ผีซ้ำด้ามพลอย


คนสมัยใหม่เวลาเขียนคำนี้มักเขียนผิดเป็น " ผีซ้ำด้ามพลอย " เพราะเหตุที่ไม่เข้าใจความหมายของคำว่า " ด้ำ " นั่นเอง ก็เลยคิดว่า " ด้าม " น่าจะเข้าท่ากว่า   คำว่า " ด้ำ " เป็นภาษาถิ่นของอีสาน หมายถึง ผีเรือน หรือ ผีบรรพบุรุษ ,เทวดา  "ผีเรือน" ไทยใหญ่เรียกว่า ผีล่ำ  ไทยอีสานเรียกว่า ผีด้ำ เราพูดว่า ผีซ้ำด้ำพลอย ก็หมายความว่า ถูกผีอื่นทำแล้วยังถูกผีด้ำ คือ ผีเรือนของตน พลอยซ้ำเติม เป็นเคราะห์ร้ายซ้ำถึงสองต่อ " พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เก็บคำนี้เอาไว้เป็นลูกคำของคำว่า " ผี " และให้นิยามว่า " ผีซ้ำด้ำพลอย (สํา) ว.ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งลง หรือเมื่อคราวเคราะห์ร้าย " (1)

สำนวน ผีซ้ำด้ามพลอย  ด้าม ตามความเข้าใจของผู้เขียน =ปฐม=อันดับแรก  (อันดับแรก ของมีด ก็คือด้าม) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า

 

1.ด้าม  น. ส่วนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้ถือใช้จับ เช่น ด้ามมีด ด้ามขวาน, ลักษณนาม
 เรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ด้าม เช่น ปากกาด้ามหนึ่ง ปากกา  
2.ด้าม; ต้น, ทาง, เช่น โดยด้ามอาทิ สวคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน), ผู้เผด็จ
 ด้ามตัณหา. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์), โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว. 
 (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม. (ม. คําหลวง 
 นครกัณฑ์).
(2)

สำนวน  ผีซ้ำด้ามพลอย  หมายถึง  เมื่อผี(ป่า) มารังควาญซ้ำเติม แล้ว ปฐมผี (ผีบรรพบุรุษ/ผีอันดับแรกของตระกูล) ยังพลอยมาซ้ำเติมด้วย (แทนที่จะปกปักรักษา) 

กรณีที่ ผีซ้ำ(แล้ว)ด้ามพลอย น่าจะเกิดกับคนที่ อกตัญญู ไร้ศีล ไร้ความซื่อสัตย์ (ไร้สัจจะ) ในเรื่องพระอภัยมณีคำกลอน สุนทรภู่แต่งเอาไว้ว่า

“อันรักษาศีลสัตย์กัตเวที      ย่อมเป็นที่สรรเสริญเจริญคน
ทรลักษณ์อกตัญญุตาเขา     ทพเจ้าก็จะแช่งทุกแห่งหน
ให้ทุกข์ร้อนงอนหง่อทรพล   พระเวทมนตร์เสื่อมคลายทำลายยศฯ”

 

การเพี้ยน เสียง จาก ด้ำ เป็น ด้าม สาเหตุเพราะ สระเสียง อำ นั้น เสมือนมีเสียง สะกด
เขียนเทียบได้ดังนี้ อำ=อัม 

 (อำ เสียง สั้น)        ออ อะ อะ อะ มอ อัม=อำ         
 (อาม เสียง ยาว)    ออ อา อา อา มอ อาม

(ดั้ม เสียง สั้น)        ดอ อะ ดะ ดะ มอ ดำ ดำ ไม้โท ด้ำ=ดั้ม
(ด้าม เสียง ยาว)    ดอ อา ดา ดา มอ ดาม ดาม ไม้โท ด้าม


การที่สระ อะ แผลง เป็น สระ อา นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกในเชิง นิรุกติศาสตร์
ยกตัวอย่างเช่นในภาษาบาลี   ราคะ แผลงเป็น ราคา         

ราคะ=ราคา 

แต่เมื่อไทยรับคำว่า ราคะ นี้มาใช้ ก็แผลง อะ เป็น อา
คำว่า ราคะ และ ราคา  ถูกใช้เรียกขาน ต่างกรรมต่างวาระกันไป โดยใช้เรียก

ราค–, ราคะ  น. ความกําหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ในกามคุณ. (ป., ส.). (3)

ราคา  น. มูลค่าของสิ่งของที่คิดเป็นเงินตรา; จํานวนเงินซึ่งได้มีการชําระหรือ
 ตกลงจะชําระในการซื้อขายทรัพย์สิน, โดยปริยายหมายความว่า ค่า,
 คุณค่า, มักใช้ในความปฏิเสธเช่น เขาทำตัวเป็นคนไม่มีรา
คา. (4)


วกกลับมาในประเด็น อ้ำ อั้ม อ้าม  

ด้ำ ประกอบด้วยสระ อะ (เสียงสั้น) แต่ในการออกเสียงพูด ออกเสียงว่า ด้าม  (สระอา เสียงยาว)
น้ำ ประกอบด้วยสระ อะ (เสียงสั้น) แต่ในการออกเสียงพูด ออกเสียงว่า น้าม (สระอา เสียงยาว)

ทว่า

ค้ำ ประกอบด้วยสระ อะ (เสียงสั้น) ในการออกเสียงพูด ยังคงออกเสียงว่า คั้ม   ??


ไส้ ประกอบด้วยสระ อะ (เสียงสั้น) ในการออกเสียงพูด ยังคงออกเสียงว่า  สั้ย   ??

ทว่า

ไม้ ประกอบด้วยสระ อะ (เสียงสั้น) แต่ในการออกเสียงพูด ออกเสียงว่า ม้าย (สระอา เสียงยาว)

(ไม้    = มอ อะ มะ มะ ยอ ไม ไม ไม้โท มั้ย=ไม้  ออกเสียงพูดว่า  ม้าย)
(ม้าย = มอ อา มา มา ยอ มาย มาย ไม้โท ม้าย )

ไห้ ประกอบด้วยสระ อะ (เสียงสั้น) แต่ในการออกเสียงพูด ออกเสียงว่า ห้าย (สระอา เสียงยาว)

(ไห้   = หอ อะ หะ หะ ยอ ไห ไห ไม้โท หั้=ไห้  ออกเสียงพูดว่า  ห้)
(ห้าย = หอ อา หา หา ยอ หาย หาย ไม้โท ห้)



ภาษาพูดนั้น มาก่อนภาษาเขียน (อวัจนภาษา มาก่อน วัจนภาษา) ดังนั้น มนุษย์จึง พูดเป็นก่อน แล้วเขียนเป็น  ขอให้ผู้อ่านนึกย้อนไปเมื่อครั้งที่ท่าน เกิดเป็นมนุษย์ในยุคหิน (เมื่อชาติที่แล้ว) มนุษย์ยุคหินยังไม่รู้จักการเขียนหนังสือ แต่เริ่มที่จะสื่อสารด้วยคำพูดบ้างแล้ว

เด็กน้อยยุคหินผู้หนึ่ง เดินเล่นอยู่ในป่า ถูกนกตัวใหญ่ สีดำชนิดหนึ่งบินมาจิกที่หัว เด็กน้อยยุคหินผู้นี้ จึงวิ่งร้องไห้กลับไปหาแม่ (แต่มนุษย์สมัยนั้นยังไม่รู้จักการร้อยเรียงประโยคสื่อสารที่มีขนาดยาว) เด็กน้อยยุคหินจึงแสดงท่าทางให้ แม่ของเขาดูดังนี้

ทำมือขยับไปมาเลียนแบบอาการนกบิน (อวัจนภาษา) พร้อมทั้งตะโกนเลียนเสียงนกตัวนั้นว่า กากากา (วัจนะภาษา) ผู้เป็นแม่ เมื่อเห็นอากัปกริยาของลูกชายยุคหิน ก็ย่อมทราบได้ทันทีว่าสัตว์ที่มาทำร้ายลูกชายของตนก็คือ นก และเมื่อได้ยินการเลียนเสียงของลูกชายที่ร้องว่า กากากา (วัจนภาษา)  ผู้เป็นแม่ก็สามารถทราบได้อีกว่า นกที่ร้อง กากากา คือ นกสีดำชนิดหนึ่ง ต่อมา เสียง กากากา นี้ จึงถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนชื่อนกสีดำที่ชอบจิก นั่นเอง

จากนิทานเรื่องดังกล่าวจะเห็นได้ว่าภาษามีความสัมพันธ์กับจินตภาพภายในจิตใจ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า


ไม้ (ในทางทฤษฎีควรออกเสียงตามที่สะกดว่า มั้ย แต่ในทางปฏิบัติ กลับออกเสียงว่า ม้าย)  ขอให้ลองจินตนาการ ถึง ต้นไม้ ในยามที่ต้นไม้งอกจากเมล็ด ต้นไม้ย่อมงอกขึ้นสู่ด้านบนเพื่อรับแสงจากดวงอาทิตย์  และเมื่อต้นไม้เติบโต ต้นไม้ก็จะมีลำต้นที่สูงยาว เมื่อพูดถึงต้นไม้ ก็ย่อมทำให้เกิดจิตภาพแห่ง ความสูง/ความยาว   ฉะนั้นการออกเสียงคำว่า ไม้ สั้น ๆ ว่า มั้ย ย่อมจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ขัดแย้ง กับจินตภาพภายในจิตใจ


เช่นเดียวกับคำว่า น้ำ (ในทางทฤษฎีควรออกเสียงตามที่สะกดว่า นั้ม แต่ในทางปฏิบัติ กลับออกเสียงว่า น้าม) เมื่อพูดถึง น้ำ ก็ขอให้จินตนาการถึง น้ำโขง น้ำเจ้าพระยา ว่ามีความยาวเพียงใด  ฉะนั้นการออกเสียงคำว่า น้ำ สั้น ๆ ว่า นั้ม ย่อมจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ขัดแย้ง กับจินตภาพภายในจิตใจ

เช่นเดียวกับคำว่า ด้ำ (ในทางทฤษฎีควรออกเสียงตามที่สะกดว่า ดั้ม แต่ในทางปฏิบัติ กลับออกเสียงและเขียนว่า ด้าม) ขอให้ลองจินตนาการ ถึง ด้ำขวาน ด้ำทวน ด้ำหอก ที่มีความยาว  ฉะนั้นการออกเสียงคำว่า ด้ำ  สั้น ๆ ว่า ดั้ม ย่อมจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ขัดแย้ง กับจินตภาพภายในจิตใจ

เช่นเดียวกับคำว่า ไห้ (ในทางทฤษฎีควรออกเสียงตามที่สะกดว่า หั้ย แต่ในทางปฏิบัติ กลับออกเสียงว่า ห้าย ) ขอให้ลองจินตนาการ ถึง  เด็กที่กำลังร้องไห้ เวลาที่เด็กร้อง ไห้ มักจะใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน การพูดว่า ร้องหั้ย สั้นๆ จึงทำให้เกิดความรู้สึกที่ขัดแย้ง กับจินตภาพภายในจิตใจ

ทว่าคำว่า ค้ำ (ในทางทฤษฎีออกเสียงตามที่สะกดว่า คั้ม  และในทางปฏิบัติ ยังคงออกเสียงว่า คั้ม ก็เพราะคำว่า ค้ำ แปลว่า การยันไว้ การทำให้มั่นคง  การออกเสียงว่า คั้ม ในยามฟังจึงรู้สึกถึงความมั่นคง หากออกเสียงว่า ค้าม  ย่อม ฟังดูไม่มั่นคง และทำให้เกิดความรู้สึกที่ขัดแย้ง กับความหมาย และจินตภาพภายในจิตใจ

เช่นเดียวกับคำว่า ไส้ (ในทางทฤษฎีออกเสียงตามที่สะกดว่า สั้ย  และในทางปฏิบัติ ยังคงออกเสียงว่า สั้ย ก็เพราะคำว่า ไส้ แปลว่า 

ไส้ 1 ส่วนของทางเดินอาหารซึ่งอยู่ระหว่างกระเพาะอาหาร  กับทวารหนัก เป็นท่อยาวขดไปขดมาอยู่ในช่องท้อง มีหน้าที่  ย่อย ดูดซึมอาหารและนํ้า พักและขับถ่ายกากอาหาร, ลําไส้   ก็เรียก; เรียกของที่อยู่ข้างในซึ่งมีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไส้  ตะเกียง หรือที่ใส่ข้างใน เช่น ไส้ขนม ไส้ดินสอ; โดยปริยาย  หมายความว่า ความลับ เช่น สาวไส้ให้กากิน รู้ไส้; คนใน  ครอบครัว, คนภายใน, คนใกล้ชิด, เช่น เห็นขี้ดีกว่าไส้ ไส้เป็นหนอน
ไส้ 2  (ถิ่น–พายัพ) น. ปีมะเส็ง. .(5) 

เมื่อพูดถึง ไส้
จินตภาพที่บังเกิดขึ้นภายในจิตใจ ย่อมปรากฎ ภาพของขดไส้ เป็นขดๆ มีเลือดมีน้ำเหือง   สร้างความน่าขยะแขยงให้บังเกิดขึ้นภายในจิตใจ  เมื่อบังเกิดจินตภาพที่น่าขยะแขยง  จิตใจของเราจึงสั่งให้การให้ปาก ออกเสียง สั้นๆ ว่า สั้ย  เพราะความขยะแขยงนั่นเอง

อนึ่ง คำว่า ด้าม และ ด้ำ  ผู้เขียนสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นคำ คำเดียวกัน  แต่ถูกนำมาใช้ในความหมายที่ต่างกัน ผู้เขียนสันนิษฐานว่า ด้ำ เป็นคำ โบราณ หมายถึง ผีบรรพบุรุษ และเมื่อเรานึกถึง ผีบรรพบุรุษ เราก็จะได้จินตภาพภายในจิตใจ ที่สะท้อนถึง ความโยงใยยืดยาวไปยังส่วนต้น ตระกูล  และความโยงใยยืดยาวไปยังส่วนต้น ตระกูล นี้เอง ถูกเรียกว่า ด้ำ

ต่อมา ความโยงใยยืดยาวแห่ง ทวน หอก หรือขวาน ไปยังส่วนต้น ก็ถูกเรียกว่า ด้ำ เช่นเดียวกัน ในทฤษฏีเขียนว่า ดั้ม แต่ในจินตภาพ และในทางปฏิบัติ อ่านออกเสียง เป็น ด้าม  

ด้ำ  โบราณใช้เรียกผีบรรพบุรุษ  ในสมัยก่อนอาจจะออกเสียงว่า ด้าม แต่ยังคงเขียนว่า ด้ำ กระทั่งเมื่อความหมายของคำ ว่า ด้ำ ขยายกว้างออกไป และถูกนำไปใช้เรียก ส่วนต้นของ มีด ขวาน ทวน หอก จึงฟังดูไม่เหมาะสม  เพราะคำที่กล่าวถึง ผีบรรพบุรุษ นั้นย่อมไม่สมควรที่จะถูกนำมาใช้เรียกพร่ำเพรื่อ คำว่า ด้ำ ต่อมาจึง อาจจะถูก ปริวรรต ให้เขียนใหม่ เป็น ด้าม เพื่อให้แตกต่างจากคำว่า ด้ำ

ส่วนคำว่า น้ำ และ ไม้   เมื่อพูดแล้วยังไม่ตะขิดตะขวงใจเหมือนคำว่า ด้ำ จึงยังไม่ถูก ปริวรรต ให้เขียนว่า น้าม และ ม้าย ด้วยประการฉะนี้
 



สรุป

1. คำว่า ด้ำ     คือคำที่มีความหมายในเชิงบริบทเช่นเดียวกับคำว่า ด้าม
2. คำว่า ด้ำ     ใช้เรียก ผีบรรพบุรุษ
3. คำว่า ด้าม   สันนิษฐานว่า ปริวรรต มาจาก คำว่า ด้ำ เพื่อใช้เรียก ส่วนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้ถือใช้จับ และในสมัยโบราณยังคงมีเค้าความหมายที่แปลว่า ต้น , ทาง 
4. สำนวน  ผีซ้ำด้ำพลอย ควรใช้คำว่า ด้ำ มากกว่า ด้าม เพื่อรักษาต้นเค้าทางภาษา




อ้างอิง

(1) Nana, "ผีซ้ำด้ำพลอย กับคำว่า ผีซ้ำด้ามพลอย " [http://www.oknation.net/blog/nana/2007/04/11/entry-1]. 1 June 2008.

(2),(3),(4),(5)  rirs3, "พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ " [http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp]. 1 June 2008.

คำสำคัญ (Tags): #ผีซ้ำด้ามพลอย
หมายเลขบันทึก: 185577เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2008 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

ขอบคุณครับ ได้เพิ่มอีกหนึ่งคำแระ ภาษาไทย

ฟื้นไข้มาหาความรู้กับกวินฯครับ

 อ๋อ ... เรื่องมันเป็นอย่างนี้เอง

  • คนโรงงาน สวัสดีครับ
  • อาจารย์ พิสูจน์ สวัสดีครับ
  • พอดีกลัวว่าเครื่องจะแฮ
  • ค์เลยโพสก่อนเดี่ญวแก้ไขคำทีหลัง
  • จริง ๆ คำว่า น้ำ ทำใมอ่านว่า น้าม
  •  ศ.ดร.อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ เคยเขียนอรรถาธิบายไว้ในหนังสือ ภาษาศาสตร์เหมาะสมัยเบื้องต้น  แต่ท่านเขียนโดยอธิบายตามหลักภาษาศาสตร์  ไม่ใช่แบบที่ผมเขียนไว้ข้างบนนะครับ
  • เดี๋ยววันอีกสองสามวันจะลองไปค้นจากหอสมุดนะครับ น่าจะมาอธิบาย การเพี้ยน เสียง กรณีเหล่านี้ได้บ้าง

 

  • ที่ถูกต้องคือ ผีซ้ำด้ำพลอย
  • ที่ผ่านมาผมเขียนตลอด

  • สวัสดีครับคุณ  paula wara พอดี   คนไม่มีราก เขียนถามไว้ใน อนุทิน 9089  
  • ก็เลยมาเขียน ลปรร ไว้สักหน่อยนะครับ
  • ขอบคุณท่าน ผอ. ประจักษ์ ครับ 
  • ขอเขียนตามอาจารย์ นะครับ แฮ่ะๆ  

มาเยี่ยม คุณกวิน

เพราะเรื่องผี ๆ นะ น่าสนใจครับ ฮิ ฮิ ฮิ

  • ขอบคุณครับอาจารย์  umi
  • พอดีคิดๆๆ ไปเรื่อยๆ เลยขอเขียนเพิ่มอีกนิดที่ว่า

ด้ำ  โบราณใช้เรียกผีบรรพบุรุษ  ในสมัยก่อนอาจจะออกเสียงว่า ด้าม แต่ยังคงเขียนว่า ด้ำ กระทั่งเมื่อความหมายของคำ ว่า ด้ำ ขยายกว้างออกไป และถูกนำไปใช้เรียก ส่วนต้นของ มีด ขวาน ทวน หอก จึงฟังดูไม่เหมาะสม  เพราะคำที่กล่าวถึง ผีบรรพบุรุษ นั้นย่อมไม่สมควรที่จะถูกนำมาใช้เรียกพร่ำเพรื่อ คำว่า ด้ำ ต่อมาจึง อาจจะถูก ปริวัตร ให้เขียนใหม่ เป็น ด้าม เพื่อให้แตกต่างจากคำว่า ด้ำ ด้วยประการฉะนี้

ส่วนคำว่า น้ำ และ ไม้   เมื่อพูดแล้วยังไม่ตะขิดตะขวงใจเหมือนคำว่า ด้ำ จึงยังไม่ถูก ปริวัตร ให้เขียนว่า น้าม และ ม้าย ด้วยประการฉะนี้

สว้สดีค่ะคุณกวิน

  • ตามมาอ่าน เรื่องผีซ้ำด้ำพลอยแล้ว
  • ได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของการเพี้ยนเสียงด้วยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • คนไม่มีราก  ขอบคุณครับ
  • ที่จุดประกายในการเขียน
  • เล่นเอาปวดตาเลยนะเนี่ย +ปวดหัวตึบๆๆ

+ โอ้โอ...

+ ดีใจจังที่ได้อีกหนี่งความรู้

+ ปกติก็จะเขียนเป็น ด้าม นั่นแหละค่ะ

+ เขียนตตามการออกเสียง..

+ ต่อไปจะเขียนใหม่แถมอธิบายได้ด้วยว่าเพราะอะไร...

  • สวัสดีครับท่านกวิน
  • แวะมาเยี่ยมและมาขอบคุณที่กรุณาแวะไปเยี่ยมบ่อยๆครับ
  • แล้วตกลงว่า "ผีซ้ำด้ำพลอย" ถูกต้องใช่ไหมครับ
  • โชคดีมีความสุขครับ

น้องกวิน ครับ

  • เมื่อไหร่จะว่าง สอนพี่ ลงโปรแกรมแซท ครับ
  • รออยู่เด้อ

สวัสดีค่ะ

ภาษาพูดนั้น มาก่อนภาษาเขียน (อวัจนภาษา มาก่อน วัจนภาษา) 

  • พี่เข้าใจว่า..อวัจนภาษา คือภาษาที่ไม่ใช้คำพูด..แต่เป็นภาษาท่าทาง..แต่ ภาษาพูดเป็นวัจนภาษา
  • ภาษาเขียน เป็น วัจนภาษา ใช่ไหมคะ
  • เอ..ชักงงๆ...ตกลงว่าเข้าใจถูกหรือผิดเนี่ย..ฝากเฉลยหน่อยค่ะ(อันนี้ถามจริง)
  • อ้อ..เห็นว่าจะไปหอสมุด..ฝากค้นคำนี้ด้วยนะ...หมายจึง ..อิ..อิ..
  • สวัสดีครับคุณครู . แอมแปร์  แฮ่ะ ดีจัง ครับ ขอให้สนุกกับการสอนนะครับ
  • สวัสดีครับท่านอาจารย์ ทนัน ภิวงศ์งาม  ควรใช้ ผีซ้ำด้ำพลอย ตามที่อาจารย์ทนัน และท่าน ผอ.ประจักษ์ กล่าวมาครับ กระผม
  •  คุณพี่ ครูโย่ง ครับ โอ้ ขอโทษทีครับ ลืมไปๆๆ แต่เขียนวิธีการใส่โค้ดไว้ที่กระทู้นี้แล้วครับ ลืมไปบอกพี่ที่บล็อกพี่ แฮ่ะๆ
  • http://gotoknow.org/blog/kelvin/185159
  • สวัสดีครับท่านอาจารย์  dd_L
  • พี่เข้าใจว่า..อวัจนภาษา คือภาษาที่ไม่ใช้คำพูด..แต่เป็นภาษาท่าทาง..แต่ ภาษาพูดเป็นวัจนภาษา
  • ภาษาเขียน เป็น วัจนภาษา ใช่ไหมคะ
  • ถูกต้องครับ คุณพี่อาจารย์dd_L ในทานเรื่อง เด็กน้อยยุคหินการที่ลูกทำมือทำไม้ นั้น คืออวัจนะภาษา นะครับ
  • ส่วนเสียงร้อง กากากา นั้นเป็น วัจนภาษา ขอบคุณครับผมเขียนคลุมเคลือ ไปหน่อย เดี๋ยวแก้ พร้อมคำผิดนะครับ ขบคุณที่แนะนำครับ

ขบคุณที่แนะนำครับ

จ๊ากสสส์..ถามแค่นี้ต้องขบกันด้วย !!!!

สวัสดีค่ะ

ช่วงนี้ตามบันทึกคุณกวินไม่ทันเลยค่ะ

เข้ามาที เหมือนมีบันทึกใหม่ๆ ตลอด

ว้าๆๆๆ ฟ้าร้องอีกแล้ว ต้องปิดเครื่องหลบฟ้าก่อนค่ะ

ไว้จะมาอ่านนะคะ

ในที่สุด

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น

โอ้ พยายามอยู่ตั้งนาน

ขอบคุณน้องกวิน

พี่ทำได้แล้ว

เย้ ๆๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีครับ

มีเรื่อง น้ำ มาเล่าครับ

ได้ยินชาวผู้ไท (ภูไท) ออกเสียง น้ำ (น สระอำ ไม้โท น้ำ ไม่ใช่ น้าม) ตรวจสอบแล้ว ออกเสียงสั้นจริงๆ ไม่ใช่เสียงยาวเหมือนอย่างในภาคกลาง ไม่คุ้น แต่คิดอีกที ใครแปลกกันแน่ อิๆ

มีโอกาสจะได้ถามคำว่า ไม้ ออกเสียงสั้น หรือยาว ครับ

  • . dd_L สวัสดีครับ ขอบคุณครับพิมพ์ผิด มิใช่ขบคุณ
  • jaewjingjing สวัสดีครับแล้วแวะมาอ่านนะครับ
  • ครูโย่ง ดีใจด้วยครับเข้าไปดูแล้ว
  • อาจารย์ ธ.วั ช ชั ย ขอบคุณค้าบ

 

+ สวัสดีค่ะ...ท่านกวิน

+ วันนี้มาประชุมงานวิชาการที่ศูนย์ฯ

+ ไม่ได้ไปโรงเรียน..มาร่วมกันระดมความคิด..

+ ว่าจะพัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยและคณิตอย่างไรให้เด็กพัฒนามากกว่านี้

+ คิดถึงจึงมาหาค่ะ..

+ สนุกกับการทำงานนะค่ะ

น้องกวิน

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมที่กล้องสนทนานะครับ
  • ขอบคุณหลายๆ

สวัสดีค่ะคุณกวิน

  • ขอบคุณที่ส่งข่าวเรื่องน้องแพทค่ะ
  • วันนี้สบายดีหรือเปล่าคะ
  • เอารูปมาฝากค่ะ

  • ลืมอธิบายภาพ
  • ให้ทายดีกว่าค่ะว่า..เป็นสถานที่อะไร....^_^...

สวัสดีครับพี่โย่ง ไม่เป็นไรครับเรื่องเล็กน้อยอิๆ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

สถานทูตไทยหรือเปล่าครับ คนไม่มีราก ทายถูกได้อะไรครับ

  • ทายผิดครั้งที่ 1 ....
  • ทายได้ 3 ครั้งค่ะ
  • ทายถูกได้อะไร....ต้องคิดดูก่อนค่ะ
  • มาเฉลยดีกว่าค่ะ จะได้ไม่ต้องไปหาว่าจะให้อะไรคุณกวิน
  • ในภาพคือ ศาลากลางน้ำ ที่บ้านผู้หว่าน ฯ จ.นครปฐม ซึ่งต้องไปประชุมบ่อย ๆ ค่ะ....สวยดีค่ะ เพราะปนกันระหว่างศิลปะของไทยกับคริสติ์ค่ะ..^_^...
  •  คนไม่มีราก ทีแรกนึกว่าสถานทูตไทยในออสเตรเลีย ซะอีกครับ
  • สวยมากๆ เลยครับ ขอบคุณนะครับ

วันสิ่งแวดล้อมโลก : 5 มิถุนายน ของทุกปี

3331

ขอบคุณท่าน ผอ.ประจักษ์ครับ ที่ช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวสาร วันสิ่งแวดล้อมโลก ครับ

ตามมาเรียนรู้ เพิ่งจะทราบที่มาที่ไปก็จากอ่านบันทึกนี้ของคุณกวินนี่แหละค่ะ จะได้ใช้ให้ถูก และสืบทอดต่อให้ถูก

ขอบคุณนะคะที่ขยันไปแวะเยี่ยมเสมอๆค่ะ

 สวัสดีคุณพี่ คุณนายดอกเตอร์ ครับ ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านครับ

คุณกวินคะ

  • จากการไปอบรมมาทำให้ได้รับรู้ว่าความจริงนั้น... ได้มีการตักเตือนเรื่อง เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว มานานแล้วนะ
  • ลองอ่านค่ะ

ในหนังสือชื่อ "บันทึกนึกได้เอง" ที่ นพ.บัญชา พงษ์พานิช ได้จัดพิมพ์ขึ้นด้วยการถ่ายสำเนาลายมือท่านพุทธทาส ที่บันทึกไว้ในหนังสือไดอะรี่ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2495 ท่านได้เขียนว่า

"ครั้นบัดนี้...โลกโคลง เร่าร้อนอย่างยิ่ง จนเราต้องเตรียมใจกันใหม่เพื่อรับหน้า"

  • เลยเกิดอุทาหรณ์ว่า เราต้องระวังกาย จิตให้ดี โลกมันยุ่งมากเลยนะคะ
  • คนไม่มีราก ขอบคุณคนไม่มีรากมากนะครับ จะพยายามระวังกายใจไว้ให้ดี...ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท