน

เว็บไซต์ราชบัณฑิตสถาน.  http://www.royin.go.th (11 มิ.ย.2551).

 

 

รายชื่อคณะกรรมการบัญญัติศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ

ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง
1. ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ประธานกรรมการ
2. นาย บุญเกิด ธรรมวาสี กรรมการ
3. ผศ.ดร.สุดาพร ลักษณียนาวิน กรรมการ
4. รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง กรรมการ
5. ผศ.ดร.ยุพาพรรณ หุ่นจำลอง กรรมการ
6. นาย สุธีระ อริยะวนกิจ กรรมการ
7. นาย พลากร จิรโสภณ กรรมการ
8. ผู้แทนบริษัท ทศท คอร์ปเรชั่น จำกัด (มหาชน)
(นาย สมศักดิ์ มงคลลาภกิจ, นางสาว วิไล ปัญจขจรศักดิ์)
กรรมการ
9. ผู้แทนกระทรวงคมนาคม
(นาง ภาวสุทธิ์ จึงอนุวัตร, นางสาว อัมพร ชาตบุษยมาส)
กรรมการ
10. ผู้แทนการสื่อสารแห่งประเทศไทย
(นาย กิตติพงษ์ เมฆวิจิตรแสง, นายสมเกียรติ กุลธรรมโยธิน, นายธนา ตั้งสิทธิ์ภักดี
กรรมการ
11. ผู้แทนสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย
(รศ.ดร.ประสิทธิ์ ฑีฆพุฒิ)
กรรมการ
12. ผู้แทนสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
(นาง สุวคนธ์ ศิริวงศ์วรวัฒน์, ดร.บุญเรือง เนียมหอม)
กรรมการ
13. ผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(นางสาว ประดิษฐ์ ศิริพันธ์, ดร.ประณต บุญไชยอภิสิทธิ์)
กรรมการ

 

 

บันทึกที่เกี่ยวข้องกัน

 

หมายเลขบันทึก: 187540เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2008 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (49)

                 ขอบคุณค่ะ...เป็นความรู้ที่ดีมากค่ะ 

                         

มีประโยชน์มากครับ

โดยเฉพาะศัพท์ที่มักเขียนผิด คำว่า "Internet" ผมเลยไม่กล้าเขียนเป็นคำภาษาไทยเลยครับ

หลายๆคำศัพท์ที่นำมาแสดง ผมก็เขียนถูก - ผิด  บ่อยๆ

ขอบคุณครับ...

-----------

วันนี้อากาศดีนะครับผม :)

 

 

มาเรียนรู้อยู่ห่างๆ

สวัสดีครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร :)

เรื่องการเขียนผิด สะกดผิดนั้น เป็นเรื่องที่นับวันจะมีปริมาณการเขียนผิดมากขึ้นเรื่อย ๆ นะครับ

ถ้าอยากเขียนถูก แค่ให้ความ "ใส่ใจ" แค่นั้นเองครับ เมื่อฝึกเขียนบ่อยเข้า ๆ ก็จะทราบเองด้วยตัวเองว่า เขียนถูกนั้น เขียนอย่างไร ครับ

วันนี้ที่ทำงานฝนตก ที่บ้านฝนมาไม่ถึงครับ แต่อากาศดีครับ :)

ขอบคุณครับ คุณเอก :)

ยินดีครับครู ... ผมก็แอบขอบคุณอยู่ห่าง ๆ ครับ :)

สวัสดีครับ

ต้องช่วยๆ กันครับ

รอบคอบสักนิด ทำให้บทความดูดีขึ้นเยอะเลย

ถ้ารู้ว่าผิด ควรรีบแก้ ถ้าปล่อยเลยตามเลย คนมาอ่านอาจเข้าใจว่าเขียนถูก ใช้ตาม ก็ผิดตามกันอีก

ขอบคุณครับ

ขอบคุณค่ะ

ต้องใส่ใจมากๆเพราะเคยเขียนผิดไปแล้ว

อายจังค่ะ....แต่ ต้องปรับปรุงตัวเองค่ะ สู้สู้ค่า......

ขอบคุณ คุณ ธ.วั ช ชั ย ... ครับ เห็นด้วยนะครับ ผิดแล้วต้องรีบบอก เดี๋ยวมิฉะนั้นจะผิดกันต่อ ๆ ไป เรื่อย ๆ :)

สวัสดีครับ น้องหมอ อิน  :)

ยินดีนะครับ ... ลองนำใช้ให้ถูกต้องดูนะครับ คงจะเป็นประโยชน์บ้างเนาะ :)

ขอให้กำลังใจ สู้ ๆ ครับ :)

  • ต้องจด เพื่อจำเอาไปใช้ค่ะ ไม่งั้นก็ผิดอีก เพราะบางคำเช่น graphic กราฟิก ที่มักจะมีคนเขียนผิดเป็น กราฟฟิก คงเป็นเพราะว่า กราฟฟิก แทนเสียงได้ใกล้เคียงการออกเสียงในภาษาอังกฤษมากกว่านั่นเองนะคะ
  • ตอนที่บันทึกคำบัญญัติศัพท์เหล่านี้น่าจะเขียนให้ใกล้เคียง การออกเสียงในภาษาอังกฤษให้มากที่สุด ซึ่งคงจะตัดปัญหาการเขียนผิดไปได้บ้างนะคะ

ขอบคุณมากๆค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ  น้องชายอาจารย์

ครูอ้อย ใช้ผิด 1 คำคือ  ดิจิตอล  ที่ถูกต้อง ดิจิทัล

แสดงว่า "กล้องดิจิตอล" ต้องเขียนเป็น "กล้องดิจิทัล" ...หรือเปล่าครับ คือ ไม่คุ้น เท่าไหร่กับคำหลัง

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ พี่อักษร ทับแก้ว :)

คำที่เขียนผิดก็มักจะพบประจำ ๆ จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ครับ

คนไทยมักจะเขียนตามที่ตัวเองออกเสียง โดยลืมดูวิธีการสะกดคำจากภาษาอังกฤษจริง ๆ ครับ

ขอบคุณครับ :)

ยินดีครับ คุณ phusupa (ไม่ได้ล็อกอิน) ... :)

ใช่ครับคุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร :) ...

กล้อง Digital ต้องเขียนเป็น กล้องดิจิทั ไม่ใช่ กล้องดิจิอล

ที่ไม่คุ้นเคยเพราะสื่อที่ใช้คำเหล่านี้ ปล่อยปะ ละเลย และอาจจะเข้าใจว่า ต้องเป็นแบบนี้น่ะครับ :)

ขอบคุณครับ

อาจารย์ Wasawat คะ

ขออนุญาตนำบันทึกนี้ไปนำเสนอต่อผู้ใช้งานในบล็อกแนะนำการใช้งานนะคะ

ขอบคุณค่ะ ^_^

น้อง มะปรางเปรี้ยว :) ... ยังมีอีกนะเนี่ย

ยินดีครับ

ขอบคุณ...ค่ะ...หลายคำที่มักเห็นหลายคนเขียนผิด...แล้วก็หลายคนไม่คุ้นกับการเขียนหลาย ๆ คำ....ขออนุญาตนำไปบอกต่อนะคะ...หุหุ

ยินดีครับ คุณ กัสจัง..  ... ช่วยกันครับ :)

  • ดีจังเลยค่ะ....ขอบคุณมากๆนะคะ...สำหรับความรู้ดีๆอย่างนี้..
  • เรื่องใกล้ๆ ตัว...แต่หนูยังเขียนผิดอีกเยอะเลยค่ะ...
  • เพราะส่วนเขียนตามลักษณะของการออกเสียง...ไม่ได้ดูหลักของบัณฑิตยสถานเลยล่ะค่ะ..
  • แล้วจะนำไปปรับปรุง ปรับใช้ให้ถูกต้องในครั้งต่อๆไปนะคะ...

อืมม ดีมาก ๆ จ้า น้อง แอปเปิ้ลเขียว ... ยิ่งถ้าอยู่ในสายวิชาชีพเกี่ยวกับกับไอที ยิ่งต้องเขียนให้ถูกใหญ่เลยเนอะ :)

สู้ ๆ ...

คำศัพท์พวกนี้ทำให้ปวดหัวมากเวลาปรับปรุงหลักสูตร  จนต้องลงทุนซื้อ ๑) หนังสือศัพท์บัญญัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  ๒) หนังสือคำต่างประเทศที่ใช้คำไทยแทนได้  ๓) หนังสืออ่านอย่างไรเขียนอย่างไร

แต่เดี๋ยวนี้ชีวิตดีขึ้นเพราะใช้โปรแกรมศัพท์บัญญัติค่ะ

ขอบคุณครับ คุณ มโนมัย  ที่แวะมาเยี่ยมเยือน :)

อยู่ดีๆ ผมรู้จักกรรมการชุดนี้อยู่สี่ท่านแน่ะ

แต่นั่นไม่สำคัญหรอกครับ ประเด็นจริงๆ คือตัวสะกดที่ถูกต้อง เรียกว่าศัพท์มาตรฐาน ซึ่งส่วนหนึ่งตีพิมพ์ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อีกส่วนหนึ่งตีพิมพ์ในพจนานุกรมศัพท์เฉพาะทางฉบับราชบัณฑิตยสถาน

เนื่องจากภาษาไทยยังมีชีวิต มีคำเกิดขึ้นตามวิวัฒนาการของสังคม จึงมีการบัญญัติคำศัพท์ขึ้นใหม่ ซึ่งคำศัพท์เหล่านี้ ก็จะมีคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ในสาขาวิทยาการต่างๆ หลายคณะ ช่วยกันเสนอ/กลั่นกรองศัพท์บัญญัติขึ้นมา แต่ศัพท์บัญญัติจะเป็นข้อยุติก็ต่อเมื่อราชบัณฑิตยสภารับรองแล้ว และจะเปลี่ยนสถานะจากศัพท์บัญญัติไปเป็นศัพท์มาตรฐาน

ส่วนพจนานุกรมคำใหม่ฉบับราชบัณฑิตยสถานนั้น พยายามรวบรวมความหมายของภาษาแสลง ภาษาคะนอง ภาษาที่ใช้ในกลุ่มเฉพาะ ไม่มีแม้กระทั่งคำอ่าน หรือโครงรากศัพท์/วิวัฒนาการ (etymology) แต่ไปให้ความสำคัญตรงความหมาย เพื่อให้คนในสังคมมีความเข้าใจตรงกันครับ

ขอโปรโมทหน่อยครับ คำว่า "อินเทอร์เน็ต"

ขอบคุณ คุณ Conductor ครับ ได้ความรู้ เรื่อง ศัพท์มาตรฐาน ศัพท์บัญญัติ เพิ่มขึ้นด้วยครับ

เข้ามาใหม่ครับ ยังไม่ทันรู้อะไรมากมายนัก ขอสวัสดีทุกคนใน gotoknow ครับ

    สวัสดีค่ะ อาจารย์ Wasawat Deemarn

  • ช่วงนี้หายไปนานไม่ได้แวะเข้ามาคุยกับอาจารย์เลยค่ะ  อาจารย์สบายดีนะคะ 
  • โชคดีวันนี้เข้ามาได้เห็นบันทึกเก่าของอาจารย์ มีประโยชน์มากค่ะ กำลังสอนม.6 เรื่อง การใช้คำทับศัพท์ ศัพท์บัญญัติ  คำเฉพาะกลุ่ม คำเฉพาะวงการอยู่พอดี ได้ความรู้ใหม่ๆ เพิ่มไว้ไปสอนเด็กๆค่ะ
  • ไว้จะเข้ามาหาความรู้เพิ่มเติมวันหลังอีกค่ะ
  • ดูแลรักษาสุขภาพนะคะอาจารย์  เคารพและระลึกถึงเสมอค่ะ

ขอบคุณ คุณ ครูธี ... ที่แวะมาเยี่ยมบันทึก

ก็ค่อย ๆ เรียนรู้กันไปครับ ไม่ทราบสิ่งใด ลองสอบถามไปที่ผู้ดูแลเว็บไซต์นะครับ :) 

สวัสดีครับ อาจารย์ Jeed ครูแก้วตา อาณาจักร์ :)

งานมากมายเหมือนเดิมครับ หายไปกันหมดเลย

ดีใจด้วยนะครับ แหม นำความรู้ไปสอนลูกศิษย์ เขาจะได้เขียนคำทับศัพท์ได้ถูกต้องครับ

ขอบคุณมากครับ :)

แวะเข้ามาอ่านเลยค่า อิอิ

ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นเลย

เข้ามาอ่านเลยหรือครับ คุณ Armuay_chew :)

บอกไปคำเดียวเองครับ

ขอบคุณนะครับ :)

แต่ อีเมล นี่น่าจะกำหนด อิงจากที่กำหนดเดิม คำว่า เมล์ จากภาษาอังกฤษ mail

http://gotoknow.org/blog/phankum/168946

ในเมื่อกำหนดเช่นนั้น ก็คงต้องใช้ตาม

ขอบคุณครับ คุณสมชาย :)

ติดตามอ่านตลอดครับ ขอบคุณมากครับ

หรือครับ ท่าน ผอ.บวร ... :)

ฝากท่านถ่ายทอดความรู้ต่อไปด้วยครับ :)

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์

สี่ได้แหล่งข้อมูลเช็คคำถูก-ผิดแล้ว

ขอบคุณมากๆ ค่ะอาจารย์

สู้ สู้ ครับ เจ้าหนูจำไม สี่ซี่ :)

หนูเองก็หลงใช้ผิดค่ะ ต่อไปต้องระวังแล้วค่ะ

เยี่ยมมากครับ น้อง berger0123 ;)

ช่วยกันรักษาภาษาไทยของเราไว้ให้นาน ๆ ครับ

ขอบคุณครับ

สงสัยคำว่า internet ถ้าใช้ ท.ทหาร แทนตัว t ไม่ใช้ ต.เต่า จาก อินเตอร์เน็ต เป็น อินเทอร์เน็ต แล้วทำไม คำว่า เน็ต ไม่ใช้ ท.ทหาร เป็น อินเทอร์เน็ท คะ

เรียน คุณ khatsariya

เป็นไปตามวิวัฒนาการของเทคโนโลยีครับ

คอมพิวเตอร์ Computer มันเกิดก่อน
แล้วคนไทยก็ชินกับการ "ต"
ราชบัณฑิตจึงอนุโลมให้ใช้
โดยไม่กลับไปแก้ไข

ส่วน อินเทอร์เน็ต Internet ก่อนภายหลัง
เพื่อให้เป็นการถูกต้อง
ราชบัณฑิตจึงใช้ "ท" ครับ

เรื่องจึงเป็นเช่นนี้ ;)...

ขอบคุณค่ะแค่คำแรกก็งงแล้ว Internet คำว่าเทอร์ ใช้ ท แทน ต แต่คำว่า เน็ต สะกดด้วย t แต่ภาษาไทย สะกดด้วย ต คนตกภาษาไทย คงต้องตกซ้ำซาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท