ประเมินเพื่อพัฒนา เป็นส่วนหนึ่งของ AAR หรือไม่หนอ


ประเมินเพื่อพัฒนา ระวังอย่าสำลักคุณภาพ

          เมื่อวันศุกร์ หากชาวอุดมศึกษาได้ติดตามข่าวคราวจะรู้ได้ว่า สกอ หรือ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กำลังสอบถามความคิดเห็นว่า ทาง  สกอ กำลังจะมีการประเมินชนิดใหม่ล่าสุด คือ การประเมินเพื่อรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะมาเสริม การประกันคุณภาพการศึกษา ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี ๒๕๔๒ หรือไม่แต่ประการใด

          หากมาลองดูว่าขณะนี้ สถาบันอุดมศึกษาในระบบราชการ มีกิจกรรมประเมินเพื่อพัฒนาอะไรกันบ้าง ประการแรก คือ

การประเมิน ตาม มาตรฐานการอุดมศึกษาที่ปรากฏตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2549 ประกอบด้วยมาตรฐาน 3 ด้าน ได้แก่มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต มาตรฐานด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษา และมาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรูและ สังคมแห่งการเรียนรู้

          และ เพื่อใหการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภทมีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กําหนด พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ ในหมวด 6 จึงไดกําหนดใหมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

ซึ่งประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษาไดคํานึงถึงมาตรฐานการศึกษาของชาติและมาตรฐานการอุดมศึกษาเป็นแนวทางในการพัฒนาตัวบ่งชี้ ภายใตองคประกอบคุณภาพ 9 ด้านที่กําหนดไวในกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลั กเกณฑและวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันระดับอุดมศึกษา พ.. 2546 ทั้งยังสัมพันธกับมาตรฐานและหลักเกณฑที่เกี่ยวข้องกับการจั ดการศึกษาอื่น ๆ รวมถึงกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา โดยมุ่งเป้าหมายไปยังการพัฒนาผลผลิตทางการศึกษาใหมีคุณภาพและมาตรฐานตามที่คาดหวัง ความเชื่อมโยงระหวางมาตรฐานการศึกษา

เมื่อมีประกัน ก็ ต้องมีระบบประเมิน ซึ่งการประเมินตาม พรบ การศึกษาแห่งชาติ ที่สถาบันอุดมศึกษา ต้องดำเนินการอย่างแน่แน่ คือ ต้องทำทุกปีการศึกษา

ขั้นตอนไม่มีอะไรมาก คือ มีการวางแผนให้เป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งหมายถึงการวางแผนที่สอดคล้องเป็นลูกโซ่ไล่มาจากแผนชาติ สกอ สถาบัน จนมาถึงแผนรายบุคลซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ความสอดคล้อง ความต้องการ จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งนำผลการประเมินที่เรียกว่า ๓๖๐ มาใช้ประกอบการวางแผนอย่างรอบคอบ ครบถ้วน เชื่อมโยงโดยใช้ Balance Score Card ที่ไม่สมดุลย์ (เพราะแต่ละตัวบ่งชี้มีทั้งระดับ และ จำนวนข้อที่ต้องดำเนินการที่แตกต่างกัน) เมื่อวางแผนแล้วก็ต้องทำตามแผน มีการถ่ายทอดตัวชี้วัดเป้าหมายลงมาอย่างเป็นระบบ มีการรายงานผล นำผลมาปรับปรุงเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานในปี ๒๕๕๐ ที่ สกอ กำหนดคือสามมาตรฐาน ๔๑ ตัวบ่งชี้ และ สกอ ก็จัดหลักสูตรอบรมสัมมนาทำความเข้าใจไปทั่วประเทศแล้ว

          ประเมินที่สอง คือ โดยหน่วยงานอิสระ หรือ สมศ มีการประเมินเพื่อพัฒนาทุกๆรอบ ๕ ปี ก็จะมีตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัดอะไรต่อมิอะไรที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

          ประเมินที่สาม คือ การเขียนคำรับรองการปฏิบัติราชการ หรือที่ไปทำคำรับรองกับ ก.พ.ร งานนี้ผู้ประเมินรับงานมาคือ ส.ม.ศ นั่นเอง

          ประเมินที่สี่ คือ การตรวจสอบภายใน ที่เรียกว่า Internal Audit ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อควบคุมองค์กรว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจการหรือไม่

          ประเมินที่ห้า คือ การประเมินเฉพาะทาง เช่นสถาบันวิชาชีพ เช่น พรพ สภาการพยาบาล แพทยสภา ฯลฯ

          ประเมินที่หก คือ การสมัครไปแข่งขันเอง คือ TQA หรือ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่ง สกอ ก็กำลังวางแนวทางอีกเช่นกัน เรียกว่า ต่อยอด แตกหน่อ

          ประเมินที่เจ็ด ล่าสุด คือ การรับรองวิทยฐานะ ที่ สกอ ได้เชิญประชุมล่าสุดเมื่อวานนี้ มีสองมาตรฐาน ดังนี้ครับ โดย เกณฑมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน ดังต่อไปนี้

มาตรฐานที่ 1 มาตรฐานด้านศักยภาพและความพรอมในการจัดการศึกษา ประกอบด้วยมาตรฐานย่อยด้านต่าง ๆ 4 ด้านดังนี้

(1) ด้านกายภาพ (2) ด้านวิชาการ (3) ด้านการเงิน (4) ด้านบริหารจัดการ

มาตรฐานที่ 2 มาตรฐานด้านการดําเนินการตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วยมาตรฐานย่อยด้านต่างๆ 4 ด้านดังนี้

(1) การผลิตบัณฑิต (2) การวิจัย (3) การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม (4) การทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ

 

เป็นอย่างไรครับ

การศึกษาระดับอุดมศึกษา

ประเมินเพื่อพัฒนา อาจสำลักคุณภาพได้นะครับ

 

JJ2008 ฅ ฅน ธรรมดา

 

หมายเลขบันทึก: 186715เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2008 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กราบสวัสดีท่าน อาจารย์ JJ เจ้าค่ะ

  • คนทำประกันคุณภาพอาชีวศึกษาขอเข้ามาร่วมเรียนรู้ด้วยคนนะคะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

เรียน ท่าน ผอ.ประจักษ์ ขอบพระคุณครับ

เรียน ครูปู

  • จะอาชีวะ หรือ อุดม ก็ สอนวิชาชีพ และ อาชีพ
  • สอนให้เป็น "ฅ ฅน" ครับ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท